สร้างการรับรู้เกี่ยวกับ...การเลือกซื้ออาหารสัตว์น้ำอย่างถูกวิธี...โดย กองวิจัยและพัฒนาอหารสัตว์น้ำ กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี




 สร้างการรับรู้เกี่ยวกับ...การเลือกซื้ออาหารสัตว์น้ำอย่างถูกวิธี...โดย กองวิจัยและพัฒนาอหารสัตว์น้ำ กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

เมื่อ "อาหารสัตว์น้ำ" เป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

 

       สร้างการรับรู้เกี่ยวกับ "การเลือกซื้ออาหารสัตว์น้ำอย่างถูกวิธี" โดย กองวิจัยและพัฒนาอหารสัตว์น้ำ กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

#บริบท

กรมประมง โดยกองวิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์น้ำ ควบคุมดูแลอาหารสัตว์น้ำตามพระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. 2558 รับขึ้นทะเบียนอาหารสัตว์น้ำ 8 ชนิด ได้แก่ ปลาดุก ปลาน้ำจืดกินพืช ปลาน้ำจืดกินเนื้อ ปลาทะเลกินเนื้อ กุ้งทะเล กุ้งน้ำจืด กบ และตะพาบน้ำ แบ่งอหารที่รับขึ้นทะเบียนเป็น 2 ประเภท ดังนี้

1. ประเภทวัตถุที่ผสมแล้ว มี 3 ชนิด คือ
     1.1 อาหารสัตว์ผสมสำเร็จรูป หมายถึง อาหารที่มีส่วนผสมหลายชนิด มีคุณค่าทางอาหาร เหมาะสมกับความต้องการของสัตว์น้ำและผ่านกรรมวิธีในการผลิต พร้อมที่จะเลี้ยงสัตว์น้ำได้ทันที เช่น อาหารเกล็ด/เม็ดจมสำหรับกุ้ง อาหารเม็ดลอยน้ำสำหรับปลา
     1.2 หัวอาหารสัตว์ หมายถึง อาหารที่มีส่วนผสมที่มีคุณค่าทางอาหารสูงในระดับหนึ่ง มีลักษณะเป็นผงและจะต้องผสมกับวัตถุดิบอื่นตามคำแนะนำที่ระบุบนฉลากก่อนจะนำไปใช้เลี้ยงสัตว์น้ำ เช่น หัวอาหารกุ้งก้ามกราม ต้องผสมปลาสด รำข้าว ปลายข้าวก่อน แล้ว นำมาอัดเม็ดใช้เลี้ยงกุ้งก้ามกราม
     1.3 สารผสมล่วงหน้า หมายถึง วิตามิน แร่ธาตุ กรดอะมิโน จุลินทรีย์ เอนไซม์ อาจเป็นชนิดใดชนิดหนึ่ง หรือหลายชนิด รวมกับวัตถุที่ใช้เจือจาง เช่น แป้ง น้ำตาล มีลักษณะเป็นผลหรือของเหลวใช้คลุกกับอาหารสำหรับรูป เพื่อเพิ่มคุณค่าทางอาหารก่อนนำไปใช้เลี้ยงสัตว์น้ำ

2. ประเภทอาหารเสริมสำหรับสัตว์ หมายถึง อาหารที่ใช้เสริมเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการแก่สัตว์น้ำ มักใช้คลุกกับอาหารสำเร็จรูป ก่อนนำไปใช้เลี้ยงสัตว์น้ำ มี 4 ชนิด คือ
     2.1 อาหารเสริมโปรตีน
     2.2 อาหารเสริมไขมัน
     2.3 อาหารเสริมวิตามิน
     2.4 อาหารเสริมแร่ธาตุ

 

