สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี
โดยคำนึงถึงกลุ่มผู้บริโภค และความต้องการของตลาด เช่น แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก
เป็นการสร้างตราสินค้าหรือเครื่องหมายสินค้าเพื่อสร้างความโดดเด่นให้สินค้า ทำให้ผู้ซื้อจดจำสินค้าและลดการเลียนแบบได้ ส่งผลให้เกิดความเป็นเอกลักษณ์ และเป็นที่ยอมรับของตลาด
5 เทคนิคการสร้างแบรนด์สินค้าให้เป็นที่จดจำของลูกค้า
เทคนิคที่ 1 :> ชื่อแบรนด์ต้องสื่อถึงผลิตภัณฑ์ และบอกให้รู้ว่าขายอะไร
เทคนิคที่ 2 :> ตราสินค้า (Logo) ต้องสื่อถึงตัวตน และดึงดูด
เทคนิคที่ 3 :> กำหนดเป้าหมายการสร้างแบรนด์ให้ชัดเจน
เทคนิคที่ 4 :> แบรนด์ที่มีเรื่่องเล่า
เทคนิคที่ 5 :> อย่าเดินตามคู่แข่ง
ทำบรรจุภัณฑ์ที่น่าสนใจดึงดูดผู้บริโภค และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ในรูปแบบอื่นได้ บรรจุภัณฑ์รักษ์โลกช่วยส่งเสริมกิจกรรมทางด้านการตลาด
คือ ศิลปะในการเรียงร้อยเรื่องราวผ่านตัวอักษร คำพูด หรือภาพ เพื่อดึงดูดใจหรือทำให้ผู้ชมนึก คิด รู้สึก คล้อยตาม และลงมือทำสิ่งที่ผู้เล่าต้องการ เพื่อใช้เป็นจุดขาย
Storytelling (สตอรี่เทลลิ่ง) คือ การสร้างประสบการณ์ใหม่ ๆ ให้กับผู้ชม ผ่านการเล่าเรื่องราวโดยใช้ประสบการณ์ของตัวผู้เล่าเอง ถ่ายทอดออกมาเป็นข้อความ รูปภาพ หรือคลิปวิดีโอ เพื่อดึงดูดความสนใจ และกระตุ้นความอยากรู้อยากเห็น ปัจจุบัน Storytelling คือ เทคนิคที่นิยมใช้มากแขนงหนึ่งของวงการขายของออนไลน์ ดังจะเห็นได้จาก Channel ขายของใน Tiktok ที่เริ่มสร้างเรื่องเล่าจากชีวิตประจำวัน หรือ Fanpage Facebook ซึ่งลงคลิปวิดีโอสัมภาษณ์เจ้าของกิจการ ที่เล่าเรื่องการผลักดันธุรกิจให้เติบโต ก่อนสอดแทรกกลยุทธ์การตลาดเฉพาะตัวของตนเอง
เคล็ดลับการสร้าง Storytelling สำหรับธุรกิจ
เจ้าของธุรกิจทุกท่านต่างก็รู้ว่า Storytelling คือ เทคนิคที่จะช่วยสร้าง Brand Awareness ได้ดีแค่ไหน ถึงเวลาเดินหน้าสร้าง Storytelling ในแบบของคุณแล้ว Digital Tips ขอนำเสนอ 4 เคล็ดลับที่จะทำให้คุณเริ่มการเล่าเรื่องสำหรับโปรโมทธุรกิจได้ตั้งแต่วันนี้!
