การขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ผู้ประกอบ ผู้ทำการประมง และองค์กรชุมชนประมงท้องถิ่น


การขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ผู้ประกอบ ผู้ทำการประมง และองค์กรชุมชนประมงท้องถิ่น 

 ข่าวประชาสัมพันธ์  หน่วยงาน  หน่วยงานส่วนภูมิภาค

ส่ง email แชร์ X ส่ง Line แชร์ Facebook
ฟังเสียงบรรยาย
ฟังเสียงบรรยาย

 รายงานข้อมูลผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (ทบ.1) และข้อมูลผู้ประกอบการด้านการประมง (ทบ.2) 

ประจำปีงบประมาณ 2565  ||  ประจำปีงบประมาณ 2564  ||  ประจำปีงบประมาณ 2563  ||   ประจำปีงบประมาณ 2562

ที่มา: กลุ่มวิจัยและพัฒนา การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ

 

สื่อเรียนรู้ ผลิตโดย สถานีประมงต้นแบบ DOF Channel กรมประมง

 

สื่อเรียนรู้ HR DOF Channel

 

 สถิติด้านการประมง

ข้อมูล สถิติผลผลิตการเลี้ยงสัตว์น้ำจืด  ||  ข้อมูล สถิติผลการจับสัตว์น้ำจืดจากธรรมชาติ

สถิติการประมงแห่งประเทศไทยสถิติการประมงแห่งประเทศไทย

ระเบียบคณะกรรมการนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ ว่าด้วยการขึ้นทะเบียนเกษตรกรเกี่ยวกับการประกอบกิจการในด้านการเกษตร พ.ศ. 2567

ระเบียบกรมประมง ที่อาศัยอำนาจตามระเบียบคณะกรรมการนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ว่าด้วยการขึ้นทะเบียนเกษตรกร พ.ศ. ๒๕๖๐

     สำหรับเจ้าหน้าที่ :         ระบบภูมิสารสนเทศประมง (Fisheries Map)
                       คู่มือ  :         คู่มือการเก็บค่าพิกัดภูมิศาสตร์ เพื่อการจัดทำแผนที่พื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ แผนที่เขตการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และแผนที่ตามมาตรการ

ตัวอย่างบัตร ตามระเบียบกรมประมง ว่าด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขการขึ้นทะเบียนผู้เพราะเลี้ยงสัตว์น้ำ พ.ศ. ๒๕๖๖

แบบคำขอการขึ้นทะเบียนกับประมง (ตามระเบียบกรมประมง ว่าด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขึ้นทะเบียนผู้เพราะเลี้ยงสัตว์น้ำ พ.ศ. ๒๕๖๖)

          ทบ 1-1 แบบคำขอขึ้นทะเบียนผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
          ทบ 1-2 แบบแสดงข้อมูลที่ดิน
          ทบ 1-3 แบบรับรองการใช้ประโยชน์ในที่ดิน
          ทบ 1-4 แบบยินยอมให้ใช้ที่ดิน
          ทบ 1-6 แบบแจ้งข้อมูลการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ปีการผลิต พ.ศ....
          ทบ 1-7 แบบคำขอเปลี่ยนแปลงข้อมูลทะเบียนผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
          ทบ 1- 8 แบบคำขอยกเลิกการขึ้นทะเบียนผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ      

2. แบบผู้ประกอบการด้านการประมง (ทบ.2) ซึ่งประกอบด้วยผู้ประกอบการด้านประมง 9 ประเภท คือ
"ผู้ประกอบการด้านการประมง" หมายความว่า บุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคลที่ดำเนินกิจการเกี่ยวข้องกับสัตว์น้ำตามที่กรมประมงกำหนด

