จุดประกายความคิด...สร้างอาชีพด้วยการเพาะเลี้ยงไรแดง

 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี




จุดประกายความคิด...สร้างอาชีพด้วยการเพาะเลี้ยงไรแดง

จุดประกายความคิดในการสร้างอาชีพ...การเพาะเลี้ยงไรแดง

ไรแดง เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังจำนวนครัตเตเซียน สกุลหนึ่งโดยอยู่ในสกุล Moina มีชื่อวิทยาสาสตร์ Moina macrocopa ชื่อสามัญว่า Water flea เป็นแพลงก์ตอนสัตว์ชนิดหนึ่งมีขนาด 0.4-1.8 มิลลิเมตร ลำตัวสีแดง ถ้าอยู่รวมกันเป็นจำนวนมากจะมองเห็นเป็นกลุ่มสีแดงเข้ม (ไรแดงเป็นอาหารธรรมชาติที่ดีสำหรับอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อน) โดยเฉพาะสัตว์น้ำเศรษฐกิจทั้งปลาสวยงาม และปลาเศรษฐกิจ เช่น ปลากัด กุ้งก้ามกราม ปลากะพง และปลาดุกอุย เป็นต้น

 

การเพาะเลี้ยงไรแดง 

   ไรแดงสามารถสืบพันธุ์ได้ทั้งแบบอาศัยเพศ และแบบไม่อาศัยเพศขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของสภาพแวดล้อม โดยปัจจัยในการเพาะเลี้ยงไรแดง อาทิ แสงแดด อากาศ ปริมาณธาตุอาหารที่อยู่ในน้ำ การเลี้ยงไรแดงสามารถดำเนินการได้ 3 รูปแบบ คือ การเลี้ยงในบ่อซีเมนต์ การเลี้ยงในบ่อดิน และการเลี้ยงในภาชนะ ไม่ว่าจะรูปแบบใดต้องเริ่มต้นจากการเตรียมอาหารที่ดีสำหรับไรแดง คือขั้นตอนการเตรียมน้ำเขียว ซึ่งประกอบไปด้วยแพลงตอนพืชที่เป็นอาหารสำคัญของไรแดง 


    
การนำไรแดงมาใช้ประโยชน์ 

   ไรแดงที่ได้จากบ่อผลิตในลักษณะนี้จะมีเชื้อโรคที่ทำอันตรายกับสัตว์น้ำน้อยกว่าไรแดงที่ได้จากแหล่งน้ำธรรมชาติ แต่เพื่อความมั่นใจจึงควรล้างด้วยสารละลายด่างทับทิม 0.1 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ซึ่งจะได้สารละลายสีชมพูอ่อน สารละลายนี้จะเพิ่มออกซิเจนให้กับไรแดงและน้ำด้วย เพราะด่านทับทิมเมื่อละลายน้ำจะให้ออกซิเจนในน้ำ

 

การเก็บรักษาและการขนส่งไรแดง 

   การเก็บรักษาและการขนส่งไรแดงควรลดกิจกรรมหรือการใช้พลังงานการดำเนินชีวิตของไรแดง โดยบรรจุไรแดงในอุณหภูมิต่ำเพื่อให้เกิดการใช้พลังงานต่างๆ ในตัวให้น้อยที่สุด ในระหว่างการขนส่ง ควรให้อุณหภูมิภายในถุงเปลี่ยนแปลงไปอย่างช้าๆ และการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิไม่มากนัก จนเป็นอันตรายต่อไรแดง การขนส่งไรแดงที่ยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบันควรทำ ดังนี้
    1. ใช้วิธีการเก็บโดยการแช่แข็ง สามารถเก็บไว้ได้นานและยังสดอยู่เสมอ (ส่วนมากเป็นไรแดงที่ตาย) ปกติสัตว์น้ำวัยอ่อนมักชอบกินไรแงที่ยังมีชีวิตอยู่ ไรแดงที่เก็บโดยวิธีนี้ไม่สามารถนำไปใช้เป็นพันธุ์ในการผลิตต่อไปได้
    2. วิธีการเก็บในอุณหภูมิต่ำประมาณ 10 องศงเซลเซียส  
    3. การขนส่งไรแดง แช่ในน้ำแข็งประมาณ 1-2 วินาที เพื่อลดกิจกรรมและระบบการเผาผลาญพลังงานในตัวเอง แล้วรีบบรรจุในน้ำสะอาดและมีน้ำแข็งคลุมรอบนอกถุง เป็นวิธีที่ดีที่สุด
    4. การขนส่งไรแดงในระยะทางใกล้ๆ ( 2-3 ชั่วโมง) นำไรแดงมาบรรจุในน้ำสะอาดแล้วอัดออกซิเจนคลุมน้ำแข็งรอบๆ กรณีที่ไม่สามารถหาน้ำแข็งได้ สามารถขนส่งในรถที่มีเครื่องปรับอากาศได้
    5. การลำเลียงไรแดงในลักษณะแช่แข็งเป็นวิธีเดียวกันโดยนำไรแดงไปแช่แข็งในตู้เย็น และให้ไรแดงแข็งโดยเร็ว เพื่อความสด วิธีนี้สามารถเก็บไว้ได้นานและยังสดอยู่เสมอ