1. อ่านกลุ่มเป้าหมายให้ออก! รวบรวมข้อมูลกลุ่มเป้าหมายให้ได้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็น เพศ อายุ การศึกษา ที่อยู่ ความสนใจ และพฤติกรรม เพื่อให้คุณรู้ทิศทางว่ากลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่จะสนใจเรื่องราวประมาณไหน หรือมักจะมีปัญหาเรื่องอะไร
2. สร้าง Storytelling อย่างมีเป้าหมาย เมื่อวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายได้แล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการกำหนดเป้าหมายของการทำ Storytelling ให้เด่นชัด เช่น เล่าเรื่องประวัติผู้ก่อตั้ง เพื่อปั้นภาพของผู้ก่อตั้งในฐานะนักสร้างแรงบันดาลใจ หรือ เล่าเรื่องขั้นตอนการคิดค้นผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ เพื่อเพิ่มยอดขาย เป็นต้น
3. วางโครงเรื่อง เนื้อหา และกำหนดช่องทางการสื่อสาร เมื่อมีเป้าหมาย คุณจะสร้างเรื่องราวได้ง่ายขึ้น! ลองกำหนดโครงเรื่องและเนื้อหาของการเล่าเรื่อง ขึ้นมา แล้วอย่าลืมวางแผนด้วยว่า จะสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายผ่านช่องทางไหน
4. วัดผลเป็นประจำเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพต่อไป ไม่ว่าจะสร้างโฆษณาประเภทไหน จะใช้เทคนิค Storytelling หรือไม่ สิ่งสำคัญคือการวัดประสิทธิภาพของชิ้นงาน ดังนั้น เมื่อ Launch ชิ้นงานออกไปแล้วไม่ว่าจะบนช่องทางใดก็ตาม อย่าลืมสำรวจข้อมูลในหน้า Insights เพื่อดูว่าชิ้นงานเหล่านั้นเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ดีแค่ไหนด้วย
การตลาดออนไลน์ หรือ Online Marketing คือ การใช้ประโยชน์จากช่องทางออนไลน์ อาทิ Email Marketing, Social Media Marketing หรือการทำการตลาดบน Search Engine เช่น SEO และ Google Ads ฯลฯ เพื่อเผยแพร่ข้อความ หรือข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับแบรนด์ออกไป โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างการรับรู้ สร้าง Online Community ปิดการขาย ตลอดจนวัตถุประสงค์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางการตลาด
การตลาดแบบดั้งเดิม (Offline Marketing)
การตลาดออนไลน์ (Online Marketing)
เทรนด์การตลาดออนไลน์
1. Influencer Marketing: การมาของคอนเทนต์แบบวิดีโอสั้น ดังเช่น คลิป TikTok และ Instagram Reels ทำให้เกิด Influencer หน้าใหม่ ๆ ขึ้นมามากมายในตลาดออนไลน์ การว่าจ้างบุคคลในกระแสเหล่านี้เพื่อโปรโมตสินค้า หรือทำคอนเทนต์ร่วมกัน จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่มาแรงในปี 2024
2. วางแผนการขายออนไลน์บน TikTok: ในปี 2024 นี้ TikTok ตัดสินใจเปิดตัวในฐานะแอปพลิเคชันกึ่ง Social Media กึ่ง E-commerce และมีฟีเจอร์ใหม่ที่ชื่อว่า TikTok Shop เปิดให้ใช้งานอีกด้วย บรรดาร้านค้าต่าง ๆ จึงนิยมหาเงินจาก TikTok ด้วยการตั้งกล้องไลฟ์ขายของเป็นประจำบน TikTok พร้อมทั้งเชื่อมบัญชีร้านค้าให้สามารถสั่งของ จ่ายเงิน และติดตามสถานะได้บน TikTok Shop ภายในช่องทางเดียว
