ณ Johor Bahru ประเทศมาเลเซีย

 บุคคลในภาพ  นางฐิติพร  หลาวประเสริฐ (รองอธิบดีกรมประมง) 
 ฟังเสียงบรรยาย
 หยุดเสียงบรรยาย

ในระหว่างวันที่ 6 – 8 สิงหาคม 2567 ณ Johor Bahru ประเทศมาเลเซีย กรมประมงมอบหมายให้นางฐิติพร หลาวประเสริฐ รองอธิบดีกรมประมง เป็นองค์ประกอบคณะผู้แทนไทยนำโดยนายถาวร ทันใจ ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และคณะฯ เพื่อเข้าร่วมการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสของการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านการเกษตรและป่าไม้ ครั้งที่ 45 สมัยพิเศษ (Special Senior Officials Meeting of the 45th Meeting of the ASEAN Ministers on Agriculture and Forestry: Special SOM-45th AMAF และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย

• The Second Senior Officials’ Meeting of the ASEAN-JAPAN Ministers of Agriculture and Forestry (2nd SOM-AJMAF)

• Special Senior Officials Meeting of the 23rd Meeting of the ASEAN Ministers on Agriculture and Forestry Plus Three (Special SOM-23rd AMAF Plus Three)

• The Ninth Meeting of the ASEAN-India Working Group on Agriculture and Forestry (9th AIWGAF)

• The Ninth ASEAN-Russian Federation Senior Officials’ Meeting on Agriculture (9th ARSOMA)

โดยกรมประมงได้ผลักดันให้ผลงานที่ไทยรับเป็นประเทศผู้ดำเนินการหลัก (Lead Country) เข้าสู่ที่ประชุมฯ เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ ได้แก่

1) ผลการประเมินความต้องการฝึกอบรมระดับภูมิภาคเพื่อระบุทักษะและความรู้ที่ต้องการเสริมสร้างศักยภาพเพื่อการพัฒนาประมงยั่งยืน (Report Findings of the Training Needs Assessment to Identify the Current Demands for Knowledge and Skill Needed for Sustainable Fisheries Development) และ

2) แนวปฏิบัติระดับภูมิภาคสำหรับการรับรองการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของอาเซียน (Regional Guidelines for the ASEAN GAqP Certification Scheme)

นอกจากนี้ กรมประมงได้ผลักดันความร่วมมือระหว่างอาเซียนและพันธมิตรคู่เจรจาอื่น ๆ ซึ่งไทยมีบทบาทนำ ประกอบด้วย

1) สหรัฐอเมริกา ซึ่งตอบรับการสนับสนุนการประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และการปฏิบัติสำหรับผู้สังเกตการณ์บนเรือประมง และการประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกฎระเบียบของท่าเทียบเรือสำหรับเรือต่างประเทศและการตรวจสอบเรือประมง โดยมีกำหนดจัดในปี 2568 ณ จังหวัดภูเก็ต

2) สหภาพยุโรป ซึ่งสนับสนุนอาเซียนผ่านกลไก E-READI ในการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ The 4th Regional Workshop of the ASEAN Network for Combating IUU Fishing (AN-IUU) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานของแผนปฏิบัติการระยะ 3 ปีของเครือข่ายอาเซียนเพื่อการต่อต้านการประมงไอยูยู

3) ญี่ปุ่น ซึ่งให้การสนับสนุนงบประมาณแก่ศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAFDEC) ผ่านกองทุน Japanese Trust Fund (JTF) และสนับสนุนอาเซียนผ่านกองทุน Japan-ASEAN Integration Fund (JAIF) และ

4) จีน ซึ่งสนับสนุนทุนฝึกอบรมให้แก่ไทยผ่านหน่วยงาน Freshwater Fisheries Research Center อาทิ Training course on aquatic animal health management and inspection and quarantine for Maritime Silk Road Countries และ Training course on aquatic product trade and market development for developing countries

#กรมประมง

#กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์

 

 แชร์เนื้อหา : ส่ง email แชร์ X ส่ง Line แชร์ Facebook