ปูนขาว ทำให้...น้ำใส  แก้ปัญหา...น้ำเสีย  ทำให้...ปลาโตไว ได้อย่างไร

 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี




ปูนขาว ทำให้...น้ำใส  แก้ปัญหา...น้ำเสีย  ทำให้...ปลาโตไว ได้อย่างไร

ปูนขาว ทำให้...น้ำใส  
             แก้ปัญหา...น้ำเสีย  
             ทำให้...ปลาโตไว ได้อย่างไร

   ค่า PH ที่เหมาะสมในการดำรงชีวิตของสัตว์น้ำ ควรอยู่ระหว่าง 6.5 – 9.0 
   หากอยู่ 4.0- 6.0 บางชนิดอาจไม่ตาย แต่ผลผลิตจะต่ำการเจริญเติบโตช้า การสืบพันธุ์หยุดชะงัก

เมื่อตรวจวัดคุณภาพน้ำ ค่า PH ปรากฏความเป็น “กรด”
   -> กรณี “ขุดบ่อเลี้ยงใหม่” ให้ตรวจสอบน้ำก่อนปล่อยปลา
   -> กรณี “พบการหมักภายในบ่อ จนนำไปสู่ความเป็นกรดของน้ำ” อาทิ บ่อเก่า บ่อรกร้าง ที่มีเศษพืช เศษไม้ในบ่อบวกกับน้ำนิ่ง ยอมก่อให้เกิดการหมักจนนำไปสู่ความเป็นกรดของน้ำ
   -> หลังฝนตกใหม่ เพราะบางพื้นที่มีฝนเป็นกรด (โดยเฉพาะเขตอุตสาหกรรม)

กรณีตรวจวัดคุณภาพน้ำ ค่า PH ปรากฏความเป็น “ด่างสูง” 
สามารถแก้ไขได้ด้วยวิธี ดังนี้
   วิธี 1 : ให้ใส่น้ำหมักชีวภาพสูตรต่างๆ ลงไป (น้ำหมักถ้าหมักเกิน 3 เดือน จะมีความเป็นกรดอ่อน มันสามารถนำไปปรับสภาพน้ำได้ ที่สำคัญไม่เป็นพิษต่อสัตว์น้ำ)
   วิธี 2 : ให้นำฝางมาหมักเป็นชั้นผสมกับขี้วัว ได้ประโยชน์ 2 อย่าง คือ ได้ทั้งอาหารปลา และได้ทั้งความเป็นกรดอ่อนๆ จากกระบวนการหมัก

 

บทความ...การเลือก ใช้ปูนขาว ระหว่าง การเลี้ยง

ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดนครศรีธรรมราช

   บทความยาวสักนิด แต่เราอยากสร้างความเข้าใจในการเลือกใช้วัสดุปูนกับ พี่น้องเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการฟื้นฟูดินพื้นบ่อ และคุมสภาพ pH น้ำ ให้นิ่งตลอดการเลี้ยง ป้องกันน้ำดรอฟ น้ำล้ม ช่วยให้ ปลามีสุขภาพดี จัดการง่ายขึ้นค่ะ เผื่อพี่น้องเกษตรกรจะได้เข้าใจ เลือกใช้ชนิดของปูนขาว ได้ ตามประเภท การออกฤทธิ์ของปูน แบ่งประเภทตาม วัตถุประสงค์ การใช้งาน

 

1. ปูนคาร์บอเนต บ้านเรามี ปูนมาร์ล  (  CaCO3  ) และ ปูนโดโลไมด์  (MgCa(CO3)2 )

      เหมาะกับการปรับปรุงพื้นบ่อ ที่เสื่อมโทรม ใช้งานมานาน

   ปูนคาร์บอเนต
เป็นปูนที่ไม่ผ่านการเผา
เป็นปูนธรรมชาติ เนื้อหยาบ
สีไม่ขาว
ปูนมาร์ลบางแห่ง มีสีน้ำตาลปนบ้าง
เหมาะที่จะใช้ เตรียมบ่อ
เพิ่มค่าอัลคาร์ไลน์ และปรับปรุงสภาพน้ำระหว่างการเลี้ยง

