การช่วยเหลือ เมื่อประสบภัยพิบัติ


การช่วยเหลือ เมื่อประสบภัยพิบัติ 

 ข่าวประชาสัมพันธ์  หน่วยงาน  หน่วยงานส่วนภูมิภาค

ส่ง email แชร์ X ส่ง Line แชร์ Facebook
ฟังเสียงบรรยาย
ฟังเสียงบรรยาย

(ข้อมูลสำหรับเจ้าหน้าที่กรณี) เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนด้านประมง จะได้รับการช่วยเหลืออย่างไร เมื่อประสบภัยพิบัติ

InforGraphic : แนวทางการปฏิบัติในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในช่วงฤดูต่างๆ  (ฤดูฝน)   (ฤดูแล้ง)   (ฤดูหนาว)
สื่อการเรียรู้ การช่วยเหลือเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเมื่อเกิดภัยพิบัติ ผลิตโดย สถานีประมงต้นแบบ DOF Channel 
                   การช่วยเหลือเกษตรกรและชาวประมงที่ประสบภัย ผลิตโดย HR DOF Channel

    กระบวนการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรรมชาติ   ภาพรวม  |  ระดับอำเภอ  |  ระดับจังหวัด 
       ตัวอย่าง การประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (อุทกภัย) ของสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสระบุรี

    คุณสมบัติของเกษตรกร
       - เกษตรกรขึ้นทะเบียนด้านประมงกับหน่วยงานของกรมประมง  "ก่อนเกิดภัยพิบัติ"

    ขั้นตอนการให้ความช่วยเหลือ
       ขั้นที่ 1 จังหวัดประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือฯ
       ขั้นที่ 2 เกษตรกร ยื่นความจำนง ขอรับการช่วยเหลือ (แบบ กษ 01) ซึ่งมีผู้ใหญ่บ้าน/กำนัน/อบต.หรือนายกเทศมนตรีประจำท้องที่ตรวจสอบรับรอง
       ขั้นที่ 3 ประมงอำเภอ สำรวจและตรวจสอบความเสียหายของเกษตรกร และตรวจสอบกับทะเบียนเกษตรกรฯ
       ขั้นที่ 4 ประมงอำเภอ จัดทำแบบประมวลรวบรวมการช่วยเหลือรายหมู่บ้าน (แบบ กษ 02) นำไปติดประกาศในสถานที่ราชการ เป็นเวลา ไม่น้อยกว่า 3 วัน
       ขั้นที่ 5 ประมงอำเภอ เสนอ ก.ช.ภ.อ. เพื่อพิจารณาให้ความช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงคลังฯ
                    "โดยใช้เงินทดรองราชการในอำนาจอำเภอ"
       ขั้นที่ 6 หากวงเงินในอำนาจของอำเภอมีไม่เพียงพอ ให้นำเสนอ ก.ช.ภ.จ. เพื่อพิจารณาให้ความช่วยเหลือ
                    โดยใช้เงินทอดรองราชการในอำนาจผู้ว่าราชการจังหวัด (20 ล้านบาท)
       ขั้นที่ 7 หากวงเงินในอำนาจของจังหวัดไม่เพียงพอ สามารถขอ ใช้เงินทดรองราชการในอัตราการให้ความช่วยเหลือ
                    ในอำนาจของปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (50 ล้านบาท)

    อัตราการให้ความช่วยเหลือ ดังนี้
       - กุ้งก้ามกราม กุ้งทะเล หรือหอยทะเล  (ไร่ละ 11,780 บาท  รายละไม่เกิน 5 ไร่)
       - ปลา หรือสัตว์น้ำอื่นนอกจากข้อ 1 ที่เลี้ยงในบ่อดิน นาข้าว หรือร่องสวน
             ***คิดเฉพาะพื้นที่เลี้ยง*** (ไร่ละ 4,682 บาท รายละไม่เกิน 5 ไร่)
       - สัตว์น้ำตามข้อ 1 และข้อ 2 ที่เลี้ยงในกระชัง บ่อซีเมนต์ หรือที่เลี้ยงในลักษณะอื่นที่คล้ายคลึงกัน
             (ตารางเมตรละ 368 บาท รายละไม่เกิน 80 ตารางเมตร)

    Inforgraphic แผนภาพแสดงหลักเกณฑ์การให้ความช่วยเหลือด้านประมง


เอกสารอ้างอิง: 

แบบฟอร์มด้านประมง กรณีเกิดภัยพิบัติ
         กษ 01 แบบยื่นความจำนงเพื่อขอรับการช่วยเหลือของเกษตรกรที่ประสบภัยพิบัติ ด้านการประมง
         กษ 02 แบบประมวลรวบรวมความเสียหายด้านประมง และการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัย
                    ระดับหมู่บ้าน   |   ระดับตำบล   |   ระดับอำเภอ
         กษ 03 แบบประมวลรวบรวมความเสียหายด้านประมง และการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัย  ระดับจังหวัด 
         กษ 04 เอกสารหนังสือสำคัญรับเงิน

แบบฟอร์มรายงานความเสียหาย
         แบบรายงานความเสียหายเบื้องต้นของเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัย ปี 25    (ด้านประมง)
         บันทึก รายงานความเสียหายเบื้องต้นของเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัย ปี 2564 (ด้านประมง)
         บันทึกข้อความ  รายงานสถานการณ์อุทกภัย ปี 25... (ด้านการประมง)


คุยกับน้องมัจฉา Add Friends คุยกับน้องมัจฉา