ประมงไทยใต้ร่มพระบารมี เทิดไท้พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ตอน...กุ้งสมเด็จ

 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี




ประมงไทยใต้ร่มพระบารมี เทิดไท้พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ตอน...กุ้งสมเด็จ

  

กุ้งสมเด็จ หรือ กุ้งก้ามกราม เป็นกุ้งที่มีแหล่งที่อยู่อาศัยในแหล่งน้ำจืดและต้องเป็นแหล่ง น้ำจืดที่มีกระแสน้ำไหลเชื่อมต่อกับทะเล ในอดีตพบได้ง่ายและมีจำนวนมากในแม่น้ำและลำคลอง โดยเฉพาะในแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเป็นแม่น้ำสายสำคัญที่หล่อเลี้ยงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยซึ่งผูกพันกับแม่น้ำสายนี้มายาวนาน ด้วยสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปประกอบกับการพัฒนาประเทศมีการตั้งแหล่งชุมชน แหล่งการค้า และโรงงานต่าง ๆ ทำให้คุณภาพน้ำลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาคุณภาพน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างที่ติดกับทะเลอันเป็นรอยเชื่อมต่อระหว่างน้ำจืดและน้ำกร่อย อยู่ในภาวะวิกฤตทำให้ปริมาณกุ้งก้ามกรามในธรรมชาติลดน้อยลงอย่างมาก เพราะแม่กุ้งไม่สามารถว่ายฝ่าน้ำเสียที่มีออกซิเจนน้อยไปสู่ตอนปลายแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อวางไข่แพร่พันธุ์ในบริเวณที่เป็นน้ำกร่อยได้

ในปีพุทธศักราช 2523 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งศูนย์ศิลปาชีพบางไทรขึ้นบริเวณริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ที่ตำบลช้างใหญ่ อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และได้เสด็จฯ ไปประทับบ่อยครั้ง ทรงสังเกตเห็นว่ากุ้งก้ามกรามในประเทศไทยน้อยลง 
           จึงมีรับสั่งถามว่า “กุ้งเดี๋ยวนี้หายไปไหนหมด ไม่ค่อยมีขาย ต้องนำเข้ากุ้งจากพม่ามา”  โดยจากปัญหาคุณภาพน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยา ออกซิเจนมีไม่เพียงพอที่กุ้งจะอพยพย้ายถิ่นออกไปปากอ่าวได้ ทำให้กุ้งในแม่น้ำเจ้าพระยาไม่สามารถจะสืบพันธุ์ได้ 
          
           พระองค์จึงมีรับสั่งถามว่า “เราจะแก้ปัญหาได้อย่างไร” ต่อมาทรงทราบปัญหาการแพร่พันธุ์วางไข่ของกุ้งก้ามกรามจากการนำความกราบบังคมทูลฯ 

           โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงได้มีพระราชเสาวนีย์ ให้มีการศึกษาวิจัยการเพาะลูกกุ้งในสถานีทดลอง โดยสร้างระบบนิเวศเทียมขึ้นมาเป็นผลสำเร็จ ทำให้แม่กุ้งวางไข่ในน้ำที่มีสภาพเหมาะสม คือ น้ำกร่อย โดยไม่ต้องว่ายฝ่าน้ำเน่าเสียออกไป และว่ายทวนกลับเข้ามา เพราะลูกกุ้งในระยะตัวอ่อนจะตายหมดในน้ำจืด ในระบบนิเวศเทียม ณ สถานีทดลอง เมื่อไข่กุ้งฟักเป็นตัวอ่อนในน้ำกร่อย นักวิจัยก็จะอนุบาลจนลูกกุ้งพร้อมจะเติบโตในน้ำจืดได้ผลสำเร็จเป็นลูกกุ้งหลายล้านตัว และสามารถนำมาปล่อยทดแทน

