สื่อการเรียนรู้...การเลือกสถานที่และขุดบ่อเลี้ยงปลา

 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี




สื่อการเรียนรู้...การเลือกสถานที่และขุดบ่อเลี้ยงปลา

สื่อการเรียนรู้...เอกสารการประมง ในโครงการศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร

จัดทำโดย กลุ่มโครงการและกิจกรรมพิเศษ กองโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและกิจกรรมพิเศษ กรมประมง
  
    ตอน การเลือกสถานที่และขุดบ่อเลี้ยงปลา โดยมีเนื้อหาประกอบด้วย
    1. การเลือกสถานที่

    สภาพพื้นที่และทำเลที่ตั้ง

  • เป็นที่ราบ ทุ่งนา มีลำคลองชลประทานอยู่ใกล้เคียง
  • พื้นที่อยู่ใกล้แหล่งน้ำ และไม่มีปัญหาเรื่องน้ำท่วม
  • พื้นที่อยู่ในเขตเกษตรน้ำฝน โดยปกติเนื้อที่แหล่งรับน้ำฝน 5-10 ไร่ จะรับน้ำได้เพียงพอ สำหรับบ่อปลาขนาด 1 ไร่ ซึ่งจะมีน้ำเลี้ยงปลาในช่วงฤดูฝนประมาณ 4-6 เดือน
  • ด้านสิ่งแวดล้อมอื่นๆ
         * หลีกเลี่ยงแหล่งที่จะทำให้เกิดภาวะน้ำเสีย
         * การคมนาคมสะดวกต่อการขนส่ง
         * มีระบบสาธารณูปโภค เช่น ไฟฟ้าในการเพาะฟัก อนุบาลลูกปลาหรือเลี้ยงปลา
         * สามารถจัดหาแหล่งอาหารปลาได้ง่ายและราคาถูก

        ลักษณะคุณภาพดิน : ควรเป็นดินเหนียว ดินเหนียวปนทราย น้ำไม่ซึมหรือรั่ว ทดสอบโดยน้ำดินมาผสมกับน้ำพอหมาดๆ แล้วบีบหากดินจับกันเป็นก้อนแน่นแสดงว่าเก็บน้ำได้ดี

    น้ำและแหล่งน้ำที่เหมาะสมในการเลี้ยงสัตว์น้ำ คุณสมบัติของน้ำที่เหมาะสมต่อการเลี้ยงปลา
    #อุณหภูมิของน้ำ  #ความโปร่งใส #ปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำ #ความเป็นกรดเป็นด่าง (พีเอช)

    2. ประเภทการเลี้ยงสัตว์น้ำ 

    (การเลี้ยงปลาในบ่อดิน, : บ่อเลี้ยงปลาควรเป็นบ่อดินขนาด 200 ตารางเมตร คือ 3 ไร่ ความลึกของน้ำ 1.0-1.5 เมตร ความสูงของคันบ่อแล้วแต่ความจำเป็นที่จะใช้ในการป้องกันน้ำท่วม ปกติคันบ่อจะสูง 1.50-2.0 เมตร ความกว้างของสันคันบ่อไม่ควรน้อยกว่า 1 เมตร ความลาดเอียงเป็น 1:1 สำหรับดินเหนียว ถ้าเป็นดินเหนียวปนทรายหรือดินร่วนควรเพิ่มความลาดเอียงเป็น 1:2 หรือ 1:3 #สำหรับก้นบ่อ ควรขุดให้มีลาดเทจากทางน้ำเข้าไปทางระบายน้ำออกและมีบ่อรวมปลาขนาดเล็ก บริเวณทางน้ำออกไว้ด้วย เพื่อความสะดวกในการจับปลาขาย #การเลี้ยงปลาในบ่อดิน สามารถเลี้ยงได้ทั้งปลากินพืชและปลากินเนื้อขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้เลี้ยง 

