Infographic แหล่งโปรตีนทางเลือก...กับประมง

 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี




Infographic แหล่งโปรตีนทางเลือก...กับประมง

Infographic แหล่งโปรตีนทางเลือก "ปลาตะเพียน"

#สื่อเพื่อการเรียนรู้ #จุดประกายความคิด

   ในสมัยอยุธยาตอนปลาย จากพงสาวดาร ฉบับสมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรสและฉบับพระราชหัตถเลขา มีข้อความต้องกันอยู่ว่า สมเด็จพระเจ้าท้ายสระ ชอบเสวยปลาตะเพียน  

   ปลาตะเพียน เป็นปลาน้ำจืดคู่บ้านคู่เมืองโดยแท้และเป็นปลาที่สามารถนำมาเลี้ยงและเพาะขยายพันธุ์ได้ง่าย จึงเป็นปลาพื้นเมืองที่ได้รับการคัดเลือก ให้ส่งเสริมในการเพาะเลี้ยงอีกชนิดหนึ่ง การเพาะเลี้ยงปลาตะเพียนนั้น ได้ดำเนินการเป็นครั้งแรก ก่อนปี พ.ศ.2503 ที่สถานีประมง (บึงบอระเพ็ด) นครสวรรค์ ต่อมาการเพาะพันธุ์ปลาชนิดนี้ได้รับการพัฒนา ทั้งวิธีเลียนแบบธรรมชาติและผสมเทียม ซึ่งสามารถเผยแพร่และจำหน่ายอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน

#ประโยชน์-คุณค่าทางโภชนาการ (ปลาตะเพียนสดน้ำหนัก 100 กรัม จะให้คุณค่าทางโภชนาการ) ดังนี้
 * พลังงาน 110 กิโลแคลอรี
 * แคลเซียม 117 มิลลิกรัม
 * ธาตุเหล็ก 5.6 มิลลิกรัม
 * โปรตีน 20.4 กรัม
 *  74.7 กรัม
 * ฟอสฟอรัส 236 มิลลิกรัม
 * ไขมัน 3.2 กรัม
 * คาร์โบไฮเดรต 0.1 กรัม
 * ไนอะซิน (วิตามินบี 3) 2.7 มิลลิกรัม
 * ไรโบฟลาวิน (วิตามินบี 2) 0.01 มิลลิกรัม
 * ไทอะมิน (วิตามินบี 1) 0.03 มิลลิกรัม
 * กรดไขมันโอเมก้า 3 0.24 กรัม

 

 

Infographic แหล่งโปรตีนทางเลือก "หอยขม" 

#สื่อเพื่อการเรียนรู้ #จุดประกายความคิด

หอยขม (Pond snail, Marsh snail, River snail)
   หรือภาษาอีสานเรีอกว่า หอยจุ๊บ หรือ หอยดูด นั้นเป็นที่รู้จักกันดีและมีขายในตลาดทั่วไป พบในแหล่งน้ำจืดทั่วไป นิยมนำมาทำอาหาร เช่น แกงคั่วหอยขม แกงอ่อมหอยขม และอื่นๆ อีกมากมาย โดยชาวบ้านนิยมเก็บมาขาย ส่วนมากจะพบบริเวณแหล่งน้ำธรรมชาติและบ่อเลี้ยงปลา ซึ่งเป็นผลพลอยได้สำหรับเจ้าของบ่อเลี้ยงปลา 
   แต่ในปัจจุบันนั้นได้มีการทำเป็นระบบฟาร์มเพื่อการเพาะเลี้ยงหอยขมในกระชัง หรือการเลี้ยงหอยขมในบ่อปูน โดยเฉพาะ หอยขมเป็นสัตว์ที่มีความอดทนต่อ สภาพแวดล้อม เลี้ยงง่าย เจริญเติบโตเร็ว และที่สำคัญขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว จึงเหมาะสำหรับมือใหม่เริ่มต้นเลี้ยงหอยขม ไว้กิน

 


Infographic แหล่งโปรตีนทางเลือก...“ปูนา“

#สื่อเพื่อการเรียนรู้ #จุดประกายความคิด

ปูนา (Rice-field crabs) เป็นสัตว์น้ำจืดที่อยู่คู่กับวิถีชีวิตชาวนาไทยมาช้านาน ไม่เพียงเป็นแหล่งอาหาร ปูนายังมีความสำคัญ ต่อระบบนิเวศ การแพทย์ และวัฒนธรรม ด้วยวิถีการทำนาที่เปลี่ยนแปลง ส่งผลให้ปริมาณปูนาลดลง จนต้องนำเข้าปูนาจากประเทศเพื่อนบ้าน ขณะเดียวกันได้เกิดการส่งเสริมให้เกษตรกรไทยเลี้ยงปูนาเป็นอาชีพเสริม ซึ่งไม่เพียงสร้างรายได้ หากยังช่วยอนุรักษ์ปูนาให้อยู่คู่กับสังคมไทย การเริ่มต้นเลี้ยงปูนาเกษตรกรจำเป็นต้องมีความรู้ และเข้าใจชีววิทยาและวิถีชีวิตของปูนา และควรทดลองเลี้ยงในบ่อพลาสติก หรือบ่อซีเมนต์ สังเกตพฤติกรรมและทำความเข้าใจปูนาก่อนขยายการเลี้ยง

 

 

Infographic แหล่งโปรตีนทางเลือก "ปลานิล" 