#ฉลากอาหารสัตว์น้ำที่ถูกต้อง

อาหารสัตว์น้ำที่ขึ้นทะเบียนแล้ว ต้องมีฉลากขนาดพอสมควรติดไว้ที่ภารชนะบรรจุ โดยต้องมีข้อความเป็นภาษาไทยแสดง
     1. ชื่ออารหารสัตว์ทางการค้า
     2. เลขทะเบียนอาหารสัตว์
     3. ชื่อผู้ผลิตและสถานที่ผลิต และชื่อผู้นำเข้าและสถานที่นำเข้า (ถ้าเป็นอหารที่นำเข้าจากต่างประเทศ)
     4. น้ำหนักสุทธิของอาหารสัตว์
     5. ชื่อวัตถุดิบสำคัญซึ่งใช้เป็นส่วนผสม
     6. คุณภาพทางเคมีของอาหารสัตว์
     7. วัน เดือน ปี ที่ผลิตอาหารสัตว์ และวัน เดือน ปี ที่อาหารสัตว์หมดอายุ
     8. วิธีใช้



#หลักการเลือกซื้ออาหารสัตว์น้ำอย่างถูกวิธี

     1. เลือกอาหารให้ถูกต้องกับชนิดสัตว์น้ำที่เลี้ยง
         อาหารสำเร็จรูปที่ผลิตออกขายในท้องตลาด แบ่งออกเป็น 8 กลุ่ม ได้แก่ อาหารปลาดุก อาหารปลาน้ำจืดกินพืช อาหารปลาน้ำจืดกินเนื้อ อาหารปลาทะเลกินเนื้อ อาหารกุ้งทะเล อาหารกุ้งน้ำจืด อาหารกบ อาหารตะพาบน้ำ อาหารแต่ละชนิดทำจากวัตถุดิบที่แตกต่างกัน และมีองค์ประกอบทางเคมีที่แตกต่างกัน เพื่อให้เหมาะสมกับชนิด และขนาดของสัตว์น้ำ เกษตรกรจึงควรเลือกอาหารให้เหมาะสมกับชนิดของสัตว์น้ำที่เลี้ยง

      2. เลือกขนาดและรูปแบบของอาหารให้เหมาะสมกับชนาดของสัตว์น้ำ
          ขนาดของอาหารมีความสำคัญมาก เพราะขนาดของอาหารจะขึ้นกับชนิดและอายุของสัตว์น้ำ ถ้าอาหารมีขนาดเล็กเกินไปสัตว์น้ำจะจับกินได้ยาก แต่ถ้าอาหารมีขนาดใหญ่เกินไป สัตว์น้ำจะกินไม่ได้ และอาหารที่เหลืออยู่ในบ่อจะมีผลเสียต่อคุณภาพน้ำที่เลี้ยง โดยดูจากฉลากอาหารซึ่งจะระบุว่าเหมาะสมกับสัตว์น้ำชนิดและขนาดใด

      3. พิจารณาวัตถุดิบที่ใช้เป็นองค์ประกอบของสัตว์น้ำ
          วัตถุดิบหลักที่ใช้ในอาหารสัตว์น้ำ ได้แก่ ปลาป่น กากถั่วเหลือง รำข้าว แป้งสาลี และอื่นๆ ซึ่งบนฉลากอาหารสัตว์น้ำจะมีรายชื่อของวัตถุดิบที่เป็นส่วนผสมของอาหารอยู่ ชนิดของวัตถุดิบสามารถบอกถึงคุณภาพของอาหารนั้นได้อย่างคร่าวๆ เช่น การมีปลาป่น เป็นองค์ประกอบย่อมดีกว่ามีเนื้อและกระดูกป่นเป็นองค์ประกอบ

      4. กลิ่น
           อาหารที่ดีควรมีกลิ่นหอมเพื่อดึงดูดให้สัตว์ฯ้ำเข้ามากินอาหารได้มากขึ้น ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีกลิ่นเหม็นหืน เพราะจะทำให้รสชาติของอาหารเสียคุณค่าทางอาหารลดลง และยังเป็นอันตรายต่อสุขภาพของสัตว์น้ำโดยตรง

