วัฏจักรของการเลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อ

 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี




วัฏจักรของการเลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อ


              การมีความรู้ ความเข้าใจในแต่ละกิจกรรม จะทำให้สามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง ซึ่งจะนำไปสู่ความสำเร็จ คือ ได้ผลผลิตที่ดีบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้

การเตรียมบ่อและปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำลงบ่อ

              การเตรียมบ่อและปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำลงบ่อ มีกิจกรรมที่ต้องปฏิบัติ ได้แก่ การทำความสะอาดบ่อ การใส่ปูนขาว การเปิดน้ำเข้าบ่อ การใส่ปุ๋ย การเพิ่มระดับน้ำในบ่อ และการปล่อยสัตว์น้ำลงเลี้ยงในบ่อ

1. การทำความสะอาดบ่อ
              บ่อเลี้ยงสัตว์น้ำเชิงเดียวควรสร้างตามวัตถุประสงค์และสอดคล้องกับหลักวิชาการจึงจะช่วยให้การเลี้ยงสัตว์น้ำนั้นประสบความสำเร็จได้ การสร้างบ่อควรจะสร้างในฤดูแล้งจะเหมาะสมที่สุด บ่อที่เหมาะสมกับการเลี้ยงสัตว์น้ำเชิงเดี่ยวขึ้นอยู่กับชนิดของสัตว์น้ำ โดยมีลักษณะที่เอื้อต่อการเจริญเติบโตของสัตว์น้ำเป็นสำคัญ

              ในกรณีบ่อเก่า ที่มีการเลี้ยงสัตว์น้ำมาแล้ว หลักจากการเลี้ยงสัตว์น้ำแต่ละรุ่น ให้ระบายน้ำออกและจับสัตว์น้ำที่ยังคงเหลืออยู่และสัตว์อื่นๆ ออกให้หมด กำจัดวัชพืช ตรวจสอบตะแกรงกรองน้ำและซ่อมแซมท่อน้ำเข้า-ออก และตกแต่งบริเวณคันบ่อให้สมบูรณ์ ควรตากบ่อทิ้งไว้ 5-10 วัน แสงแดดจะช่วยฆ่าเชื้อโรงต่างๆ ที่สะสมอยู่ในบ่อให้หมดไป หากไม่สามารถสูบน้ำออกได้หมดให้กำจัดศัตรูของลูกสัตว์น้ำ ส่วนบ่อคอนกรีตหลักจากทำความสะอาด ตรวจสอบระบบกรองน้ำและซ่อมแซมท่อน้ำเข้า-ออก แล้วทำการตากบ่อเช่นเดียวกัน

2. การใส่ปูนขาว
              ใช้ปูนขาว ในอัตรา 50-100 กิโลกรัม/ไร่ หรือมากกว่าถ้าดินเป็นกรด ปูนขาวจะช่วยฆ่าเชื้อโรค ศัตรูสัตว์น้ำ และช่วยปรับสภาพดิน (สำหรับบ่อคอนกรีตหลังจากทำความสะอาดแล้วไม่ต้องใช้ปูนขาวปรับสภาพ) โดยหว่านปูนขาวให้ทั่วบ่อ ถ้าเป็นบ่อใหม่ ควรเปิดน้ำลงบ่อให้พอแฉะๆ โรยปูนยาวอัตรา 100-200 กิโลกรัม/ไร่ ตากบ่อให้แห้ง

3. การเปิดน้ำเข้าบ่อ
              เปิดน้ำเข้าบ่อให้มีระดับ 30-50 เซนติเมตรแล้วปิดน้ำ เพื่อการสร้างอาหารธรรมชาติ

4. การใส่ปุ๋ย
              การใส่ปุ๋ยจะช่วยให้การสร้างอาหารธรรมชาติเกิดได้เร็วขึ้น โดยใส่ปุ๋ยคอกอัตรา 100-200 กิโลกรัม/ไร กองไว้ตามุมบ่อที่น้ำท่วมถึง ในบ้างครั้งอาจเติมปุ๋ยเคมี 15-30 กิโลกรัม/ไร่ เพื่อเร่งการสร้างอาหารธรรมชาติให้เกิดเร็วขึ้น หลักจาใส่ปุ๋ย 3-5 วัน อาหารธรรมชาติในบ่อเริ่มเกิดขึ้น จะพักบ่อไว้ประมาณ 10-15 วัน จนน้ำในบ่อเริ่มเปลี่ยนสีเป็นสีเขียว

