แนวทางเตรียมรับมือ อุทกภัย สำหรับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี




แนวทางเตรียมรับมือ อุทกภัย สำหรับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

แนวทางเตรียมรับมือสถานการณ์ “อุทกภัย” ที่ส่งผลกระทบต่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสามารถลดความเสียหาย
...มาหาวิธีวางแผนไว้ก่อน ฝนจะมาทีหลังเนอะ ขอฝากไว้ในใจ...นิดนึงนะจ๊ะ


   #การเตรียมตัวแต่เนิ่นๆ คือ หัวใจของการอยู่รอดในสถานการณ์ที่ควบคุมไม่ได้ 

แนวทางเตรียมรับมือ “อุทกภัย” สำหรับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

  1. การวางแผนล่วงหน้า (ก่อนน้ำท่วม)
        • ตรวจสอบพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม: ควรสำรวจว่าฟาร์มอยู่ในพื้นที่ลุ่มต่ำ ใกล้แม่น้ำ หรือลำคลองหรือไม่ และเตรียมแนวป้องกัน
        • ในภาวะต้นฤดูฝนไม่ควรสูบน้ำเข้าบ่อ: หรือตรวจสอบคุณภาพน้ำก่อนนำเข้าบ่อ เพื่อป้องกันน้ำเสียจากภายนอกเข้าบ่อ
        • จัดทำร่องระบายน้ำและชุดลอกตะกอน: เพื่อให้น้ำไหลเข้าออกได้สะดวก
        • เตรียมเครื่องเพิ่มออกซิเจน และอุปกรณ์จำเป็น อาทิ เตรียมปูนขาวไว้สำหรับพื้นที่ดินกรด, ปั๊มน้ำสำรองไฟ, อุปกรณ์วัดคุณภาพน้ำ (pH, DO, แอมโมเนีย), เครื่องปั่นไฟ (ในกรณีไฟดับ), ถังเก็บอาหารสัตว์แบบกันน้ำ
        • ทยอยจับสัตว์น้ำที่ได้ขนาดขึ้นมาจำหน่ายหรือบริโภค เพื่อลดปริมาณสัตว์น้ำในบ่อ
        • สร้างคันดิน/คันบ่อให้มั่นคง: เสริมคันบ่อให้สูงและแข็งแรงขึ้น โดยเฉพาะก่อนฤดูฝน และตรวจรอยรั่วซึมอย่างสม่ำเสมอ
        • ติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันสัตว์หลุดออกจากบ่อ: เช่น ตาข่ายกันปลา หน้าดินเสริมรอบบ่อ หรือระบบระบายน้ำที่มีตะแกรงกันสัตว์ออก
        • จัดเตรียมจุดอพยพสัตว์น้ำ (ถ้าทำได้): เช่น บ่อสำรองไว้สูงกว่าระดับน้ำท่วมสูงสุดในอดีต
        • สำรองอาหารสัตว์และยารักษาโรค: เก็บในที่ปลอดภัย กันน้ำ
        • สำหรับการเลี้ยงสัตว์น้ำใน (กระชัง) ควรเพิ่มความแข็งแรงของกระชังตรวจสอบระยะห่างและทางน้ำไหล และเลื่อนกระชังหากอยู่ในแนวน้ำหลาก
        • บ่อเลี้ยงจระเข้ต้องมีความมนมั่นคงแข็งแรง
        • #หากมีการขึ้นทะเบียนกับทางราชการ ตรวจสอบการมีอายุของทะเบียนเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ขึ้นทะเบียนไว้กับทางราชการ

 2. ระหว่างเกิดน้ำท่วม
        • คอยเฝ้าระวังระดับน้ำ: หากน้ำเริ่มสูงใกล้ระดับคันบ่อ ให้ระบายน้ำส่วนเกินออกอย่างระมัดระวัง ไม่ให้ปลา/สัตว์น้ำหลุด
        • ลดจำนวนสัตว์ในบ่อ: ถ้ามีโอกาส ให้จับสัตว์น้ำที่โตพอจำหน่ายออกไปก่อน ลดความเสียหายหากเกิดน้ำท่วมรุนแรง
        • ติดตามข่าวสารพยากรณ์อากาศ: อย่างใกล้ชิด เพื่อเตรียมแผนอพยพหรือจัดการได้ทันท่วงที