    การเลี้ยงปลาในนาข้าว, :  ควรเลือกพื้นที่นาที่อยู่ในเขตชลประทาน หรือนาที่อยู่ใกล้แหล่งน้ำ ทำการดัดแปลงโดยยกคันดินให้สูงและกว้างเพื่อป้องกันน้ำท่วม นาข้าวควรมีเนื้อที่ไม่ต่ำกว่า 2 ไร่ จึงให้ผลตอบแทนคุ้มค่า ควรเก็บกักน้ำในคู่ให้มีระดับสูง 30-50 เซนติเมตร ตลอดฤดูกาลทำนา ขุดคูภายในอย่างน้อย 1 ด้าน ทางด้านที่ลาดต่ำ โดยมีขนาดกว้าง 1.50 เมตร ลึก 75 เซนติเมตร ขอบของคูอยู่ห่างจากคันนา 50 เซนติเมตร เพื่อป้องกันดินพังทลาย พื้นที่คูไม่เกิน 10% ของพื้นที่ทั้งหมดที่ใช้เลี้ยงปลา และทำบ่อรวมปลาเชื่อมกับคูเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าพื้นที่ 10-20 ตารางเมตร ลึกประมาณ 1 เมตร #พันธุ์ปลาที่เหมาะสมในการเลี้ยงในนาข้าว ได้แก่ ปลาตะเพียนขาว ปลานิล ปลานวลจันทร์เทศ และปลาซ่ง

    การเลี้ยงปลาในกระชัง, : ถ้าเป็นแม่น้ำต้องเลือกบริเวณที่กระแสน้ำไม่แรง และในช่วงฤดูฝนน้ำไม่ขุ่นมากจนเป็นอันตรายต่อปลา ถ้าเลี้ยงในหนองบึงหรืออ่างเก็บน้ำควรเลือกบริเวณที่มีน้ำลึกประมาณ 3-5 เมตร โดยก้นของกระชังต้องอยู่สูงกว่าพื้นท้องน้ำไม่น้อยกว่า 1 เมตร มีที่บังคลื่นลมพอสมควร และในแหล่งน้ำควรมีอาหารธรรมชาติ เช่น แพลงก์ตอน ลูกกุ้ง ลูกปลา ซึ่งช่วยทำให้ปลาที่เลี้ยงเจริญเติบโตเร็วขึ้น #กระชังที่ใช้เลี้ยงมีรูปร่างหลายแบบที่สำคัญ คือ จะต้องมีช่องตาให้น้ำไหลถ่ายเทได้สะดวก #พันธุ์ปลาที่เหมาะสมเลี้ยงในกระชัง ต้องเป็นปลาที่สามารถฝึกให้กินอาหารได้รวดเร็วก่อนที่อาหารจะละลายหรือสูญหายไปในน้ำ เช่น ปลานิล ปลาสวาย ปลาไน ปลาตะเพียน ปลาน้ำกรอย เช่น ปลากะพงขาว ปลากะรัง เป็นต้น

    การเลี้ยงปลาในคอก : ลักษณะของคอกคล้ายกับกระชังที่มีก้น ซึ่งจะใช้วิธีฝังหรือยึดคร่าวล่างลงไปในดินสถานที่สร้างคอกควรเลือกบริเวณอ่างเก็บน้ำหรือหนองบึงที่เป็นอ่าวและมีระดับน้ำลึกประมาณ 1-3 เมตร มีระดับน้ำในรอบปีไม่แตกต่างกันมากนักขนาดของคอกควรมีขนาด 1-10 ไร่ ขึ้นไป การกั้นคอกหรือทำคอกอาจสร้างเป็นลักษณะกลม สี่เหลี่ยม หรือกึ่งวงกลม หรือกึ่งสี่เหลี่ยมก็ได้ และควรเป็นบริเวณที่มีการหมุนเวียนของน้ำดี เพราะเป็นตัวช่วยให้มีการหมุนเวียนของออกซิเจนในน้ำ ช่วยขจัดของเสียอันเกิดจากการขับถ่ายของปลา #ชนิดสัตว์น้ำที่ควรเลี้ยง ได้แก่ ปลาจีน (ปลาเฉา ลิ่น ซ่ง ไน) ปลาสวาย ปลานิล ปลายี่สก ปลาตะเพียนขาว กุ้งก้ามกราม การเลือกชนิดของสัตว์น้ำลงเลี้ยงในคอกอาจจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขรูปแบบคอกให้เหมาะสมกับอุปนิสัยของสัตว์น้ำชนิดที่ต้องการเลี้ยง

