การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำผสมผสาน แบบเกษตรอินทรีย์ตามวิถีพอเพียง

 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี




การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำผสมผสาน แบบเกษตรอินทรีย์ตามวิถีพอเพียง

#Infographic การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำผสมผสาน แบบเกษตรอินทรีย์ตามวิถีพอเพียง


     การประกอบอาชีพด้านการเกษตรด้วยการจัดการระบบนิเวศเกษตรอย่างเหมาะสม สามารถช่วยลดต้นทุนการผลิตและนำไปสู่ผลผลิตที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค ด้วยสร้างอาหารตามธรรมชาติสำหรับเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และจัดการระบบนิเวศของบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดีจะนำไปสู่ความยั่งยืนของการประกอบอาชีพและพึ่งพาตนเองได้ โดยใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรผ่านกระบวนการย่อยสลายตามธรรมชาติ สำหรับเป็นแหล่งอาหารของสัตว์น้ำ ทำให้ได้ผลผลิตสัตว์น้ำที่หลากหลาย


     ประเภทสัตว์น้ำ
       1. สัตว์น้ำกินพืช สามารถใช้สารอาหารจากพืชและแป้งได้ดี อาทิ ปลานิล ปลาตะเพียน ปลาสลิด ฯลฯ
       2. สัตว์น้ำกินสัตว์ อาศัยกิจสัตว์ชนิดอื่น หรืออาหารที่มีปริมาณโปรตีนสูง อาทิ ปลากดเหลือง ปลาช่อน และปลาดุก ฯลฯ
       3. สัตว์น้ำอื่นๆ เป็นสัตว์น้ำที่สามารถเลี้ยงร่วมกับปลาได้ อาทิ กุ้งก้ามกราม และหอยขม ฯลฯ


     แหล่งอาหารสำหรับสัตว์น้ำ
       1. ฟางข้าว และสิ่งเหลือทิ้งทางการเกษตรทิ้งไว้ให้ย่อยสลายภายในพื้นที่เกษตร หรือเผาทิ้งโดยเปล่าประโยชน์ ได้แก่ ฟางข้าว หญ้า ต้นข้าวโพด ต้นถั่ว และรวมถึงวัชพืชต่างๆ สิ่งเหล่านี้มีปริมาณโปรตีนและเยื่อใยสูง เช่น ฟางข้าวมีโปรตีนต่ำเพียง 3.9% เท่านั้น สัตว์ที่ย่อยและใช้ประโยชน์จากวัสดุเหล่านี้ จึงมักเป็นสัตว์เคี้ยวเอื้องที่มีจุลินทรีย์ในกระเพาะช่วงย่อยสลายเยื่อใย สำหรับสัตว์น้ำสามารถกิน และดูดซึมสารอาหารจากวัสดุเหล่านี้ได้น้อย (เกษตรกรจึงต้ออาศัยกระบวนการย่อยสลายจากจุลินทรีย์ตามธรรมชาติ เพื่อให้สิ่งเหลือทิ้งทางการเกษตรเหล่านี้เป็นอาหารสัตว์น้ำได้)

       2. มูลสัตว์ เป็นสิ่งเหลือทิ้งทางเกษตรประเภทหนึ่งที่มีสารอาหารสูง โดยเฉพาะมูลสัตว์ที่เลี้ยงด้วยอาหารสำเร็จรูป ได้แก่ มูลไก่ และมูลสุกร ส่วนมูลวัวที่ปล่อยเลี้ยงให้กินหญ้าตามธรรมชาติมีสารอาหารต่ำ (มูลสัตว์เป็นแหล่งของธาตุไนโตรเจนและฟอสฟอรัสำหรับการเติบโตของแพลงก์ตอนพืช จึงช่วยสร้างอาหารตามธรรมชาติภายในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ มูลสัตว์ที่นำมาใช้ควรผ่านการหมักให้ย่อยสลายก่อน เพื่อป้องกันและเกิดน้ำเสียและลดปริมาณจุลินทรีย์ก่อโรคที่อาจปนเปื้อนในมูลสัตว์)