3. Personalized Marketing: ใคร ๆ ก็อยากสัมผัสได้ว่าตัวเองเป็นคนพิเศษ ดังนั้น การตลาดเฉพาะบุคคล จึงเป็นอีกหนึ่งเทคนิค Online Marketing ที่ได้รับความนิยมสูงในปีนี้ โดยมากมักจะทำผ่าน Email Marketing เช่น การส่งบัตรกำนัล หรือแนะนำโปรโมชันโดยอ้างอิงจากข้อมูลการซื้อที่ผ่านมาของลูกค้าคนนั้น เพื่อสร้างความประทับใจ และทำให้ลูกค้ารู้สึกได้ว่าแบรนด์ใส่ใจดูแลลูกค้าเป็นพิเศษแบบรายบุคคล
4. การทำ SEO: ในปี 2024 การทำ SEO กลับมาเป็นเทคนิคการตลาดออนไลน์ที่ได้รับความนิยมอีกครั้ง เนื่องจากธุรกิจและบริษัทรับทำการตลาดออนไลน์จำนวนมาก ประสบปัญหา Algorithm ของ Socila Media อัปเดตบ่อย จนมีผลต่อยอด Engagement และการยิงโฆษณา
5. การทำคลิป Reels และ TikTok: ที่สุดแห่งเทรนด์การตลาดออนไลน์ 2024 คงต้องยกให้กับการสร้างคอนเทนต์วิดีโอสั้น ตั้งแต่ไม่กี่วินาทีจนถึงราว ๆ 15 นาทีอย่างการทำคลิป Reels ทั้งบน Facebook และ Instagram และการทำคลิป TikTok เพราะนอกจากจะขึ้นชื่อเรื่องการกวาดยอด Reach และ Engagement ได้อย่างดีเยี่ยมโดยไม่ต้องซื้อโฆษณาแล้ว ยังเป็นช่องทางการสื่อสารออนไลน์ที่ได้อรรถรส ทรงประสิทธิภาพ และทำให้ผู้ชมอยากติดตามอีกด้วย
7 ช่องทางในการทำการตลาดออนไลน์
ช่องทางที่ 1. SEM (Search Engine Marketing) เป็นการทำการตลาดออนไลน์กับผู้ให้บริการ Search Engine หรือก็คือเหล่าแพลตฟอร์มการค้นหาข้อมูลบนโลกออนไลน์ ซึ่งช่องทางนี้จะทำให้เว็บไซต์ของเรา ปรากฏขึ้นเป็นอันดับแรก ๆ บนหน้าการค้นหา โดยมีการชำระเงินเพิ่มเติมตามการประเมินมูลค่าความเหมาะสม ในแต่ละรูปแบบของค่าโฆษณา
ช่องทางที่ 2. SMM (Social Media Marketing) หนึ่งในช่องทางที่ได้รับความนิยมมากที่สุดสำหรับการตลาดออนไลน์ เนื่องจากการทำ Online Marketing ผ่านช่องทางนี้ สามารถแบ่งย่อยออกไปได้หลายแพลตฟอร์ม ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Instagram, TikTok, Twitter, LINE ฯลฯ ซึ่งในแต่ละแพลตฟอร์มก็จะมีการยิงแอดที่พร้อมให้บริการอีกหลากหลาย
ช่องทางที่ 3. Content Marketing คือ การทำคอนเทนต์ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการตลาดออนไลน์ แล้วนำไปเผยแพร่ในแพลตฟอร์มต่าง ๆ ที่แสดงผลแตกต่างกันออกไป เช่น คอนเทนต์ประเภทบทความบนเว็บไซต์ คอนเทนต์รูปภาพประกอบกับเนื้อหาลงบน Facebook คอนเทนต์ที่เน้นรูปภาพหรือวิดีโอลงที่ Instagram และ คอนเทนต์แนววิดีโอสั้นลงที่ TikTok เป็นต้น
ช่องทางที่ 4. การทำ Video Marketing ซึ่งจะเป็นการตลาดออนไลน์ที่เน้นสร้างคอนเทนต์แนววิดีโอ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบสั้น หรือยาว ต่างก็สอดแทรกวัตถุประสงค์เพื่อการตลาดลงไปทั้งนั้น อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันรูปแบบวิดีโอที่ได้รับผลตอบรับดีที่สุดจะมาในรูปแบบของ Native Video เป็นส่วนใหญ่ เพราะเนื้อหาคอนเทนต์ใกล้เคียงกับคอนเทนต์ทั่วไป แต่ยังคงมีทิศทางในด้านการตลาดหลงเหลือเอาไว้
ช่องทางที่ 5. Influencer Marketing ที่ได้รับความนิยมค่อนข้างสูงมากในการตลาดออนไลน์ เมื่อมีการแบ่งระดับของผู้มีอิทธิพลไว้หลากหลายระดับ ซึ่งแต่ละส่วนสามารถเข้าถึงผู้ติดตามได้มากน้อยนั้นแทบจะไม่สำคัญอีกต่อไปแล้ว แต่จะวัดผลกันที่การโต้ตอบระหว่าง Influencer กับผู้ติดตามเป็นหลักแทน ยิ่งสร้าง Engagement หรือการมีส่วนร่วมได้มากเท่าไหร่ ยิ่งช่วยให้ Influencer Marketing มีโอกาสประสบผลสำเร็จมากเท่านั้น