      5. สี
          อาหารสัตว์น้ำควรมีสีสม่ำเสมอกันตลอดทั้งถุง ความแตกต่างของสีในเม็ดอาหาร แสดงว่าวัตถุดิบไม่ได้รับการผสมสานอย่างทั่วถึงหรือเกิดเนื่องจากความสุกของเม็ดอหารไม่เท่ากัน

       6. ความสดของอาหาร
            อาหารสัตว์น้ำที่บรรจุในถุงกระสอบควรมีอายุการเก็บไม่เกิน 3 เดือนเพราะคุณค่าทางอาหารจะลดลง และอาจมีเชื้อราเกิดขึ้นได้ในกรณีที่เกษตรกรพบเชื้อราในถุงอาหารสัตว์น้ำ ให้นำส่งคืนร้านค้า หรือผู้ขายทันที

       7. สิ่งปะปน
           อาหารสัตว์น้ำที่ดีไม่ควรมีสิ่งอื่นปะปนอยู่ เช่น แมลง หรือหนอน ก้อนกรวด หิน ทราย เปลือกปู หอย และอื่นๆ การมีสิ่งปะปนแสดงว่าการเก็บรักษาวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตไม่ถูกต้อง และอาหารที่ผลิตไม่ได้รับการควบคุมคุณภาพก่อนบรรจุ

        8. ฝุ่น 
            อาหารที่มีฝุ่นมากจะทำให้อาหารสูญเสียไปในน้ำ และจะทำให้นำ้เสีย อาหารที่ดีควรมีฝุ่นไม่เกิดร้อยละ 2

        9. ความคงทนของอาหารในน้ำ
             อาหารสัตว์น้ำต้องมีความคงทนในน้ำได้นานพอสมควรตามลักษณะการกินของอาหารสัตว์น้ำ เพื่อให้คุณค่าทางอาหารยังอยู่ครบถ้วนไม่ละลายน้ำไปก่อนที่สัตว์น้ำจะกิน อาหารกุ้งควรมีความคงทนในน้ำไม่ต่ำกว่า 2 ชั่วโมง ส่วนอาหารปลาควรมีความคงทนในน้ำไม่ต่ำกว่า 15 นาที - 1 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับชนิดของปลา

        10. เลือกซื้ออาหารสัตว์น้ำที่มีทะเบียน
              ควรซื้ออาหารสัตว์น้ำที่ขึ้นทะเบียนกับกรมประมง หรือกรมปศุสัตว์ที่ถูกต้องแล้วโดยสังเกตที่ฉลากต้องมีเลขทะเบียนอาหารสัตว์ โดย
              อาหารสัตว์น้ำที่ขึ้นทะเบียนกับกรมประมง จะมีเลขทะเบียนอาหารสัตว์ประกอบด้วยอักษร "ป" และตามด้วยรหัสตัวเลข 10 ตัว เช่น ป.01 01 43 9000
              ส่วนอาหารสัตว์น้ำที่ขึ้นทะเบียนกับกรมปศุสัตว์ จะมีเฉพาะรหัสตัวเลข 10 ตัว เช่น 01 02 45 9999 นอกจากนี้ควรสังเกตว่าฉลากต้องมีชื่อผู้ผลิต และสถานที่ผลิตที่แน่นอนด้วย

        11. ต้องซื้ออาหารที่ยังไม่หมดอายุ
              โดยดู วัน เดือน ปีที่ผลิต และวัน เดือน ปี ที่หมดอายุได้จากฉลากอาหารสัตว์น้ำ ภาชนะบรรจุอาหาร ต้องอยู่ในสภาพใหม่เรียบร้อย ไม่ชำรุง ฉีกขาด เปียกชื้อ หรือเกิดสนิม ไม่มีรอยถูกเปิด

 