     2.1  โรงงานอาหารผลิตสัตว์น้ำ
     2.2  ผู้ค้าปัจจัยการผลิตสัตว์น้ำ
     2.3  แพ/พ่อค้าคนกลาง/ผู้รวบรวมสัตว์น้ำ
     2.4  สถานประกอบการแปรรูปเบื้องต้น
     2.5  สถานประกอบการห้องเย็น
     2.6  สถานประกอบการแปรรูปพื้นเมือง
     2.7  โรงงานแปรรูปสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์  มีโรงงาน 2 ประเภท คือ
             2.7.1  ห้องเย็น  หมายถึง ห้องเย็นที่ประกอบกิจการแปรรูปสัตว์น้ำ เช่น แช่เย็น/แช่แข็ง แปรรูป ฯลฯ
             2.7.2  สัตว์น้ำบรรจุกระป๋อง
     2.8  ผู้นำเข้า-ส่งออกสัตว์น้้ำ
     2.9  ผู้ประกอบกิจการเกี่ยวกับสัตว์น้ำอื่น ๆ

     แบบคำขอการขึ้นทะเบียนกับประมง

          ทบ. 2-1 คำขอขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการด้านการประมง
          ทบ. 2-2 แบบคำขอต่ออายุทะเบียนทะเบียนผู้ประกอบการด้านการประมง

 

การขึ้นทะเบียนผู้ทำการประมง (ทบ.3)

“ผู้ทำการประมง” หมายความว่า ผู้ซึ่งค้นหา ล่อ จับ ได้มา หรือเก็บสัตว์น้ำ หรือการกระทำใด ๆ ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อล่อ จับ ได้มา หรือเก็บสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำ ในลักษณะของผู้ทำการประมงพาณิชย์ ผู้ทำ การประมงพื้นบ้าน หรือ ผู้ทำการประมงน้ำจืด จะใช้เรือประมงหรือไม่ก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นการประกอบการโดยอิสระ ประกอบการร่วมกันโดยแบ่งหน้าที่กันทำ หรือการเป็นลูกจ้าง

อายุบัตรประจำตัวผู้ทำการประมง มีกำหนดหกปี นับจากวันออกบัตร  
6 ขั้นตอน การขึ้นทะเบียนผู้ทำการประมง

 ระเบียบกรมประมง เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การขึ้นทะเเบียน ผู้ทำการประมง พ.ศ. 2561

Inforgraphic 6 ขั้นตอน การขึ้นทะเบียนผู้ทำการประมง (ทบ.3) 

     แบบคำขอการขึ้นทะเบียนกับประมง

     สำหรับเจ้าหน้าที่ :     ลิงค์เข้าระบบขึ้นทะเบียนชาวประมง : frs.fisheries.go.th

 

การขึ้นทะเบียนองค์กรชุมชนประมงท้องถิ่น

       พระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 บทบัญญัติในหมวด 2 การบริหารจัดการด้านการประมง มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดนโยบายและกำกับดูแลการบริหารจัดการด้านการประมง และการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำอยู่ในภาวะที่เหมาะสม และสามารถทำการประมงได้อย่างยั่งยืน โดยให้กรมประมงส่งเสริมการมีส่วนร่วมและสนับสนุนชุมชนประมงท้องถิ่นในการจัดการ การบำรุงรักษา การอนุรักษ์ การฟื้นฟู และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนจากทรัพยากรสัตว์น้ำ โดยมีบทบัญญัติปรากฏตามมาตรา 25 ดังนี้

       มาตรา 25  เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมและสนับสนุนชุมชนประมงท้องถิ่นในการจัดการ การบำรุงรักษา การอนุรักษ์ การฟื้นฟู และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนจากทรัพยากรสัตว์น้ำภายในที่จับสัตว์น้ำในเขตประมงน้ำจืดหรือเขตประมงทะเลชายฝั่ง ให้กรมประมงดำเนินการให้ความช่วยเหลือหรือสนับสนุนในเรื่องดังต่อไปนี้
           (1) สนับสนุนการมีส่วนร่วมของชุมชนประมงท้องถิ่นในการจัดทำนโยบายตามมาตรา 19 (1) (กำหนดนโยบายการพัฒนาการประมงในน่านน้ำไทยให้สอดคล้องกับปริมาณของทรัพยากรสัตว์น้ำ และขีดความสามารถในการทำการประมง โดยคำนึงถึงจุดอ้างอิงเป็นสำคัญ)
           (2) สนับสนุนให้มีการรวมกลุ่ม และจัดให้มีการขึ้นทะเบียนองค์กรชุมชนประมงท้องถิ่นตามหลักเกณฑ์ที่อธิบดีประกาศกำหนด
           (3) ให้คำปรึกษาแก่ชุมชนประมงท้องถิ่นในการจัดการ การบำรุงรักษา การอนุรักษ์ การฟื้นฟู และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรสัตว์น้ำ รวมทั้งช่วยเหลือและสนับสนุนการดำเนินงาน โครงการ หรือกิจกรรมของชุมชนในเรื่องดังกล่าว
           (4) เผยแพร่ความรู้หรือข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการจัดการ การบำรุงรักษา การอนุรักษ์ การฟื้นฟู และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรสัตว์น้ำ                    