ช่องทางที่ 6. Affiliate Marketing การทำออนไลน์มาร์เก็ตติ้งรูปแบบใหม่ ที่กำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในช่วงเวลาไม่กี่ปี ด้วยคอนเซปต์การช่วยขาย โดยแบรนด์ที่เข้าร่วมจะมอบส่วนแบ่งเป็นค่าคอมมิชชั่น ให้กับผู้ที่นำสินค้าของแบรนด์ไปช่วยขายผ่านวิธีต่าง ๆ เช่น การสร้างคอนเทนต์รีวิวบน TikTok โดยแปะลิงก์ตะกร้าสินค้าเอาไว้ ยิ่งมียอดขายมากเท่าไหร่ ผู้สร้างคอนเทนต์ก็ยิ่งได้รับส่วนแบ่งมากขึ้น
ช่องทางที่ 7. Email Marketing ซึ่งแม้จะดูเหมือนว่าช่องทางนี้จะค่อนข้างเก่าไปสักหน่อย ถ้าเทียบกับช่องทางการตลาดออนไลน์อื่น ๆ ที่กล่าวมา แต่หากดูเฉพาะสถิติที่เกี่ยวข้องกับการใช้งาน Email ของผู้คนในยุคปัจจุบัน ที่ยังให้ผลตอบรับค่อนข้างดี จึงถือเป็นอีกช่องทางที่ไม่ควรมองข้าม และที่สำคัญ Email Marketing ยังเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับการทำ Personalized Marketing หนึ่งในเทรนด์การตลาดออนไลน์ 2024 อีกด้วย
8 ขั้นตอนการทำการตลาดออนไลน์
ขั้นที่ 1. กำหนดเป้าหมายให้ชัดเจนตั้งแต่เริ่ม
ขั้นที่ 2. ระบุกลุ่มเป้าหมายของแบรนด์
ขั้นที่ 3. คำนวณการใช้งบประมาณสำหรับแต่ละช่องทาง
ขั้นที่ 4. สร้างสมดุลการตลาดออนไลน์ที่ดีระหว่างแบบฟรีและเสียเงิน
ขั้นที่ 5. สร้างเนื้อหาที่น่าดึงดูด
ขั้นที่ 6. เพิ่มประสิทธิภาพเนื้อหาให้สามารถแสดงผลได้ดีบนอุปกรณ์พกพา
ขั้นที่ 7. ทำ Keyword Research สำหรับ SEO
ขั้นที่ 8. วิเคราะห์ผลลัพธ์ที่ได้และพัฒนาอย่างสม่ำเสมอ
การท่องเที่ยวเชิงเกษตรเป็นการคิดค้นเอาทรัพยากรทางการท่องเที่ยวที่มีอยู่ในประเทศมาจัดกิจกรรมหรือจัดเป็นรูปแบบทางการท่องเที่ยว เพื่อให้นักท่องเที่ยวมีความสนใจและอยากเดินทางไปเที่ยว การขยายเส้นทางการท่องเที่ยว และเป็นการกระจายรายได้สู่ท้องถิ่น อีกท้ังยังเป็นการอนุรักษ์และการให้ความรู้ในคุณค่าของภูมิปัญญาของเกษตรกรไทย
การเดินทางท่องเที่ยวไปยังพื้นที่เกษตรกรรมสวนเกษตร วนเกษตร สวนสมุนไพร ฟาร์มปศุสัตว์และเลี้ยงสัตว์เพื่อชื่นชมความสวยงาม ความสำเร็จและเพลิดเพลินในสวนเกษตร ได้ความรู้มีประสบการณ์ใหม่บนพื้นฐานความรับผิดชอบ มีจิตสำนึกต่อการรักษาสภาพแวดล้อมของสถานที่แห่งนั้น และยังช่วยกระตุ้นให้รักการทำเกษตรด้วยตัวเองอีกด้วย
จะเห็นได้ว่า ในปัจจุบันมีการนำเสนอแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรมากขึ้น เช่น โครงการสาธิตการเกษตรแบบพอเพียง มีการจัดทำทางเดินบนไร่นา มีที่ถ่ายรูปสวยๆ ทำให้สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้ามาแวะชม และได้เรียนรู้รวมทั้งได้ซึมซับวิถีการเกษตรไปในตัวด้วย ถือว่าการท่องเที่ยวดังกล่าวได้รับความนิยมและช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ กระจายรายได้สู่ท้องถิ่นได้อย่างดีทีเดียว
