เมื่อ ปลาสลิด เป็นสัตว์น้ำจืด...ที่ไปต่อได้

 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี




เมื่อ ปลาสลิด เป็นสัตว์น้ำจืด...ที่ไปต่อได้

กรมประมง...เร่งยกระดับผลผลิต “ปลาสลิด” ปลาน้ำจืดเศรษฐกิจของไทยให้คงไว้ซึ่งคุณภาพ โดยวางแนวทางในการบริหารจัดการพันธุกรรม เพื่อประโยชน์ในการเพาะเลี้ยงและจำหน่ายเชิงพาณิชย์ ควบคู่กับการอนุรักษ์สายพันธุ์พื้นเมืองตามหลักพันธุศาสตร์ เพื่อฟื้นฟูประชากรปลาสลิดในธรรมชาติให้คงความอุดมสมบูรณ์สืบไป

 

“ปลาสลิด” มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Trichopodus pectoralis Regan, 1910 
            เป็นปลาน้ำจืดพื้นถิ่นของไทย พบแหล่งอาศัยแพร่กระจายทั่วประเทศ โดยมีแหล่งเพาะเลี้ยงสำคัญอยู่ที่ราบลุ่มทางภาคกลาง  ปลาสลิดเป็นปลาที่เลี้ยงง่าย เป็นที่นิยมของผู้บริโภค มีราคาที่ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับปลาน้ำจืดชนิดอื่น

แต่เดิม : การเลี้ยงปลาสลิดที่ใช้ระยะเวลาการเลี้ยงนานถึง 8-10 เดือน ทำให้เกษตรกรสามารถเลี้ยงปลาสลิดได้เพียง 1 รอบ/ปี (ใช้เวลาเลี้ยงนาน 8-10 เดือน) 

ศูนย์วิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำชุมพร จึงมีแนวคิดในการปรับปรุงพันธุ์ปลาสลิดเพื่อเพิ่มอัตราการเจริญเติบโต เพื่อใช้ในการส่งเสริมให้เกษตรกรใช้เลี้ยงเชิงพาณิชย์ ลดระยะเวลาการเลี้ยง สามารถเลี้ยงได้หลายรูปแบบมากขึ้น เพื่อให้เกษตรกรสามารถเลี้ยงปลาสลิดได้อย่างกว้างขวางมากขึ้น สร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้เกษตรกรและเพิ่มปริมาณผลผลิตปลาสลิดให้เพียงพอกับความต้องการของตลาด 

 

กระบวนการปรับปรุงพันธุ์ปลาสลิด

         เริ่มตั้งแต่ปี 2562 ด้วยวิธีการคัดเลือกแบบหมู่ จำนวน 2 รุ่น โดยใช้ปลาสลิดดอนนาจากจังหวัดปัตตานีเป็นประชากรเริ่มต้น คัดเลือกปลาที่มีน้ำหนักมากที่สุด 10 % จากประชากรทั้งหมดในแต่ละรุ่น มาใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์ในการผลิตพันธุ์ปลาสลิด ที่เหมาะสมสำหรับการเลี้ยงในพื้นที่ภาคใต้ โดยจากการศึกษาวิจัยพบว่าเมื่อนำปลาสลิดเลี้ยงในกระชังนาน 6 เดือน ที่ระดับความหนาแน่น 20 ตัว/ตารางเมตร ได้น้ำหนักเฉลี่ย 76.80 กรัม (13-14 ตัว/กิโลกรัม) 
         ต่อมาในปี 2564 ได้นำวิธีการปรับปรุงพันธุ์ ด้วยการประมาณค่าศักยภาพทางพันธุกรรม (Estimate Breeding Value ;EBVs) มาใช้ในการพัฒนาสายพันธุ์อย่างต่อเนื่อง โดยใช้ประชากรเริ่มต้นจาก 4 แหล่ง ได้แก่ พิษณุโลก บุรีรัมย์ สุพรรณบุรี และชุมพร เพื่อเพิ่มความหลากหลายทางพันธุกรรม ตลอดจนมีการใช้เครื่องหมาย Passive integrated transponder (PIT TAG) เพื่อระบุข้อมูลสัตว์น้ำรายตัว ซึ่งช่วยให้เพิ่มความแม่นยำและเพิ่มความก้าวหน้าในการคัดเลือกได้มากขึ้น 

