สัตว์น้ำ ซากสัตว์น้ำ หรือผลิตภัณฑ์ (สัตว์ป่า)

 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี


สัตว์น้ำ ซากสัตว์น้ำ หรือผลิตภัณฑ์ (สัตว์ป่า) 


ส่ง email แชร์ X ส่ง Line แชร์ Facebook
ฟังเสียงบรรยาย
ฟังเสียงบรรยาย

HOT สัตว์น้ำ ซากสัตว์น้ำ หรือผลิตภัณฑ์ (สัตว์ป่า)..คลิก

เอกสารเพิ่มเติม

 

 

เอกสารเพิ่มเติม

 

บทลงโทษ :


 



เอกสารประกอบการประชุม :

 

ซักซ้อมความเข้าใจ ครอบครอง CITES 


 

สัตว์ป่าคุ้มครอง

สัตว์ป่าคุ้มครอง คือสัตว์ป่าที่มีชื่ออยู่ในบัญชีแนบท้าย กฎกระทรวง กำหนดให้เป็นสัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง พ.ศ. 2546 ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 ประกอบด้วยสัตว์ป่าจำพวกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 201 ชนิด นก 952 ชนิด สัตว์เลื้อยคลาน 91 ชนิด สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก 12 ชนิด แมลง 20 ชนิด ปลา 14 ชนิด และสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอื่น ๆ 12 ชนิด

กรมประมง ขอประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการรับรู้ สร้างความเข้าใจแก่ประชาชน ตามหนังสือ...
     การซื้อ-ขายเต่า ที่อยู่ในบัญชีสัตว์ป่าคุ้มครอง ถือว่าเป็นการกระทำผิดกฎหมาย มีโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือปรับไม่เกิน 1,000,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
     การครอบครองเต่า ที่อยู่ในบัญชีสัตว์ป่าคุ้มครอง ถือว่าเป็นการกระทำผิดกฎหมาย มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

บทลงโทษ การกระทำความผิดพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562

         มาตรา 17 ประกอบมาตรา 92 ในข้อหามีสัตว์ป่าคุ้มครองไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตจากอธิบดี "ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินห้าแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ"
         มาตรา 29 ประกอบมาตรา 89 ในข้อหาค้าสัตว์ป่าคุ้มครองโดยไม่ได้รับอนุญาตจากอธิบดี "ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ"

 

กฎกระทรวง กำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง พ.ศ. 2567 

    หมายเหตุ: เหตุผลในกระกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองป่า พ.ศ. 2562 กำหนดให้สัตว์ป่าชนิดใดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองในกำหนดในกฎกระทรวงประกอบกับปัจจุบันมีการปรับปรุงประเภทของสัตว์ป่า และชื่อไทย ชื่อสามัญ หรือชื่อวิทยาศาสตร์ในลำดับชั้นสกุล หรือในลำกดับชั้นชนิดของสัตว์ป่าตามอนุกรมวิธานใหม่ สมควรปรับปรุงและกำหนดบัญชีสัตว์ป่าคุ้มครองให้เป็นปัจจุบัน และสอดคล้องกับข้อมูลทางวิชาการ จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้

 

พระราชกฤษฎีกา กำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าสงวน พ.ศ. 2567

   หมายเหตุ : เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากปัจจุบันวาฬสีน้ำเงิน (Balaenoptera musculus) และนกชนหิน (Rhinoplax vigil) ในสภาพธรรมชาติมีเหลืออยู่จำนวนน้อยมาก และถูกคุกคามสูงจากการล่าเพื่อนำไปใช้ในการอุปโภคและบริโภคหรือประโยชน์อื่น จนถูกขึ้นบัญชีสถานภาพให้เป็นชนิดพันธุ์ใกล้สูญพันธุ์ทั้งในระดับโลกและในประเทศ ดังนั้น เพื่อเป็นการยกระดับการคุ้มครองทางกฎหมายให้เข้มงวดขึ้น และเป็นการสร้างความตระหนักในการอนุรักษ์ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ การอนุรักษ์สัตว์ป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ในระดับนานาชาติ ประกอบกับประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่า และพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora [CITES]) จึงมีพันธกรณีที่จะต้องปฏิบัติตามอนุสัญญาที่กำหนดให้ประเทศสมาชิกต้องมีมาตรการในการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าอย่างเหมาะสม สมควรกำหนดให้วาฬสีน้ำเงิน (Balaenoptera musculus) และนกชนหิน (Rhinoplax vigil) เป็นสัตว์ป่าสงวนตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฏีกานี้

