ช่วงระหว่างวันที่ 3-5 กรกฎาคม 2567 ณ เมืองปีนัง ประเทศมาเลเซีย

 บุคคลในภาพ  นางฐิติพร  หลาวประเสริฐ (รองอธิบดีกรมประมง) 
 ฟังเสียงบรรยาย
 หยุดเสียงบรรยาย

คณะผู้แทนไทย นำโดยนางฐิติพร หลาวประเสริฐ รองอธิบดีกรมประมง พร้อมด้วยนางสาวมนทกานติ ท้ามติ้น ผู้อำนวยการกองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง นายชลธิศักดิ์ ชาวปากน้ำ ผู้อำนวยการกองประมงต่างประเทศ นางสาวปรียานันท์ ศรีวรรณยศ นายสัตวแพทย์ชำนาญการ หัวหน้ากลุ่มวิจัยและพัฒนายาและเคมีภัณฑ์สัตว์น้ำ กองวิจัยและพัฒนาสุขภาพสัตว์น้ำ และนายปานปัณณ์ วรนุช นักวิชาการประมงชำนาญการ กลุ่มความร่วมมือพหุภาคีและองค์กรระหว่างประเทศ กองประมงต่างประเทศ เข้าร่วมการประชุมคณะทำงานอาเซียนด้านประมง ครั้งที่ 32 (The 32nd Meeting of the ASEAN Sectoral Working Group on Fisheries: ASWGFi)

สำหรับการประชุม ASWGFi เป็นเวทีการหารือระดับนโยบายของกรมประมงจากประเทศสมาชิกอาเซียน ก่อนนำประเด็นด้านประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเข้าสู่การพิจารณาในที่ประชุมระดับปลัดกระทรวงและระดับรัฐมนตรีอาเซียนด้านการเกษตรและป่าไม้ (SOM-AMAF/AMAF) โดยกรมประมง ต้องรายงานผลการดำเนินงานตาม Priority Deliverables ที่รับเป็นประเทศผู้ดำเนินการหลัก (lead country) รวมทั้งให้ความเห็นต่อความก้าวหน้าและร่วมกับประเทศสมาชิกอาเซียนเพื่อกำหนดทิศทางการดำเนินงานภายใต้แผนปฏิบัติการ/คณะทำงานอาเซียน ประกอบด้วย

• Strategic Plan of Action for ASEAN Cooperation on Fisheries

• Roadmap on Combating IUU Fishing in the ASEAN Region

• Plan of Action (POA) for the ASEAN Cooperation in Combatting AMR in the Aquaculture Sector

• Expert Working Group on ASEAN Good Aquaculture Practice (EWG-ASEAN GAqP)

• ASEAN Shrimp Alliance (ASA)

• ASEAN Fisheries Consultative Forum (AFCF)

• ASEAN-SEAFDEC Strategic Partnership (ASSP)

• ASEAN Network of Aquatic Animal Health Centres (ANAAHC)

สำหรับการประชุมคณะทำงานอาเซียนด้านประมง ครั้งที่ 32 คณะผู้แทนไทยจะรายงานผลการประเมินความต้องการของประเทศสมาชิกอาเซียนสำหรับการจัดฝึกอบรมเพื่อเพิ่มพูนทักษะและความรู้ด้านการพัฒนาประมงอย่างยั่งยืน (Training Need Assessment to Identify the Current Demand for Knowledge and Skill Needed for Sustainable Fisheries Development) การแสวงหาความร่วมมือจากพันธมิตรคู่เจรจาของอาเซียน โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา ในการดำเนินกิจกรรม 1) การแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และการปฏิบัติที่ดีที่สุดสำหรับผู้สังเกตการณ์บนเรือ และ 2) การแบ่งปันข้อมูลข้อกำหนดและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับท่าเทียบเรือสำหรับเรือต่างชาติ และการปฏิบัติที่ดีที่สุดสำหรับการตรวจสอบเรือ รวมทั้งการประชาสัมพันธ์การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการระยะ 3 ปี ของเครือข่าย AN-IUU และการดำเนินงานภายใต้ศูนย์เครือข่ายสุขภาพสัตว์น้ำของอาเซียน (ANAAHC) ซึ่งประเทศไทยเป็นผู้รับผิดชอบหลัก

#กรมประมง 

#กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์

 แชร์เนื้อหา : ส่ง email แชร์ X ส่ง Line แชร์ Facebook