    และการเลี้ยงปลาในร่องสวน : การทำสวนผลไม้หรือแปลงปลูกพืชผักต่างๆ ซึ่งต้องขุดดินไปถมให้สูงขึ้นเป็นคันแนวยาว เพื่อใช้ปลูกไม้ผลหรือพืชผักต่างๆ ทำให้เกิดคูหรือร่องขึ้น ร่องหรือคูที่มีขนาดกว้าง 2-3 เมตร ลึก 1 เมตร และมีความยาวติดต่อเชื่อมโยงกันสามารถใช้เลี้ยงปลากินพืชได้ โดยใช้เศษผักและของเหลือจากครัวเรือนเป็นอาหารปลา #สิ่งที่ต้องระมัดระวัง คือ การใช้ยาฆ่าแมลงป้องกันศัตรูพืชจะเป็นอันตรายต่อปลาที่เลี้ยง #พันธุ์ปลาที่เหมาะสมในการเลี้ยงในร่องสวน ได้แก่ ปลานิล ปลาตะเพียนขาว ปลานวลจันทร์เทศ ปลาช่ง ปลาแรด ปลาสลิด ปลาหมอตาล ฯลฯ

  •   หน่วยงาน: สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี
  •   ประกาศวันที่: 2025-07-02
  •   ประกาศสิ้นสุดเเล้วเมื่อวันที่: 2025-07-02 
  •   Hits
  • ภารกิจประจำวันที่ 10 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  ภารกิจประจำวันที่ 10 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 51  ภารกิจประจำวันที่ 27 มกราคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 27 มกราคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 26 ภารกิจประจำวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 26 ภารกิจประจำวันที่ 31 มกราคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 31 มกราคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 23 ภารกิจประจำวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 22 ภารกิจประจำวันที่ 8 เมษายน 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 8 เมษายน 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 20 ภารกิจประจำวันที่ 25 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   ภารกิจประจำวันที่ 25 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 19 ภารกิจประจำวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 18 ภารกิจประจำวันที่ 5 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 5 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 17 ภารกิจประจำวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 17 ภารกิจประจำวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  ภารกิจประจำวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 16 ภารกิจประจำวันที่ 16 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี     ภารกิจประจำวันที่ 16 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 16 ภารกิจประจำวันที่ 7 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 7 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 16 ภารกิจประจำวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  ภารกิจประจำวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 15 ภารกิจประจำวันที่ 24 มกราคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  ภารกิจประจำวันที่ 24 มกราคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 14

    สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี

    รายละเอียด สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี SARABURI PROVINCIAL FISHERIES OFFICE ที่ตั้ง : 123 หมู่ 6 ศาลากลางจังหวัดสระบุรี สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี (ชั้น 2)            ตำบลตะกุด อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี 18000           123 Moo 6, Saraburi Provincial Hall, Saraburi Provincial Fisheries Office (2nd floor)            Takud Sub-district, Mueang Saraburi District, Saraburi, 18000 การเดินทางสาธารณะ : รถสองแถวสาย 9 (10 บาทตลอดสาย)                                       โดยจุดจอดรถสองแถวเริ่มต้นที่ บขส.สระบุรี สิ้นสุดที่ ศูนย์ราชการจังหวัดสระบุรี  Social Network     : fpo_saraburi@fisheries.go.th  LINEID : fposaraburi QR Code Line    ผู้ดูแลเว็บไซต์ : นางสาวพรศิริ โพธาราม   เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล  email  fpo_saraburi@fisheries.go.th  โทรศัพท์ 0 3634 0742  FAX 0 3634 0742  แฟนเพจ แฟนเพจ
    CreativeCommons Valid CSS! Explanation of WCAG 2.1 Level Triple-AA Conformance SSL Labs ipv6