เข้าร่วมประชุมกับ professor Matsuishi Takashi Fritz เพื่อรับฟังการบรรยาย

 บุคคลในภาพ  นายบัญชา  สุขแก้ว (อธิบดีกรมประมง) 
 ฟังเสียงบรรยาย
 หยุดเสียงบรรยาย

เมื่อวันที่ 13 -16 พฤษภาคม 2568 ณ เมืองฮาโกดาเตะ ซัปโปโร เกาะฮอกไกโด ประเทศญี่ปุ่น

นายบัญชา สุขเเก้ว อธิบดีกรมประมง พร้อมด้วยนายอำนวย คงพรหม ผู้ตรวจราชการกรมประมง นายกำพล ลอยชื่น ผู้อำนวยการกองวิจัยเเละพัฒนาประมงทะเล นายปวโรจน์ นรนาถตระกูล ผู้เชี่ยวชาญด้านการประมงทะเล เเละนางพนิดา ชาลี ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเลภูเก็ต เดินทางเข้าร่วมประชุมเเละดูงานหน่วยงานด้านการทำประมงพื้นที่ชายฝั่งเกาะฮอกไกโด โดยมีรายละเอียดของภารกิจ ดังนี้

วันที่ 13 พฤษภาคม 2568 ณ คณะวิทยาศาตร์การประมง มหาวิทยาลัยฮอกไกโด วิทยาเขตฮาโกดาเตะ

ท่านอธิบดี และคณะผู้บริหาร เข้าร่วมประชุมกับ professor Matsuishi Takashi Fritz เพื่อรับฟังการบรรยาย เรื่อง สภาวะการประมงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เเละประเทศญี่ปุ่น รวมถึงการเปรียบเทียบผลการประเมินโดยใช้โมเดลการประเมินที่เเตกต่างกัน จากนั้นได้มีการเเลกเปลี่ยนข้อมูลผลการประเมินทรัพยากรสัตว์น้ำ เเละการคำนวณค่า MSY เเละ TAC เพื่อร่วมพิจารณา Model ที่สอดคล้องเเละเป็นทางเลือกที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย

วันที่ 14 พค 2568 เวลา 03.00 น. ท่านอธิบดี และคณะผู้บริหาร เดินทางไปยังท่าเรือเอกชน Ofune port เพื่อร่วมสังเกตการณ์การทำประมงโป๊ะเชือกของสมาชิก เเละการดำเนินงานรับชื้อเเละการจัดการสัตว์น้ำของสหกรณ์ประมง Minamikayabe Fisheries Cooperative Association จากนั้นได้เดินทางไปยังบริเวณ Usujiri Fishing Port ซึ่งเป็นที่ตั้งของร้านค้าสหกรณ์การประมงที่มีการขายเครื่องมือการทำการประมงเเละอุปกรณ์เครื่องใช้ที่จำเป็นสำหรับออกเรือไปทำการประมงของสมาชิกสหกรณ์ เเละรับฟังการบรรยายเกี่ยวกับการบริหารจัดการการชื้อขายสัตว์น้ำ การประมูล การเก็บรักษา การบริการ ด้านต่างๆของสหกรณ์ ส่วนในช่วง 13.00 น. ได้เดินทางไปยังสถานีวิจัย

Usujiri Fisheries Station ซึ่งเป็นสถานีวิจัยในสังกัดของมหาวิทยาลัยฮอกไกโด ดำเนินงานวิจัยร่วมกับหน่วยงานรัฐ เอกชน และมหาวิทยาลัยทั้งในเเละต่างประเทศ ในการพัฒนาเครื่องมือทำการประมง การเพาะเลี้ยง รวมถึงการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการป้องกันการติดอวนของปลาโลมา อีกทั้ง ยังเป็นหน่วยอนุบาลเบื้องต้นของสัตว์ทะเลที่เลี้ยงลูกด้วยนมที่จับได้โดยบังเอิญ ก่อนเข้าสู่ระบบการฟื้นฟูเเละปล่อยลงสู่ธรรมชาติต่อไป