เพราะออกฤทธิ์ช้าๆ ยาวนาน
ค่อยๆ เป็น ค่อยๆ ไป
คงความสมดุลของค่า pH ได้นาน
ยังช่วยเพิ่มแร่ธาตุที่สำคัญให้บ่อ เช่น แคลเซียม และแมกนีเซียม
สัตว์น้ำดึงแร่ธาตุไปใช้
ในการสร้างเกล็ดและกระดูกได้
เป็นประเภทปูนคาร์บอเนต
ที่ไม่ผ่านการเผา

         กรณี เตรียมบ่อ ใช้ปูนหว่านในขณะ พื้นบ่อมีความชื้น มีน้ำ ชุ่มฉ่ำ เพื่อให้ปูนได้ลงไปทำงานในเนื้อดินที่ลึกลงไป หากมีการ คราด ไถพรวนร่วมด้วย ยิ่ง เพิ่มประสิทธิภาพของการบำบัดพื้นบ่ออัตราที่ใช้ 
        ในกรณี เตรียมบ่อ บ่อทั่วๆ ไป 150-200 กิโลกรัม ต่อไร่
        กรณี บ่อเชิงพาณิชย์ ที่เลี้ยงซ้ำซาก และให้อาหารแบบอัด ใช้บ่อทุกๆปี ไม่ค่อยมีเวลาพักบ่อ ใช้ 300 กิโลกรัมต่อไร่
       (ปูนชนิดนี้ผลิตมากในภาคกลาง  ภาคอื่นๆ อาจหาซื้อยาก แต่ยังพอสามารถซื้อได้จากร้านขายวัสดุ ที่ใช้ กับนากุ้ง อาจไม่สะดวก ในการซื้อหา แต่อยากให้ หาแหล่งซื้อในพื้นที่ให้ได้ เพราะมีความจำเป็นในการใช้งานไปตลอดการเลี้ยงค่ะ )

 

2.ปูนไฮดรอกไซด์ ปูนขาว/ปูนแคลเซียมออกไซด์ ( Ca(OH)2 )

    เหมาะกับการ นำไปกำจัดศัตรูปลา

เป็นประเภทปูนหินเผา
เผาด้วยความร้อนสูง
ได้เป็นปูนสุก
มีเนื้อสีขาว เนียนละอียด
     ออกฤทธิ์ รวดเร็ว
pH ขึ้นเร็ว ลงเร็ว
สัมผัสกับน้ำ เกิดความร้อน
 
ไม่เหมาะ  กับการปรับปรุงสภาพน้ำ หรือคุม pH ระหว่างการเลี้ยง/
บ่อที่มีสัตว์น้ำอยู่
เพราะทำให้ pH ขึ้นเร็ว ลงเร็วมาก
สัตว์น้ำเป็นสัตว์เลือดเย็น
ไม่ชอบปรับตัวกับสภาพแวดล้อม
ที่แปรปรวนรวดเร็ว
จึงเป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำ

    ในช่วงการเตรียมบ่อ ใช้ 100-150 กิโลกรัมต่อไร่ 
        ไม่เหมาะ...กับการปรับปรุงสภาพดินพื้นบ่อที่ต้องการฟื้นฟู 
        ไม่เหมาะ...กับการปรับปรุงสภาพน้ำ หรือคุม pH ระหว่างการเลี้ยง/บ่อที่มีสัตว์น้ำอยู่ เพราะ ทำให้ pH ขึ้นเร็ว ลงเร็วมาก
               ...สัตว์น้ำ เป็นสัตว์เลือดเย็นไม่ชอบปรับตัวกับสภาพแวดล้อมที่แปรปรวนรวดเร็ว จึงเป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำ
       (ปูนขาว ปูนหินเผา ที่เป็นปูนหินเผาชนิดนี้หาซื้อง่าย มีทั่วไป เกษตรกรจึงมัก เข้าใจว่า ใช้ปรับปรุงดินพื้นบ่อ และคุมสภาพน้ำระหว่างการเลี้ยงได้ด้วย)

