เรียนรู้กับน้องปูน้ำตกสระบุรี...Infographic อาหารสัตว์น้ำ

 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี




เรียนรู้กับน้องปูน้ำตกสระบุรี...Infographic อาหารสัตว์น้ำ

#เรียนรู้กับน้องปูน้ำตกสระบุรี...วันนี้เรามาเรียนรู้เรื่อง แหล่งอาหารสัตว์น้ำ ซึ่งเป็นแหล่งข้อมูลจาก : ”เอกสารการสอนชุดวิชา การจัดการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ หน่วยที่ 1-7 ของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช (หน้าที่ 2-13 ถึง 2-14)“
     #น้องปูน้ำตกสระบุรี...สรุปเป็น Infographic ให้พี่ๆ สามารถศึกษาและเข้าใจง่ายๆ 

#อาหารสัตว์น้ำ
     อาหารสัตว์น้ำนับเป็นปัจจัยอีกปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญ เป็นปัจจัยพื้นฐานในการผลิตสัตว์น้ำและต้นทุนการผลิต เนื่องจาก "ต้นทุนการผลิตสัตว์น้ำประมาณ ร้อยละ 60-80 มาจากค่าอาหาร" #การเลี้ยงจะประสบความสำเร็จมากน้อยขึ้นอยู่กับคุณภาพ ปริมาณ วิธีการให้และราคาอาหารเป็นสำคัญ นอกจากอาหารมีผลต่อการเจริญเติบโต การยังชีพ การเจริญพันธุ์ และการแพร่พันธุ์ของสัตว์น้ำแล้ว ยังมีผลต่อคุณภาพของน้ำด้วยเช่นกัน กล่าวคือหากให้อาหารที่พอเหมาะและมีคุณภาพดีก็จะช่วยรักษาคุณภาพน้ำในบ่อเลี้ยงได้ หากให้อาหารมากเกินไปหรือมีคุณภาพไม่ดี นอกจากเพิ่มค่าใช้จ่ายแล้ว โอกาสการเกิดน้ำเสียและเกิดโรคจะเพิ่มสูงขึ้น ในธรรมชาติสัตว์น้ำสามารถที่จะหาอาหารได้เองตามแหล่งน้ำ แต่หากจับมาเลี้ยงในที่จำกัด การจัดการเรื่องอาหาร คุณสมบัติของอาการและการให้อาหารจะมีความจำเป็นมากยิ่งขึ้น

แหล่งอาหารสัตว์น้ำ ที่สำคัญมีด้วยกัน 2 แหล่ง ได้แก่
     1. อาหารธรรมชาติ (natural food) หมายถึง อาหารที่เกิดขึ้นในบ่อตามธรรมชาติ ปริมาณมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของบ่อและคุณภาพน้ำ ชนิดของอาหารธรรมชาติ ได้แก่ 
        * แพลงก์ตอนพืช เป็นอาหารขั้นต้นในแหล่งน้ำ สำคัญต่อสัตว์น้ำที่กินพืชเป็นหลักกระจายอยู่ในบ่อส่วนใหญ่ เช่น Chlorella sp., Phormidium sp., Closterium sp., Nitzschia sp. และ Diatoms sp. เป็นต้น
        * แพลงก์ตอนสัตว์ ที่ว่ายหรือล่องลอยในน้ำ เป็นอาหารขั้นที่สองของแหล่งน้ำ เป็นอาหารหลักของพวกสัตว์น้ำที่กินเนื้อเป็นหลัก เช่น โรติเฟอร์ (Brachionus sp.) ไรแดง (Moina sp.) ไรน้ำสีน้ำตาล ( Daphnia sp.) และอาร์ทิเมีย (Artemia sp.) เป็นต้น
        * พวกชีวอินทรีย์ ตัวแมลงที่อยู่ตามพืชน้ำ เช่น ลูกน้ำ ลูกปลา ลูกหอย แมลงปอ ลูกแมลงบางชนิด เป็นต้น
        * สัตว์หน้าดิน (benthos) พวกอยู่ตามพื้นบ่อ หรือฝังตัวตามพื้น ตัวหนอนต่างๆ เช่น ไส้เดือน และหนอนแดง (Chironomus sp.) ลูกหอยต่างๆ เป็นต้น
        * พืชน้ำ (aquatic plants) พวกขึ้นในบ่อสภาพติดดิน หรือพวกลอยน้ำ เช่น สาหร่าย แหนเป็ด ไข่น้ำ สันตะวา และจอก เป็นต้น