ลักษณะและส่วนประกอบทางเคมีของมูลสัตว์ชนิดต่างๆ
              มูลสัตว์แต่ละชนิดนั้นก็มีลักษณะและส่วนประกอบทางเคมีแตกต่างกันไป ซึ่งล้วนแต่เป็นประโยชน์ กล่าวคือ ส่วนใหญ่จะประกอบด้วย ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปแตสเซียม นอกจากนี้ก็ยังมีพวกแร่ธาตุอื่นๆ อีก เช่น แคลเซียม แมกนีเซียม ทองแดง สังกะสี และเหล็ก เป็นต้น ส่วนปริมาณที่ขับถ่ายออกมาของมูลสัตว์แต่ละวันและคุณสมบัติของการย่อยสลายก็ขึ้นกับชนิดของสัตว์ ขนาด และอายุ รวมทั้งอาหารและน้ำที่ให้ในแต่ละวัน ตลอดจนสภาวะแวดล้อมอีกด้วย
              มูลสุกร เนื่องจากสุกรเป็นสัตว์ที่สามารถกินอาหารได้หลายชนิด ดังนั้น คุณภาพของมูลสุกรจึงขึ้นอยู่กับอาหารที่สุกรกินเข้าไป โดยทั่วไปแล้วมูลสุกรจะมีธาตุ C : N = 14 : 1 ซึ่งง่ายต่อการย่อยสลายเหมาะแก่การจะนำไปใช้ประโยชน์ เช่น แก๊สชีวภาพ ปุ๋ย และเป็นอาหารของปลาในแต่ละวัน สุกรน้ำหนัก 54.6-72.5 กก. จะให้ปริมาณของเสียที่ขับถ่ายออกมาประมาณ 6.76 กก. (มูลสุกรนั้นมีความชื้นมาก ปล่อยความร้อนน้อยขณะที่ทำการหมัก)
              มูลวัว ก็คล้ายกับมูลสุกร มีธาตุ C : N = 25 : 1 ง่ายต่อการนำไปทำแก๊สชีวภาพ เพราะเป็นสัตว์ที่ชอบกินหญ้า มีพวกเส้นใย (fiber) อยู่มาก จึงทำให้มีธาตุคาร์บอนมาก วัวเป็นสัตว์ที่เคี้ยวเอื้องและดื่มน้ำมาก ดังนั้น มูลวัวจึงมีความชื้นมาก แต่สลายตัวช้าและให้ความร้อนน้อยขณะที่ทำการหมัก (fermentation) ในแต่ละปีวัวหนึ่งตัวจะให้มูลประมาณ 9,000 กก.
              มูลม้า ต่างจากมูลวัว คือจะมีจำนวนอินทรียวัตถุ ไนโตรเจน และเซลลูโลสสูงกว่ามูลวัว (มูลม้ายังปล่อยความร้อนเป็นจำนวนมากขณะที่เกิดการหมัก)
              มูลแกะ แกะเป็นสัตว์ที่กินน้ำน้อย ความชื้นของมูลต่ำ ความเร็วในการหมักและสลายตัวจึงไม่เร็วเท่ากับมูลม้า แต่เร็วกว่ามูลสุกรและมูลวัว (เวลาหมักก็ให้ความร้อนเหมือนกันเช่นเดียวกับมูลม้า)
              มูลของพวกสัตว์ปีก ได้แก่ พวกเป็ด ไก่ และห่าน พวกนี้จะมีส่วนประกอบของไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปแตสเซียมสูง (จึงเป็นปุ๋ยที่มีความสมบูรณ์ค่อนข้างสูง)

