มาตรฐานผลิตภัณฑ์ ปลาร้า (Pla-Ra) หรือ ปลาแดก

 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี




มาตรฐานผลิตภัณฑ์ ปลาร้า (Pla-Ra) หรือ ปลาแดก

   “ปลาร้า” (Pla-Ra) หรือ ปลาแดก เป็นผลิตภัณฑ์หมักพื้นบ้านที่สะท้อนถึงภูมิปัญญาในการถนอมอาหารของชุมชนท้องถิ่นที่มีการสืบทอดกันจนถึงปัจจุบัน เพื่อเก็บรักษาปลาในช่วงฤดูน้ำหลากไว้กินในยามขาดแคลน โดยเฉพาะชาวไทยอีสาน จากการนำปลามาขอดเกล็ด ตัวหัว และควักไส้ หมักกับเกลือ และข้าวคั่วหรือรำในอัตราส่วนที่เหมาะสม หมักไว้ในโอ่งนาน 7-8 เดือนหรือมากกว่าเป็นปี จนได้เนื้อปลาสีน้ำตาลหรือสีเหลืองเนื้อและน้ำมีรสกล่อมจากเนื้อปลา นิยมใช้เป็นเครื่องปรุงรสอาหาร 

 

#มาตรฐานผลิตภัณฑ์ปลาร้า

  มาตราฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน มผช.37-2557  สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
  มาตรฐานสินค้าเกษตร มกษ. 7023-2561 ปลาร้า (PLA-RA) สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

 





 

"ปลาร้า" Pla ra

by จณิสตา ภัทรวิวัฒน์ และ บดินทร์ อินธิพงษ์ 8 เมษายน 2563 กองวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

เอกสารประกอบ  ฉบับเต็ม | ฉบับย่อ

#การผลิตปลาร้าโดยทั่วไป มีวัตถุดิบหลักที่สำคัญ 3 ชนิด คือ 

  1. ปลา นิยมใช้ปลาน้ำจืด ได้แก่ ปลาขาว ปลาตะเพียน ปลาช่อน ปลากด ปลากระดี่ ปลาสร้อย ปลาฉลาด ปลาเบ็ญจพรรณ และปลาอื่นๆ  ส่วนปลาทะเล เช่น พวกปลาเป็ดขนาดกลาง ปลากุเลา และปลาทรายแดง นิยมผลิตกันในแถบจังหวัดชายทะเล เช่น สมุทรสงคราม และสมุทรสาคร #แต่ปลาที่มีไขมันมากจะไม่นิยมนำมาทำปลาร้าเพราะเกิดการเหม็นหืนและเน่าเสียได้ง่าย
ปลาร้า
  2. เกลือ ใช้ในการเก็บถนอมรักษาอาหารกันมายาวนานตามกรรมวิธีแตกต่างกัน เพื่อเก็บอาหารไว้รับประทานนอกฤดูกาล จุดประสงค์ในขบวนการผลิต และช่วยในการปรุงรส เนื่องจากเกลือสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ได้ โดยช่วยลดค่า Available Water ของสารอาหารนั้นจนจุลินทรีย์ไม่สามารถเจริญได้ ขัดขวางการทำงานของ Proteolytic Enzyme ภายในเซลล์ของจุลินทรีย์บางชนิด ช่วยลดการละลายของออกซิเจน เพิ่มแรงดันออสโมซีสที่เป็นผลทำให้เซลล์จุลินทรีย์แตก และอนุมูลคลอไรด์ที่เกิดจากการแตกตัวของเกลือ หากมีปริมาณมากจะขัดขวางการเจริญของจุลินทรีย์ได้ ปริมาณเกลือที่ยับยั้งการเติบโตของจุลินทรีย์ได้ต้องมีความเข้มข้นประมาณร้อยละ 26.5 หรือปริมาณเกลือร้อยละ 20 จึงจะป้องกันการเน่าเสียได้ และมีจุลินทรีย์อีกหลายชนิด เช่น จุลินทรีย์ที่สร้างกรมแลกติก ยีสต์ รา และพวกจุลินทรีย์ที่ชอบเกลือชนิดอื่นๆ ที่สามารถเติบโตได้ จุลินทรีย์เหล่านี้จะสร้างกรดอินทรีย์ที่ช่วยป้องกันการเจริญของจุลินทรีย์ชนิดที่ทำให้เกิดการเน่าเสียหรือความเป็นพิษได้ 

