ข่าวเด่นประเด็นร้อน

กรมประมงหนุนใช้ “ซูริมิจากปลาน้ำจืด” ทดแทนปลาทะเล หวังเป็นทางเลือกใหม่ในอุตสาหกรรมการแปรรูปสัตว์น้ำ มุ่งสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน 

          จากปัญหาการขาดแคลนปลาทะเลเพื่อผลิตซูริมิของอุตสาหกรรมในประเทศไทย กรมประมงได้พยายามหาแนวทางในการหาสัตว์น้ำมาทดแทนปลาทะเลดังกล่าว โดยนำปลาน้ำจืดทั้ง 3 ชนิด ได้แก่ ปลานิลแดง ปลานิล และปลาจีน มาทดลองผลิตซูริมิสำหรับเป็นทางเลือกให้ผู้ประกอบการนำมาทดแทนปลาทะเลที่ขาดแคลน เนื่องจากปลาดังกล่าวมีเนื้อขาว ปริมาณเนื้อมาก และมีจุดเด่นที่สำคัญ คือ ผู้ประกอบการสามารถกำหนดปริมาณผลผลิต รวมถึงช่วงเวลาการเพาะเลี้ยงได้ตามที่ต้องการอย่างเหมาะสม จึงสามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรผ..

กรมประมงปลื้ม !!! โชว์ผลสำเร็จเกษตรกรเข้มแข็งหลังเข้าร่วม  “แปลงใหญ่ปลาสวยงาม @จังหวัดราชบุรี”

          “ปลาสวยงามไทย” หนึ่งในสินค้าเกษตรที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มอบนโยบายให้กรมประมงดำเนินการอนุรักษ์พันธุ์ปลาสวยงามให้ควบคู่ไปกับการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพการเพาะเลี้ยงโดยสร้างสายพันธุ์ที่มีความสวยงามแปลกใหม่ เพื่อผลักดันให้ปลาสวยงามไทยก้าวขึ้นไปอยู่ในระดับประเทศผู้ส่งออกปลาสวยงามที่สำคัญอันดับต้นๆ ในตลาดโลก พร้อมทั้งกระตุ้นธุรกิจปลาสวยงามควบคู่ไปกับการปลูกสร้างจิตสำนึกการอนุรักษ์สัตว์น้ำพื้นเมืองของไทยไม่ให้สูญพันธุ์ไปจากแหล่งน้ำธรรมชาติ &n..

อธิบดีมอบพันธุ์ปูทองหลาง นำร่องเลี้ยงในบ่อกุ้งร้าง

เลี้ยงปูในบ่อกุ้งร้าง – 23 มี.ค. 66 ณ อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง นายเฉลิมชัย สุวรรณรักษ์ อธิบดีกรมประมง มอบพันธุ์ปูทองหลาง (ปูขาว) ที่ได้จากการเพาะพันธุ์โดยศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งตรัง ให้แก่ผู้แทนเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ “ผลิตปูทะเลจากธรรมชาติ และจากการเพาะเลี้ยงเพื่อบริโภคในครัวเรือน พร้อมรองรับตลาดนักท่องเที่ยวจังหวัดตรัง” รายละ 3,000 ตัว จำนวน 5 ราย จากอำเภอกันตัง อำเภอสิเภา อำเภอย่านตาขาว อำเภอปะเหลียน และอำเภอหาดสำราญ เพื่อเป็นการนำ..

กรมประมง...ประกาศปิดอ่าวฝั่งทะเลอันดามัน 1 เม.ย. - 30 มิ.ย. 66 ควบคุมการทำประมงฤดูปลามีไข่ ในพื้นที่ภูเก็ต พังงา กระบี่ ตรัง

          กรมประมง...ประกาศใช้มาตรการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำในฤดูสัตว์น้ำมีไข่ วางไข่ เลี้ยงตัวอ่อนฝั่งทะเลอันดามัน ประจำปี 2566 ในเขตพื้นที่จังหวัดภูเก็ต พังงา กระบี่ และตรัง ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน – 30 มิถุนายน 2566 เผยจากผลสำรวจในปี 2565 พบสัตว์น้ำวัยอ่อนที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจหลายชนิดในช่วงมาตรการฯ มีความชุกชุมมากกว่าช่วงก่อนมาตรการฯ ถึง 2 เท่าตัว สะท้อนความเหมาะสมทั้งช่วงเวลาและพื้นที่ที่มีการบังคับใช้มาตรการฯ จึงคงพื้นที่ ห้วงเวลา และเครื่องมือตามมา..