สร้างการรับรู้ด้านประมงสู่ภาคประชาชน ปลาน็อกน้ำ

 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี




สร้างการรับรู้ด้านประมงสู่ภาคประชาชน ปลาน็อกน้ำ

โดย สมาคมสัตวแพทย์สัตว์น้ำไทย - TAVA

ตอนนี้กรมอุตุนิยมวิทยาประกาศออกมาแล้วว่าประเทศไทยเข้าสู่ฤดูฝนตั้งแต่วันที่ 20 พฤษภาคม ที่ผ่านมา (ประกาศย้อนหลัง?) ซึ่งฝนก็มาจริง มาถี่ มารัวๆ นี่เป็นช่วงเวลาวิกฤติที่หลายท่านอาจจะเริ่มเจอปลาป่วย หรือแย่ที่สุดคือเช้ามาก็เจอปลาตายเลยครับ

           ...หลายคนเรียกเหตุการณ์นี้ว่า “ปลาน็อกน้ำ”

แล้วมันน็อกน้ำได้จริงหรือเปล่า? เกิดอะไรขึ้นกันแน่?

     1. ปัจจัยแรกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว คือความเป็นกรด-ด่างของน้ำครับ ในภาวะที่มลภาวะทางอากาศเริ่มมากอย่างบ้านเรา ฝนแรกๆมักมีภาวะเป็นกรด ส่งผลให้สภาพกรด-ด่างของน้ำเปลี่ยนแปลงไปได้ ซึ่งสัตว์น้ำอาจปรับตัวไม่ทัน ทำให้เกิดภาวะเลือดเป็นกรด ซึ่งทำให้มีภาวะขาดออกซิเจนได้
     2. นอกจากนั้น ความแตกต่างระหว่างน้ำใหม่ (น้ำฝน) และน้ำเก่า (น้ำบ่อ) อาจเกิดภาวะแยกชั้น (stratification) ซึ่งทำให้ออกซิเจนไม่สามารถละลายลงไปในมวลน้ำที่ลึกได้ตามปกติ ทำให้ปลาขาดออกซิเจนครับ
     3. และสิ่งที่อาจทำให้เกิดการตายฉับพลันได้ อาจเกิดจากสารพิษได้ด้วย เช่น การชะล้างปุ๋ย (ไนเตรต) และยาฆ่าแมลง จากหน้าดินหรือต้นไม้ ลงสู่บ่อ หรืออาจเกิดการฟุ้งกระจายของตะกอนดินก้นบ่อ ทำให้เกิดก๊าซไข่เน่า (ไฮโดรเจนซัลไฟด์) จากก้นบ่อฟุ้งขึ้นมา ซึ่งก็สามารถทำให้ปลาตายฉับพลันได้เช่นกัน
 

นอกจากการตายฉบับพลันแล้ว ยังมีปัจจัยที่สำคัญบางประการที่ทำให้ปลาอ่อนแอได้มากขึ้นด้วย ได้แก่

     1. การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ ก่อนฝนตกก็ร้อนอบอ้าว ความชื้นที่สูงก็ทำให้การระเหยของน้ำที่จะช่วยระบายความร้อนได้น้อยลงอีก แต่พอฝนตก ก็ทำให้น้ำเย็นลงอย่างรวดเร็ว การเปลี่ยนแปลงแบบนี้ไม่เป็นผลดีกับสุขภาพของปลาครับ ปลาสามารถตายทันที หรืออาจทำให้ภูมิคุ้มกันต่ำลงจนติดโรคต่างๆได้ง่ายขึ้นครับ
     2. การลดต่ำของออกซิเจน ในบ่อที่มีสาหร่ายมาก มีพืชน้ำมาก ในช่วงฟ้าปิดไม่มีแสง ไม่มีการสังเคราะห์แสง ในบ่อจะมีการดึงออกซิเจนไปใช้อย่างต่อเนื่อง ทำให้บ่อปลามีออกซิเจนต่ำจนวิกฤติและเกิดการตายฉับพลันได้ หรืออาจจะทำให้ภูมิคุ้มกันของปลาต่ำลงได้เช่นกันครับ
     3. เชื้อก่อโรคที่แข็งแรงขึ้น ต่อโรคได้มากขึ้น แบคทีเรียบางชนิด เช่น Flavobacterium sp. พบว่ามีการระบาดในช่วงที่อากาศเย็นได้มากขึ้น หรือไวรัสบางชนิด เช่น Koi herpesvirus ก็มีความสามารถในการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนได้มากขึ้นในช่วงอากาศเย็น รวมไปถึงโรคโปรโตซัวอย่างจุดขาว (Ichthyopthirius multifillis) ก็แบ่งตัวได้ดีช่วงอุณหภูมิต่ำๆ และหยุดการเติบโตเมื่อน้ำมีอุณหภูมิสูงกว่า 30 องศาเซลเซียส เป็นต้น ดังนั้น อุณหภูมิที่ลดต่ำลง เป็นปัจจัยโน้มน้ำให้ปลาป่วยได้ในหน้าฝนมากขึ้นครับ