#สื่อเพื่อการเรียนรู้ #จุดประกายความคิด

ปลานิล Oreochromis Nilotic us (Linn.) มีถิ่นกำเนิดจากลุ่มแม่น้ำไนล์ ปลาชนิดนี้เป็นปลาจำพวกกินพืช เลี้ยงง่าย มีรสชาติดี ออกลูกดก เจริญเติบโตอย่างรวดเร็วภายในเวลา 1 ปีมีน้ำหนักประมาณครึ่งกิโลกรัมและมีความยาวประมาณ 1 ฟุต เหมาะที่จะเป็นแหล่งอาหารโปรตีน ที่สำคัญของประชาชนทั่วไป  
    “ปลานิล” กลายมาเป็นปลาเศรษฐกิจที่ชาวบ้านนำมาเลี้ยงเป็นอาชีพสร้างรายได้ และปลานิลสามารถนำมาปรุงเป็นเมนูต่างๆ ที่กินดีมีประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย อาทิ ปลานิลมีโอเมก้า 3 ช่วยเพิ่มการจดจำของสมอง ป้องกันโรคสมองเสื่อม ช่วยป้องกันโรคหลอดเลือด และหัวใจ เพราะว่าปลานิลที่มีโปรตีนที่ดีต่อสุขภาพ มีคอเลสเตอรอลและไขมันต่ำ

 


Infographic แหล่งโปรตีนทางเลือก "ปลาดุก" 

#สื่อเพื่อการเรียนรู้ #จุดประกายความคิด

ปลาดุก เป็นปลาที่ชอบกินเนื้อ พืชน้ำปลาดุกก็กินได้ ปลาดุก มีอยู่หลายสายพันธุ์ อาทิ ปลาดุกนา ปลาดุกด้าน ปลาดุกบิ๊กอุย ปลาดุกรัสเซีย ปลาดุกแอฟริกัน ฯลฯ ปลาดุกจัดว่าเป็นปลาที่เลี้ยงง่ายโตเร็ว ทนต่อสภาพแวดล้อมได้ดี จังหวัดที่มีการเลี้ยงปลาดุกลำดับต้นๆ ในประเทศไทย 
  ปลาดุก เป็นปลาน้ำจืดที่อุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ และสารอาหารที่มีประโยชน์อย่างมากต่อร่างกาย เนื้อปลาดุกมีโปรตีนสูง โปรตีนจากเนื้อปลาเป็นโปรตีนที่ย่อยง่าย กินเนื้อปลาดุกยังช่วยบำรุงประสาท บำรุงสมอง บำรุงกระดูกบำรุงเล็บ ป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุน ทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง ดูแลระดับคอเลสเตอรอลในเลือด เสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกายให้แข็งแรง ฯลฯ

 


Infographic แหล่งโปรตีนทางเลือก "กุ้งก้ามกราม" 

#สื่อเพื่อการเรียนรู้ #จุดประกายความคิด

กุ้งก้ามกราม  Macrobrachium rosenbergii จะเป็นกุ้งเลี้ยง มีสีออกเขียว-ฟ้าสด มีขนาดเล็กกว่ากุ้งแม่น้ำมาก ตัวใหญ่สุดมักจะไม่เกินฝ่ามือผู้ชาย ขนาดใหญ่สุดจะไม่เกิน 10 ตัว ต่อกิโลกรัม เนื้อหวาน เหนียวแน่น มีมันเยอะ สามารถเอามาทำอาหารได้หลายเมนู ทั้ง กุ้งเผา กุ้งอบวุ้นเว้น ต้มยำกุ้ง

  •   หน่วยงาน: สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี
  •   ประกาศวันที่: 2024-11-25
  •   ประกาศสิ้นสุดเเล้วเมื่อวันที่: 2024-11-25 
  •   Hits
  • ภารกิจประจำวันที่ 10 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  ภารกิจประจำวันที่ 10 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 52  ภารกิจประจำวันที่ 27 มกราคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 27 มกราคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 29 ภารกิจประจำวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 28 ภารกิจประจำวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 26 ภารกิจประจำวันที่ 31 มกราคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 31 มกราคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 25 ภารกิจประจำวันที่ 8 เมษายน 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 8 เมษายน 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 22 ภารกิจประจำวันที่ 25 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   ภารกิจประจำวันที่ 25 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 21 ภารกิจประจำวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 21 ภารกิจประจำวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 20 ภารกิจประจำวันที่ 5 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 5 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 19 ภารกิจประจำวันที่ 7 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 7 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 19 ภารกิจประจำวันที่ 16 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี     ภารกิจประจำวันที่ 16 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 18 ภารกิจประจำวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  ภารกิจประจำวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 18 ภารกิจประจำวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  ภารกิจประจำวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 18 ภารกิจประจำวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 18

    สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี

    รายละเอียด สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี SARABURI PROVINCIAL FISHERIES OFFICE ที่ตั้ง : 123 หมู่ 6 ศาลากลางจังหวัดสระบุรี สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี (ชั้น 2)            ตำบลตะกุด อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี 18000           123 Moo 6, Saraburi Provincial Hall, Saraburi Provincial Fisheries Office (2nd floor)            Takud Sub-district, Mueang Saraburi District, Saraburi, 18000 การเดินทางสาธารณะ : รถสองแถวสาย 9 (10 บาทตลอดสาย)                                       โดยจุดจอดรถสองแถวเริ่มต้นที่ บขส.สระบุรี สิ้นสุดที่ ศูนย์ราชการจังหวัดสระบุรี  Social Network     : fpo_saraburi@fisheries.go.th  LINEID : fposaraburi QR Code Line    ผู้ดูแลเว็บไซต์ : นางสาวพรศิริ โพธาราม   เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล  email  fpo_saraburi@fisheries.go.th  โทรศัพท์ 0 3634 0742  FAX 0 3634 0742  แฟนเพจ แฟนเพจ
    CreativeCommons Valid CSS! Explanation of WCAG 2.1 Level Triple-AA Conformance SSL Labs ipv6