     
       3. ใบพืช หรือพืชน้ำ เป็นอาหารเสริมที่มีราคาถูกและหาได้ง่ายในท้องถิ่น เช่น ผักบุ้ง แหนเป็ด แหนแดง ผำ ใบมันสำปะหลัง และเศษผัก เป็นต้น (ใช้สำหรับเป็นอาหารปลากินพืช)
                 หัวมันสำปะหลัง ซึ่งเป็นอาหารที่ใช้เลี้ยงปลาได้ และมีปริมาณมากในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แต่มีข้อเสียก็คือมีอัตราการแลกเนื้อที่ต่ำ ดังนั้น จึงควรใช้ผสมกับอาหารประเภทอื่น เช่น รำและ ปลาป่น โดยต้มให้สุกแล้วคลุกผสมให้เข้ากัน จะทำให้อาหารผสมเหนียว สามารถป้องกันการสูญเสียของอาหารที่ละลายน้ำได้ดี อีกทั้งเป็นการเพิ่มพูนคุณภาพของอาหารปลาอีกด้วย

Cr : ทวีเดช ไชยนาพงษ์ สถานบันปฏิบัติการชุมชนเพื่อการศึกษาแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยทักษิณ

 

     อาหารธรรมชาติ (Natural food) หมายถึงอาหารที่เกิดขึ้นในบ่อธรรมชาติ ปริมาณของอาหารเหล่านี้จะมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของบ่อนั้นๆ โดยพิจารณาจากแผ่นภาพดังต่อไปนี้

พืช และสัตว์ที่เป็นอาหารของสัตว์น้ำตามธรรมชาติ ได้แก่
       1. แพลงก์ตอนพืช สิ่งที่มีชีวิตเหล่านี้จะกระจายอยู่ทั่วไปในบ่อ ส่วนใหญ่จะเจริญและขยายพันธุ์ได้ดีในบ่อที่มีแสงอาทิตย์ส่งผ่านถึง เช่น Chlorella sp. น้ำจืด Phormidium sp., Costerim sp., Nitzchia sp., Diatoms sp., Volvox sp.
       2. แพลงก์ตอนสัตว์ เป็นพวกที่ว่ายหรือเลื่อนลอยอยู่ในน้ำ ไม่เกาะยึดหรืออยู่โดยตรงกับดินหรือพืชน้ำ เช่น Euglena sp., Brachionus sp., Cyclop sp., Moina sp., Daphnia sp. ฯลฯ
       3. ชีวอินทรีย์ที่เป็นสัตว์ เป็นพวกที่เกาะอยู่ตามพืชน้ำและสิ่งยึดเกาะได้ที่อยู่กลางน้ำ เช่น ลูกน้ำ ลูกหอย ลูกแมลงปอ และลูกแมลงในน้ำอื่นๆ บางชนิด ฯลฯ
       4. สัตว์น้ำก้นบ่อ เป็นพวกที่ฝังตัวอยู่ที่พื้นก้นบ่อ หรือตามใต้ใบไม้ที่หล่นอยู่ตามก้นบ่อ เช่น พวกไส้เดือน หนอนแดง (Chironomus sp.) ลูกหอยขม ลูกหอยโข่ง ฯลฯ
       5. พืชนํ้า เป็นพวกพืชที่เกิดขึ้นในบ่อทั้งที่อยู่ในสภาพที่ติดดินและรากที่ลอยอยู่ในน้ำ เช่น สาหร่ายชนิดต่างๆ แหนเป็ด ไข่น้ำ สันตะวา หญ้า ฯลฯ

สัตว์น้ำต้องการอาหารด้วยเหตุผล 3 ประการ
   1. เพื่อการเจริญเติบโต
   2. เพื่อการเคลื่อนไหวและยังชีพประจำวัน
   3. เพื่อการเจริญสืบพันธุ์-แพร่ขยายพันธุ์