อ้างอิงข้อมูลจาก :    คู่มือการเพาะเลี้ยงไรแดง, ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ; กรกฎาคม 2565   


อ่านเอกสารเพิ่มเติม 
    แผ่นพับ การเพาะพันธ์ไรแดง (Moina macrocopa), กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 
    หนังสือ การเพาะเลี้ยงไรแดง, กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 
    ไรแดงสยาม อาหารสัตว์น้ำวัยอ่อน, สวทช NSTDA
    คู่มือการเพาะเลี้ยงไรแดง, ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ; กรกฎาคม 2565

  •   หน่วยงาน: สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี
  •   ประกาศวันที่: 2024-04-09
  •   ประกาศสิ้นสุดเเล้วเมื่อวันที่: 2024-04-09 
  •   Hits
  • ภารกิจประจำวันที่ 10 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  ภารกิจประจำวันที่ 10 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 52  ภารกิจประจำวันที่ 27 มกราคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 27 มกราคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 30 ภารกิจประจำวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 30 ภารกิจประจำวันที่ 31 มกราคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 31 มกราคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 26 ภารกิจประจำวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 26 ภารกิจประจำวันที่ 25 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   ภารกิจประจำวันที่ 25 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 25 ภารกิจประจำวันที่ 8 เมษายน 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 8 เมษายน 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 23 ภารกิจประจำวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 22 ภารกิจประจำวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 21 ภารกิจประจำวันที่ 5 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 5 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 20 ภารกิจประจำวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  ภารกิจประจำวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 20 ภารกิจประจำวันที่ 7 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 7 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 20 ภารกิจประจำวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 19 ภารกิจประจำวันที่ 16 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี     ภารกิจประจำวันที่ 16 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 18 ภารกิจประจำวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  ภารกิจประจำวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 18

    สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี

    รายละเอียด สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี SARABURI PROVINCIAL FISHERIES OFFICE ที่ตั้ง : 123 หมู่ 6 ศาลากลางจังหวัดสระบุรี สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี (ชั้น 2)            ตำบลตะกุด อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี 18000           123 Moo 6, Saraburi Provincial Hall, Saraburi Provincial Fisheries Office (2nd floor)            Takud Sub-district, Mueang Saraburi District, Saraburi, 18000 การเดินทางสาธารณะ : รถสองแถวสาย 9 (10 บาทตลอดสาย)                                       โดยจุดจอดรถสองแถวเริ่มต้นที่ บขส.สระบุรี สิ้นสุดที่ ศูนย์ราชการจังหวัดสระบุรี  Social Network     : fpo_saraburi@fisheries.go.th  LINEID : fposaraburi QR Code Line    ผู้ดูแลเว็บไซต์ : นางสาวพรศิริ โพธาราม   เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล  email  fpo_saraburi@fisheries.go.th  โทรศัพท์ 0 3634 0742  FAX 0 3634 0742  แฟนเพจ แฟนเพจ
    CreativeCommons Valid CSS! Explanation of WCAG 2.1 Level Triple-AA Conformance SSL Labs ipv6