รายชื่อสัตว์ป่าคุ้มครอง

สัตว์ป่าจำพวกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
 

  • ๑๕๘ โลมากระโดด (Stenella longirostris)
  • ๑๕๙ โลมาแถบ (Stenella coeruleoalba)
  • ๑๖๐ โลมาธรรมดา (Delphinus delphis)
  • ๑๖๑ โลมาปากขวด (Tursiops aduncus)
  • ๑๖๒ โลมาฟราเซอร์ (Lagenodelphis hosei)
  • ๑๖๓ โลมาฟันห่าง (Steno bredanensis)
  • ๑๖๔ โลมาลายจุด (Stenella attenuata)
  • ๑๖๕ โลมาหลังโหนก (Sousa chinensis)
  • ๑๖๖ โลมาหัวบาตรหลังเรียบ (Neophocaena phocaenoides)
  • ๑๖๗ โลมาอิรวดี (Orcaella brevirostris)
  • ๑๖๘ วาฬคูเวียร์ (Ziphius carvirostris)
  • ๑๖๙ วาฬนำร่องครีบสั้น (Globicephala macrorhynchus)
  • ๑๗๐ วาฬบรูด้า (Balaenoptera edeni)
  • ๑๗๑ วาฬเพชรฆาต (Orcinus orca)
  • ๑๗๒ วาฬเพชรฆาตดำ (Pseudorca crassidens)
  • ๑๗๓ วาฬเพชรฆาตเล็ก (Feresa attenuata)
  • ๑๗๔ วาฬฟันสองซี่ (Mesoplodon ginkgodens)
  • ๑๗๕ วาฬฟิน (Balaenoptera physaius)
  • ๑๗๖ วาฬหัวแตงโม (Peponocephala electra)
  • ๑๗๗ วาฬหัวทุย (Physeter macrocepalus)
  • ๑๗๘ วาฬหัวทุยแคระ (Kogia simus)
  • ๑๗๙ วาฬหัวทุยเล็ก (Kogia breviceps)