  3. ข้าวคั่วและรำ ข้าวที่ใช้มี 2 ชนิด คือ ข้าวเหนียวและข้าวเจ้า หรือใช้ข้าวสุกตากแห้งแช่ข้าวในน้ำให้พองเป็นเวลาประมาณ 8 ชั่วโมงและเทออกทิ้งให้สะเด็ดน้ำก่อนนำมาใช้ หากเป็นข้าวเปลือกจะนำมาคั่วจนมีสีเหลืองเข้มหรือไหม้เล็กน้อย บดให้ละเอียด จะมีกลิ่นหอม ส่วนรำใช้ทั้งรำคั่วและรำดิบ ซึ่งข้าวคั่วและรำเป็นสารจำพวกแป้งจะถูกเชื้อจุลินทรีย์ใช้เป็นอาหารและจะเปลี่ยนให้เป็นกรดจึงเกิดรสเปรี้ยวขึ้น ทั้งนี้ข้าวคั่วมีสารพวก Antioxidants ที่ช่วยทำให้อัตราการสลายเกิดเน่าเสียช้าลง ดังนั้น อาจช่วยยืดอายุการเก็บรักษาของผลิตภัณฑ์ได้นานขึ้น ทำให้อาหารมีสีน้ำตาลและมีกลิ่นดีเป็นที่ต้องการของตลาด สามารถเข้าทำปฏิกิริยากับเกลือโดยใช้แสงอาทิตย์เป็นตัวเร่ง ทำให้มีสารต่างๆ เกิดขึ้น และสารประกอบพวก Caramelize จากข้าวคั่วยังช่วยในการทำงานของพวกจุลินทรีย์โดยทำให้เกิดการสร้างกรดอินทรีย์ เช่น กรดแลคติก หรือสารอื่นๆ ที่กลบกลิ่นเหม็นของสารที่ได้จากการย่อยสลายของโปรตีน

 

#การผลิตปลาร้ามี 2 ขั้นตอน ดังนี้

  ขั้นตอนแรก (การดองเกลือ)
  ขั้นตอนที่สอง (การผสมข้าวคั่วหรือรำ)

 

#ผลิตภัณฑ์จากปลาร้า

  ด้วยคุณค่าทางอาหารของปลาร้าและรสชาติที่อร่อยถูกปากของผู้บริโภค ปัจจุบันปลาร้าได้ถูกนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ มากกมาย โดยมุ่งเน้นการส่งออกและยกระดับปลาร้าไทยสู่เวทีระดับอินเตอร์ เช่น
   #ปลาร้าผง มาจากการแปรสภาพปลาร้าให้แห้งโดยนำปลาร้าที่มีคุณภาพดีมาตากแห้งด้วยแสงแดด แล้วบดคลุกเคล้าผสมข้าวคั่วหรือรำ เพื่อดูดซับน้ำจากปลาให้แห้งอย่างสม่ำเสมอแล้วจึงบดเป็นผงรวมกับกุ้ง ปู และปลา จากนั้นปรุงแต่งกลิ่นรสให้ชวนรับประทาน โดยบรรจุขวด หรือถุงพลาสติกจำหน่าย
   #ปลาร้าผงผสมเครื่องเทศ มาจากการใช้ปลาร้าผงร่วมกับเครื่องเทศ เครื่องปรุงแต่งสารดับคาวเพื่อใช้ละลายด้วยน้ำร้อนผสมกับพืชผัก และเนื้อสัตว์เพื่อประกอบเป็นอาหารอย่างรวดเร็ว เช่น ผงแกงเลียงปลาร้า ผงปลาร้าส้มตำ บรรจุขวดหรือถุงพลาสติก
   #ปลาร้าบดเปียกผสมเครื่องเทศ เป็นการผสมเครื่องปรุงแต่งรสอื่นๆ เช่น หอม กระเทียม พริกไทย ตะไคร้ ขิง กระชาย ผิวมะกรูด แล้วบดละเอียดเข้าด้วยกัน จากนั้นนำไปผสมข้าวคั่วแล้วอัดเป็นแผ่น หรือเม็ดบรรจุขวดหรือถุงพลาสติกจำหน่าย หรือนำปลาร้ามาบดคลุกเคล้าผสมข้าวคั่วหรือรำเพื่อดูดซับน้ำจากปลาให้แห้งพอหมาด ปั้นเป็นก้อนได้ ใช้ปรุงแต่งกลิ่นรสอาหาร โดยห่อพลาสติกและอะลูมิเนียมฟอยล์ แล้วบรรจุขวดหรือถุงพลาสติกจำหน่าย
   #ซุปปลาร้าหรือน้ำปลาร้า ได้จากการผสม กรองและกลั่น ปลาร้าให้กลายเป็น้ำซุป หรือสกัดเป็นหัวเชื้อสำหรับใช้ปรุงแต่งรสชาติในอาหารที่ต้องการ บรรจุในขวดแก้วและขวดพลาสติกจำหน่าย นอกจากนี้ยังสามารถนำมาแปรรูปเป็นปลาร้าครีม และน้ำปลาจากปลาร้าบรรจุในขวดแก้วและขวดพลาสติกจำหน่ายได้อีกด้วย สำหรับปลาร้าดิบ ส่วนมากมีการบรรจุ เพื่อจำหน่าย 3 รูปแบบ คือ การบรรจุในปี๊บ ขวดโหลและถุงพลาสติก