 
3. ปูนออกไซด์ ปูนร้อน (CaO)

      เหมาะแก่การฆ่าเชื้อโรคในบ่อ ที่เคยมีประวัติการเกิดโรค หรือ  กำจัด ศัตรูปลา

เป็นประเภทปูนหินเผา
เผาด้วยความร้อนสูง
2,000 ฟาเรนไฮต์
(600-900 องศาเซลเซียส)
ได้เป็นปูนสุก
เป็นปูนขาวชนิด
ที่มีความเป็นด่างสูง
มีฤทธิ์ กัดกร่อน
เกิดความร้อนสูงเมื่อสัมผัสน้ำ
ออกฤทธิ์เร็วมาก
 
ไม่เหมาะ  กับการปรับปรุงสภาพน้ำ หรือคุม pH ระหว่างการเลี้ยง/
บ่อที่มีสัตว์น้ำอยู่
เพราะทำให้ pH ขึ้นเร็ว ลงเร็วมาก

ไม่มีผลในการควบคุม pH 
และอัลคาไลน์
ในบ่อให้นิ่งๆ นาน

    ช่วงเตรียมบ่อ ใช้ 100  กิโลกรัม ต่อไร่
        ไม่เหมาะ...กับการปรับปรุงสภาพน้ำ หรือคุม pH ระหว่างการเลี้ยง/บ่อที่สัตว์น้ำอยู่ เพราะ ทำให้ pH ขึ้นเร็ว ลงเร็วมาก ไม่มีผลในการควบคุม pH และอัลคาไลน์ ในบ่อให้นิ่งๆ นาน
                  ...สัตว์น้ำ เป็นสัตว์เลือดเย็นไม่ชอบปรับตัวกับสภาพแวดล้อมที่แปรปรวนรวดเร็ว กรณีที่ pH ขึ้นเร็ว ลงเร็ว จึงเป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำ

 

 

การจัดการบ่อระหว่างการเลี้ยงสัตว์น้ำ

     "การใช้ปูน คาร์บอเนต เพื่อปรับปรุง ควบคุม คุณภาพน้ำระหว่างการเลี้ยง" เพราะอะไรเราจึงต้องสาดปูน ปรับปรุงสภาพน้ำในเวลากลางคืน

      เราเลือกใช้ ชนิด ปูนขาวประเภท  CaCO3 (ปูนมาร์ล) หรือ MgCa(CO3)2 (ปูนโดโลไมล์)
      สำหรับการเลี้ยงทั่วๆ ไป ระหว่างการเลี้ยง สาดปูนในอัตรา 15-20 กก. ต่อไร่ หรือ 25-30 กก. ต่อไร่ ถ้า pH ต่ำมาก สาดปูนเมื่อปลามีขนาด 100-300 กรัม ทุกๆ 1-2 สัปดาห์

   
     
โดยผสมน้ำ กวนให้เข้ากัน รอ 10-15 นาที แล้วสาดทั่วบ่อในเวลากลางคืน

      => เวลากลางคืน <=   เมื่อสาดปูนแล้วจะ เกิดอะไรขึ้นในเวลากลางคืน 

  
             เวลากลางคืนแพลงก์ตอนพืชจะคายก๊าช คาร์บอนไดออกไซด์ CO2 
                เมื่อ CO3=  จากปูนขาว  + CO2 จากน้ำในบ่อตอนกลางคืน 
                   + H2O น้ำ ? จะได้ด่างในรูปนี้ที่เราต้องการ  HCO3 -  
              =>>>> HCO3-  นี่เองค่ะ ที่ช่วยป้องกันการเปลี่ยนแปลงของ pH

 

