ด้วยกรมประมงจัดทำข้อกำหนดมาตรฐานแนบท้ายระเบียบว่าด้วยการขอและการออกใบรับรองมาตรฐานการทำการประมงพื้นบ้านอย่างยั่งยืน และการแปรรูปสินค้าประมงพื้นบ้าน พ.ศ. 2563 เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนชุมชนประมงท้องถิ่นให้มีส่วนร่วมในการจัดการ การบำรุงรักษา อนุรักษ์ ฟื้นฟู
และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรสัตว์น้ำอย่างยั่งยืน รวมถึงการแปรรูปสินค้าประมงพื้นบ้านให้มีคุณภาพ
และปลอดภัยต่อผู้บริโภค ซึ่งมาตรฐานการทำการประมงพื้นบ้านอย่างยั่งยืน และการแปรรูปสินค้าประมงพื้นบ้าน มีความสอดคล้องและมีแนวทางเดียวกันกับการดำเนินโครงการปรับปรุงการทำประมงปูม้าของไทย
(Blue Swimming Crab Fishery Improvement Project: BSC FIP) เพื่อเข้าสู่มาตรฐานประมงยั่งยืนสากล (Marine Stewardship Council : MSC) ในด้านต่างๆ ประกอบด้วย
1) ด้านการสร้างความยั่งยืน การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และการลดผลกระทบจากการทำการประมง เพื่อให้
เกิดความยั่งยืนของปูม้า (สัตว์น้ำเป้าหมาย)
2) ด้านความปลอดภัยของสินค้าประมง/อาหารทะเลที่แปรรูปจากปูม้า ซึ่งจะทำให้ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่น
ในสินค้าประมงมากยิ่งขึ้น
3) ด้านการบริหารจัดการการทำประมงที่ดีและมีประสิทธิภาพ เช่น เรือประมงต้องจดทะเบียนเรือไทย
และมีใบอนุญาตใช้เรือตามประเภทการทำการประมง เครื่องมือทำการประมง และการจ้างแรงงาน
ซึ่งเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด เป็นต้น
4) ด้านการค้าและการตรวจสอบสินค้า ต้องสามารถตรวจสอบย้อนกลับตลอดสายของห่วงโซ่อุปทานได้
ข้อกำหนดมาตรฐานแนบท้ายระเบียบว่าด้วยการขอและการออกใบรับรองมาตรฐานการทำการประมงพื้นบ้านอย่างยั่งยืน และการแปรรูปสินค้าประมงพื้นบ้าน พ.ศ. 2563 จึงเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ช่วยสนับสนุนแผนปฏิบัติการเพื่อการบริหารจัดการการทำประมงปูม้า (Blue Swimming Crab Fishery Management Plan : BSC FMP) โดยการสร้างความรับผิดชอบในการทำประมงของประเทศไทยอย่างยั่งยืน และสร้าง
ความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัยของสินค้าประมง/อาหารทะเล นำไปสู่การได้รับการรับรองมาตรฐานสากล
โดยสามารถแสดงฉลาก “The blue MSC label” บนผลิตภัณฑ์สินค้าประมงจนเป็นที่ยอมรับในตลาดโลก
ด้วยกรมประมงจัดทำข้อกำหนดมาตรฐานแนบท้ายระเบียบว่าด้วยการขอและการออกใบรับรองมาตรฐานการทำการประมงพื้นบ้านอย่างยั่งยืน และการแปรรูปสินค้าประมงพื้นบ้าน พ.ศ. 2563 เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนชุมชนประมงท้องถิ่นให้มีส่วนร่วมในการจัดการ การบำรุงรักษา อนุรักษ์ ฟื้นฟู
และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรสัตว์น้ำอย่างยั่งยืน รวมถึงการแปรรูปสินค้าประมงพื้นบ้านให้มีคุณภาพ
และปลอดภัยต่อผู้บริโภค ซึ่งมาตรฐานการทำการประมงพื้นบ้านอย่างยั่งยืน และการแปรรูปสินค้าประมงพื้นบ้าน มีความสอดคล้องและมีแนวทางเดียวกันกับการดำเนินโครงการปรับปรุงการทำประมงปูม้าของไทย
(Blue Swimming Crab Fishery Improvement Project: BSC FIP) เพื่อเข้าสู่มาตรฐานประมงยั่งยืนสากล (Marine Stewardship Council : MSC) ในด้านต่างๆ ประกอบด้วย
1) ด้านการสร้างความยั่งยืน การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และการลดผลกระทบจากการทำการประมง เพื่อให้
เกิดความยั่งยืนของปูม้า (สัตว์น้ำเป้าหมาย)
2) ด้านความปลอดภัยของสินค้าประมง/อาหารทะเลที่แปรรูปจากปูม้า ซึ่งจะทำให้ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่น
ในสินค้าประมงมากยิ่งขึ้น
3) ด้านการบริหารจัดการการทำประมงที่ดีและมีประสิทธิภาพ เช่น เรือประมงต้องจดทะเบียนเรือไทย
และมีใบอนุญาตใช้เรือตามประเภทการทำการประมง เครื่องมือทำการประมง และการจ้างแรงงาน
ซึ่งเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด เป็นต้น
4) ด้านการค้าและการตรวจสอบสินค้า ต้องสามารถตรวจสอบย้อนกลับตลอดสายของห่วงโซ่อุปทานได้
ข้อกำหนดมาตรฐานแนบท้ายระเบียบว่าด้วยการขอและการออกใบรับรองมาตรฐานการทำการประมงพื้นบ้านอย่างยั่งยืน และการแปรรูปสินค้าประมงพื้นบ้าน พ.ศ. 2563 จึงเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ช่วยสนับสนุนแผนปฏิบัติการเพื่อการบริหารจัดการการทำประมงปูม้า (Blue Swimming Crab Fishery Management Plan : BSC FMP) โดยการสร้างความรับผิดชอบในการทำประมงของประเทศไทยอย่างยั่งยืน และสร้าง
ความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัยของสินค้าประมง/อาหารทะเล นำไปสู่การได้รับการรับรองมาตรฐานสากล
โดยสามารถแสดงฉลาก “The blue MSC label” บนผลิตภัณฑ์สินค้าประมงจนเป็นที่ยอมรับในตลาดโลก