       เพื่อให้เป็นการดำเนินการตามมาตรา 25 แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 กรมประมงได้มีประกาศกรมประมง เรื่อง หลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียนองค์กรชุมชนประมงท้องถิ่น พ.ศ. 2558 ลงวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2558 กำหนดรายละเอียดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขึ้นทะเบียนองค์กรชุมชนประมงท้องถิ่น เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมและสนับสนุนชุมชนประมงท้องถิ่นในการจัดการ การบำรุงรักษา การอนุรักษ์ การฟื้นฟู และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนจากทรัพยากรสัตว์น้ำภายในที่จับสัตว์น้ำในเขตประมงน้ำจืดหรือเขตประมงทะเลชายฝั่ง รวมทั้งช่วยเหลือและสนับสนุนการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมของชุมชนในเรื่องดังกล่าว โดยให้รับขึ้นทะเบียนการจัดตั้งเป็นองค์กรชุมชนประมงท้องถิ่น ดังนี้

สิทธิของชุมชนประมงท้องถิ่น
       ผู้แทนองค์กรชุมชนประมงท้องถิ่น มีสิทธิได้รับการคัดเลือกเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการประมงประจำจังหวัด ซึ่งคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
           (1) รวบรวมข้อเสนอแนะและแนวทางในการส่งเสริมอาชีพการประมง การจัดการ การบำรุงรักษา การอนุรักษ์ การฟื้นฟู และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรสัตว์น้ำขององค์กรชุมชนประมงท้องถิ่นในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบเสนอต่อคณะกรรมการ เพื่อพิจารณาจัดทำนโยบายพัฒนาการประมงในน่านน้ำไทยให้สอดคล้องกับปริมาณทรัพยากรสัตว์น้ำและขีดความสามารถในการทำการประมงตามมาตรา 16 (1)
           (2) พิจารณาและเสนอแนวทางในการพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาการประมงหรือการจัดการ การบำรุงรักษา การอนุรักษ์ การฟื้นฟู และการใช้ประโยชน์ในที่จับสัตว์น้ำในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบต่อรัฐมนตรี คณะกรรมการ หรืออธิบดี
           (3) ออกประกาศตามมาตรา 6 มาตรา 45 มาตรา 50 และมาตรา 51
           (4) ดำเนินการอื่นตามที่รัฐมนตรีหรือคณะกรรมการมอบหมาย

 

เพิ่มเติม (ข้อมูลสำหรับเจ้าหน้าที่กรณี) เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนด้านประมง จะได้รับการช่วยเหลืออย่างไร เมื่อประสบภัยพิบัติ



แผนภาพแสดงหลักเกณฑ์การให้ความช่วยเหลือด้านประมง
         การช่วยเหลือตามระเบียบกระทยวงการคลังฯการช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ
         การให้ความช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติด้านประมง ตามระเบียบกระทวงการคลังฯ (ผลิดโดยกรมประมง)

การให้ความช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติ "ด้านประมง" ตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ 
   คุณสมบัติของเกษตรกร
        - เกษตรกรขึ้นทะเบียนด้านประมงกับหน่วยงานของกรมประมง  "ก่อนเกิดภัยพิบัติ"
   ขั้นตอนการให้ความช่วยเหลือ
        ขั้นที่ 1 จังหวัดประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือฯ
        ขั้นที่ 2 เกษตรกรยื่นความจำนง ขอรับการช่วยเหลือ (แบบ กษ 01)
                    ซึ่งมีผู้ใหญ่บ้าน/กำนัน/อบต.หรือนายกเทศมนตรีประจำท้องที่ตรวจสอบรับรอง