 

การป้องกันเพื่อส่งเสริมสุขภาพปลาในหน้าฝนนี้

     1. หากเป็นบ่อไม่ใหญ่ ให้หลีกเลี่ยงไม่ให้น้ำฝนลงบ่อโดยตรง โดยเฉพาะน้ำล้างหลังคาบ้านครับ
     2. ตรวจสอบ alkalinity ของน้ำเพื่อป้องกันการเปลี่ยนแปลงของ pH อาจใช้ปูนโดโลไมต์ช่วยในบ่อเลี้ยงปลาเศรษฐกิจครับ
     3. มีระบบไหลเวียนน้ำที่เหมาะสม หรือมีการให้อ็อกซิเจนกับน้ำ โดยควรมีระบบเติมอากาศในบ่อ เช่น ใบพัดตีน้ำ ระบบแอร์เจ็ต ท่อนาโนบับเบิ้ล เพื่อเติมอากาศและให้น้ำหมุนเวียนในบ่อ ลดปัญหาน้ำแยกชั้น อาจเปิดใช้งานเมื่อขณะฝนตก
     4. อาจลดปริมาณอาหาร โดยประเมินตามการกินได้ของปลาครับ เนื่องจากเมื่อปลาเครียดหรือป่วย อาจกินอาหารน้อยลงและทำให้มีอาหารเหลือ เป็นของเสียสะสมในน้ำมากกว่าปกติครับ แต่บางท่านก็จะแนะนำว่าลดหรืองดไปเลย ปลาอดอาหารได้หลายวัน ไม่ต้องกลัวว่าจะผอม กลัวตุยดีกว่าเนาะครับ
     5. การใช้เกลือแกง เพื่อลดความเครียดของปลา โดยถ้าเป็นตู้ขนาดเล็ก อาจใช้ 1-3 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร (1-3 ppt) หรือหากเป็นบ่อปลา อาจใช้ 160 กิโลกรัมต่อไร่
     6. การใช้ heater ในตู้ปลาเพื่อช่วยคุมให้อุณหภูมิคงที่

 

  •   หน่วยงาน: สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี
  •   ประกาศวันที่: 2024-05-24
  •   ประกาศสิ้นสุดเเล้วเมื่อวันที่: 2024-05-24 
  •   Hits
  • ภารกิจประจำวันที่ 10 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  ภารกิจประจำวันที่ 10 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 51  ภารกิจประจำวันที่ 27 มกราคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 27 มกราคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 26 ภารกิจประจำวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 26 ภารกิจประจำวันที่ 31 มกราคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 31 มกราคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 23 ภารกิจประจำวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 22 ภารกิจประจำวันที่ 8 เมษายน 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 8 เมษายน 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 20 ภารกิจประจำวันที่ 25 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   ภารกิจประจำวันที่ 25 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 19 ภารกิจประจำวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 18 ภารกิจประจำวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 17 ภารกิจประจำวันที่ 5 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 5 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 17 ภารกิจประจำวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  ภารกิจประจำวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 16 ภารกิจประจำวันที่ 7 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 7 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 16 ภารกิจประจำวันที่ 16 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี     ภารกิจประจำวันที่ 16 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 16 ภารกิจประจำวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 16 ภารกิจประจำวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  ภารกิจประจำวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 15

    สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี

    รายละเอียด สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี SARABURI PROVINCIAL FISHERIES OFFICE ที่ตั้ง : 123 หมู่ 6 ศาลากลางจังหวัดสระบุรี สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี (ชั้น 2)            ตำบลตะกุด อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี 18000           123 Moo 6, Saraburi Provincial Hall, Saraburi Provincial Fisheries Office (2nd floor)            Takud Sub-district, Mueang Saraburi District, Saraburi, 18000 การเดินทางสาธารณะ : รถสองแถวสาย 9 (10 บาทตลอดสาย)                                       โดยจุดจอดรถสองแถวเริ่มต้นที่ บขส.สระบุรี สิ้นสุดที่ ศูนย์ราชการจังหวัดสระบุรี  Social Network     : fpo_saraburi@fisheries.go.th  LINEID : fposaraburi QR Code Line    ผู้ดูแลเว็บไซต์ : นางสาวพรศิริ โพธาราม   เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล  email  fpo_saraburi@fisheries.go.th  โทรศัพท์ 0 3634 0742  FAX 0 3634 0742  แฟนเพจ แฟนเพจ
    CreativeCommons Valid CSS! Explanation of WCAG 2.1 Level Triple-AA Conformance SSL Labs ipv6