ต่อมาในปีพุทธศักราช 2527 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้เสด็จพระราชดำเนินเปิดศูนย์ฯ เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2527 ได้ทรงปล่อยลูกกุ้งชุดแรกที่หน้าศูนย์ศิลปาชีพบางไทร และกรมประมงได้จัดกิจกรรมปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ ณ ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร อย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี ทำให้ในปัจจุบันกุ้งก้ามกรามในธรรมชาติเพิ่มปริมาณมากขึ้น ราษฎรที่อาศัยในชุมชนที่ตั้งอยู่ตลอดแนวสองฝั่งลำน้ำได้อาศัยทรัพยากรสัตว์น้ำเพื่อการยังชีพและสร้างรายได้ โดยเฉพาะชาวประมงที่มีอาชีพหาปลา ตก และงมกุ้งก้ามกราม ต่างได้พึ่งพาอาศัยเพื่อหล่อเลี้ยงครอบครัว เป็นการสร้างอาชีพและรายได้ให้กับราษฎรที่อาศัยอยู่ริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณที่ได้ทรงฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ทางภูมิธรรมชาติ นับเป็นโครงการในพระราชดำริที่น้อยคนจะรู้ ชาวบ้านแถบนั้น จึงเรียก กุ้งก้ามกรามที่จับได้จากแม่น้ำเจ้าพระยาว่า “กุ้งสมเด็จ”


ที่มา : กลุ่มเผยเเพร่เเละประชาสัมพันธ์ 

 

สามารถรับชมวีดีทัศน์ : ร้อยเรื่องไทยแลนด์ Ep129 กุ้งสมเด็จ   ผลิตโดย RAINBOW MEDIA
LinK : https://www.youtube.com/watch?app=desktop&v=XRmsRBxnRr8

 

เคยสงสัยไหมว่า กุ้งแม่น้ำ กับ กุ้งก้ามกราม ต่างกันอย่างไร เพราะ ทั้งรูปร่างหน้าตา ขนาด รวมถึงรสสัมผัส ที่ดูผิวเผินแทบแยกไม่ออก
          คำตอบคือ ไม่ต่างกัน ! เพราะ กุ้งทั้ง 2 ชนิด คือ กุ้งสายพันธุ์เดียวกัน แต่หากจะหาความต่าง ก็ต่างกันที่แหล่งที่มาเท่านั้นเอง 
                     กุ้งแม่น้ำ (กุ้งที่จับได้จากแหล่งน้ำธรรมชาติ) จับจากแหล่งน้ำธรรมชาติ อาศัยอยู่ทั้งน้ำจืดและน้ำกร่อย
                          กุ้งแม่น้ำ เป็นกุ้งน้ำจืดที่พบในแหล่งน้ำธรรมชาติ ตามแม่น้ำลำคลอง จังหวัดที่ขึ้นชื่อเรื่องกุ้งแม่น้ำ คือ อยุธยา ฉะเชิงเทรา และสุพรรณบุรี ซึ่งกุ้งแม่น้ำที่อาศัยอยู่ในแม่น้ำบางประกง จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นกุ้งสองน้ำ เพราะในช่วงเดือนธันวาคม น้ำทะเลจะหนุนเข้ามาในแม่น้ำ ทำให้น้ำในแม่น้ำกลายเป็นน้ำกร่อย อยู่ 6 เดือน
                          ลักษณะ :   ก้ามมีขนาดใหญ่และยาว
                                            หัวกุ้งมีขนาดใหญ่
                                            ขนาดลำตัวใหญ่กว่ากุ้งก้ามกราม
                                            มันกุ้งมีเยอะกว่า และมีสองสี คือสีแดงอมส้ม และสีเหลืองอมส้ม
                                            เนื้อกุ้งแน่นและเด้งกว่า เพราะกุ้งได้ออกแรงว่ายน้ำมากกว่ากุ้งที่เพาะเลี้ยงในกระชังหรือในบ่อ

                     กุ้งก้ามกราม (กุ้งที่มาจากการเลี้ยง) เป็นกุ้งเพาะเลี้ยงมีทั้งเลี้ยงในกระชัง และในบ่อ 
                          กุ้งก้ามกรามเป็นกุ้งน้ำจืดที่ได้จากการเพาะเลี้ยงในบ่อหรือในกระชัง หากเลี้ยงในกระชังอาจมีทั้งเลี้ยงแบบให้อาหารกุ้งหรือปล่อยให้กุ้งหากินเองในกระชัง เพื่อให้เนื้อกุ้งแน่นเหมือนกุ้งแม่น้ำ ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ
                          ลักษณะ :   ก้ามจะสั้นและมีขนาดไม่ใหญ่ เพาะไม่ได้ว่าน้ำไกลๆ และไม่ได้หาอาหารเอง
                                            หัวกุ้งมีขนาดปานกลาง
                                            ขนาดลำตัวเล็กกว่ากุ้งแม่น้ำ
                                            มันกุ้งมีน้อยกว่า และมีแค่สีเดียว คือเหลืองอมส้ม
                                            เนื้อยุ่ยกว่า ไม่เด้ง เพราะกุ้งไม่ได้ออกแรงว่ายน้ำ   