"การท่องเที่ยวเชิงเกษตร คือ การท่องเที่ยวที่มุ่งเน้นทางด้านการเรียนรู้วิถีเกษตรกรรมของชาวชนบท โดยเน้นการมีส่วนร่วมของนักท่องเที่ยวในการดำเนินกิจกรรมให้เกิดการเรียนรู้มาทำให้เกิดประโยชน์ก่อให้เกิดรายได้ต่อชุมชน และตัวเกษตรกร การท่องเที่ยวเชิงเกษตรจะเป็นการอนุรักษ์ควบคู่ไปกับการท่องเที่ยวเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนและผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม"
รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงเกษตร
การท่องเที่ยวเชิงเกษตรนั้นมีหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับสภาพของสถานที่และจุดท่องเที่ยวใกล้เคียง แต่โดยหลักแล้วก็จะมีการเข้าชมสวนระยะสั้น ที่อนุญาตให้นักท่องเที่ยวเข้ามาเยี่ยมชมและเลือกซื้อผลผลิตด้วยการเก็บเองจากสวนโดยตรง หรือที่เป็นที่นิยมกันมาก คือ บุฟเฟ่ต์ผลไม้
ส่วนการท่องเที่ยวระยะยาวขึ้นคือการพักค้างแรมในสวนหรือในหมู่บ้าน พร้อมกับร่วมกิจกรรมในชุมชน หรือที่เรียกว่าฟาร์มสเตย์ (farmstay) โดยการท่องเที่ยวแบบนี้จะเป็นการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์มากกว่าระยะสั้นเพราะนักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสกับวิถีชีวิตของชุมชนมากกว่าการเที่ยวแบบไปเช้าเย็นกลับ
โดยกิจกรรมนั้นมีได้ทั้งการเที่ยวชมสวนเพื่อเรียนรู้เรื่องการผลิต การให้นักท่องเที่ยวร่วมมือทำกิจกรรมทางการเกษตร เช่น การดำนา การเก็บพืชผัก การตกปลา เก็บไข่ไก่ แล้วนำผลผลิตที่ได้มาทำอาหารกับนักท่องเที่ยวโดยตรง หรือหากบริเวณชุมชนมีจุดท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เช่น หมู่บ้านจักสาน หล่อศาลพระภูมิ ไม้แกะสลัก ก็สามารถนำเสนอเพื่อให้ความรู้ เพิ่มพูนความต้องการที่จะอนุรักษ์ให้แก่นักท่องเที่ยว และเพิ่มรายได้ให้ชุมชนเหล่านั้นอีกด้วย
ประโยชน์จากการท่องเที่ยวเชิงเกษตร
การท่องเที่ยวเชิงเกษตรได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ซึ่งการท่องเที่ยวแบบนี้สามารถตอบโจทย์ผู้ที่ต้องการเป็นการหลีกหนีชุมชนที่หนาแน่และต้องการเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องทางการเกษตร และเรื่องอื่นๆ มากมาย โดยการท่องเที่ยวเชิงเกษตรมีประโยชน์ ดังนี้
1. โอกาสจากการมีรายได้มากขึ้น จากหลากหลายทางที่ไม่ใช่จากผลผลิตทางการเกษตรเท่านั้น แต่ผู้ประกอบการยังสามารถมีรายได้เพิ่มจากการแปรรูปสินค้าเกษตร การเก็บค่าเข้าชม การจำหน่ายสินค้าที่ระลึกเป็นต้น
2. รายได้เพิ่ม แต่ไม่ต้องเพิ่มที่ดินท ากิน โดยการนำทฤษฎีเกษตรผสมผสานมาปรับใช้ในพื้นที่ทำกินที่ไม่อยู่จำกัดหรือมีขนาดเล็กให้มีประสิทธิภาพ มีรายได้เพิ่ม มีผลผลิตที่หลากหลาย
3. เมื่อเทียบกับตลาดสินค้าแบบดั้งเดิม การท่องเที่ยวเชิงเกษตรน าเสนอวิธีการใหม่ของการตลาดผลิตภัณฑ์และบริการที่ช่วยให้เกษตรกรสามารถเพิ่มมูลค่าของสินค้าการเกษตร ได้แก่ การแปรรูปผลผลิตให้มีมูลค่าเพิ่ม
4. โอกาสในการสร้างธุรกิจใหม่ ๆ จากทรัพยากรที่เกษตรกรมีอยู่แล้ว
5. เป็นการสร้างกิจการ เพื่อครอบครัวและลูกหลานในอนาคต
6. เป็นวิธีการหนึ่งในการดึงดูดให้คนหนุ่มสาวเดินทางกลับมาประกอบอาชีพในท้องถิ่นเป็นธุรกิจหนึ่งที่ผู้เกษียณอายุ สามารถดำเนินการได้เอง
