ผลิตสื่อสารการรับรู้...สู่ภาคประชาชน ลดการสูญเสียน้ำในสระ

 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี




ผลิตสื่อสารการรับรู้...สู่ภาคประชาชน ลดการสูญเสียน้ำในสระ

ผลิตสื่อสารการรับรู้...สู่ภาคประชาชน #สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี #กรมประมง #กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

รักษ์เกษตร : ลดการสูญเสียน้ำในสระ  ที่มา: naewna.com
           การสูญเสียน้ำในสระ อาจมาจากหลายสาเหตุ #ถ้าเกิดจากการระเหย ตัวแปรที่สำคัญคือ อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ และลม และ#ถ้าเกิดจากการรั่วซึม ตัวแปรที่สำคัญก็คือ สภาพของดิน และระดับน้ำใต้ดิน เมื่อระดับน้ำในสระลดต่ำกว่าระดับน้ำในดินเมื่อไหร่ น้ำจากดินก็จะไหลเข้าบ่อเอง
           การสูญเสียน้ำในสระ ที่เกิดขึ้นจาก #การที่น้ำซึมลงสู่ดินชั้นล่าง เมื่อดินมีช่องว่างทำให้น้ำที่เก็บกักอยู่ซึมลึกลงไปใต้ดิน วิธีป้องกันทำได้หลายวิธี อาจทำได้โดย 
                     1) วิธีการอุดช่องว่างระหว่างดินก้นสระ ให้ทำการบดอัดดินเหนียวที่ก้นสระ หรือ 
                     2) วิธีหว่านปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักลงไป เพื่อสร้างพืชน้ำเมื่อมันตายทับถมลงไปกลายเป็นอินทรียวัตถุอุดรูช่องว่างของดิน      

           การสูญเสียของน้ำในสระ ที่เกิดจาก #การซึมของน้ำออกทางด้านข้าง ในฤดูแล้งพื้นดินด้านข้างของสระแห้ง ทำให้น้ำจากสระซึมเข้าไปทดแทน วิธีป้องกันทำได้โดย 
                     1) การบุด้วยผ้าพลาสติก หรือ 
                     2) การปลูกแฝกเป็นแนวรอบสระ ให้ชิดติดกันสองหรือสามชั้น เพื่อให้รากแฝกที่ลงลึกไปช่วยป้องกันไม่ให้น้ำออกทางด้านข้างมากเกินไป  

การระเหยของน้ำในสระไปในอากาศ เกิดจาก #ความร้อนจากดวงอาทิตย์ และ #แรงลมที่พัดผ่านสระ จะช่วยเร่งการระเหยของน้ำให้เร็วขึ้น วิธีป้องกันคือ ต้องลดความร้อนจากดวงอาทิตย์ที่ส่องลงสระน้ำ โดยการปลูกพืชที่ให้ร่มเงาให้แก่สระ เพื่อไม่ให้แดดแผดเผาทั้งวัน และต้องปลูกพืชรอบขอบสระ เพื่อชะลอแรงลมที่จะพัดผ่านน้ำในสระ และถ้าหากมีการปลูกโรงเรือนบนสระ เพื่อเลี้ยงไก่ เลี้ยงหมูควบคู่ไปกับการเลี้ยงปลา หลังคาโรงเรือนก็จะช่วยป้องกันแดดได้อีกส่วนหนึ่งด้วย