ประโยชน์ที่ได้รับเมื่อสาดปูน

      1. เพิ่มความเป็นด่างให้กับน้ำ เพื่อป้องกันการเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำ โดยเฉพาะค่า พีเอช ในรอบวัน เหมาะสำหรับเพิ่ม pH ให้กับบ่อที่มีสภาพเป็นกรด เพราะปูนกลุ่มคาร์บอเนตดังกล่าวจะควบคุม ค่า pH ได้นิ่งและนานกว่าปูนชนิดอื่นๆ ที่มีองค์ประกอบเคมีแตกต่างออกไป 
      2. ป้องกันการตายของแพลงก์ตอน โดยเฉพาะช่วงฟ้าครึ้มหรือฝนตกฟ้าปิดติดต่อกันหลายวัน หรือช่วงรอยต่อของฤดูกาล 
      3. เพิ่มแร่ธาตุในการสร้างเกล็ด และ กระดูก ของสัตว์น้ำ 

 

ถามว่าถ้าเราไม่จัดการ จะเกิดอะไรขึ้น 

      เมื่อคุณภาพน้ำเสียสมดุล pH จะขึ้นๆลงๆ ขึ้นลงๆๆ สัตว์น้ำจะเครียด ไม่กินอาหาร บ่อเกิดการย่อยสลายช้า มีอินทรีย์สารเหลือเยอะ บลูกรีนแอลจี้ หรือสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน เกิดมากแบบผิดปกติ น้ำหนืด คุณภาพน้ำแย่ลง เพราะออกซิเจนลดลง สัตว์น้ำเครียด อ่อนแอ เกิดโรคง่าย โตช้า

 

ดังนั้นเกษตรกรควรมีความรู้ในการจัดการ 3 ข้อหลักๆ ดังนี้

            1. รู้ว่าเมื่อไรควรใช้ปูน เมื่อสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงฝนตกฟ้าปิด รอยต่อของฤดูกาล 
            2. ชนิดปูนที่ควรใช้ เพื่อให้ได้ด่างในรูปที่เราต้องการ เพื่อประสิทธิภาพในการปรับสภาพน้ำในบ่อ ประเภทปูนคาร์บอเนต ปูนมาร์ล หรือ ปูนโดโลไมด์ แต่จะใช้ชนิดใดควรพิจารณาสีน้ำเป็นหลัก เพราะสีน้ำบ่งบอกว่า สิ่งที่อยู่ในน้ำแตกต่างกัน
                แต่ถ้าในกรณีสีน้ำเขียวเข้มไม่ควรใส่โดโลไมด์ MgCa(CO3)2 เพราะแพลงก์ตอนจะใช้ Mg ในการเจริญเติบโต โดยจะไปเร่งให้กลุ่ม bluegreen algae จริญเติบโตบลูมเพิ่มขึ้น และดรอปเร็วขึ้น พาให้ออกซิเจนดรอปตามไปด้วย แต่ถ้ากรณีที่น้ำสีอ่อนๆ เราสามารถใช้ปูนโดโลไมด์ได้ค่ะ
กรณีน้ำสีเขียวเข้มจึงเลือกใช้ปูนมาร์ลจะเหมาะสมที่สุด

           3. เวลาที่ปูนทำงานดีที่สุดคือเวลากลางคืน 
               นำปูนมาละลายกับน้ำ กวนให้เข้ากัน รอเวลาสักครู่ ประมาณ 15 นาที เพื่อให้ ความร้อนที่เกิดจากปูนทำปฏิกิริยากับน้ำหมดไปก่อน และปูนละลายอย่างดีก่อน จึงค่อยนำไปสาดทั่วๆ บ่อ

 

 

สื่อ Youtube :  Sivakorn Channel

       หว่านปูนขาวลงบ่อเลี้ยงปลาเพื่ออะไร? มีคำตอบให้ครับ
       แชร์สูตรเด็ด! แก้ปัญหาน้ำเน่าเสียในบ่อเลี้ยงปลา คืนสภาพน้ำให้ใสแจ๋ว ปลาโตไว! ไร้สารเคมี