การสร้างอาหารธรรมชาติ "การทำฟางหมัก หญ้าหมัก เพื่อเป็นอาหารปลา" ลดต้นทุนการผลิต
     ปัจจุบันต้นทุนการผลิตส่วนใหญ่สูงไปกับค่าอาหารที่คิดเป็น 60-70 % ของต้นทุนการผลิตทั้งหมด เนื่องจากสัตว์น้ำต้องการอาหารที่มีโปรตีนสูง ดังนั้น การสร้างอาหารธรรมชาติภายในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำจึงเป็นแนวทางหนึ่งที่ช่วยลดต้นทุนการผลิต ด้วยการใช้วัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ได้แก่ ฟางข้าว และมูลสัตว์เติมลงในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ จุลินทรีย์ที่มีอยู่ในน้ำจะย่อยสลายวัสดุเหล่านี้ และปลดปล่อยธาตุอาหารออกมา ทำให้แพลงก็ตอนพืชที่เกิดขึ้น สารอาหารทั้งหมดถูกปลากินพืชกินอีกต่อหนึ่ง นอกจากนี้เกษตรกรควรให้อาหารจำนวนเศษผัก พืชน้ำ รำข้าว หรือเศษอาหารอื่น จะช่วยให้ปลากินพืชเจริญเติบโตได้เร็วขึ้น (ปลาที่เลี้ยงด้วยวิธีการสร้างอาหารธรรมชาติใช้เวลา 8-12 เดือน สามารถจำหน่ายหรือบริโภคได้)

     ขั้นตอนการทำฟาง/หญ้าหมักในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ
           การทำฟางหรือหญ้าหมัก ช่วยลดปริมาณอาหารที่ใช้เลี้ยงปลาได้ ใช้ได้ทั้งสำหรับเตรียมบ่ออนุบาลและเลี้ยงปลา เนื่องจากช่วยให้เกิดอาหารธรรมชาติหลายชนิดที่เป็นอาหารปลาได้ ได้แก่ โรติเฟอร์ ไรแดง หนอนแดง เป็นต้น

            สำหรับอนุบาลลูกปลา  หลักจากตากบ่อ และโรยปูนขาวแล้วนำฟางข้าว/หญ้า/ผักตบชวา ที่แห้งแล้ว ใส่ร่วมกับปุ๋ยมูลสัตว์ (มูลไก่หรือมูลวัวแห้ง) ต่างๆ อัตรา 100 กิโลกรัม/ไร่/เดือน ปักหลักไม้บริเวณมุมบ่อ เพื่อเป็นแนวกั้น ไม่ให้ฟางข้าวและมูลสัตว์กระจายทั่วบ่อ 
                  =>  ใช้ฟางแห้ง/ปุ๋ยมูลสัตว์ ในอัตราส่วน 1:1 ทำการใส่ฟางแห้งสลับกับมูลสัตว์เป็นชั้นๆ ที่มุมบ่อ
                  =>  หากบ่อขนาดใหญ่อาจทำ 3-4 จุด เพื่อให้ปลามีอาหารกินได้อย่างพอเพียง ใส่น้ำลึก 20 เซ็นติเมตร ทิ้งไว้ประมาณ 2-3 วัน หรือเมื่อสีน้ำเปลี่ยนเป็นสีชาจึงเพิ่มระดับน้ำเป็น 50-60 เซนติเมตร หลักจากนี้ประมาณ 3-5 วัน จึงนำลูกปลามาปล่อย

           สำหรับปลาวัยรุ่น/ปลาขุน ในช่วงระหว่างการเลี้ยงปลาให้ใส่ปุ๋ยและฟางหมักเดือนละครั้งในปริมาณ 100 กิโลกรัม/ไร่ การทำวิธีนี้จะช่วยให้มีอาหารธรรมชาติในบ่อปลาเพียงพอ ดังนั้น การให้อาหารอาจให้สมทบวันเว้นวันได้ ซึ่งเหมาะกับการเลี้ยงปลาเบญจพรรณ ได้แก่ ปลาตะเพียน ปลานิล ปลาจีน ปลาสวาย เป็นต้น 