#การป้องกันการรั่วซึมของน้ำในสระ
          1) การใช้ดินเหนียว นำมาเกลี่ยเป็นชั้นบางๆ หนาชั้นละ 15 เซนติเมตร  ปูทับที่ก้นสระและทางลาดด้านข้าง ราดน้ำให้ทั่วจนมีความชื้นพอประมาณ แล้วจึงบดดินด้วยรถบดให้แน่นเป็นชั้นๆ ตลอดทั้งก้นสระและทางลาดด้านข้าง รวมความหนาของดินที่บดทับจนแน่นดีแล้ว ประมาณ 30 เซนติเมตร เป็นอย่างน้อย 
          2)  การใช้แผ่นวัสดุสังเคราะห์ นำมาปูที่ก้นและทางลาดด้านข้างสระ แทนการใช้ดินเหนียว แผ่นวัสดุสังเคราะห์จะมีคุณสมบัติทึบน้ำ น้ำไหลผ่านไม่ได้ แผ่นที่ใช้งานปูสระเก็บน้ำนี้ มีหลายชนิด ผลิตและมีจำหน่ายทั่วไป โดยคุณสมบัติของวัสดุ ขนาด ความหนาวิธีการปู บริการการปู และราคาต่อตารางเมตรแตกต่างกันด้วย

#การพัฒนาพื้นที่รอบขอบสระ 
          1) การพัฒนาพื้นที่ที่ถูกคลื่นกัดเซาะ หรือฝนตกกัดเซาะ เป็นวิธีที่เสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุดคือ การปลูกหญ้าโดยตลอดเกือบถึงก้นสระ ให้หญ้าขึ้นงอกงามเต็มที่ก่อนจะมีการเก็บน้ำ  ถึงแม้ว่าจะมีน้ำท่วมหญ้าที่ปลูกไว้ตาย แต่รากของหญ้าที่ยึดเกาะดินไว้แน่น ซึ่งพอระดับน้ำในสระลด หญ้าก็อาจงอกขึ้นมาใหม่ตามเดิม ถ้าบริเวณใดถูกน้ำกัดเซาะไป ก็สามารถซ่อมแซมเติมดิน แล้วปลูกหญ้าเพิ่มเติมให้มีสภาพดีตามเดิมต่อไปได้ ส่วนการป้องกันพื้นที่รอบขอบสระและคันสระ ที่ไม่ให้ถูกน้ำฝนกัดเซาะ ควรนำหญ้าแฝกมาปลูกให้รอบขอบสระอย่างน้อย 2 แถว ให้ปลูกอยู่เหนือระดับน้ำเก็บกัก พร้อมกับบำรุงดูแลให้เจริญงอกงามโดยเร็ว เพื่อช่วยกรองป้องกันตะกอนดินไม่ให้ไหลลงสู่สระ
          2) การพัฒนาพื้นที่รอบสระให้ร่มรื่น และช่วยลดการระเหยของน้ำในสระ พื้นที่โดยรอบขอบสระ ควรปลูกไม้ยืนต้นขนาดสูงเป็นระยะๆ  เพื่อช่วยให้เกิดความร่มรื่น เป็นสถานที่ท่องเที่ยวพักผ่อนได้ จะช่วยลดอุณหภูมิผิวน้ำได้มาก การคายน้ำของต้นไม้ จะช่วยทำให้บรรยากาศบริเวณนั้น มีความชื้นมากกว่าบริเวณทั่วไป และช่วยลดความเร็วของกระแสลมที่พัดมากระทบผิวน้ำอีกด้วย  

ที่กล่าวมานี้ เป็นปัจจัยที่ช่วยลดอัตราการระเหยของน้ำจากสระได้เป็นอย่างดี ต้นไม้ที่ปลูกควรเป็นประเภทไม่ผลัดใบ เพื่อป้องกันมิให้น้ำในสระได้รับผลกระทบ เพราะใบไม้หล่นจมน้ำ ทำให้น้ำเน่าเสียได้

