ฟางมาปลาโต...เพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำในแหล่งน้ำชุมชน ใครเผาตอซัง ฟางข้าว เศษซากพืช ไม่ให้เข้าร่วมทุกโครงการของกรมประมง

 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี




ฟางมาปลาโต...เพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำในแหล่งน้ำชุมชน ใครเผาตอซัง ฟางข้าว เศษซากพืช ไม่ให้เข้าร่วมทุกโครงการของกรมประมง

อธิบดีฯ บัญชา...สนองนโยบายรัฐบาล ลั่น เอาจริง !
ใครเผาตอซัง ฟางข้าว เศษซากพืช ไม่ให้เข้าร่วมทุกโครงการของกรมประมง
 ปี 68 โชว์ 2 โครงการใหญ่ “ฟางมาปลาโต” & “เพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำในแหล่งน้ำชุมชน”
ใช้ฟางข้าวทำอาหารสัตว์น้ำธรรมชาติ กว่า 1,556 ตัน ช่วยลดการเผา ลดมลพิษ

           กรมประมงขานรับนโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ไม่สนับสนุนเกษตรกรที่มีประวัติเผาทำลายเศษซากพืชเหลือทิ้งในพื้นที่การเกษตร สาเหตุการเกิดฝุ่นมลพิษในอากาศ ด้วยการไม่ให้เข้าร่วมโครงการต่างๆ ที่ได้รับการสนับสนุนหรือส่งเสริมการพัฒนาด้านการประมง พร้อมแนะไอเดียลดฝุ่น PM2.5 เดินหน้า 2 โครงการ คือ  “โครงการฟางมาปลาโต” หนุนเกษตรกรนำฟางจากการทำนามาเป็นวัตถุดิบในการสร้างอาหารสัตว์น้ำธรรมชาติเพื่อลดการเผาวัสดุทางการเกษตรหลังการเก็บเกี่ยวได้กว่า 56 ตัน พร้อมต่อยอด “โครงการเพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำในแหล่งน้ำชุมชนเพื่อเพิ่มรายได้และลดค่าครองชีพของประชาชน” ด้วยการนำฟางข้าวกว่า 1,500 ตัน ใช้เป็นอาหารสัตว์น้ำ สำหรับสัตว์น้ำเศรษฐกิจ 7 ชนิด (กุ้งก้ามกราม และปลาน้ำจืดเศรษฐกิจ) ที่ปล่อยในแหล่งน้ำปิดของชุมชน 1,500 แห่งทั่วประเทศ ตั้งเป้าผลผลิตสัตว์น้ำเศรษฐกิจไทยเพิ่มขึ้น 6,000 ตัน มูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 450 ล้านบาท

          นายบัญชา สุขแก้ว อธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า ในช่วงฤดูหนาว ประเทศไทยมักประสบปัญหาฝุ่น PM 2.5 เพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากอากาศแห้งและเย็น ประกอบกับเป็นช่วงฤดูเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตรที่เกษตรกรมีการเผาตอซัง ฟางข้าว และเศษพืชที่เหลือทิ้ง เพื่อเตรียมพื้นที่สำหรับเพาะปลูกครั้งใหม่ ซึ่งปัญหาดังกล่าวรัฐบาลได้มีการติดตามและยกระดับมาตรการในการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 ให้มีความเข้มข้นยิ่งขึ้น ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีการออกประกาศมาตรการบริหารจัดการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก ไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ภาคการเกษตร ซึ่ง ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  ได้กำชับให้ทุกหน่วยงานดำเนินมาตรการอย่างเข้มงวดเพื่อลดการเผาในพื้นที่เกษตรอย่างจริงจัง