วันที่ 15 พฤษภาคม 2568 เวลา 05.00 น. คณะผู้บริหารได้เดินทางเข้ารับฟังเเละรับชมการดำเนินการชื้อเเละประมูลสินค้าสัตว์น้ำเเละการดำเนินการของตลาดค้าส่งสินค้าประมงเมืองฮาโกดาเตะ โดยมีผู้อำนวยการกองเเผนงานเเละความร่วมมือ กรมเกษตร ป่าไม้เเละประมง ของเมืองฮาโกดาเตะ ที่มีการรับชื้อสัตว์น้ำจากสหกรณ์ประมงที่ตั้งอยู่ในเกาะฮอกไกโดเเละชาวประมงที่นำสัตว์น้ำมาขายด้วยตนเอง โดยเจ้าของเรือประมงหรือสหกรณ์ จะนำสินค้ามาเข้าสู่ลานประมูล ซึ่งเป็นสินค้าส่วนใหญ่ เเละอีกส่วนหนึ่งจะเป็นสินค้าประเภทผลิตภัณฑ์ที่มีการชื้อขายเเบบเจรจาต่อรองระหว่างผู้ชื้อเเละผู้ขาย สินค้าที่ผ่านการประมูลจะถูกนำไปยังร้านค้าสินค้าอาหารทะเลที่ตั้งอยู่ในบริเวณตลาดเเละตลาดในพื้นที่ต่างๆ รวมถึงร้านอาหารที่กระจายอยู่อีกด้วย ซึ่งกระบวนการดังกล่าวนี้ทำเป็นประจำทุกวัน โดยตลาดจะเริ่มการประมูลเวลา 6:00 น. โดยตลาดจะเปิดให้ผู้เข้าร่วมประมูลเข้าสังเกตการณ์เพื่อตรวจสอบสัตว์น้ำก่อนตั้งแต่ 5:00 น. และเปิดให้นักท่องเที่ยว หรือผู้ซื้อที่ต้องการซื้อสินค้า สามารถเข้าซื้อได้จนถึงเวลา 15:00 น. ซึ่งจุดเด่นของการประมูลราคาสินค้าสัตว์น้ำของประเทศญี่ปุ่น คือ การประมูล จากราคาสูงไปราคาต่ำ เพื่อให้สินค้า ได้รับราคาที่มีความเหมาะสม และมีความเต็มใจจ่ายสูงที่สุด จากนั้นในช่วงบ่าย ท่านอธิบดี และคณะผู้บริหารได้เดินทางไปยังศูนย์วิจัยด้านการประมงและสมุทรศาสตร์ ( Hakodate Research Center for Fisheries and Ocean) เพื่อรับฟังการบรรยายการดำเนินงานของหน่วยงาน ทั้งในเรื่องของการสำรวจทรัพยากรปลาหมึก เเละสมุทรศาสตร์ในพื้นที่การทำการประมงของจังหวัดฮอกไกโด โดยใช้เรือสำรวจของสถาบัน ฯ เพื่อศึกษาชีววิทยาสัตว์น้ำของสัตว์น้ำเศรษฐกิจในห้องปฏิบัติการ เเละ tank สำรวจพฤติกรรม งานวิจัย ด้านต่างๆ เพื่อส่งเสริมเเละคงไว้ซึ่งทรัพยากรที่มีความสำคัญกับเศรษฐกิจของจังหวัดฮอกไกโด เช่น สาหร่ายเคล ทั้งด้านการพัฒนาสายพันธุ์เพื่อตอบสนองกลิ่นเเละรส เเละการเพาะพันธุ์เพื่อปล่อย เป็นต้น รวมถึงความร่วมมือกับหน่วยงานภาคเอกชนเเละมหาวิทยาลัยในการศึกษาวิจัยร่วมอีกด้วย จากนั้นเดินทางต่อไปยัง

เทศบาลเมืองฮาโกดาเตะ (Oshima General Subprefecture Bureau) ฝ่ายการส่งเสริมการทำประมง ในจังหวัดฮอกไกโด เพื่อรับฟังการบรรยาย ลำดับการบริหารจัดการประมง ในระดับจังหวัดและระดับประเทศของญี่ปุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบริหารจัดการประมงในเรื่องของการพิจารณาใบอนุญาต โดยใช้ข้อมูลผลจับจากสหกรณ์ประมง และหน่วยงานอิสระที่ขึ้นกับภาครัฐ Fishery Agency เเละ Fishery Research Agency การออกใบอนุญาตการประมง การต่ออายุใบอนุญาตการทำประมง รวมถึงการพิจารณาการขอใบอนุญาตสำหรับผู้การทำประมงรายใหม่ นอกจากนี้ยังมีการดำเนินงานในกิจกรรมต่างๆ ของฝ่ายส่งเสริมการทำประมง อาทิ Stock Management, Stock Enhancement, Aquaculture, Seed Production, Fisheries Human Resource Development เเละ Conservation of fishing Ground Environment เป็นต้น

ทั้งนี้ ท่านอธิบดีและคณะผู้บริหารได้เดินทางกลับกรุงเทพฯ ประเทศไทยในวันที่ 16 พฤษภาคม 2568

#กรมประมง

#กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์

 

 แชร์เนื้อหา : ส่ง email แชร์ X ส่ง Line แชร์ Facebook