5. การเพิ่มระดับน้ำในบ่อ
              เมื่อสังเกตน้ำทั้งบ่อเป็นสีเขียวดีแล้ว จะเติมน้ำเข้าบ่ออีกครั้ง เพื่อเพิ่มระดับน้ำให้สูงขึ้นสำหรับสัตว์น้ำอยู่อาศัยได้ โดยเพิ่มน้ำจาะระดับเดิมที่ลึก 30-50 เซนติเมตร ให้ได้ระดับลึก 1.0-1.20 เมตร

6. การปล่อยสัตว์น้ำลงเลี้ยงในบ่อ
              ในการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำลงบ่อ จะเกี่ยวข้อกับขนาดและอัตราการปล่อยสัตว์น้ำ
              6.1 ขนาดของสัตว์น้ำที่ปล่อย ในกรณีที่เลี้ยงปลา ปลาที่ปล่อยโดยทั่วไปอายุประมาณ 4-5 สัปดาห์ น้ำหนักเฉลี่ย 2-3 กรัม โดยคัดเลือกลูกปลาที่แข็งแรง คุณภาพดี ขนาดเดียวกันทั้งชุด ส่วนวิธีการปล่อยปลาลงสู่น้ำในบ่อ มีขั้นตอน ดังนี้
                   1. นำลูกปลาที่บรรจุถุงพลาสติกอัดอากาศ ไปวางลงในบ่อทั้งถุงเป็นเวลาประมาณ 10-15 นาที โดยยังไม่เปิดปากถุง เพื่อเป็นการปรับอุณหภูมิของน้ำในถุงให้ใกล้เคียงกับน้ำในบ่อมากที่สุด เป็นการป้องกันการช็อคและตายของปลาเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอย่างกะทันหัน
                   2. จากนั้นเปิดปากถุง ลดระดับถุงให้ต่ำลงใกล้พื้นผิวน้ำ ใช้มือวิดน้ำจากบ่อให้เข้ามาผสมกับน้ำในถุงปลาประมาณครึ่งถุง เป็นเวลาประมาณ 15 นาที จึงปล่อยให้ลูกปลาว่ายออกจากถุงลงสู่บ่อ หากพบว่ามีการตายก็จะสังเกตได้ในช่วงนี้


              การปล่อยปลูกปลาบางชนิดซึ่งมีนิสัยว่ายน้ำขึ้นลงในแนวดิ่งลงบ่อเลี้ยง เช่น ปลาดุก ก่อนเทปลาลงในบ่อเลี้ยงต้องกวนน้ำในบ่อหลาให้น้ำระดับบนและระดับล่างผสมกันก่อน และต้องปล่อยปลาในขณะที่อุณหภูมิน้ำไม่สูงหรือต่ำเกินไป หากจำเป็นต้องพักปลาหลังจากการขนส่งเพื่อสักเกตความแข็งแรงของลูกปลาก่อนปล่อยลงบ่อดิน ก็จะช่วยให้อัตราการรอดของลูกปลาดีขึ้น
              ถ้าภาชนะที่บรรจุปลามีลักษณะเปิด เช่น ถัง หรือปี๊บ การตรวจสอบความแตกต่างของอุณหภูมิน้ำทำได้ด้วยวิธีง่ายๆ โดยจุ่มมือข้างหนึ่งลงในน้ำที่อยู่ในภาชนะบรรจุปลา และจุ่มมืออีกข้างหนึ่งลงในน้ำในบ่อปลา ถ้ารู้สึกว่ามือข้างหนึ่งข้างใดร้อนหรือเย็นกว่ากัน ก็ค่อยๆ เติมน้ำจากบ่อปลาลงไปในภาชนะบรรจุลูกปลาจนกระทั่งมีความร้อนหรือความเย็นเท่ากัน
              6.2 อัตราการปล่อย จำนวนสัตว์น้ำที่ปล่อยลงบ่อขึ้นอยู่กับชนิดและขนาดสัตว์น้ำ ตลอดจนระบบการเลี้ยงซึ่งรวมไปถึงการจัดการเลี้ยงดูและการให้อาหาร โดยทั่วไปจะปล่อยลูกพันธุ์สัตว์น้ำ เช่น ลูกปลาขนาด 3-5 เซนติเมตร ลงเลี้ยงในอัตรา 1-3 ตัว/ตารางเมตร หรือ 2,000-5,000 ตัว/ไร่