          ด้านกรมประมงขานรับนโยบายเร่งด่วน ได้ออกประกาศกรมประมง เรื่อง มาตรการบริหารจัดการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก ไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ภาคการเกษตร ด้านการประมง พ.ศ. 2568  ลงวันที่ 21 มกราคม 2568 โดยมีวัตถุประสงค์ไม่ให้การสนับสนุนเกษตรกรหรือกลุ่มเกษตรกรที่มีประวัติทำการเผาในพื้นที่การเกษตร ในการได้รับการสนับสนุนและพัฒนาศักยภาพเกษตรกรด้านการประมง รวมทั้งโครงการต่าง ๆ ทุกโครงการ หากตรวจพบว่าเกษตรกรหรือคณะกรรมการกลุ่มเกษตรกรที่ประสงค์จะเข้าร่วมโครงการใดๆ ทางด้านการประมง แต่มีประวัติการเผาในพื้นที่การเกษตรให้ถือว่า “ขาดคุณสมบัติ”  และจะไม่ได้รับสิทธิในการเข้าร่วมโครงการฯ ด้านการประมงทุกโครงการ นับตั้งแต่บัดนี้ไปจนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2570

          นอกจากนี้ กรมประมงยังมีแนวทางในการที่จะใช้กิจกรรมในภาคการประมงมาช่วยลดการสร้างมลพิษทางอากาศด้วย โดยที่ผ่านมาได้ดำเนินโครงการจัดการวัสดุทางการเกษตรเพื่อเพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำและลดหมอกควัน หรือ “โครงการฟางมาปลาโต” มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรนำฟางข้าว ที่เหลือจากการทำนามาเป็นวัตถุดิบในการสร้างอาหารสัตว์น้ำธรรมชาติ ลดมลพิษจากการเผาในพื้นที่การเกษตร เกษตรกรมีองค์ความรู้ในการจัดการวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรได้อย่างเหมาะสมและเกิดประโยชน์ในระยะยาวทั้งด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ซึ่งโครงการนี้ ได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2567  ในระยะเวลาการเลี้ยง 1 ปี ใช้ฟางข้าว ประมาณ 800 กิโลกรัม/ไร่/ปี สามารถลดคาร์บอนได้กว่า 42.31 กิโลกรัมคาร์บอน และลดปริมาณฝุ่นละอองได้ประมาณ 6,280 กิโลกรัม โดยในปี 2568 กรมประมงขยายผลการดำเนินโครงการ เพิ่ม ในพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย พะเยา นครพนม และกาฬสินธุ์ มีการจัดฝึกอบรมเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยี และทักษะการสร้างอาหารธรรมชาติในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำจากวัสดุการเกษตร สนับสนุนลูกพันธุ์ปลากินพืชให้แก่เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ รายละ 3,000 ตัว และสนับสนุนปัจจัยการผลิตให้แก่เกษตรกรเพื่อใช้ในการเตรียมบ่อและสร้างอาหารธรรมชาติ พร้อมทั้งจัดทีมนักวิชาการลงพื้นที่อย่างต่อเนื่องเพื่อติดตามและให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด ซึ่งหลังจากจบโครงการฯ คาดว่าจะสามารถกำจัดวัสดุทางการเกษตรเหลือใช้ได้มากกว่า 56,000 กิโลกรัม ลดการเกิดฝุ่นละอองได้ไม่น้อยกว่า 4,000 กิโลกรัม และมีปริมาณผลผลิตสัตว์น้ำไม่น้อยกว่า 28,700 กิโลกรัม คิดเป็นมูลค่ากว่า 2,296,000 บาท และในอนาคตกรมประมงมีแผนขยายผลไปยังเกษตรกรอีก 4,200 ราย ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ เพื่อให้เกิดการสร้างเครือข่ายเกษตรกรที่มีการจัดการเศษวัสดุทางการเกษตรอย่างถูกวิธี และสามารถลดต้นทุนการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำด้วยวิธีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน

