Alien Species สัตว์น้ำต่างถิ่นรุกรานระบบนิเวศ

 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี




Alien Species สัตว์น้ำต่างถิ่นรุกรานระบบนิเวศ

            ทำความรู้จัก “Alien Species” หรือ “Alien Aquatic Species” ในแหล่งน้ำไทย "สัตว์น้ำต่างถิ่น" จะส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศได้หลายด้าน ที่ส่วนหนึ่งมาจากการตั้งใจ "ปล่อยปลาเพื่อทำบุญ" ปล่อยปลาแล้วได้บุญ !? ไม่ใช่การตั้งคำถามคัดค้านความเชื่อทางศาสนา แต่การปล่อยปลาลงในแหล่งน้ำต่างๆ มีหลายเรื่องที่ควรเข้าใจมากกว่าแค่การปล่อยปลาให้เป็นอิสระ เพราะหากหลังจากที่เราปล่อยปลาลงไปในแหล่งน้ำแล้วสิ่งที่เกิดขึ้นคือสัตว์เหล่านั้นไม่สามารถอยู่รอดได้อย่างที่เราจินตนาการ หรือปล่อยลงไปแล้วปลาเหล่านั้นกลับเป็น “Alien Aquatic Species” หรือ “Alien Species” ที่รุกรานสิ่งมีชีวิตดั้งเดิมในแหล่งน้ำ และกระทบต่อระบบนิเวศแหล่งน้ำเสียอย่างนั้น

 

 “Alien Species” คืออะไร ? 

เอเลียนสปีชีส์ เป็นคำเรียกของสิ่งมีชีวิตที่เป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่น คือ สิ่งมีชีวิตที่ไม่เคยปรากฎมาก่อนในถิ่นใดถิ่นหนึ่ง แต่ถูกนำเข้ามาจากถิ่นอื่น ซึ่งอาจจะสามารถดำรงชีวิตอยู่และสืบพันธุ์ได้หรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของปัจจัยแวดล้อมและการปรับตัวของชนิดพันธุ์นั้นๆ สัตว์น้ำกลุ่มหนึ่งที่เรียกว่า “Alien Aquatic Species” หรือสัตว์น้ำต่างถิ่นในประเทศไทย ที่บางชนิดส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศสูง

นอกจากนี้สัตว์ต่างถิ่นยังสามารถแบ่งได้ตามบทบาทที่มีต่อระบบ นิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อมออกได้เป็น 2 ประเภท 
   1. ประเภทที่ไม่รุกราน (Non invasive)

      สำหรับกลุ่มนี้เป็นพันธุ์ที่ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตอื่นๆ หรือระบบนิเวศโดยตรง หรือชัดเจนนัก เพราะใช้ชีวิตแบบไม่แข่งขันหรือขัดต่อการดำรงชีพของสัตว์ชนิดอื่นหรือสมดุลของระบบนิเวศ มักเป็นชนิดพันธุ์ที่พบน้อยหรือไม่แพร่พันธุ์ในธรรมชาติ อย่างไรก็ตามสภาพของนิเวศที่เปลี่ยนไปอาจมีผลให้ชนิดพันธ์ดังกล่าวเจริญแทนที่ และขัดขวางการฟื้นตัวของสมดุลนิเวศ ในบางครั้งสัตว์น้ำในประเภทนี้ เช่น ปลานิล ปลาไน และปลาจีน รวมถึงปลาเศรษฐกิจต่างๆ ที่ถูกปล่อยลงแหล่งน้ำทั่วไป

   2. ประเภทที่รุกราน (Invasive alien species, IAS) 
      เป็นชนิดที่แพร่พันธุ์ได้เร็วและมีความสามารถในการปรับตัวแข่งขันแทนที่ชนิดพันธุ์พื้นเมืองได้ดี  แถมยังมีการดำรงชีวิตที่ขัดขวางหรือกระทบต่อสมดุลนิเวศ ทำให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงองค์ประกอบชนิดพันธุ์พื้นเมือง หรืออาจเป็นศัตรูต่อผลผลิตการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำการเกษตรได้ ตัวอย่างเช่น ปลากดเกราะ ปลาดุกอัฟริกัน (ดุกรัสเซีย) และลูกผสม และหอยเชอรี่

รู้จัก “Alien Species” สัตว์น้ำต่างถิ่นรุกรานระบบนิเวศ
รู้จัก “Alien Species” สัตว์น้ำต่างถิ่นรุกรานระบบนิเวศ

 

สัตว์น้ำต่างถิ่นลงไปในแหล่งน้ำธรรมชาติจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง

   1. ผลกระทบไม่ชัดเจนหรือทางอ้อม (Inobvious)
       ผลกระทบที่เกิดขึ้นไม่รุนแรง หรือเห็นได้ชัดเจนในเวลาอันสั้น หรือบางชนิดอาจไม่มีผลกระทบในสถานการณ์ปกติแต่เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงของคุณภาพสิ่งแวดล้อม หรือสมดุลนิเวศ สัตว์น้ำชนิดนั้นก็อาจเป็นปัจจัยซ้ำเติมหรือปรับตัวเจริญขึ้นแทนที่สัตว์น้ำพื้นเมืองได้ และทำให้ระบบนิเวศไม่อาจพื้นตัวกลับสภาพเดิมได้อีก เช่น ปลานิลในอ่างเก็บน้ำบางแห่ง ปลากดเกราะในที่ลุ่มน้ำภาคกลางที่มีการแพร่พันธุ์แทนที่ปลาพื้นเมือง หลังจากที่เกิดความเสื่อมโทรมของแหล่งน้ำแล้ว
   2. ผลกระทบชัดเจน (Invasive)
       สำหรับผลกระทบที่เห็นได้ชัดเจน และรุนแรงในเวลาอันสั้น จากการแพร่พันธุ์สร้างประชากรอย่างรวดเร็ว และปรับตัวเข้ากับสภาพแหล่งน้ำแทนที่สัตว์น้ำพื้นเมืองหรือสร้างผลกระทบต่อสมดุลนิเวศ รวมทั้งเศรษฐกิจเป็นระยะยาว

       ผลกระทบของสัตว์น้ำต่างถิ่นที่นำเข้ามาต่อความหลากหลายทางชีวภาพ ได้แก่
             - เป็นผู้ล่าปลาพื้นเมืองเดิม มักเป็นปลากินเนื้อขนาดใหญ่ มีผลต่อประชาการและองค์ประกอบชนิดเดิมของแหล่งน้ำ ทำให้จำนวนชนิดเปลี่ยนแปลงและก่อผลเสียต่อสมดุลนิเวศได้ในภายหลัง เช่น ปลาดุกรัสเซีย
             - เป็นตัวแก่งแย่ง คือเป็นผู้แย่งถิ่นอาศัย อาหารหรือที่วางไข่ของปลาพื้นเมืองเดิม ทำให้บางชนิดที่อ่อนไหวสูญพันธุ์ไปจากแหล่งน้ำได้ เช่น ปลานิล
             - นำโรคหรือปรสิต สัตว์น้ำหลายชนิดเป็นรังโรคหรือปรสิตเดิมที่มันมีความทนทานอยู่แล้ว แต่สัตว์น้ำพื้นเมืองไม่มีภูมิต้านทานดังกล่าว เมื่อเข้ามาอยู่ในแหล่งน้ำก็อาจแพร่โรคระบาดได้ โดยเฉพาะในฤดูหนาว เช่น ปลาจีน เป็นพาหะนำโรคหนอนสมอและราปุยฝ้าย สัตว์น้ำบางชนิดอาจนำพยาธิมาสู่มนุษย์ได้ เช่น หอยเชอรี่ กับพยาธิ Angiostoma
             - รบกวนหรือทำลายสภาพนิเวศ สัตว์น้ำบางชนิดที่เป็นผู้ล่าหรือกินพืช มีผลต่อองค์ประกอบชนิดสัตว์น้ำและพืชน้ำในถิ่นอาศัยเดิมที่เคยมีสมดุลอยู่ แต่เมื่อถูกปล่อยลงไปก็ไปทำลายสมดุลและเกิดผลกระทบต่อเนื่องในระยะยาว เช่น หอยเซอรี่ มีผลกระทบต่อสังคมพืชน้ำที่มีต้น,ใบอ่อน จะกัดกินทำลายจนหมดและเกิดการเปลี่ยนสังคมพืชในแหล่งน้ำทำให้ความหลากชนิดของสัตว์น้ำลดลงในเวลาต่อมา
             - ทำให้พันธุกรรมเสื่อม  สัตว์น้ำต่างถิ่นบางชนิดมีลักษณะทางพันธุ์กรรมที่ใกล้เคียงกับชนิดพื้นเมืองอาจมีการผสมพันธุ์ทำให้เกิดลูกผสมหรือทำให้ลูกที่เกิดมามีอัตรารอดต่ำลงหรือเป็นหมันในรุ่นต่อไปได้

 

ชนิดพันธุ์สัตว์น้ำต่างถิ่นที่ขึ้นบัญชีเพิ่มอีกจำนวน 13 ชนิด หวังตัดวงจรการแพร่พันธุ์และคุ้มครองพันธุ์สัตว์น้ำพื้นถิ่นพร้อมป้องกันผลกระทบต่อระบบนิเวศแหล่งน้ำของไทยไม่ให้เกิดความเสียหาย