 

การจัดการเลี้ยงดูจนถึงจัดการสัตว์น้ำส่งตลาด

              หลังจากจัดการเตรียมบ่อเลี้ยงและปล่อยสัตว์น้ำลงบ่อเลี้ยงแล้ว ขึ้นตอนต่อไปคือการจัดการเลี้ยงดูสัตว์น้ำในบ่อ จนถึงจัดการผลผลิตสัตว์น้ำส่งตลาด ซึ่งมีกิจกรรมที่ต้องปฏิบัติ ได้แก่ การให้อาหาร การตรวจดูแลประจำวันและจดบันทึก การสุ่มตัวอย่างสัตว์น้ำเพื่อประเมินการเจริญเติบโต การจับหรือการเก็บเกี่ยวผลผลิตสัตว์น้ำ การทำความสะอาดสัตว์น้ำ และการจัดการสัตว์น้ำส่งตลาด

1. การให้อาหาร
              นอกจากอาหารธรรมชาติที่เกิดจากการใส่ปุ๋ยแล้ว การเลี้ยงสัตว์น้ำเชิงเดี่ยวที่ส่วนมากเป็นการเลี้ยงแบบหนาแน่น จำเป็นต้องมีการให้อาหารสมทบ เช่น อาหารผสม หรืออาจให้รำ ปลายข้าว กากถั่วเหลือจากโรงงานทำเต้าหู้ กากถั่วสิลง เศษอาหารจากโรงครัวหรือร้านอาหาร ตลอดจน แหนเป็ด สาหร่าย ผักตบชวาสับให้ระเอียด เป็นต้น
              สำหรับปริมาณอาหารที่สัตว์น้ำจะให้ตามน้ำหนักตัว โดยคิดเป็นร้อยละของน้ำหนักสัตว์น้ำที่ปล่อยเลี้ยง (การหาน้ำหนักสัตว์น้ำที่ปล่อยในบ่อจะใช้การสุ่มสัตว์น้ำจำนวนหนึ่งขึ้นมาเป็นตัวแทนเพื่อชั่งน้ำหนัก) ปริมาณอาหารที่ให้แต่ละวันจะแบ่งให้ โดยจำนวนครั้งที่ให้อาหารจะขึ้นอยู่กับขนาดของสัตว์น้ำ ตัวอย่างเช่น การให้อาหารปลา โดยทั่วไปปริมาณอาหารที่ให้ควรให้เกินร้อยละ 4 ของน้ำหนักปลาที่เลี้ยง

ตัวอย่าง ปริมาณอาหารและจำนวนครั้งที่ให้อาหารปลานิลขนาดต่างๆ ที่อุณหภูมิ 24-30 องศาเซลเซียส

น้ำหนักปลา
(กรัม)
จำนวน
(ตัว/กก.)
ปริมาณอาหารที่ให้
(ร้อยละของน้ำหนักตัวปลา/วัน)
จำนวนครั้งที่ให้อาหาร
(ครั้ง/วัน)
1-5 200-1,000 6-10 4-6
5-25 40-200 5 4
25-150 7-40 3-4 4
150-250 4-7 3 3-4
250-450 2-4 2-3 2-3


             การให้อาหารสัตว์น้ำมีข้อควรระวัง คือ ถ้าสัตว์น้ำกินไม่หมด อาหารจะจมลงพื้นบ่อและทำให้น้ำเน่าเสียเป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำที่เลี้ยงได้ ซึ่งต้องมีการปรับลดปริมาณอาหารที่ให้ ทั้งนี้ยังต้องพิจารณาถึงอุณหภูมิน้ำด้วย เพราะอุณหภูมิมีความสัมพันธ์กับการกินอาหารของสัตว์น้ำ เมื่ออุณหภูมิของน้ำลดลงสัตว์น้ำก็จะกินอาหารลดลง ตัวอย่างเช่น ในช่วงฤดูหนาว ปลาที่เลี้ยงในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะได้รับผลกระทบจากอุณหภูมิของน้ำมากกว่าในภาคใต้ ภาคกลาง และภาคตะวันออก โดยทั่วไปปลาจะกินอาหารได้ดีเมื่ออุณหภูมิของน้ำสูงกว่า 24 องศาเซลเซียส