 3. หลังน้ำท่วม
        • ประเมินความเสียหาย: ตรวจสอบจำนวนสัตว์น้ำที่เหลือ ปรับสภาพบ่อ ทำความสะอาดตะกอน สารพิษ หรือของเสียที่อาจมากับน้ำ
        • บำบัดน้ำในบ่อ: เช่น เติมน้ำใหม่ เติมปูนขาว ปรับ pH หรือใช้จุลินทรีย์บำบัดน้ำ
        • เฝ้าระวังโรค: โดยเฉพาะโรคที่มากับน้ำเสีย เช่น โรคแบคทีเรีย หรือปรสิต ต้องเฝ้าดูพฤติกรรมสัตว์น้ำใกล้ชิด
        • บันทึกข้อมูล: เพื่อเป็นบทเรียนในอนาคต คำนวณความคุ้มค่าของมาตรการที่ได้ทำไว้

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : การเตรียมการรับสถานการณ์ "อุทกภัย" ด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
                           แนวทางการเตรียมรับสถานการณ์ "อุทกภัย" ด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ  

  •   หน่วยงาน: สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี
  •   ประกาศวันที่: 2025-05-27
  •   ประกาศสิ้นสุดเเล้วเมื่อวันที่: 2025-05-27 
  •   Hits
  • ภารกิจประจำวันที่ 10 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  ภารกิจประจำวันที่ 10 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 51  ภารกิจประจำวันที่ 27 มกราคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 27 มกราคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 26 ภารกิจประจำวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 26 ภารกิจประจำวันที่ 31 มกราคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 31 มกราคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 23 ภารกิจประจำวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 22 ภารกิจประจำวันที่ 8 เมษายน 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 8 เมษายน 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 20 ภารกิจประจำวันที่ 25 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   ภารกิจประจำวันที่ 25 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 19 ภารกิจประจำวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 18 ภารกิจประจำวันที่ 5 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 5 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 17 ภารกิจประจำวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 17 ภารกิจประจำวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  ภารกิจประจำวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 16 ภารกิจประจำวันที่ 16 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี     ภารกิจประจำวันที่ 16 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 16 ภารกิจประจำวันที่ 7 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 7 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 16 ภารกิจประจำวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  ภารกิจประจำวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 15 ภารกิจประจำวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  ภารกิจประจำวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 13

    สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี

    รายละเอียด สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี SARABURI PROVINCIAL FISHERIES OFFICE ที่ตั้ง : 123 หมู่ 6 ศาลากลางจังหวัดสระบุรี สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี (ชั้น 2)            ตำบลตะกุด อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี 18000           123 Moo 6, Saraburi Provincial Hall, Saraburi Provincial Fisheries Office (2nd floor)            Takud Sub-district, Mueang Saraburi District, Saraburi, 18000 การเดินทางสาธารณะ : รถสองแถวสาย 9 (10 บาทตลอดสาย)                                       โดยจุดจอดรถสองแถวเริ่มต้นที่ บขส.สระบุรี สิ้นสุดที่ ศูนย์ราชการจังหวัดสระบุรี  Social Network     : fpo_saraburi@fisheries.go.th  LINEID : fposaraburi QR Code Line    ผู้ดูแลเว็บไซต์ : นางสาวพรศิริ โพธาราม   เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล  email  fpo_saraburi@fisheries.go.th  โทรศัพท์ 0 3634 0742  FAX 0 3634 0742  แฟนเพจ แฟนเพจ
    CreativeCommons Valid CSS! Explanation of WCAG 2.1 Level Triple-AA Conformance SSL Labs ipv6