การเก็บรักษาอาหารสัตว์น้ำ

        การเก็บรักษาอาหารสัตว์น้ำเป็นสิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งที่เกษตรกรควรเอาใจใส่ หากมีการเก็บอหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ จะทำให้คุณภาพอาหารลดลง หรือมีสารพิษที่เป็นอันตรายกับสัตว์น้ำเกิดขึ้น

สถานที่เก็บอาหารสัตว์น้ำควรมีลักษณะ ดังนี้
        1. เป็นโรงเรือนโปร่ง อากาศถ่ายเทได้ดี ไม่ควรมีความร้อน และความชื้อสูง เพื่อป้องกันการเกิดเชื้อรา
        2. ปราศจากหนู และแมลงซื้อเป็นพาหนะนำโรคและสารพิษมาปนเปื้อนอาหารได้
        3. มีหลังคาคลุม ป้องกันอาหารถูกแสงแดดโดยตรง ซึ่งจะทำให้วิตามินในอาหารถูกทำลาย และป้องกันไม่ให้อาหารเปียกน้ำเวลาฝนตก
        4. ไม่ควรวางอาหารบนพื้นโดยตรง ควรทำชั้นวางเพื่อป้องกันความชื้อ

        เกษตรกรควรปิดถุงหรือภาชนะบรรจุอาหารสัตว์น้ำให้สนิทหลังเปิดใช้แล้ว และควรปฏิบัติตามข้อควรระวังหรือคำเตือนที่ระบุไว้บนฉลาก

 

  •   หน่วยงาน: สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี
  •   ประกาศวันที่: 2024-11-14
  •   ประกาศสิ้นสุดเเล้วเมื่อวันที่: 2024-11-14 
  •   Hits
  • ภารกิจประจำวันที่ 10 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  ภารกิจประจำวันที่ 10 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 52  ภารกิจประจำวันที่ 27 มกราคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 27 มกราคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 30 ภารกิจประจำวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 30 ภารกิจประจำวันที่ 31 มกราคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 31 มกราคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 26 ภารกิจประจำวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 26 ภารกิจประจำวันที่ 25 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   ภารกิจประจำวันที่ 25 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 25 ภารกิจประจำวันที่ 8 เมษายน 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 8 เมษายน 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 23 ภารกิจประจำวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 22 ภารกิจประจำวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 21 ภารกิจประจำวันที่ 5 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 5 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 20 ภารกิจประจำวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  ภารกิจประจำวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 20 ภารกิจประจำวันที่ 7 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 7 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 20 ภารกิจประจำวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 19 ภารกิจประจำวันที่ 16 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี     ภารกิจประจำวันที่ 16 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 18 ภารกิจประจำวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  ภารกิจประจำวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 18

    สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี

    รายละเอียด สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี SARABURI PROVINCIAL FISHERIES OFFICE ที่ตั้ง : 123 หมู่ 6 ศาลากลางจังหวัดสระบุรี สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี (ชั้น 2)            ตำบลตะกุด อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี 18000           123 Moo 6, Saraburi Provincial Hall, Saraburi Provincial Fisheries Office (2nd floor)            Takud Sub-district, Mueang Saraburi District, Saraburi, 18000 การเดินทางสาธารณะ : รถสองแถวสาย 9 (10 บาทตลอดสาย)                                       โดยจุดจอดรถสองแถวเริ่มต้นที่ บขส.สระบุรี สิ้นสุดที่ ศูนย์ราชการจังหวัดสระบุรี  Social Network     : fpo_saraburi@fisheries.go.th  LINEID : fposaraburi QR Code Line    ผู้ดูแลเว็บไซต์ : นางสาวพรศิริ โพธาราม   เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล  email  fpo_saraburi@fisheries.go.th  โทรศัพท์ 0 3634 0742  FAX 0 3634 0742  แฟนเพจ แฟนเพจ
    CreativeCommons Valid CSS! Explanation of WCAG 2.1 Level Triple-AA Conformance SSL Labs ipv6