2. การ่ตรวจดูแลประจำวันและจดบันทึก
              การตรวจดูแลสภาพแวดล้อมของบ่อ พฤติกรรมและสุขภาพสัตว์น้ำ ตลอดจนมีการบันทึกข้อมูลเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องปฏิบัติประจำวันอย่างสม่ำเสมอ ดังนี้
              2.1 ตรวจดูแลสภาพแวดล้อมของบ่อ เช่น
                     - ตรวจวัดระดับน้ำในบ่อ รวมทั้งตะแกรงกรองที่ท่อน้ำเข้า-ออกบ่อ ให้คงอยู่ในสภาพปกติ ควรเติมน้ำให้อยู่ระดับปกติ หากพบว่าน้ำลดลงอย่างรวดเร็วกว่าปกติ ตรวจหาสาเหตุและแก้ไข
                     - ตรวจวัดความขุ่นและความโปร่งใสของน้ำ ประมาณ 20 เซนติเมตร (Secchi disk reading)
                     - ตรวจการพังทลายหรือถูกกัดเซาะของคันบ่อ รวมทั้งมีการกำจัดวัชพืชรอบๆ คันบ่อ
              2.2 สังเกตพฤติกรรมและสุขภาพของสัตว์น้ำ เช่น การกินอาหาร การขึ้นหายใจที่ผิวน้ำ และการตายของสัตว์น้ำ
              2.3 จดบันทึกข้อมูล ฟาร์มต้องมีการจดบันทึกข้อมูลการปฏิบัติงาน ข้อมูลด้านการผลิต เช่น ราคาปัจจัยการผลิต ข้อมูลสภาพแวดล้อม อาทิ คุณภาพน้ำในบ่อฯ ข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งช่วยในการแก้ไขปัญหา ตลอดจนเป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการการเลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อสำหรับฤดูการผลิตต่อไป

3. การสุ่มตัวอย่างสัตว์น้ำเพื่อประเมินการเจริญเติบโต
              การสุ่มตัวอย่างเพื่อมาชั่งน้ำหนัก มีความสำคัญต่อการประเมินการเจริญเติบโตของสัตว์น้ำในบ่อ และยังใช้สำหรับการปรับปริมาณการให้อาหาร ได้สอดคล้องกับความต้องการอาหารของสัตว์น้ำที่เปลี่ยนแปลงตามการเจริญเติบโต การสุ่มตัวอย่างสัตว์น้ำในการปรับปริมาณอาหารนี้ควรทำอย่างน้อยเดือนละครั้ง

              วิธีการ กรณีปลา สุ่มชั่งน้ำหนักปลาจำนวนหนึ่ง (30-50 ตัว) แล้วหาน้ำหนักเฉลี่ยของปลาจากนั้นนำไปเทียบกับความต้องการอาหารจากตารางความต้องการให้อาหาร แล้วคำนวณปริมาณที่ต้องการใช้ทั้งหมด และปริมาณที่ให้ต่อครั้ง ดังแสดงในตัวอย่าง

                 ตัวอย่าง จงคำนวณปริมาณอาหารทั้งหมดที่จะใช้เลี้ยงปลานิลจำนวน 1,000 ตัวในบ่อดิน หลักจากการสุ่มชั่งน้ำหนัก ได้น้ำหนักเฉลี่ย 3 กรัม/ตัว  น้ำหนักรวมของปลาในบ่อ = 1}000 x 3 = 3,000 กรัม
                จากตาราง (ปริมาณอาหารและจำนวนครั้งที่ให้อาหารปลา...) พบว่า
                        ปลาขนาด 3 กรัม มีอัตราให้อาหารต่อวัน               6-10% ของน้ำหนักรวม
                        ในการสุ่มครั้งแรกนี้ เลือกใช้อัตรา 10%
                        ดังนั้น ปริมาณอาหารที่จะให้ปลาทั้งบ่อ      =  (10/100) x 3,000 กรัม
                                                                                      = 300 กรัม/วัน
                        ปลาขนาด 3 กรัม/ตัว ควรให้อาหาร 4 ครั้ง/วัน 
                        ดังนั้น ปริมาณอาหารที่ให้ต่อครั้ง               = 300/4 = 75 กรัม