        ขั้นที่ 3 ประมงอำเภอสำรวจ และตรวจสอบความเสียหายของเกษตรกร และตรวจสอบกับทะเบียนเกษตรกรฯ
        ขั้นที่ 4 ประมงอำเภอจัดทำแบบประมวลรวบรวมการช่วยเหลือรายหมู่บ้าน (แบบ กษ 02)
                     นำไปติดประกาศในสถานที่ราชการ เป็นเวลา ไม่น้อยกว่า 3 วัน

        ขั้นที่ 5 ประมงอำเภอ เสนอ ก.ช.ภ.อ. เพื่อพิจารณาให้ความช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงคลังฯ
                      โดยใช้เงินทดรองราชการในอำนาจอำเภอ

        ขั้นที่ 6 หากวงเงินในอำนาจของอำเภอมีไม่เพียงพอ ให้นำเสนอ ก.ช.ภ.จ. เพื่อพิจารณาให้ความช่วยเหลือ
                      โดยใช้เงินทดรองราชการในอำนาจผู้ว่าราชการจังหวัด 20 ล้านบาท

        ขั้นที่ 7 หากวงเงินในอำนาจของจังหวัดไม่เพียงพอ สามารถขอใช้เงินทดรองราชการในอัตราการให้ความช่วยเหลือ
                      โดยใช้เงินทดรองราชการในอำนาจของปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (50 ล้านบาท)

   อัตราการให้ความช่วยเหลือ ดังนี้
        - กุ้งก้ามกราม กุ้งทะเล หรือหอยทะเล  
          (ไร่ละ 11,780 บาท  รายละไม่เกิน 5 ไร่)
        - ปลา หรือสัตว์น้ำอื่นนอกจากข้อ 1 ที่เลี้ยงในบ่อดิน นาข้าว หรือร่องสวน
           
***คิดเฉพาะพื้นที่เลี้ยง*** (ไร่ละ 4,682 บาท รายละไม่เกิน 5 ไร่)
        - สัตว์น้ำตามข้อ 1 และข้อ 2 ที่เลี้ยงในกระชัง บ่อซีเมนต์ หรือที่เลี้ยงในลักษณะอื่นที่คล้ายคลึงกัน
           (ตารางเมตรละ 368 บาท รายละไม่เกิน 80 ตารางเมตร)

กระบวนการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรรมชาติ   ภาพรวม  |  ระดับอำเภอ  |  ระดับจังหวัด 
ตัวอย่าง การประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (อุทกภัย) ของสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสระบุรี

คู่มือ การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติด้านการเกษตร (2565)
คู่มือ หลักเกณฑ์การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ ด้านการเกษตร

หลักเกณฑ์วิธีปฎิบัติปลีกย่อยเกี่ยวกับการใช้จ้ายเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือด้านการเกษตรผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2564

แบบฟอร์มด้านประมง กรณีเกิดภัยพิบัติ
         กษ 01 แบบยื่นความจำนงเพื่อขอรับการช่วยเหลือของเกษตรกรที่ประสบภัยพิบัติ ด้านการประมง
         กษ 02 แบบประมวลรวบรวมความเสียหายด้านประมง และการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัย  ระดับหมู่บ้าน   |   ระดับตำบล   |   ระดับอำเภอ
         กษ 03 แบบประมวลรวบรวมความเสียหายด้านประมง และการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัย  ระดับจังหวัด 
         กษ 04 เอกสารหนังสือสำคัญรับเงิน

แบบฟอร์มรายงานความเสียหาย
         แบบรายงานความเสียหายเบื้องต้นของเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัย ปี 25    (ด้านประมง)
         บันทึก รายงานความเสียหายเบื้องต้นของเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัย ปี 2564 (ด้านประมง)
         บันทึกข้อความ  รายงานสถานการณ์อุทกภัย ปี 25... (ด้านการประมง)

 

เพิ่มเติม


คุยกับน้องมัจฉา Add Friends คุยกับน้องมัจฉา