     ข้อแนะนำ

  • ฟาง/หญ้า/วัสดุที่นำมาทำเป็นกองปุ๋ยหมักสำหรับเป็นอาหารปลาควรแห้ง แต่หากมีการนำมาใช้ขณะยังสดอยู่จะต้องใส่ปูนขาว เล็กน้อยเนื่องจากช่วงแรกของการหมักจะเป็นกรด
  • การใช้มูลไก่ นกกระทา/สุกร จะทำให้ฟางข้าวย่อยสลายได้เร็วกว่าการใช้มูลวัวและควาย เพราะมูลสัตว์เหล่านี้มีปริมาณธาตุอาหารสูง
  • ไม่ใช้มูลสัตว์สดที่ไม่ผ่านกระบวนการหมัก/ทำให้แห้ง เนื่องจากระหว่างการย่อยสลายจะมีแก๊สแอมโมเนียเกิดขึ้น ซึ่งเป็นพิษต่อสัตว์น้ำ อาจทำให้สัตว์น้ำตายได้
  • เมื่อฟางข้าวและมูลสัตว์ย่อยสลายจนเห็นว่ากองวัสดุยุบลง ให้เติมฟางข้าวและมูลสัตว์ทับลงไปเป็นชั้นเช่นเดิม

 

เอกสารเพิ่มเติม: 

 

#ลดต้นทุนด้านอาหารในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำด้วยการสร้างแพลงก์จากพืช
#วิถีพอเพียง #แบบเกษตรอินทรีย์
#สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี
#กรมประมง #กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

  •   หน่วยงาน: สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี
  •   ประกาศวันที่: 2023-10-31
  •   ประกาศสิ้นสุดเเล้วเมื่อวันที่: 2023-10-31 
  •   Hits
  • ภารกิจประจำวันที่ 10 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  ภารกิจประจำวันที่ 10 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 52  ภารกิจประจำวันที่ 27 มกราคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 27 มกราคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 29 ภารกิจประจำวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 28 ภารกิจประจำวันที่ 31 มกราคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 31 มกราคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 25 ภารกิจประจำวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 25 ภารกิจประจำวันที่ 8 เมษายน 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 8 เมษายน 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 22 ภารกิจประจำวันที่ 25 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   ภารกิจประจำวันที่ 25 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 21 ภารกิจประจำวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 21 ภารกิจประจำวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 20 ภารกิจประจำวันที่ 5 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 5 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 19 ภารกิจประจำวันที่ 7 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 7 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 19 ภารกิจประจำวันที่ 16 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี     ภารกิจประจำวันที่ 16 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 18 ภารกิจประจำวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  ภารกิจประจำวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 18 ภารกิจประจำวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  ภารกิจประจำวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 18 ภารกิจประจำวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 18

    สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี

    รายละเอียด สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี SARABURI PROVINCIAL FISHERIES OFFICE ที่ตั้ง : 123 หมู่ 6 ศาลากลางจังหวัดสระบุรี สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี (ชั้น 2)            ตำบลตะกุด อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี 18000           123 Moo 6, Saraburi Provincial Hall, Saraburi Provincial Fisheries Office (2nd floor)            Takud Sub-district, Mueang Saraburi District, Saraburi, 18000 การเดินทางสาธารณะ : รถสองแถวสาย 9 (10 บาทตลอดสาย)                                       โดยจุดจอดรถสองแถวเริ่มต้นที่ บขส.สระบุรี สิ้นสุดที่ ศูนย์ราชการจังหวัดสระบุรี  Social Network     : fpo_saraburi@fisheries.go.th  LINEID : fposaraburi QR Code Line    ผู้ดูแลเว็บไซต์ : นางสาวพรศิริ โพธาราม   เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล  email  fpo_saraburi@fisheries.go.th  โทรศัพท์ 0 3634 0742  FAX 0 3634 0742  แฟนเพจ แฟนเพจ
    CreativeCommons Valid CSS! Explanation of WCAG 2.1 Level Triple-AA Conformance SSL Labs ipv6