สัตว์ป่าจํ าพวกสัตว์เลื้อยคลาน

  • ๔๒ ตะโขง (Tomistoma schlegelii)
  • ๔๓ ตะพาบ หรือ ปลาฝา (Amyda cartilaginea)
  • ๔๔ ตะพาบแก้มแดง หรือ ปลาฝาดำ (Dogania subplana)
  • ๔๕ ตะพาบข้าวตอก หรือ ตะพาบดาว (Amyda cartilaginea nakornsritamaratensis)
  • ๔๖ ตะพาบพม่า (Nilssonia formosa)
  • ๔๗ ตะพาบม่านลาย หรือ กราวลาย หรือ กริวลาย (Chitra chitra)
  • ๔๘ ตะพาบหัวกบ หรือ กราวเขียว หรือ กริวดาว (Pelochelys bibroni หรือ Pelochelys cantorii)
  • ๖๙ เต่ากระ (Eretmochelys imbricata)
  • ๗๐ เต่ากะอาน หรือ เต่าจาน (Batagur baska)
  • ๗๑ เต่าจักร (Heosemys spinosa)
  • ๗๒ เต่าดำ หรือ เต่ากา (Siebenrockiella crassicollis)
  • ๗๓ เต่าเดือย หรือ เต่าควะ หรือ เต่าเขาสูง (Manouria impressa)
  • ๗๔ เต่าตนุ (Chelonia mydas)
  • ๗๕ เต่าทะเลลอกเกอร์เฮด หรือ เต่าหัวฆ้อน หรือ เต่าหัวโต (Caretta caretta)
  • ๗๖ เต่าทับทิม (Notochelys platynota)
  • ๗๗ เต่านา (Malayemys subtrijuga)
  • ๗๘ เต่าบึงหัวเหลือง หรือ เต่าบัว หรือ เต่าหม้อ หรือเต่าวัดหัวเหลือง (Hieremys annandalii)
  • ๗๙ เต่าใบไม้ หรือ เต่าแดง (Cyclemys dentata)
  • ๘๐ เต่าปากเหลือง (Melanochelys trijuga)
  • ๘๑ เต่าปูลู (Platysternon megacephalum)
  • ๘๒ เต่ามะเฟือง (Dermochelys coriacea)
  • ๘๓ เต่าลายตีนเป็ด หรือ เต่าหัวแดง (Callagur borneoensis)
  • ๘๔ เต่าหก หรือ เต่าหกเหลือง (Manouria emys)
  • ๘๕ เต่าหญ้าตาแดง หรือ เต่าสังกะสี หรือ เต่าทะเลริดเลย์ (Lepidochelys olivacea)
  • ๘๖ เต่าห้วยคอลาย (Cyclemys tcheponensis)
  • ๘๗ เต่าหวาย (Heosemys grandis)
  • ๘๘ เต่าหับ (Cuora amboinensis)
  • ๘๙ เต่าเหลือง หรือ เต่าขี้ผึ้ง หรือ เต่าเทียน หรือ เต่าเพ็ก (Indotestudo elongata)

สัตว์ป่าจํ าพวกสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก

  • ๑ กบเกาะช้าง (Linmonectes kohchangae หรือ Rana kohchangae)
  • ๒ กบดอยช้าง (Chaparana aenea หรือRana aenea)
  • ๓ กบท่าสาร (Ingerana tasanae)
  • ๔ กบทูด หรือ เขียดแลว (Limnonectes blythii หรือ Rana blythii)
  • ๕ กบอกหนาม (Paa fasciculispina หรือ Rana fasciculispina)

สัตว์ป่าจำพวกปลา

  • ๑ ปลาจาดถ้ำ (Poropuntius speleops)
  • ๒ ปลาฉลามวาฬ (Rhincodon typus)
  • ๓ ปลาพลวงถ้ำ (Neolissochilus subterraneus)
  • ๔ ปลาผีเสื้อถ้ำ (Cryptotora thamicola)
  • ๕ ปลาค้อถ้ำ (Nemacheilus troglocataractus)
  • ๖ ปลาค้อตาบอด (Schistura oedipus)
  • ๗ ปลาค้อจารุธานินธร์ (Schistura jaruthanini)
  • ๘ ปลาค้อถ้ำพระวังแดง (Schistura spiesi)
  • ๙ ปลาค้อถ้ำพระไทรงาม (Schistura deansmarti)
  • ๑๐ ปลาชะโอนถ้ำ (Pterocryptis buccata)
  • ๑๑ ปลาตะพัด หรือ ปลาอโรวาน่า (Scleropages formosus)
  • ๑๒ ปลาติดหิน หรือ ปลาค้างคาว (Oreoglanis siamensis)
  • ๑๓ ปลาเสือตอ หรือ ปลาเสือ หรือ ปลาลาด (Coius microlepis)
  • ๑๔ ปลาหมูอารีย์ (Botia sidthimunkii)

