จากการที่หน่วยงานด้านการข่าวได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชน พบว่าประชาชนที่ตอบแบบสำรวจส่วนใหญ่เห็นด้วยและพึงพอใจต่อการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินของรัฐบาล และเห็นด้วยที่รัฐบาลจะพิจารณา ขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินต่อไป ที่ประชุมจึงเห็นสมควรเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณฉุกเฉินในพนททวราชอาณาจกรออกไปอีก 1 เดือน (มีผลตงแตวนท 1 พฤษภาคม 2563 – 31 พฤษภาคม 2563)
1.ดำรงมาตราการต่อไปนี้
1.1 จำกัดการเข้าราชอาณาจักรทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ (สำหรับทางอากาศ ให้ขยายระยะเวลาการห้ามอากาศยานท่าการบินเข้าสู่ประเทศไทยเป็นการชั่วคราวออกไปอีก 1 เดือน
1.2 ห้ามบุคคลใดทั่วราชอาณาจักรออกนอกเคหสถาน (Curfew) ระหว่างเวลา 22.00 นาฬิกา ถึง 04.00 นาฬิกาของวันรุ่งขึ้น
1.3 งดหรือชะลอการเดินทางข้ามเขตพื้นที่จังหวัดโดยไม่จำเป็น
1.4 ห้ามประชาชนเข้าไปในพื้นที่ หรือสถานที่ซึ่งมีคนจำนวนมากไปทำกิจกรรมร่วมกัน และเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อโรคติดเชื้อโควิด - 19 เป็นการชั่วคราว
การปฏิบัติงานในห้วงต่อไป เพื่อเป็นการผ่อนคลายมาตรการบังคับใช้กฎหมายบางอย่างให้ ประชาชนสามารถดำรงชีวิตได้อย่างปกติขึ้น และเพื่อเป็นการลดผลกระทบด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม และด้านความ มั่นคงภายใต้ความปลอดภัยของประชาชน สำนักงานประสานงานกลางจะได้ร่วมกับหน่วยงานด้านสาธารณสุข สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่ปรึกษาด้านธุรกิจ ศบค. ภาคธุรกิจและทุกภาคส่วนร่วมกัน กำหนดมาตรการผ่อนคลาย ตามแนวทางดังนี้
2.1 ให้เป็นอำนาจของนายกรัฐมนตรีในฐานะผู้อำนวยการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด 19 โดยการเสนอแนะของคณะกรรมการเฉพาะกิจเพื่อพิจารณามาตรการผ่อนปรนการบังคับใช้กฎหมายในการแก้ไข ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด -19 กำหนดมาตรการผ่อนปรนการบังคับใช้กฎหมาย เพื่อให้เกิดมาตรฐาน กลางของประเทศและมีความเป็นเอกภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ และมอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดกำหนดรายละเอียดในการดำเนินการเพื่อให้สอดคล้องกับ 1) สภาพปัญหาการแพร่ระบาดของโรคในแต่ละพื้นที่ 2) ความพร้อมในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ และ 3) การได้รับความร่วมมือจากประชาชนในพื้นที่
2.2 กำหนดแนวคิดการดำเนินการให้คำนึงถึงปัจจัยทางด้านการสาธารณสุขเป็นหลัก และ นำปัจจัยด้านอื่น ๆ มาใช้ประกอบการพิจารณา อาทิ ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ และปัจจัยด้านสังคม และให้คงแนว ทางการทำงานที่บ้านให้ได้อย่างน้อยร้อยละ 50
2.3 สำหรับวิธีดำเนินการให้พิจารณาจากประเภทของกิจกรรมที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต เป็นลำดับแรก และมีการบังคับใช้มาตรการป้องกันโรคตามที่ราชการกำหนดควบคู่กันไปด้วยอย่างเข้มงวด อาทิ 1) การเว้นระยะห่างทางสังคม 2) การวัดอุณหภูมิ 3) การมีจุดบริการแอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อ/เจลล้างมือ และ 4) การจำกัด จำนวนคนในกิจกรรมให้เหมาะสมต่อกิจกรรมและสถานที่ นอกจากนี้ยังต้องจัดเจ้าหน้าที่และ/หรือใช้เทคโนโลยีเพื่อ ตรวจสอบการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง
2.4 ทั้งนี้ ในช่วงที่มีการดำเนินการมาตรการผ่อนปรนจะต้องเร่งรัดให้มีการค้าหาผู้ป่วยเชิง รุก (Active case finding) โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยง อาทิ กลุ่มสาขาอาชีพบริการ กลุ่มแรงงานต่างด้าว และมีการใช้ เทคโนโลยีติดตามเพื่อตรวจตรากิจกรรมควบคู่กันไป เพื่อควบคุมและป้องกันมิให้เชื้อโรคโควิด-19 กลับมาแพร่ระบาด อีกด้วย