   ปัจจุบันสถานการณ์การแพร่พันธุ์ ของสัตว์น้ำต่างถิ่น หรือเอเลียนสปีชีส์ ยังคงเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศแหล่งน้ำของประเทศไทยเป็นอย่างมาก ดังจะเห็นได้จากกรณีปลาหมอสีคางดำที่หลุดรอดเข้าบ่อเลี้ยงกุ้งของเกษตรกรเมื่อ 3 ปีที่ผ่านมา ได้สร้างความเสียหายและส่งผลกระทบต่อสัตว์น้ำพื้นถิ่นเป็นอย่างมากซึ่งครั้งนั้นกรมประมงได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาโดยการออกประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เรื่อง กำหนดชนิดสัตว์น้ำที่ห้ามนำเข้า ส่งออก นำผ่าน หรือเพาะเลี้ยงพ.ศ.2561 สำหรับสัตว์น้ำ 3 ชนิด ได้แก่ ปลาหมอสีคางดำ ปลาหมอมายัน และปลาหมอบัตเตอร์ ซึ่งมีผลบังคับใช้ไปเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2561 อีกทั้ง ยังได้มีมาตรการจับสัตว์น้ำเหล่านั้นไปใช้ประโยชน์ด้วยการทำปุ๋ยหมักชีวภาพหรือการฝังกลบ

 

   หลังจากนั้นกรมประมงได้มีการติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการป้องกันการรุกรานของสัตว์น้ำต่างถิ่นในชนิดพันธุ์อื่นๆ และได้มีการประชุมเพื่อวิเคราะห์สถานการณ์การเพาะเลี้ยงในประเทศ การรุกราน ที่ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและผู้ประกอบการประกอบกับการพิจารณาสัตว์น้ำในทะเบียนชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่ควรป้องกันควบคุมและกำจัดของประเทศไทยตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2561 (สำนักงานนโยบายและแผนงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม)โดยพิจารณาควบคู่กับทะเบียนชนิดพันธุ์สัตว์น้ำต่างถิ่นที่รุกราน 100 อันดับโลก (GISD; Global Invasive Species Database,IUCN) จึงเห็นควรที่จะเพิ่มชนิดพันธุ์สัตว์น้ำต่างถิ่นที่ขึ้นบัญชีห้ามเพาะเลี้ยงเพื่อให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น

   ล่าสุดได้อาศัยความตามมาตรา 65 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2560 ออกประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดชนิดสัตว์น้ำที่ห้ามเพาะเลี้ยงในราชอาณาจักร พ.ศ. 2564 ลงวันที่ 27 พฤษภาคม 2564 ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในวันทึ่ 16 สิงหาคม 2564 นี้ เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองพันธุ์สัตว์น้ำพื้นถิ่นหายาก หรือป้องกันอันตรายมิให้เกิดแก่สัตว์น้ำและระบบนิเวศ ซึ่งประกอบสัตว์น้ำด้วย 13 ชนิดได้แก่

  ชนิดปลา  1. ปลาหมอสีคางดำ Blackchin tilapia | Sarotherodon melanotheron
                  2. ปลาหมอมายัน Mayan cichlid | Mayaheros urophthalmus
                  3. ปลาหมอบัตเตอร์ Zebra cichlid | Heterotilapia buttikoferi
                  4. ปลาทุกชนิดในสกุล Cichla และปลาลูกผสม | Peacock cichlid, Butterfly peacock bass | Cichla spp.
                  5. ปลาเทราท์สายรุ้ง Rainbow trout | Oncorhynchus mykiss
                  6. ปลาเทราท์สีน้ำตาล Sea trout | Salmo trutta
                  7. ปลากะพงปากกว้าง Largemouth black bass | Micropterus salmoides
                  8. ปลาโกไลแอทไทเกอร์ฟิช Goliath tigerfish, Giant tigerfish Hydrocynus goliath
                  9. ปลาเก๋าหยก Jade perch Scortum barcoo
                  10. ปลาที่มีการดัดแปลงหรือตัดแต่งพันธุกรรม GMO LMO 
   ชนิดสัตว์น้ำอื่นๆ
                  1. ปูขนจีน Chinese mitten crab Eriocheir sinensis
                  2. หอยมุกน้ำจืด Triangle shell mussel | Hyriopsis cumingii
                  3. หมึกสายวงน้ำเงินทุกชนิดในสกุล Hapalochlaena | Blue-ri nged octopus Hapalochlaena spp.

