วิสัยทัศน์ – พันธกิจ


วิสัยทัศน์ – พันธกิจ 

 ข่าวประชาสัมพันธ์  หน่วยงาน  หน่วยงานส่วนภูมิภาค

ส่ง email ทวิต Tweeter ส่ง Line แชร์ Facebook
ฟังเสียงบรรยาย
ฟังเสียงบรรยาย

กรมประมง มุ่งมั่น พัฒนา ให้ความสำคัญทั้งระบบ ตลอดห่วงโซ่การผลิต ให้สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค ว่าสินค้าประมงเป็นสินค้าที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน ใส่ใจสิ่งแวดล้อม เป็นไปตามความต้องการของประเทศคู่ค้า และสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับเกษตรกรและชาวประมงไปด้วยกันอย่างยั่งยืน

วิสัยทัศน์กรมประมง ปี 2566-2570    ที่มา: สถานีประมงต้นแบบ DOF Channel กรมประมง

สาระสำคัญของแผนปฏิบัติราชการกรมประมง ปี พ.ศ. 2565-2570  

วิสัยทัศน์ =>

"ยกระดับการประมงไทยให้แข่งขันได้ โดยใช้ทรัพยากรอย่างสมดุล พร้อมผลักดันงานวิจัยและนวัตกรรมที่สร้างความมั่นคั่งแก่เกษตรกร"

โดยมี ประเด็นสำคัญ 5 ด้าน ประกอบด้วย

ด้านที่ 1  

สร้างสมดุลการประมงที่รักษ์สิ่งแวดล้อม พร้อมได้ผลผลิตอย่างต่อเนื่องและมั่งคง
(ครอบคลุมถึงการใช้ทรัพยากรและปัจจัยการผลิตอย่างคุ้มค่า)

เป้าหมาย

  • สิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมการประมงได้รับการธำรงรักษาให้ใช้ประโยชน์ในระยะยาว
  • มีมาตรการที่เหมาะสมในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม เพื่อกำกัดการทำการประมง 
  • มุ้งเน้นบริการจัดการทรัพยากรและปัจจัยการผลิตเพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า
  • ลดการทำลายสิ่งแวดล้อมจากกิจกรรมการประมง และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และเพิ่มความเข้มข้นในการกำกับดูแลให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ตัวชี้วัด

  • ร้อยละความสำเร็จของโครงการและกิจกรรมที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสมดุลการประมงที่รักษ์สิ่งแวดล้อม
  • จำนวนเกษตรกร-ผู้ประกอบอาชีพเกี่ยวกับการประมง ที่ได้รับการส่งเสริมสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ
  • ระดับความสำเร็จ และความคืบหน้าของการดำเนินการเพื่อผลักดันการจับสัตว์น้ำและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
  • ระดับความสำเร็จในการผลักดันให้เกิด Zero wast/ Closed systems เทียบกับเป้าหมายที่กำหนด

กลยุทธ์

  • พัฒนาแนวทางการอนุรักษ์ ฟื้นฟูบริหารจัดการการใช้ประโยชน์ของทรัพยากรสัตว์น้ำ และการกำหนดมาตรการ เพื่ออ้างอิงตามหลักวิขาการและใช้ในการกำกับดูแลให้เป็นไปตามกฎหมาย
  • ส่งเสริม สนับสนุน กิจกรรมการประมงที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ผ่านโครงการ กิจกรรม การดำเนินงานของกรมประมง และส่วนราชการอื่นที่มีส่วนเกี่ยวข้อง 
  • กำกัดดูแล ตรวจสอบติดตามการใช้ประโยชน์จากสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมไม่สร้างผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติในระยะยาว
  • กำหนดเป็นวาระสำคัญระดับประเทศที่ต้องพัฒนาความตระหนักต่อทรัพยากรทางน้ำ โดยดึงเอาภาคประชาชน ภาคสื่อสารมวลชน เข้ามามีส่วนร่วมในการรณรงค์ให้สาธารณชนเข้าใจและสนใจ
  • ทบทวนระเบียบ ข้อบังคับ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการประมง เพื่อปรับปรุงให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการธำรงรักษาสภาพแวดล้อม และเปิดให้ใช้ประโยชน์ในระดับที่เหมาะสม

 