7. เป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับทุกคนที่สนใจเรื่องการเพาะปลูกและการเกษตร ทั้งตัวเกษตรกรเอง นักศึกษาและผู้สนใจทั่วไปที่อยากศึกษา หาความรู้เพิ่มเติมด้านการเกษตร หรือความรู้การเลือกซื้อสินค้าการเกษตร การจัดเก็บ เป็นต้น
8. แสดงวิธีการดูแลและป้องกันผืนดินและทรัพยากรธรรมชาติ เป็นหนึ่งในวิธีการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และพื้นที่สีเขียว โดยการจัดทำแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร เพื่อลดปัญหาการขายที่ดิน และปัญหาสิ่งแวดล้อมจากโรงงานอุตสาหกรรมที่จะเข้ามาในท้องถิ่น
9. เป็นแหล่งเรียนรู้เรื่องราววิถีทางทำเกษตรกรรม ไม่ว่าจะเป็นทั้งสมัยโบราณ และสมัยใหม่ด้วย เป็นแหล่งเรียนรู้วัฒนธรรมท้องถิ่น เช่น การปลูกข้าว เครื่องมือเครื่องใช้ในการทำนา เป็นต้น
นอกจากจะได้รับความรู้ความเพลิดเพลินจากประสบการณ์ตรงของเกษตรกรแล้ว ยังได้สัมผัสและเรียนรู้ถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ วัฒนธรรมท้องถิ่น เทคโนโลยีการเกษตรต่างๆ อีกทั้งเป็นการกระจายรายได้โดยตรงสู่เกษตรกร ช่วยสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจให้กับชุมชนได้เป็นอย่างดี ทั้งการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ยังช่วยให้คนไทยหันกลับมาเที่ยวเมืองไทยให้มากขึ้นด้วย
ลักษณะกิจกรรมการเกษตร
แนวคิดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรต้องการที่จะพัฒนาพื้นที่เกษตรกรรมที่มีความเหมาะสม โดยเป็นการเชื่อมโยงภาคการเกษตรและวิถีชีวิตชุมชนเข้ากับภาคการท่องเที่ยว เพื่อเพิ่มมูลค่า โดยกิจกรรมทางการเกษตรสามารถแบ่งกิจกรรมได้ตามลักษณะ ดังนี้
1. การทำนา (Rice Cultivation) ได้แก่ การทำนาปี การทำนาปรัง การทำนาหว่าน น้า ตม การทา นาข้นั บนั ได พิพิธภณั ฑ์ขา้ว ความรู้เรื่องขา้วสายพันธุ์ต่างๆ ประเพณีพิธีกรรมเกี่ยวกับข้าว วัฒนธรรมการกินข้าวไทย เป็นต้น
2. การทำสวนไม้ตัดดอก (Cutting Flowers) การทำสวนดอกไม้เพื่อตัดดอกขายทุกชนิด เช่น สวนกุหลาบ ฟาร์มกล้วยไม้ สวนดอกไม้ประดับนานาชนิด ไม้กระถางทุกประเภท รวมถึงไร่ทานตะวัน
3. การทำสวนผลไม้ (Orchard) การทำสวนผลไม้ทุกประเภท รวมทั้งการทำวนเกษตร การทำเกษตรแผนใหม่ การทำสวนผสม รวมถึงการทำยางพารา สวนไผ่ สวนปาล์มน้ำมัน
4. การทำผักสวนครัว (Vegetables) การปลูกพืชผักสวนครัวทุกประเภทรวมถึงการทำไร่สวนผัก ไร่ถั่ว ไร่ข้าวโพดข้าวฟ่าง ไร่พริกไทย เป็นต้น
5. การทำสวนสมุนไพร (Herbs) การปลูกพืชสมุนไพรนานาชนิด เพื่อใช้เป็นอาหารเสริมพืชผักสวนครัวข้างบ้าน เพื่อใช้เป็นเครื่องดื่ม เพื่อใช้เป็นเครื่องส าอาง และเพื่อใช้ในการแพทย์แผนไทย
6. การทำฟาร์มปศุสัตว์ (Animal Farming) การเลี้ยงและขยายพันธุ์สัตว์เศรษฐกิจนานาชนิด อาทิ การเลี้ยงไหม การทำฟาร์มปลา การเลี้ยงหอยแมลงภู่ หอยแครง หอยนางรม หอยตะโกรม ฟาร์มจระเข้ และบางแห่งเพาะขยายพันธุ์สัตว์ป่าหายาก เช่น ฟาร์มนกยูงฟาร์มไก่ฟ้า ฟาร์มกวาง รวมถึงสวนงูของสภากาชาดไทยอีกด้วย
7. งานเทศกาลผลิตภัณฑ์ต่างๆ (Festival) การจัดงานเพื่อส่งเสริมการขายผลิตผลทางการเกษตร เมื่อถึงฤดูที่พืชผลเหล่าน้ันออกผล อาทิ เช่น มหกรรมไม้ดอกไม้ประดับ งานเทศกาลลิ้นจี่ เทศกาลลำไย เทศกาลกินปลา เป็นต้น