4. การจับหรือเก็บเกี่ยวผลผลิตสัตว์น้ำ
              ในกรณีที่มีการใช้ยาในการดูแลสัตว์น้ำ ก่อนการจับสัตว์น้ำควรหยุดใช้ยา ซึ่งระยะหยุดให้ยาจะเป็นไปตามชนิดของยา โดยทั่วไปถ้ามีการใช้ยาปฏิชีวนะดูแลปลา ควรหยุดใช้ยาก่อนจับปลาจำหน่ายอย่างน้อย 21 วัน เพื่อมิให้เกิดการตกค้างของยาในสัตว์น้ำ ในกรณีที่มีการใช้ยาเพื่อกำจัดปรสิตภายนอกควรหยุดใช้ยาก่อนจับสัตว์น้ำอย่างน้อย 7 วัน นอกจากนี้ ก่อนจับสัตว์น้ำต้องหยุดให้อาหารสัตว์น้ำเป็นเวลา 1-2 วัน
              เมื่อเลี้ยงจนสัตว์น้ำโตได้ขนาดตามที่ตลาดต้องการแล้ว การจับสัตว์น้ำต้อใช้แรงงานในการลากอวน อุปกรณ์สูบน้ำออกจากบ่อ รวมทั้งาภชนะต่างๆ ที่บรรจุสัตว์น้ำ และรักษาสัตว์น้ำให้ยังคงมีชีวิตและความสด ลักษณะของการจับสัตว์น้ำมีหลายรูแบบขึ้นอยุ่กับวัตถุประสงค์ของการจับ เช่น
              4.1 การจับสัตว์น้ำบางส่วนโดยไม่มีการระบายน้ำออกจากบ่อ โดยใช้เครื่องมือประมง เช่น อวน แห หรือยอ เป็นการจับสัตว์น้ำในปริมาณไม่มากเพื่อนำไปใช้ตามวัตถุประสงค์ต่างๆ 
              4.2 การจับสัตว์น้ำบางส่วนโดยลดระดับน้ำให้น้อยลง การจับสัตว์น้ำวิธีนี้ต้องการสัตว์น้ำในปริมาณที่มากพอสมควรแต่ไม่ใช่ทั้งหมดในบ่อ เนื่อจากสัตว์น้ำจะเครียดและตายได้ง่าย
              4.3 การจับสัตว์น้ำครั้งเดียวทั้งบ่อ โดยการระบายน้ำออกทั้งหมด แล้วจับสัตว์น้ำทั้งหมด การจับแบบนี้เป็นการสิ้นสุดกระบวนการเลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อ และพักบ่อเพื่อเริ่มต้นการเลี้ยงในรุ่นต่อไป
              การจับสัตว์น้ำควรทำในช่วยที่อากาศไม่ร้อน ท้องฟ้าโปร่ง เวลาที่เหมาะสมที่สุดคือ ช่วงเช้า นอกจากอากาศเย็นแล้ว ยังเป็นเวลาของการจับจ่ายซื้อขายของในตลาดสดของท้องถิ่นอีกด้วย 

5.  การทำความสะอาดสัตว์น้ำ
              การล้างสิ่งสปกรก เป็นการทำความสะอาดสัตว์น้ำหรือปลาที่จับขึ้นจากบ่อก่อนนำเข้าสู่ตลาดเป็นสิ่งที่มีความจำเป็น เพราะทำให้ผลผลิตสัตว์น้ำหรือปลาของฟาร์มมีคุณภาพและมาตรฐานดียิ่งขึ้น และได้ราคาดีขึ้น การล้างหรือปล่อยให้สัตว์น้ำพักอยู่ในระบบน้ำที่สะอาด เพื่อชะล้างความสกปรกและกลิ่นโคลนตม และกลิ่นคาว (off-flavour) ซึ่งไม่เป็นที่ต้องการของผู้บริโภค
              สัตว์น้ำบางกลุ่ม เช่น ปลาสวาย ปลาเทโพ จะมีกลิ่นของสารประกอบที่ให้กลิ่นโคลน คือ geosmin ซึ่งสังเคราะห์โดยสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินบางชนิด เช่น กลุ่มออสซิลาโทเรีย (Oscillatoria sp.) กลุ่มมัยัโครซิสติส (Mycrocysits sp.) เป็นต้น และแบคทีเรียกลุ่มสเตรปโตมายซิส (Streptomyces sp.) เป็นสาเหตุให้เกิดกลิ่นโคลนในสัตว์น้ำนั้น การชำระล้างกลิ่นนี้ออกจากตัวสัตว์น้ำทำได้โดย
                1) งดให้อาหารสัตว์น้ำในบ่อก่อนทำการจับ 1 วัน แล้วปล่อยน้ำที่สะอาดผ่านเข้าไปในบ่อ
                2) นำสัตว์น้ำที่จับมากักขังในภาชนะที่มีน้ำใสสะอาดไหลผ่าน และเติมอากาศใส่น้ำตลอดเวลาหรืออาจหลีกเลี่ยงการเกิดของกลิ่นนี้โดยการควบคุมปริมาณสารอินทรีย์ในบ่อให้น้อยลง ลดการแพร่พันธุ์ของสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน

6. การจัดการสัตว์น้ำส่งตลาด
              การตลาดผลผลิตสัตว์น้ำของฟาร์ม เป็นกิจกรรมสุดท้ายของกระบวนการผลิตสัตว์น้ำในบ่อ การตลาดที่ประสบผลสำเร็จนั้น ขึ้นอยู่กับผลการดำเนินกิจกรรมฟาร์มที่ผ่านมาทุกขั้นตอน ตลอดจนคุณภาพและปริมาณของผลผลิตสัตว์น้ำที่ได้จะเป็นสิ่งที่ช่วยให้การจำหน่ายปลาหรือสัตว์น้ำได้ง่าย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์และแผนการด้านตลาดของผู้เลี้ยงว่า จะจัดการกับผลผลิตหลังการเก็บเกี่ยวสัตว์น้ำในฟาร์มอย่างไร
              การเลี้ยงสัตว์น้ำแบบต่อเนื่องตลอดทั้งปี ในกรณีฟาร์มที่มีบ่อดินจำนวนมากพอ ควรจัดการปล่อยสัตว์น้ำลงเลี้ยงในบ่อในเวลาที่เหลื่อมกัน เพื่อให้สามารถจับสัตว์น้ำได้ในเวลาที่ต่อเนื่องกันตลอดทั้งปี

แหล่งข้อมูล : ”เอกสารการสอนชุดวิชา การจัดการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ หน่วยที่ 8-15  ของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช (หน้าที่ 8-18 ถึง 8-27)“

  •   หน่วยงาน: สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี
  •   ประกาศวันที่: 2025-03-26
  •   ประกาศสิ้นสุดเเล้วเมื่อวันที่: 2025-03-26 
  •   Hits
  • ภารกิจประจำวันที่ 10 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  ภารกิจประจำวันที่ 10 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 51  ภารกิจประจำวันที่ 27 มกราคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 27 มกราคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 26 ภารกิจประจำวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 26 ภารกิจประจำวันที่ 31 มกราคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 31 มกราคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 23 ภารกิจประจำวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 22 ภารกิจประจำวันที่ 8 เมษายน 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 8 เมษายน 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 20 ภารกิจประจำวันที่ 25 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   ภารกิจประจำวันที่ 25 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 19 ภารกิจประจำวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 18 ภารกิจประจำวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 17 ภารกิจประจำวันที่ 5 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 5 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 17 ภารกิจประจำวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  ภารกิจประจำวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 16 ภารกิจประจำวันที่ 7 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 7 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 16 ภารกิจประจำวันที่ 16 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี     ภารกิจประจำวันที่ 16 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 16 ภารกิจประจำวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  ภารกิจประจำวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 15 ภารกิจประจำวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  ภารกิจประจำวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 13

    สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี

    รายละเอียด สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี SARABURI PROVINCIAL FISHERIES OFFICE ที่ตั้ง : 123 หมู่ 6 ศาลากลางจังหวัดสระบุรี สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี (ชั้น 2)            ตำบลตะกุด อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี 18000           123 Moo 6, Saraburi Provincial Hall, Saraburi Provincial Fisheries Office (2nd floor)            Takud Sub-district, Mueang Saraburi District, Saraburi, 18000 การเดินทางสาธารณะ : รถสองแถวสาย 9 (10 บาทตลอดสาย)                                       โดยจุดจอดรถสองแถวเริ่มต้นที่ บขส.สระบุรี สิ้นสุดที่ ศูนย์ราชการจังหวัดสระบุรี  Social Network     : fpo_saraburi@fisheries.go.th  LINEID : fposaraburi QR Code Line    ผู้ดูแลเว็บไซต์ : นางสาวพรศิริ โพธาราม   เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล  email  fpo_saraburi@fisheries.go.th  โทรศัพท์ 0 3634 0742  FAX 0 3634 0742  แฟนเพจ แฟนเพจ
    CreativeCommons Valid CSS! Explanation of WCAG 2.1 Level Triple-AA Conformance SSL Labs ipv6