ด้านที่ 2

เสริมความความมั่งคั่งให้เกษตรกรด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เพิ่มทั้งผลผลิตและมูลค่า
(เพิ่มรายได้ ส่งเสริมอาชีพ ลดความเหลื่อมล้ำ ลดต้นทุนการผลิต และยกระดับการจัดการห่วงโซ่อุปทาน)

เป้าหมาย

  • พัฒนาเทคโนโลยีเพื่อรองรับความต้องการสินค้าประมงของผู้บริโภคในยุค New normal 
  • ต้นทุนสำคัญทั้งอาหาร พันธุ์สัตว์น้ำ ยารักษาโรคและอื่นๆ ต่ำลง ต้นทุนในการออกจับสัตว์น้ำอยู่ในระดับที่แข่งขันไ้ด
  • ปัญหาและอุปสรรคในการจัดการห่วงโซ่อุปทานของการประมงตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำได้รับการปรับแก้ไข
  • เกิดนวัตกรรมที่เพิ่มมูลค่าสินค้าประมงทั้งปริมาณและรายได้ พร้อมเพิ่มมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์และผลผลิตบนฐานความรู้- ความคิดสร้างสรรค์ และภูมิปัญญา
  • เกษตรกรมีรายได้เพิ่มจากอัตราการขยายตัวของมูลค่าสินค้าประมงเพิ่มขึ้น (Quantity-based target)

ตัวชี้วัด

  • ร้อยละขอต้นทุนที่ลดลงจากการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาปรับใช้
  • ร้อยละของจำนวนเทคโนโลยีและนวัตกรรมการผลิตสัตว์น้ำที่มีศักยภาพไ้ดรับการนำไปใช้ประโยชน์เพื่อเพิ่มผลผลิตและมูลค่าของสัตว์น้ำ
  • จำนวนเทคโนโลยีการปรับปรุงพันธุ์สัตซืน้ำที่ได้รับการพัฒา
  • จำนวนชนิดสัตซืน้ำเศรษฐกิจที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์ให้มีคุณภาพมากขึ้น
  • ร้อยละของจำนวนเทคโนโลยีด้านอาหารสัตว์น้ำ สุขภาพ และการควบคุมโรคสัตว์น้ำได้รับการนำไปใช้ประโยชน์ 
  • จำนวนกลุ่มเกษตรกรที่ได้นำเทคโนโลยีการผลิตสัตว์น้ำในแหล่งน้ำชุมชนไปใช้ประโยชน์

กลยุทธ์

  • ปรับเปลี่ยนระบบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของประเทศให้เป็นระบบที่ปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระดับต่ำและเป็นจุดเด่นของระบบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของประเทศที่จะสร้างความเชื่อมั่นและการยอมรับจากผู้บริโภคในอนาคต
  • พัฒนาเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่รองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  • พัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมระบบการผลิตสัตว์น้ำให้ได้มาตรฐานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
  • พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์น้ำและจับสัตว์น้ำร่วมกับกลุ่มเกษตรกรในแหล่งน้ำชุมชน
  • พัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการผลิตสัตว์น้ำเศรษฐกิจชนิดใหม่ที่มีศักยภาพในอนาคต
  • พัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการผลิตสัตว์น้ำและจับสัตว์น้ำที่มีศักยภาพเพื่อเพิ่มผลผลิตและมูลค่า

 

ด้านที่ 3

เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้วยสินค้าดี มีคุณภาพ ปลอดภัย และหลากหลาย
(เพิ่มมูลค่าสินค้า สร้างอัตลักษณ์พื้นถิ่น ยกระดับคุณภาพความปลอดภัยในกระบวนการผลิตให้มีมาตรฐานตลอดจนพัฒนาความรู้การใช้ชีวภัณฑ์แทนเคมีภัณฑ์)

เป้าหมาย 

  • มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูงด้วยสินค้าคุณภาพ หลากหลาย มีสินค้าประมงใหม่พัฒนาออกมา
  • เกษตรกรและผู้ประกอบการ (ครอบคลุมตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ) ได้รับการรับรองตามมาตรฐาน
  • สินค้าจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ได้รับการรับรองจากกรมประมงมีคุณภาพ ปลอดภัย ไม่ถูกตีกลับจากประเทศคู่ค้า
  • ผลผลิต - ผลิตภัณฑ์จากการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ มีคุณภาพได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากล

ตัวชี้วัด

  • ร้อยละของผู้ประกอบการที่ขอการรับรองและได้รับการรับรอง
  • ร้อยละของสินค้าประมงไทยที่ส่งออก ไม่ถูกตีกลับจากประเทศคู่ค้า
  • จำนวนสินค้าประมงที่ส่งเสริมอัตลักษณ์พื้นถิ่นที่ได้รับการพัฒนายกระดับ
  • จำนวนมาตรฐานสินค้าประมงที่แสดงความปลอดภัยและคุณภาพ - มาตรฐานของสินค้าประมงที่ผ่านการรับรอง
  • ร้อยละความสำเร็จของโครงการส่งเสริมและพัฒนาการผลิตสินค้าสัตว์น้ำให้มีคุณภาพและได้มาตรฐาน
  • ร้อยละของสัตว์ฯ้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำที่ส่งออกไปยังต่างประเทศสามารถตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งที่มารของสัตว์น้ำได้

กลยุทธ์

  • ส่งเสริมให้ความรู้ผู้ประกอบการและเกษตรกรเพื่อให้ได้การรับรองมาตรฐาน
  • ยกระดับฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์ฯ้ำ และยกระดับกระบวนการผลิตสินค้าประมงให้ได้มาตรฐานสากกล
  • ยกระดับการจับสัตว์น้ำให้มีการใช้เทคโนโลยีที่ปลอดภัยกับสิ่งแวดล้อม ได้ผลผลิตคุณภาพสูง
  • เสริมสร้างมาตรฐานสุขอนามัยสถานประกอบการแปรรูปสัตว์น้ำภายในประเทศ
  • พัฒนาระบบ - เทคโนโลยีการตรวจสอบย้อมกลับไปถึงวัตถุดิบตลอดห่วงโซ่ เพื่อความปลอดภัย
  • เพิ่มศักยภาพการตรวจรับรองและระบบควบคุมคุณภาพสินค้าประมง
  • สร้างความตระหนักรู้ด้านอาหารปลอดภัยในทุกภาคส่วน

 

ด้านที่ 4 

ยกระดับการประมงไทยด้วยวงานวิจัยและพัฒนา พร้อมตอบสนองเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)
(มุ่งเน้นเกษตรกรรมยั่งยืนลดปริมาณขยะ/วัสดุเหลือใช้ ใช้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน พร้อมมีการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้)

เป้าหมาย

  • มีงานวิจัยอย่างต่อเนื่อง และมุ่งแก้ไขปัญหาที่ตรงจุด เป็นความต้องการของชาวประมง/อุตสากรรมประมง
  • เกิดความตระหนักต่อความสำคัญในการส่งเสริมให้การประมงไทยเน้นที่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน
  • นำเอาเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) ในด้านที่เกี่ยวข้องเข้ามาประกอบในการวางนโยบายและแผนปฏิบัติราชการตลอดจนโครงการและกิจกรรมสำคัญของกรมประมง
  • ได้รับการยอมรับในระดับสากลจากหน่วยงานหรือองค์กรในต่างประเทศ จากการที่กรมประมงส่งเสริมและยกระดับการทำการประมงที่อาศัยแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน และลดปริมาณขยะ
  • กรมประมงผลิตงานวิจัย - วิชาการคุณภาพสูงออกมาอย่างต่อเนื่อง และเป็นที่พึ่งเชิงวิชาการของภาคอุตสาหกรรมประมงไทย

ตัวชี้วัด

  • ร้อยละของจำนวนงานวิจัยที่เกิดจากการส่งเสริมและสนับสนุนกระบวนการทำวิจัยและมีการบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  • จำนวนผลงานวิจัยที่มีการขยายผลการใช้ประโยชน์
  • จำนวนฐานข้อมูลองค์์ความรู้และเทคโนโลยีด้านการติดตามตรวจสอบ และเฝ้าระวังที่ได้รับการพัฒนา
  • จำนวนเทคโนโลยีการวิเคราะห์ พยากรณ์ และคาดการณ์ที่ได้รับการพัฒนา
  • ร้อยละของจำนวนบุคลากรที่ได้รับการเสริมสร้างศักยภาพได้ทำวิจัยและจัดพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัย

กลยุทธ์

  • เสริมสร้างศักยภาพบุคลากรด้านการวิจัยในการผลิตงานวิจัยที่มีคุณภาพ
  • ส่งเสริมและสนับสนุนกระบวนการทำวิจัยให้มีประสิทธิภาพ
  • สนับสนุนการเผยแพร่และการขยายผลให้การใช้ประโยชน์ผลงานวิจัย
  • ผลักดันการนำเอาแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนมาใช้ประโยชน์จริงในอุตสหกรรมการประมงไทย
  • วิจัยและพัฒนาวิทยาการด้านการสื่อสารและบูรณาการข้อมูลทางการประมง
  • วิจัยและพัฒนาเทคโนโยลยี และนวัตกรรมการบริหารจัดการด้านประมงให้มีความยั่งยืน
  • วิจัยและพัฒนามุ่งเน้นการลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลต่อทรัพยากรสัตว์นำระดับนิเวศ แหล่งทำการประมง และการทำประมงทุกสภาพพื้นที่ ทั้งพื้นที่น้ำจืด พื้นที่ชายฝั่ง และพื้นที่ทะเล และลดความอ่อนไหวหรือขจัดข้อจำกัดและอุปสรรคของการปรับตัวของชาวประมง

 

ด้านที่ 5

พัฒนากำลังคนและการดำเนินงานของรัฐให้ทัดเทียมสากลจนเกิดการยอมรับในระดับนานาชาติ
(มุ่งเน้น พัฒนากระบวนการของรัฐในการป้องกันการทำการประมงผิดกฎหมายการเฝ้าระวัง แก้ไขปัญหาต่างๆ ทางอุตสาหกรรมประมง เพื่อให้เกิดการยอมรับในระดับนานาชาติ)

เป้าหมาย

  • การดำเนินงานของกรมประมงและภาคอุตสาหกรรมประมงไทยได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
  • มีกระบวนการของรัฐที่เป็นมาตรฐานในการป้องกันการกระทำผลผิดกฎหมาย ตลอดจนการเฝ้าระวังที่เพียงพอ
  • จุดอ่อนสำคัญของการประมงไทยตลอดจนสภาพปัญหาที่เคยเกิดขึ้น ได้รับการปรับปรุงแก้ไข
  • การดำเนินงานและแผนปฏิบัติราชการของกรมประมง สอดคล้องกับข้อบังคับตามมาตรฐานสากล

ตัวชี้วัด

  • จำนวนกำลังคนภาครัฐเอกชนที่ได้รับการพัฒนา ตามเป้าหมาย
  • กระบวนการภายในของส่วนราชการและกรมประมงที่ได้รับการปรับปรุงให้เหมาะสมกับกับริบทปัจจุบัน
  • จำนวนกิจกรรมและโครงการที่ผลักดันให้เกิดการยอมรับและแก้ไขปัญหาอุปสรรคที่เป็นข้อจุดอ่อนของอุตสาหกรรมการประมงไทย
  • ร้อยละของการเพิ่มขึ้นของการรวมกลุ่ม/สร้างเครือข่ายเพื่อพัฒนากำลังคน

กลยุทธ์

  • พัฒนาองค์ความรู้และบุคลากรรัฐ - เอกชนที่มีส่วนส่งเสริมให้การประมงไทยถูกยอมรับในระดับนานาชาติ
  • เพิ่มศักยภาพระบบการเตือนภัย การเฝ้าระวัง และการควบคุมการระบาดของโรคสัตว์น้ำ และความเสี่ยงอื่น เพื่อประโยชน์ของเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ/ชาวประมง/ผู้ประกอบกิจการที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการประมง
  • ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพสินค้าประมงฮาลาล
  • เพิ่มช่องทางการตลาดและลดอุปสรรคการกีดกันทางการค้า
  • การสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานภายในและต่างประเทศ

 

Download... 

 

ค่านิยมหลักของกรมประมง

"We are FISHERIES"

F = Friendly มีความเป็นมิตร
I = Integrity มีคุณธรรม จริยธรรม
S = Smart มีความสง่างาม
H = Happiness มีความสุข
E = Enthusiasm มีความกระตือรือร้นในการปฏิบัติงาน
R = Responsibility มีความรับผิดชอบ
I = Intelligence มีความฉลาด
E = Energy มีพลังและกำลังความสามารถ
S = Simplicity มีความเรียบง่าย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


คุยกับน้องมัจฉา Add Friends คุยกับน้องมัจฉา