          พร้อมกันนี้ ในปี 2568 ได้ขยายผลสู่แหล่งน้ำชุมชน โดยดำเนิน “โครงการเพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำในแหล่งน้ำชุมชนเพื่อเพิ่มรายได้และลดค่าครองชีพของประชาชน”  โดยการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำจืดเศรษฐกิจ 7 ชนิด ได้แก่ กุ้งก้ามกราม ปลาเกล็ดเงิน ปลายี่สกเทศ ปลาตะเพียน ปลาบ้า ปลานิล และปลาบึก ลงในแหล่งน้ำปิดของชุมชนเพื่อฟื้นฟูและเพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำในแหล่งน้ำปิด ขนาด 10 – 60 ไร่ ของชุมชนทั่วประเทศ จำนวน 1,500 แห่ง และจะใช้ฟางข้าวเป็นอาหารสัตว์น้ำ โดยกำหนดแผนการใช้ฟางข้าวไว้ แหล่งน้ำละไม่น้อยกว่า 1 จุด จุดละ 500 กิโลกรัม อย่างน้อย 2 ครั้ง/แหล่งน้ำ ดังนั้น โครงการดังกล่าวใช้ฟางข้าวไม่น้อยกว่า 1,500,000 กิโลกรัม (1,500 ตัน) เพื่อสร้างอาหารธรรมชาติในแหล่งน้ำ ซึ่งช่วยเพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำจืดในแหล่งน้ำชุมชนได้มากกว่า 6,000 ตัน มูลค่ามากกว่า 450 ล้านบาท

          อธิบดีฯ กล่าวในตอนท้ายว่า กรมประมง มุ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ทั้ง 2 โครงการดังกล่าวข้างต้นจะสามารถช่วยแก้ปัญหาฝุ่นพิษ PM2.5 ได้อย่างจริงจัง และช่วยส่งเสริมเพิ่มรายได้ลดค่าครองชีพให้กับเกษตรกรและประชาชน ตลอดจนเพิ่มจำนวนประชากรสัตว์น้ำประจำถิ่นรุ่นใหม่ในธรรมชาติและสัตว์น้ำที่ไม่สามารถหาพื้นที่ที่เหมาะสมตามธรรมชาติในช่วงฤดูผสมพันธุ์และวางไข่ได้ ช่วยฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำในแหล่งน้ำให้คืนความอุดมสมบูรณ์ ด้วยการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรประมงโดยชุมชนเพื่อชุมชน  ทั้งนี้ เกษตรกรหรือประชาชนผู้ที่สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด กรมประมง โทรศัพท์ 0 2562 0585 หรือสำนักงานประมงในพื้นที่ดำเนินโครงการฯ

ที่มา: ประชาสัมพันธ์ กรมประมง

 

แนวทางการจัดการด้านอาหาร...เพื่อเลี้ยงสัตว์น้ำแบบลดต้นทุน

   “อาหาร” เป็นปัจจัยและต้นทุนหลักในการเลี้ยงสัตว์น้ำ ประมาณ 60-70%  เป็นต้นทุนค่า “อาหาร” ถ้าเราลดต้นทุน “อาหาร” ได้เราก็จะมี “กำไร” ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

ข้อดีที่เป็นผลโดยตรง
1. ลดการใช้ลูกพันธุ์ปลา (จากการลดอัตราปล่อยปลา)
2. ลดการใช้อาหารสำเร็จรูป
3. ลดการใช้สารเสริม ยา สารเคมี ในการเลี้ยงปลา

ข้อดีที่เป็นผลโดยอ้อม
1. ลดต้นทุนค่าลูกพันธุ์ อาหาร ยา สารเคมี
2. ช่วยรักษาสภาพแวดล้อม
3. เป็นการนำวัสดุท้องถิ่นมาใช้ประโยชน์

การทดสอบการเลี้ยงปลาเชิงสาธิตปี 2555-2556 พบว่า วิธีการเสริมสร้างให้เกิดอาหารธรรมชาติในบ่อ และเทคนิคการให้อาหารที่ถูกต้องเหมาะสมสามารถช่วยเพิ่มอัตรารอดของลูกปลา และส่งเสริมการเจริญเติบโตของปลาที่เลี้ยง รวมทั้งแนวทางการเลี้ยงปลาแบบเศรษฐกิจพอเพียงและส่งเสริมการเลี้ยงในพื้นที่ห่างไกลเพื่อให้มีปลาบริโภคแทนเนื้อสัตว์และเป็นแหล่งโปรตีนราคาถูกที่สำคัญ ย่อยง่ายและมีสารอาหารที่ช่วยเสริมสร้างความฉลาดของสมอง (IQ) นอกเหนือไปจากการส่งเสริมเจริญเติบโตของเด็กที่ต้องการสารอาหารอย่างเพียงพอ