     2. อาหารผสม
        * แบบเปียก เป็นรูปแบบอาหารที่ใช้เลี้ยงปลาทั่วไปในประเทศไทย เช่น อาหารที่เหลือจากครัวเรือน หรือร้านอาหาร โดยนำมาต้มรวมกับผักหรือพันธุ์ไม้น้ำชนิดต่างๆ หรือใช้ปลาเบญจพรรณหรือที่เรียกว่า ปลาเป็ด บดรวมกับปลายข้าวต้มและรำ แล้วนำไปเลี้ยง หรือใช้มูลสัตว์ ได้แก่ มูลไก่ มูลเป็ด และมูลสุกร ให้สัตว์น้ำโดยตรง หรือใช้เป็นปุ๋ย
        * แบบแห้ง เป็นรูปแบบอาหารที่ใช้เลี้ยงที่สะดวกมากวิธีหนึ่ง อาหารรูปแบบนี้สามารถเก็บรักษาไว้ได้เป็นเวลานาน สะดวกแก่การให้และขนส่งไปยังที่ไกลๆ แบ่งได้ดังนี้
          >> แบบผง อาหารรูปแบบนี้ใช้วัตถุดิบอาหารชนิดต่างๆ ที่มีลักษณะแห้งและเป็นผงละเอียดมาผสมรวมกัน และโรยให้ปลากิน #เหมาะกับลูกสัตว์น้ำขนาดเล็กหรือวัยอ่อน
          >> แบบเม็ดจม อาหารรูปแบบนี้ใช้วัตถุดิบอาหารชนิดต่างๆ ที่มีลักษณะเป็นผงและแห้งมาผสมกับน้ำ แล้วผ่านเครื่องอัดเม็ดออกมาเป็นแท่งยาว มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางและความยาวตามที่ต้องการ เมื่อออกจาเครื่องใหม่ๆ อาหารจะเปียก เมื่อถูกลมและแดดจะแห้งและจับตัวแน่นเป็นแท่งยาว สามารถอยู่ในน้ำได้นานและเก็บรักษาได้นาน
          >> แบบเม็ดลอย ส่วนผสมของอาหารเช่นเดียวกับอาหารชนิดเม็ดจม โดยอาหารต้องผ่านเครื่องอัดเม็ด แต่มีกรรมวิธีการผลิตที่สลับซับซ้อนกว่า คือ ก่อนการอัดเม็ดต้องทำให้ส่วนผสมของอาหารร้อนจนวัตถุดิบอาหารขยายตัวแล้วจึงอัดอากาศเข้า อาหารที่ออกจากเครื่องอัดจะมีอากาศอยู่ข้างในจึงมีคุณสมบัติลอยน้ำได้ ผู้เลี้ยงสามารถทราบได้ว่าสัตว์น้ำกินอาหารหมดหรือไม่ จัดว่าเป็นอาหารที่ประหยัดชนิดหนึ่ง (Aquatoyou, ม.ป.ป)

 

 

  •   หน่วยงาน: สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี
  •   ประกาศวันที่: 2025-03-27
  •   ประกาศสิ้นสุดเเล้วเมื่อวันที่: 2025-03-27 
  •   Hits
  • ภารกิจประจำวันที่ 10 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  ภารกิจประจำวันที่ 10 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 51  ภารกิจประจำวันที่ 27 มกราคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 27 มกราคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 26 ภารกิจประจำวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 26 ภารกิจประจำวันที่ 31 มกราคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 31 มกราคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 23 ภารกิจประจำวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 22 ภารกิจประจำวันที่ 8 เมษายน 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 8 เมษายน 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 20 ภารกิจประจำวันที่ 25 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   ภารกิจประจำวันที่ 25 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 19 ภารกิจประจำวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 18 ภารกิจประจำวันที่ 5 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 5 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 17 ภารกิจประจำวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 17 ภารกิจประจำวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  ภารกิจประจำวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 16 ภารกิจประจำวันที่ 16 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี     ภารกิจประจำวันที่ 16 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 16 ภารกิจประจำวันที่ 7 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 7 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 16 ภารกิจประจำวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  ภารกิจประจำวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 15 ภารกิจประจำวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  ภารกิจประจำวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 13

    สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี

    รายละเอียด สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี SARABURI PROVINCIAL FISHERIES OFFICE ที่ตั้ง : 123 หมู่ 6 ศาลากลางจังหวัดสระบุรี สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี (ชั้น 2)            ตำบลตะกุด อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี 18000           123 Moo 6, Saraburi Provincial Hall, Saraburi Provincial Fisheries Office (2nd floor)            Takud Sub-district, Mueang Saraburi District, Saraburi, 18000 การเดินทางสาธารณะ : รถสองแถวสาย 9 (10 บาทตลอดสาย)                                       โดยจุดจอดรถสองแถวเริ่มต้นที่ บขส.สระบุรี สิ้นสุดที่ ศูนย์ราชการจังหวัดสระบุรี  Social Network     : fpo_saraburi@fisheries.go.th  LINEID : fposaraburi QR Code Line    ผู้ดูแลเว็บไซต์ : นางสาวพรศิริ โพธาราม   เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล  email  fpo_saraburi@fisheries.go.th  โทรศัพท์ 0 3634 0742  FAX 0 3634 0742  แฟนเพจ แฟนเพจ
    CreativeCommons Valid CSS! Explanation of WCAG 2.1 Level Triple-AA Conformance SSL Labs ipv6