การขุดสระ ให้เลือกบริเวณที่เป็นลุ่มต่ำของพื้นที่ สังเกตง่ายว่า "บริเวณนั้นจะมีกรวดถูกน้ำพัดไหลมารวมกัน เจอแล้วปักหมุดขุดได้เลย เพราะข้างล่างจะเป็นดินดาน เก็บน้ำได้ดี" อย่างเลือกขุดสระที่เนินดินเพราะด้านล่างจะเป็นดินร่วนเก็บน้ำไม่อยู่
          #สระที่ขุดควรเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตตุรัส เพราะจะเสียพื้นที่ของบ่อน้อยที่สุด
          #ความลึกของสระที่เหมาะสมควรอยู่ในระดับ 4-5 เมตร เพราะน้ำที่เก็บกัก จะระเหยออกวันละ 3 มิลลิเมตร หน้าแล้ง 7 เดือน น้ำก็จะหายไปพอสมควร
          #การขุดสระต้องขุดให้มีความลาดเอียง อัตรา 1:1 และให้มีตะพักป้องกันตลิ่งทรุดในช่วงน้ำน้อย 
          #กองดินที่ขุด ให้วางห่างจากขอบสระ 1-2 เมตร เพื่อกันเดินไหลลงบ่อ
          #รอบสระแนะนำให้ปลูกหญ้าแฝกยึดดินไว้ รอบคันสระปลูกไม้ผล ไม้ใช้สอย ไม้ให้ร่วมเงาที่ใช้น้ำน้อย ถ้ามีหญ้าหรือวัชพืชขึ้นช่วงแล้งไม่ต้องตัดบ่อย เพราะเขาจะฃ่วยคลุมดิน ลดการระเหยของน้ำในดินได้ดี

ขุดแบบนี้ ก็จะมีน้ำใช้ตลอดทั้งปี
ที่มา: Animation Series “รู้อยู่กับน้ำ” ตอน “ขุดสระอย่างไร ให้มีน้ำใช้ ทั้งปี” by ONWRNews
https://www.youtube.com/watch?app=desktop&v=TRbZ1IP_GjQ

  •   หน่วยงาน: สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี
  •   ประกาศวันที่: 2023-09-11
  •   ประกาศสิ้นสุดเเล้วเมื่อวันที่: 2023-09-11 
  •   Hits
  • ภารกิจประจำวันที่ 10 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  ภารกิจประจำวันที่ 10 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 52  ภารกิจประจำวันที่ 27 มกราคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 27 มกราคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 30 ภารกิจประจำวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 30 ภารกิจประจำวันที่ 31 มกราคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 31 มกราคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 26 ภารกิจประจำวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 26 ภารกิจประจำวันที่ 25 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   ภารกิจประจำวันที่ 25 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 25 ภารกิจประจำวันที่ 8 เมษายน 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 8 เมษายน 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 23 ภารกิจประจำวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 22 ภารกิจประจำวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 21 ภารกิจประจำวันที่ 5 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 5 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 20 ภารกิจประจำวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  ภารกิจประจำวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 20 ภารกิจประจำวันที่ 7 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 7 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 20 ภารกิจประจำวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 19 ภารกิจประจำวันที่ 16 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี     ภารกิจประจำวันที่ 16 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 18 ภารกิจประจำวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  ภารกิจประจำวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 18

    สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี

    รายละเอียด สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี SARABURI PROVINCIAL FISHERIES OFFICE ที่ตั้ง : 123 หมู่ 6 ศาลากลางจังหวัดสระบุรี สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี (ชั้น 2)            ตำบลตะกุด อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี 18000           123 Moo 6, Saraburi Provincial Hall, Saraburi Provincial Fisheries Office (2nd floor)            Takud Sub-district, Mueang Saraburi District, Saraburi, 18000 การเดินทางสาธารณะ : รถสองแถวสาย 9 (10 บาทตลอดสาย)                                       โดยจุดจอดรถสองแถวเริ่มต้นที่ บขส.สระบุรี สิ้นสุดที่ ศูนย์ราชการจังหวัดสระบุรี  Social Network     : fpo_saraburi@fisheries.go.th  LINEID : fposaraburi QR Code Line    ผู้ดูแลเว็บไซต์ : นางสาวพรศิริ โพธาราม   เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล  email  fpo_saraburi@fisheries.go.th  โทรศัพท์ 0 3634 0742  FAX 0 3634 0742  แฟนเพจ แฟนเพจ
    CreativeCommons Valid CSS! Explanation of WCAG 2.1 Level Triple-AA Conformance SSL Labs ipv6