สัตว์ป่าไม่มีกระดูกสันหลังอื่น ๆ

  • ๑ กัลปังหาทุกชนิดในอันดับ (Order) Gorgonacea
  • ๒ กัลปังหาดำทุกชนิดในอันดับ (Order) Antipatharia
  • ๓ ดอกไม้ทะเลทุกชนิดในอันดับ (Order) Actinaria
  • ๔ ปะการังแข็งทุกชนิดในอันดับ (Order) Scleractinia และในอันดับ (Order) Stylasterina
  • ๕ ปะการังไฟทุกชนิดในสกุล (Genus) Milleporina
  • ๖ ปะการังสีฟ้าทุกชนิดในอันดับ (Order) Helioporacea
  • ๗ ปะการังอ่อนทุกชนิดในอันดับ (Order) Alcyonacea
  • ๘ ปูเจ้าฟ้า (Phricotelphusa sirindhorn)
  • ๙ ปูทูลกระหม่อม หรือ ปูแป้ง (Thaipotamon chulabhorn)
  • ๑๐ ปูราชินี (Demanietta sirikit)
  • ๑๑ หอยมือเสือทุกชนิดในวงศ์ (Family) Tridacnidae
  • ๑๒ หอยสังข์แตร (Charonia tritonis)

ภาพประกอบ

 

พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562

มาตรา 4         

               "สัตว์ป่าควบคุม"  หมายความว่า สัตว์ป่าที่ได้รับความคุ้มครองตามอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ และสัตว์ป่าอื่นที่ต้องมีมาตรการควบคุมที่เหมาะสม ตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้

มาตรา 9         

       การกำหนดให้สัตว์ป่าชนิดใดเป็นสัตว์ป่าควบคุม ให้เป็นไปตามประกาศของรัฐมนตรี
       ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าควบคุม พ.ศ. 2565
            แบ่งสัตว์ป่าควบคุมเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
               กลุ่มที่ 1  สัตว์ป่าที่ได้รับการคุ้มครองตามอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ 1,014 รายการ
               กลุ่มที่ 2  สัตว์ป่าอื่นที่ต้องมีมาตรการควบคุมที่เหมาะสม 86 รายการ

       วรรคหนึ่ง
              ผู้ใดจะมีไว้ในครอบครองซึ่งสัตว์ป่าควบคุม ตามมาตรา 9 เฉพาะชนิดที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด หรือซากสัตว์ป่าดังกล่าว ให้แจ้งการครอบครองต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เว้นแต่เป็นการครอบครองตามใบอนุญาตค้าสัตว์ป่าโดยผู้รับใบอนุญาตค้าตามมาตรา 30

              ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดชนิดสัตว์ป่าควบคุมที่ต้องแจ้งครอบครอง พ.ศ. 2565
              ซึ่่งมีชนิดสัตว์ป่าควบคุมที่ต้องแจ้งครอบครอง จำนวน 67 ชนิด

       ฝ่าฝืนตามมาตรา 19 วรรคหนึ่งนี้ มีโทษตามตามมาตรา 90 จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
 
        วรรคสอง
              หลักเกณณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการแจ้งและการรับแจ้ง และการครอบครอง ให้เป็นไปตามระเบียบที่อธิบดีกำหนด โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ

              ระเบียบกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ว่าด้วยการแจ้งและการรับแจ้ง และการครอบครอง ซึ่งสัตว์ป่าควบคุมและซากสัตว์ป่าควบคุม พ.ศ. 2565