รูปแบบการสร้างอาหารธรรมชาติเพื่อเลี้ยงปลา
#แบบเน้นสร้างอาหารธรรมชาติ (ฟางหมักร่วมกับมูลสัตว์)
    ฟาง : มูลสัตว์แห้ง  100 : 80-100 กิโลกรัมต่อไร่ต่อเดือน
โดยใส่ฟางสลับชั้นกับมูลสัตว์แห้ง และปักไม้โดยรอบจะช่วยป้องกันไม่ให้ฟางกระจายตัว หากปล่อยในอัตราที่กำหนดจะมีอาหารธรรมชาติเพียงพอสำหรับสัตว์น้ำโดยไม่ต้องให้อาหาร

#แบบเน้นสร้างอาหารธรรมชาติที่เป็นอินทรีย์ (ฟางหมักร่วมกับรำและกากน้ำตาล)
    ฟาง : รำหรือมันบด :  กากน้ำตาล  100 : 5 : 1 กิโลกรัมต่อไร่ต่อเดือน
โดยใส่ฟางมุมบ่อ หรือข้างแนวบ่อ แล้วโรยรำหรือมันบดด้านบนฟาง จึงใส่กากน้ำตาลละลายน้ำราดให้ทั่ว

 

Infographic วัสดุทางการเกษตรนำมาประยุกต์ใช้ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

 

Infographic ฟางหมัก หรือ แซนวิชอาหารปลา

  •   หน่วยงาน: สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี
  •   ประกาศวันที่: 2025-02-04
  •   ประกาศสิ้นสุดเเล้วเมื่อวันที่: 2025-02-04 
  •   Hits
  • ภารกิจประจำวันที่ 10 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  ภารกิจประจำวันที่ 10 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 55  ภารกิจประจำวันที่ 25 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   ภารกิจประจำวันที่ 25 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 32 ภารกิจประจำวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 30 ภารกิจประจำวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 28 ภารกิจประจำวันที่ 31 มกราคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 31 มกราคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 28 ภารกิจประจำวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 24 ภารกิจประจำวันที่ 8 เมษายน 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 8 เมษายน 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 24 ภารกิจประจำวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 22 ภารกิจประจำวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 21 ภารกิจประจำวันที่ 5 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 5 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 21 ภารกิจประจำวันที่ 7 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 7 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 21 ภารกิจประจำวันที่ 16 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี     ภารกิจประจำวันที่ 16 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 21 ภารกิจประจำวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  ภารกิจประจำวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 20 ภารกิจประจำวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  ภารกิจประจำวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 20 ภารกิจประจำวันที่ 11 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 11 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 17

    สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี

    รายละเอียด สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี SARABURI PROVINCIAL FISHERIES OFFICE ที่ตั้ง : 123 หมู่ 6 ศาลากลางจังหวัดสระบุรี สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี (ชั้น 2)            ตำบลตะกุด อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี 18000           123 Moo 6, Saraburi Provincial Hall, Saraburi Provincial Fisheries Office (2nd floor)            Takud Sub-district, Mueang Saraburi District, Saraburi, 18000 การเดินทางสาธารณะ : รถสองแถวสาย 9 (10 บาทตลอดสาย)                                       โดยจุดจอดรถสองแถวเริ่มต้นที่ บขส.สระบุรี สิ้นสุดที่ ศูนย์ราชการจังหวัดสระบุรี  Social Network     : fpo_saraburi@fisheries.go.th  LINEID : fposaraburi QR Code Line    ผู้ดูแลเว็บไซต์ : นางสาวพรศิริ โพธาราม   เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล  email  fpo_saraburi@fisheries.go.th  โทรศัพท์ 0 3634 0742  FAX 0 3634 0742  แฟนเพจ แฟนเพจ
    CreativeCommons Valid CSS! Explanation of WCAG 2.1 Level Triple-AA Conformance SSL Labs ipv6