 

เอกสารเพิ่มเติม: 

 

 

  •   หน่วยงาน: สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี
  •   ประกาศวันที่: 2024-11-18
  •   ประกาศสิ้นสุดเเล้วเมื่อวันที่: 2024-11-18 
  •   Hits
  • ภารกิจประจำวันที่ 10 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  ภารกิจประจำวันที่ 10 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 51  ภารกิจประจำวันที่ 27 มกราคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 27 มกราคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 26 ภารกิจประจำวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 26 ภารกิจประจำวันที่ 31 มกราคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 31 มกราคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 23 ภารกิจประจำวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 22 ภารกิจประจำวันที่ 8 เมษายน 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 8 เมษายน 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 20 ภารกิจประจำวันที่ 25 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   ภารกิจประจำวันที่ 25 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 19 ภารกิจประจำวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 18 ภารกิจประจำวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 17 ภารกิจประจำวันที่ 5 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 5 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 17 ภารกิจประจำวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  ภารกิจประจำวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 16 ภารกิจประจำวันที่ 7 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 7 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 16 ภารกิจประจำวันที่ 16 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี     ภารกิจประจำวันที่ 16 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 16 ภารกิจประจำวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 16 ภารกิจประจำวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  ภารกิจประจำวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 15

    สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี

    รายละเอียด สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี SARABURI PROVINCIAL FISHERIES OFFICE ที่ตั้ง : 123 หมู่ 6 ศาลากลางจังหวัดสระบุรี สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี (ชั้น 2)            ตำบลตะกุด อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี 18000           123 Moo 6, Saraburi Provincial Hall, Saraburi Provincial Fisheries Office (2nd floor)            Takud Sub-district, Mueang Saraburi District, Saraburi, 18000 การเดินทางสาธารณะ : รถสองแถวสาย 9 (10 บาทตลอดสาย)                                       โดยจุดจอดรถสองแถวเริ่มต้นที่ บขส.สระบุรี สิ้นสุดที่ ศูนย์ราชการจังหวัดสระบุรี  Social Network     : fpo_saraburi@fisheries.go.th  LINEID : fposaraburi QR Code Line    ผู้ดูแลเว็บไซต์ : นางสาวพรศิริ โพธาราม   เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล  email  fpo_saraburi@fisheries.go.th  โทรศัพท์ 0 3634 0742  FAX 0 3634 0742  แฟนเพจ แฟนเพจ
    CreativeCommons Valid CSS! Explanation of WCAG 2.1 Level Triple-AA Conformance SSL Labs ipv6