สาหร่ายพวงองุ่น ซึ่งเป็นสาหร่ายที่มีคุณค่าทางอาหารสูงและเป็นหนึ่งในอาหารยอดนิยมของชาวญี่ปุ่น ประเทศฟิลิปปินส์ มีการเลี้ยงสาหร่ายพวงองุ่นทั้งในบ่อดินและบ่อน้ำธรรมชาติ ในประเทศไทยนั้น กรมประมงริเริ่มการเลี้ยงสาหร่ายชนิดนี้ตั้งแต่ปี 2536 โดยปลูกในบ่อพักน้ำชีวภาพ ปัจจุบันสามารถเลี้ยงมีปริมาณมากเพื่อการขยายผลเชิงพาณิชย์ได้ รูปแบบการเลี้ยง สามารถเลี้ยงได้ 3 รูปแบบ ได้แก่ ระบบการเลี้ยงในบ่อพักน้ำแบบธรรมชาติ ระบบการเลี้ยงในบ่อดินหรือบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำเช่น บ่อเลี้ยงกุ้ง หรือบ่อเลี้ยงปลา และระบบการเลี้ยงในบ่อคอนกรีต การเลี้ยงสาหร่ายในบ่อดิน ขั้นตอนการปลูกและการจัดการสาหร่ายในบ่อดิน
1. การปลูกสาหร่าย ปลูกได้ทั้งแบบหว่านและแบบปักชำ โดยในช่วงเริ่มต้นปลูกครั้งแรก เติมน้าความเค็ม 27-30 ส่วนในพัน ประมาณ 40 เซนติเมตร เมื่อปลูกแล้วประมาณ 1 สัปดาห์จึงค่อยเพิ่มระดับน้ำให้อยู่ในระดับที่แสงส่องถึง ขึ้นกับความโปร่งแสงของน้ำ โดยมากรักษาระดับน้ำให้มีความลึกประมาณ 60-100 ซม. แบบปักชำมีข้อดีกว่าแบบหว่าน เนื่องจากสาหร่ายจะมีอัตราความหนาแน่นที่ใกล้เคียงกันและควบคุมความหนาแน่นได้ ทำให้สาหร่ายที่โตมีแขนงที่ยาวและมีขนาดสม่ำเสมอ นอกจากนี้สามารถปลูกสาหร่ายบนแผงอวนหรือตาข่ายได้ ทาให้สาหร่ายมีความสะอาดและมีคุณลักษณะดี
2. หลังจากการปลูกประมาณ 1-2 เดือน จะสามารถเก็บเกี่ยวสาหร่ายได้ และความถี่ในการเก็บเกี่ยว 2 สัปดาห์ต่อครั้ง
3. การจัดการระบบน้ำ ควรมีการสูบน้ำเข้าบ่อเลี้ยงประมาณ 2 ครั้งต่อสัปดาห์หรือดัดแปลงบ่อด้วยการติดตั้งท่อน้ำเข้าออกแบบมีลิ้นปิดเปิดตามระดับน้ำธรรมชาติ นอกจากนี้ความถี่ในการสูบน้ำเข้ายังขึ้นกับอายุการเลี้ยงและความหนาแน่นของสาหร่าย เพื่อเพิ่มสารอาหารธรรมชาติ การหมุนเวียนน้ำ และการรักษาระดับน้าในบ่อเลี้ยง
4. อาจติดตั้งเครื่องตีน้ำรอบช้าหรือระบบยกน้ำเพื่อเพิ่มการหมุนเวียนน้ำและป้องกันการแบ่งชั้นของน้ำและติดตั้งท่อระบายน้ำผิวบนออก ในฤดูฝน
5. เพื่อป้องกันการบังแสงและแก่งแย่งสารอาหาร ควรสุ่มตรวจความหนาแน่นของสาหร่าย โดยอัตราความหนาแน่นที่เหมาะสมประมาณ 1 กิโลกรัมต่อตารางเมตร ทยอยเก็บเกี่ยวทุก 2 สัปดาห์และคงปริมาณไว้ประมาณ 25% ของปริมาณตั้งต้น หากสาหร่ายแน่นเกินไป ให้นำไปหว่านบริเวณอื่น
6. การกำจัดและป้องกันศัตรูของสาหร่าย หมั่นเก็บสาหร่ายชนิดอื่นหรือ epiphyte ที่เกิดขึ้นในบ่อเมื่อน้ำตื้นเกินไป ดังนั้นการรักษาระดับน้ำเพื่อให้แสงส่องถึงในระดับที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญ
ผลผลิต
ในระบบการเลี้ยงในบ่อดินและปลูกบนแผงตาข่าย ขนาด 0.1 ตร.ม. มีปริมาณสาหร่ายเริ่มต้น 2.5 กิโลกรัม สามารถเลี้ยงให้มีน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น 45% ของน้ำหนักตั้งต้น หรือ1.25 กิโลกรัมต่อแผงต่อ 2 สัปดาห์ เทียบเท่าผลผลิต 12.5 กิโลกรัมต่อตารางเมตรต่อ 2 สัปดาห์ โดยน้ำเลี้ยงควรมีสารอาหารและคุณสมบัติ ดังนี้ แอมโมเนียรวมไม่น้อยกว่า 0.05 ppm pH ช่วงกว้าง 8-9 , แอลคาไลนิตี้ 120-140 มิลลิกรัมต่อลิตร ความเค็ม 27-33 ส่วนในพัน อุณหภูมิประมาณ 25-30 องศาเซลเซียส
ในระบบการเลี้ยงในบ่อคอนกรีตและปลูกบนแผงตาข่ายขนาด 0.1 ตร.ม. มีปริมาณสาหร่ายเริ่มต้น 2.5 กิโลกรัม มีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 30% ของน้ำหนักตั้งต้น หรือ 750 กรัมต่อแผงต่อ 2 สัปดาห์ เทียบเท่า 7.5 กิโลกรัมต่อตารางเมตรต่อ 2 สัปดาห์ ผลผลิตในบ่อคอนกรีตน้อยกว่าบ่อดินเนื่องจากมีข้อจากัดของสารอาหาร โดยปริมาณแอมโมเนียไม่ควร 0.05 ppm และควรมีการเติมน้ำอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง ส่วนคุณภาพน้าอื่น ๆ เช่นเดียวกับในบ่อคอนกรีต
ขอบคุณข้อมูลจาก กรมประมง