              "ผู้แจ้งการครอบครอง"  หมายความว่า ผู้แจ้งความประสงค์จะมีไว้ในครอบครองซึ่งชนิดสัตว์ป่าควบคุมและซากสัตว์ป่าควบคุมที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมประกาศกำหนดตามมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562
              "สัตว์ป่าควบคุม"  หมายความว่า สัตว์ป่าควบคุมชนิดที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมประกาศกำหนดตามมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562
              "ซากสัตว์ป่าควบคุม"  หมายความว่า ซากสัตว์ป่าควบคุมชนิดที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมประกาศกำหนดตามมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562
              "สัตว์ป่าควบคุมชนิด ก"  หมายความว่า สัตว์ป่าควบคุมตามระเบียบนี้ที่ต้องมีมาตรการควบคุมที่เข้มงวดด้วยลักษณะสายพันธุ์มีความดุร้ายหรือด้วยลักษณะนิสัย พฤติกรรม อาจสร้างความหวาดกลัว หรือทำอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สินของมนุษย์ ได้แก่ สัตว์ป่าควบคุมประเภทกลุ่มสัตว์กินเนื้อขนาดใหญ่ กลุ่มลิงขนาดใหญ่ และงูขนาดใหญ่
              "สัตว์ป่าควบคุมชนิด ข"  หมายความว่า สัตว์ป่าควบคุมตามระเบียบนี้นอกจากสัตว์ป่าควบคุมชนิด ก

สาระสำคัญของระเบียบ แบ่งออกเป็น 6 หมวด ดังนี้
          หมวดที่ 1  การแจ้งการครอบครองสัตว์ป่าควบคุม หรือซากสัตว์ป่าควบคุม
          หมวดที่ 2  การพิจารณาคำขอแจ้งการครอบครอง
          หมวดที่ 3  เครื่องหมายและรหัสประจำตัวสัตว์ป่าควบคุมและซากสัตว์ป่าควบคุม
          หมวดที่ 4  การครอบครองสัตว์ป่าควบคุม หรือซากสัตว์ป่าควบคุม
          หมวดที่ 5  การโอนการครองครองและใบแทนใบแจ้งการครอบครอง
          หมวดที่ 6  การกำกับดูแล
                         ทั้งนี้ ในหมวดที่ 6 ให้นำ ระเบียบกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ว่าด้วยการแจ้งและการรับแจ้ง การออกใบอนุญาตหรือใบรับรอง การกำหนดอายุใบอนุญาตหรือใบรับรอง การต่ออายุใบอนุญาตหรือใบรับรอง การโอนใบอนุญาตหรือใบรับรอง การออกใบแทนใบอนุญาตหรือใบรับรองสำหรับการครอบครองสัตว์ป่าสงวน ซากสัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครอง ซากสัตว์ป่าคุ้มครอง ผลิตภัณฑ์จากซากสัตว์ป่าคุ้มครอง และะการจำหน่าย จ่าย หรือโอนสัตว์ป่าสงวนและสัตว์ป่าคุ้ครอง พ.ศ. 2564 ในหมวดที่ 1 ส่วนที่ 3, 4, 5, 6  และ 7 มาใช้บังคับแก่การกำกับดูแล การครองครองสัตว์ป่าควบคุมและซากสัตว์ป่าควบคุม โดยอนุโลม โดยให้ถือว่า
                          (1) ใบอนุญาตครองครองสัตว์ป่าสงวนชั่วคราว หมายถึง ใบรับแจ้งสัตว์ป่าควบคุม
                          (2) ใบรับรองซากสัตว์ป่าสงวน หมายถึง ใบรับแจ้งซากสัตว์ป่าควบคุม
                          (3)  สัตว์ป่าสงวน หมายถึง สัตว์ป่าคุ้มครอง
                          (4)  ซากสัตว์ป่าสงวน หมายถึง ซากสัตว์ป่าควบคุม

          ไม่ปฏิบัติตามระเบียบที่ออกตามมาตรา 19 วรรคสองนี้ มีโทษตามตามมาตรา 91 จำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 20

ในกรณีที่มีการออกประกาศกำหนดชนิดสัตว์ป่าควบคุมตามมาตรา 19 วรรคหนึ่ง ให้ผู้มีไว้ในครอบครองซึ่งสัตว์ป่าควบคุมอยู่ก่อนวันที่ประกาศนั้นมีผลใช้บังคับแจ้งการครอบครองสัตว์ป่าควบคุมตามมาตรา 19 วรรคสอง ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในเวลาที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งกำหนดเวลาดังกล่าวจะต้องไม่น้อยกว่าสามสิบวัน พร้อมเผยแพร่ให้สาธารณชนทราบตามวิธีการที่อธิบดีกำหนดเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามสิบ (30) วัน

ประกาศกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เรื่อง กำหนดระยะเวลาการแจ้งการครองครองสัตว์ป่าควบคุม ที่มิใช่สัตว์น้ำ พ.ศ. 2565

 

สัตว์ป่าคุ้มครองที่เพาะพันธุ์ได้

     รายชื่อสัตว์ป่าคุ้มครองที่เพาะพันธุ์ได้ตามกฎกระทรวงกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กำหนดชนิดของสัตว์ป่าคุ้มครองให้เป็นสัตว์ป่าชนิดที่เพาะพันธุ์ได้ พ.ศ. ๒๕๔๖ 

สัตว์เลื้อยคลาน 6 ชนิด
   1. งูสิง (Ptyas korros)
   2. งูสิงหางลายหรืองูสิงลาย (Ptyas mucosus)
   3. งูหลาม (Python molurus bivittatus)
   4. งูเหลือม (Python reticulatus)
   5. จระเข้น้ำเค็ม (Crocodylus porosus)
   6. จระเข้น้ำจืด (Crocodylus siamensis)

สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก 1 ชนิ
   1. กบทูดหรือเขียดแลว (Limnonectes blythii หรือ Rana blythii)

ปลา? 2 ชนิด
   1. ปลาตะพัดหรือปลาอโรวาน่า (Scleropages formosus)
   2. ปลาเสือตอ หรือปลาเสือ หรือปลาลาด (Coius microlepis)

 

เอกสารอ้างอิง

 Tags

  •   Hits
  • ภารกิจประจำวันที่ 10 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  ภารกิจประจำวันที่ 10 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 51  ภารกิจประจำวันที่ 27 มกราคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 27 มกราคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 26 ภารกิจประจำวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 26 ภารกิจประจำวันที่ 31 มกราคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 31 มกราคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 23 ภารกิจประจำวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 22 ภารกิจประจำวันที่ 8 เมษายน 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 8 เมษายน 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 20 ภารกิจประจำวันที่ 25 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   ภารกิจประจำวันที่ 25 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 19 ภารกิจประจำวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 18 ภารกิจประจำวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 17 ภารกิจประจำวันที่ 5 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 5 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 17 ภารกิจประจำวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  ภารกิจประจำวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 16 ภารกิจประจำวันที่ 7 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 7 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 16 ภารกิจประจำวันที่ 16 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี     ภารกิจประจำวันที่ 16 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 16 ภารกิจประจำวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 16 ภารกิจประจำวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  ภารกิจประจำวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 15


    สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี

    รายละเอียด สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี SARABURI PROVINCIAL FISHERIES OFFICE ที่ตั้ง : 123 หมู่ 6 ศาลากลางจังหวัดสระบุรี สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี (ชั้น 2)            ตำบลตะกุด อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี 18000           123 Moo 6, Saraburi Provincial Hall, Saraburi Provincial Fisheries Office (2nd floor)            Takud Sub-district, Mueang Saraburi District, Saraburi, 18000 การเดินทางสาธารณะ : รถสองแถวสาย 9 (10 บาทตลอดสาย)                                       โดยจุดจอดรถสองแถวเริ่มต้นที่ บขส.สระบุรี สิ้นสุดที่ ศูนย์ราชการจังหวัดสระบุรี  Social Network     : fpo_saraburi@fisheries.go.th  LINEID : fposaraburi QR Code Line    ผู้ดูแลเว็บไซต์ : นางสาวพรศิริ โพธาราม   เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล  email  fpo_saraburi@fisheries.go.th  โทรศัพท์ 0 3634 0742  FAX 0 3634 0742  แฟนเพจ แฟนเพจ
    CreativeCommons Valid CSS! Explanation of WCAG 2.1 Level Triple-AA Conformance SSL Labs ipv6