 

   

เอกสาร เพื่อการประชาสัมพันธ์

ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดชนิดสัตว์น้ำที่ห้ามเพาะเลี้ยงในราชอาณาจักร พ.ศ. 2564 เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองพันธุ์สัตว์น้ำที่หายาก หรือป้องกันอันตรายมิให้เกิดแก่สัตว์น้ำและระบบนิเวศ จึงสมควรกำหนดสัตว์น้ำบางชนิดที่ห้ามเพาะเลี้ยง
           อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 65 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดการประมง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 รัฐมนตรีรว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
                    ข้อ 1 ห้ามมิให้บุคคลใดเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำซึ่งสัตว์น้ำที่ระบุไว้ในบัญชีท้ายประกาศนี้ เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากอธิบดีกรมประมง หรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมประมงมอบหมาย
                    ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2564
ที่มา: ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดชนิดสัตว์น้ำที่ห้ามเพาะเลี้ยงในราชอาณาจักร พ.ศ. 2564

บทกำหนดโทษ 
          มาตรา 144 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 64 หรือมาตรา 65 วรรคสอง ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี
หรือปรับไม่เกินหนึ่งล้านบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
          ในกรณีที่ผู้กระทําความผิดตามวรรคหนึ่ง นําสัตว์น้ำไปปล่อยในที่จับสัตว์น้ำ ต้องระวางโทษจําคุก
ไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองล้านบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
ที่มา: พระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558

 

เอกสารสื่อเพื่อการประชาสัมพันธ์

      Video :  ป้องกันการแพร่กระจายของสัตว์น้ำต่างถิ่น Aquatic Alien Species สัตว์น้ำต้องห้ามตามมาตรา 64-65
                    เอเลี่ยนสปีชี่ส์ สัตว์น้ำอันตรายที่ไม่ได้มาจากต่างดาว
                    สัตว์น้ำต้องห้าม ตามมาตรา 65

               

 

              

 

             

 

             

 

             

 

             

 

หนังสือ-บทความสัตว์น้ำต่างถิ่น 

 

เอกสารประชาสัมพันธ์ "ปลาหมอสีคางดำ"

  • เมนูจากปลาหมอคางดำ จัดทำโดย กองวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

              

  • สื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับ "ปลาหมอสีคางดำ"

           
           
           
           
           
           
           
           
           
 CR สำนักงานประมงจังหวัดสมุทรสงคราม 

  • โครงการปฏิบัติการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอสีคางดำที่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศในแหล่งน้ำธรรมชาติ หน้าที่ 1  |  หน้าที่ 2

             

           

            

            

            

           

            

           

           


   

  •   หน่วยงาน: สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี
  •   ประกาศวันที่: 2023-03-16
  •   ประกาศสิ้นสุดเเล้วเมื่อวันที่: 2023-03-16 
  •   Hits
  • ภารกิจประจำวันที่ 10 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  ภารกิจประจำวันที่ 10 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 52  ภารกิจประจำวันที่ 27 มกราคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 27 มกราคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 30 ภารกิจประจำวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 30 ภารกิจประจำวันที่ 31 มกราคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 31 มกราคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 26 ภารกิจประจำวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 26 ภารกิจประจำวันที่ 25 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   ภารกิจประจำวันที่ 25 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 25 ภารกิจประจำวันที่ 8 เมษายน 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 8 เมษายน 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 23 ภารกิจประจำวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 22 ภารกิจประจำวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 21 ภารกิจประจำวันที่ 5 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 5 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 20 ภารกิจประจำวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  ภารกิจประจำวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 20 ภารกิจประจำวันที่ 7 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 7 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 20 ภารกิจประจำวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 19 ภารกิจประจำวันที่ 16 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี     ภารกิจประจำวันที่ 16 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 18 ภารกิจประจำวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  ภารกิจประจำวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 18

    สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี

    รายละเอียด สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี SARABURI PROVINCIAL FISHERIES OFFICE ที่ตั้ง : 123 หมู่ 6 ศาลากลางจังหวัดสระบุรี สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี (ชั้น 2)            ตำบลตะกุด อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี 18000           123 Moo 6, Saraburi Provincial Hall, Saraburi Provincial Fisheries Office (2nd floor)            Takud Sub-district, Mueang Saraburi District, Saraburi, 18000 การเดินทางสาธารณะ : รถสองแถวสาย 9 (10 บาทตลอดสาย)                                       โดยจุดจอดรถสองแถวเริ่มต้นที่ บขส.สระบุรี สิ้นสุดที่ ศูนย์ราชการจังหวัดสระบุรี  Social Network     : fpo_saraburi@fisheries.go.th  LINEID : fposaraburi QR Code Line    ผู้ดูแลเว็บไซต์ : นางสาวพรศิริ โพธาราม   เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล  email  fpo_saraburi@fisheries.go.th  โทรศัพท์ 0 3634 0742  FAX 0 3634 0742  แฟนเพจ แฟนเพจ
    CreativeCommons Valid CSS! Explanation of WCAG 2.1 Level Triple-AA Conformance SSL Labs ipv6