นอกจากนี้ กุ้งกร้ามกราม ยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ ตามลักษณะของกุ้งที่เลี้ยงไว้บริโภคอีกด้วย ดังนี้ 
          กุ้งนาง คือ ชื่อเรียก กุ้งก้ามกรามตัวเมีย ซึ่งจะมีขนาดก้ามที่เล็กและสั้นกว่าตัวผู้ มีไข่ที่ท้อง ราคาจะถูกกว่ากุ้งหลวง ถ้าไม่มีไข่จะเรียกว่า “กุ้งโปร่งไข่”
          กุ้งหลวง หรือ กุ้งแม่น้ำ คือ ชื่อเรียก กุ้งก้ามกร้ามตัวผู้ มีลักษณะตัวใหญ่ เนื้อแน่น มันเยอะ มีก้ามแข็ง และยาว ราคาค่อนข้างสูง
          กุ้งแก้ว หรือ กุ้งหัวแก้ว, กุ้งมันแก้ว ส่วนใหญ่แล้วจะกุ้งตัวเมีย ที่ยังไม่มีไข่ โดยที่หัวจะมีไขมันเป็นก้อนแข็ง สีแดงเข้ม เหมาะสำหรับผู้ที่ชื่นชอบทานมันกุ้งแต่ไม่เหลว ให้ความมันกรุบ ทานเป็นคำ ๆ ได้ง่ายกว่า
          กุ้งโก๋ หรือ กุ้งจิ๊กโก๋ เป็นชื่อเรียกกุ้งกร้ามกรามตามบ่อเลี้ยง ไซต์ไม่ได้มาตรฐานของกุ้งก้ามกราม โดยมีลักษณะตัวเล็ก, หัวโต นิยมใช้ตามร้านหมูกระทะ หรือ ร้านบุฟเฟต์ เพราะราคาย่อมเยาว์กว่า

ที่มา: makrohorecaacademy.com

  •   หน่วยงาน: สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี
  •   ประกาศวันที่: 2023-08-07
  •   ประกาศสิ้นสุดเเล้วเมื่อวันที่: 2023-08-07 
  •   Hits
  • ภารกิจประจำวันที่ 10 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  ภารกิจประจำวันที่ 10 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 51  ภารกิจประจำวันที่ 27 มกราคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 27 มกราคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 26 ภารกิจประจำวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 26 ภารกิจประจำวันที่ 31 มกราคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 31 มกราคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 23 ภารกิจประจำวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 22 ภารกิจประจำวันที่ 8 เมษายน 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 8 เมษายน 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 20 ภารกิจประจำวันที่ 25 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   ภารกิจประจำวันที่ 25 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 19 ภารกิจประจำวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 18 ภารกิจประจำวันที่ 5 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 5 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 17 ภารกิจประจำวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 17 ภารกิจประจำวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  ภารกิจประจำวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 16 ภารกิจประจำวันที่ 16 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี     ภารกิจประจำวันที่ 16 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 16 ภารกิจประจำวันที่ 24 มกราคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  ภารกิจประจำวันที่ 24 มกราคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 16 ภารกิจประจำวันที่ 7 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 7 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 16 ภารกิจประจำวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  ภารกิจประจำวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 15

    สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี

    รายละเอียด สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี SARABURI PROVINCIAL FISHERIES OFFICE ที่ตั้ง : 123 หมู่ 6 ศาลากลางจังหวัดสระบุรี สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี (ชั้น 2)            ตำบลตะกุด อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี 18000           123 Moo 6, Saraburi Provincial Hall, Saraburi Provincial Fisheries Office (2nd floor)            Takud Sub-district, Mueang Saraburi District, Saraburi, 18000 การเดินทางสาธารณะ : รถสองแถวสาย 9 (10 บาทตลอดสาย)                                       โดยจุดจอดรถสองแถวเริ่มต้นที่ บขส.สระบุรี สิ้นสุดที่ ศูนย์ราชการจังหวัดสระบุรี  Social Network     : fpo_saraburi@fisheries.go.th  LINEID : fposaraburi QR Code Line    ผู้ดูแลเว็บไซต์ : นางสาวพรศิริ โพธาราม   เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล  email  fpo_saraburi@fisheries.go.th  โทรศัพท์ 0 3634 0742  FAX 0 3634 0742  แฟนเพจ แฟนเพจ
    CreativeCommons Valid CSS! Explanation of WCAG 2.1 Level Triple-AA Conformance SSL Labs ipv6