         นอกจากนี้ กรมประมง ยังให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์สายพันธุ์ปลาสลิดดั้งเดิม เพื่อเก็บรักษาแหล่งพันธุกรรมให้คงอยู่อย่างยั่งยืน โดยศูนย์วิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำชุมพร ได้ดำเนินโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมปลาสลิด จังหวัดชุมพร ภายใต้แผนปฏิบัติงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ. สธ.)โดยได้รวบรวมปลาสลิดธรรมชาติจากตำบลท่ายาง อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร มาเพาะพันธุ์และอนุบาลให้ได้ลูกปลาขนาด 2 – 5 เซนติเมตร แล้วนำไปปล่อยคืนสู่ แหล่งน้ำดั้งเดิม

สนใจข้อมูลการเพาะเลี้ยงปลาสลิด สามารถติดต่อขอข้อมูลการเลี้ยงปลาสลิดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำชุมพร กองวิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำ กรมประมง โทรศัพท์ 077-510-310

ที่มา: กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ( https://www4.fisheries.go.th/index.php/dof/news_local/1210/191620 )

 

บทความดีๆ เกี่ยวกับ ปลาสลิด

คุณอรปราง สุทธเกียรติ (Pim Onprang Sutthakiet) กับผลงานวิจัยเรื่อง “การเพิ่มประสิทธิภาพการเจริญเติบโตและการผลิตของปลาสลิด (Trichopodus pectoralis) โดยการเลี้ยงในกระชังแบบเข้มข้น: ผลกระทบของฤดูกาลเลี้ยงและเพศ [Optimizing growth and production efficiency of snakeskin gourami (Trichopodus pectoralis) through intensive cage culture: Impacts of culturing season and sex]” ซึ่งได้รับการเผยแพร่ในวารสาร Agriculture and Natural Resources (ANRES) 
ที่มา: Skorn Koonawootrittriron

  การวิจัยนี้เริ่มต้นจากปัญหาสำคัญที่ว่า ปลาสลิด ซึ่งเป็นปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ ถูกเพาะเลี้ยงในระบบแบบเข้มข้นในหลายพื้นที่ แต่เกษตรกรยังขาดข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับผลกระทบจากฤดูกาลและเพศของปลาต่อการเจริญเติบโตและน้ำหนักของปลา ข้อมูลที่ยังไม่เพียงพอนี้ทำให้เกษตรกรไม่สามารถตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพในการเลือกช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเลี้ยงและการจัดการเลี้ยงที่สามารถเพิ่มผลผลิตได้สูงสุด

  อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะมีการศึกษาหลายชิ้นเกี่ยวกับการเลี้ยงปลาสลิด แต่ยังขาดการศึกษาที่เน้นถึงผลกระทบของฤดูกาล และเพศของปลาต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตในการเลี้ยงแบบเข้มข้น ข้อมูลเหล่านี้มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการพัฒนาวิธีการเลี้ยงที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืน และเป็นแนวทางในการช่วยให้เกษตรกรสามารถปรับการจัดการฟาร์มให้เหมาะสมกับปัจจัยสภาพแวดล้อม

  สมมติฐานของการวิจัยนี้ คือ การเจริญเติบโตและน้ำหนักของปลาสลิดในระบบเลี้ยงแบบเข้มข้นนั้นอาจแตกต่างกันตามฤดูกาล และเพศของปลา โดยเฉพาะในฤดูร้อนที่ปลาสลิดน่าจะมีการเจริญเติบโตที่ดีกว่าเมื่อเทียบกับฤดูฝนและฤดูหนาว นอกจากนี้ เพศของปลาอาจมีผลต่อการเพิ่มน้ำหนัก โดยเพศเมียมีแนวโน้มที่จะมีน้ำหนักมากกว่าเพศผู้ ซึ่งเป็นสิ่งที่สามารถช่วยเพิ่มผลผลิตและกำไรในกระบวนการเลี้ยงได้

  ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า ฤดูกาลและเพศมีผลโดยตรงต่อการเจริญเติบโตของปลาสลิด โดยปลาสลิดที่เลี้ยงในฤดูร้อนมีน้ำหนักสูงกว่าในฤดูฝนและฤดูหนาวอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ ปลาสลิดเพศเมียยังมีน้ำหนักเฉลี่ยสูงกว่าเพศผู้อย่างชัดเจน อีกทั้งการเลี้ยงในฤดูหนาว แม้การเจริญเติบโตจะน้อยกว่าแต่กลับให้ผลกำไรต่อกิโลกรัมสูงสุด ซึ่งเป็นข้อมูลที่มีความหมายต่อการวางแผนการเลี้ยง

  ข้อมูลจากการวิจัยนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมการเลี้ยงปลาสลิดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตได้อย่างยั่งยืน เกษตรกรสามารถใช้ข้อมูลนี้เพื่อเลือกช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการเลี้ยงเพื่อลดต้นทุนและเพิ่มผลกำไร เช่น การเลี้ยงในฤดูร้อนเพื่อเพิ่มปริมาณผลผลิต และการเลี้ยงในฤดูหนาวเพื่อเพิ่มกำไรต่อกิโลกรัม นอกจากนี้ การเลือกเลี้ยงปลาสลิดเพศเมียที่มีน้ำหนักเฉลี่ยสูงกว่าเพศผู้ยังสามารถช่วยเพิ่มผลผลิตเชิงปริมาณและสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้อีกด้วย

 

  •   หน่วยงาน: สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี
  •   ประกาศวันที่: 2023-09-06
  •   ประกาศสิ้นสุดเเล้วเมื่อวันที่: 2023-09-06 
  •   Hits
  • ภารกิจประจำวันที่ 10 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  ภารกิจประจำวันที่ 10 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 52  ภารกิจประจำวันที่ 27 มกราคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 27 มกราคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 30 ภารกิจประจำวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 30 ภารกิจประจำวันที่ 31 มกราคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 31 มกราคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 26 ภารกิจประจำวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 26 ภารกิจประจำวันที่ 25 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   ภารกิจประจำวันที่ 25 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 25 ภารกิจประจำวันที่ 8 เมษายน 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 8 เมษายน 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 23 ภารกิจประจำวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 22 ภารกิจประจำวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 21 ภารกิจประจำวันที่ 5 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 5 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 20 ภารกิจประจำวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  ภารกิจประจำวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 20 ภารกิจประจำวันที่ 7 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 7 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 20 ภารกิจประจำวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 19 ภารกิจประจำวันที่ 16 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี     ภารกิจประจำวันที่ 16 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 18 ภารกิจประจำวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  ภารกิจประจำวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 18

    สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี

    รายละเอียด สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี SARABURI PROVINCIAL FISHERIES OFFICE ที่ตั้ง : 123 หมู่ 6 ศาลากลางจังหวัดสระบุรี สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี (ชั้น 2)            ตำบลตะกุด อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี 18000           123 Moo 6, Saraburi Provincial Hall, Saraburi Provincial Fisheries Office (2nd floor)            Takud Sub-district, Mueang Saraburi District, Saraburi, 18000 การเดินทางสาธารณะ : รถสองแถวสาย 9 (10 บาทตลอดสาย)                                       โดยจุดจอดรถสองแถวเริ่มต้นที่ บขส.สระบุรี สิ้นสุดที่ ศูนย์ราชการจังหวัดสระบุรี  Social Network     : fpo_saraburi@fisheries.go.th  LINEID : fposaraburi QR Code Line    ผู้ดูแลเว็บไซต์ : นางสาวพรศิริ โพธาราม   เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล  email  fpo_saraburi@fisheries.go.th  โทรศัพท์ 0 3634 0742  FAX 0 3634 0742  แฟนเพจ แฟนเพจ
    CreativeCommons Valid CSS! Explanation of WCAG 2.1 Level Triple-AA Conformance SSL Labs ipv6