            แก้ปัญหาน้ำเน่าเสียในบ่อเลี้ยงปลา ทำให้ปลาโตไว กินอาหารได้มาก และยังแก้ปัญหาน้ำขุ่นให้ตกตะกอนใสแบบไร้สารเคมีได้อีกด้วย ง่ายๆครับเพียงใช้ปูนขาวหว่านลงบ่อเลี้ยงปลา อัตราส่วนโดยประมาณก็คือ 20-25 กก./ปริมาตรบ่อขนาด 1 ไร่ ปูนขาวจะช่วยปรับสภาพน้ำที่มีความเป็นกรดจากฝนตกหรือมีเศษซากพืชทีเน่าเสียในหนองน้ำในสระน้ำให้มีความเป็นกลางหรือด่างนิดๆ ซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมที่เหมาะในการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิตทั้งที่มีขนาดเล็กและมีขนาดใหญ่ที่อาศัยอยู่ในน้ำ ทำให้ปลาที่เราเลี้ยงสดใส ร่าเริง กินอาหารได้มาก ลดปัญหาน้ำเน่าน้ำเสียและช่วยลดความเป็นกรดของน้ำในสระเราได้จึงทำให้ปลาโตไวนั่นเองครับ

ปูนขาวก็คืออะไร? หลายคนอาจสงสัย
           ปูนขาว เป็นวัสดุที่ได้จากการเผาหินปูนด้วยกรรมวิธีที่มีความร้อนสูง ก็จะได้เป็นปูนสุก เมื่อทำปฏิกิริยากับน้ำก็จะได้เป็นผงปูนขาวที่ใช้ในทางการเกษตรที่มีชื่อว่า แคลเซียมไฮดรอกไซด์ นั่นเองครับ

คุณสมบัติหลักๆของปูนขาวมี 4 อย่างคือ
          1. มีความเป็นด่างสูงกว่าวัสดุปูนทางการเกษตรทุกชนิด
          2. ช่วยปรับค่า PH หรือค่ากรด-ด่างของดิน (ช่วยลดความเป็นกรดของดิน)
          3. ป้องกันโรคพืช เพลี้ย มด และแมลงศัตรูพืชในทางอ้อมได้
          4. ทำให้น้ำตกตะกอนในในเวลาอันรวดเร็ว

 

  •   หน่วยงาน: สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี
  •   ประกาศวันที่: 2024-05-08
  •   ประกาศสิ้นสุดเเล้วเมื่อวันที่: 2024-05-08 
  •   Hits
  • ภารกิจประจำวันที่ 10 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  ภารกิจประจำวันที่ 10 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 48  ภารกิจประจำวันที่ 27 มกราคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 27 มกราคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 24 ภารกิจประจำวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 24 ภารกิจประจำวันที่ 23 มกราคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 23 มกราคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 22 ภารกิจประจำวันที่ 31 มกราคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 31 มกราคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 21 ภารกิจประจำวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 20 ภารกิจประจำวันที่ 8 เมษายน 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 8 เมษายน 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 17 ภารกิจประจำวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 16 ภารกิจประจำวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 15 ภารกิจประจำวันที่ 5 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 5 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 15 ภารกิจประจำวันที่ 25 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   ภารกิจประจำวันที่ 25 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 15 ภารกิจประจำวันที่ 16 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี     ภารกิจประจำวันที่ 16 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 14 ภารกิจประจำวันที่ 7 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 7 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 14 ภารกิจประจำวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  ภารกิจประจำวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 14 ภารกิจประจำวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  ภารกิจประจำวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 13

    สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี

    รายละเอียด สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี SARABURI PROVINCIAL FISHERIES OFFICE ที่ตั้ง : 123 หมู่ 6 ศาลากลางจังหวัดสระบุรี สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี (ชั้น 2)            ตำบลตะกุด อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี 18000           123 Moo 6, Saraburi Provincial Hall, Saraburi Provincial Fisheries Office (2nd floor)            Takud Sub-district, Mueang Saraburi District, Saraburi, 18000 การเดินทางสาธารณะ : รถสองแถวสาย 9 (10 บาทตลอดสาย)                                       โดยจุดจอดรถสองแถวเริ่มต้นที่ บขส.สระบุรี สิ้นสุดที่ ศูนย์ราชการจังหวัดสระบุรี  Social Network     : fpo_saraburi@fisheries.go.th  LINEID : fposaraburi QR Code Line    ผู้ดูแลเว็บไซต์ : นางสาวพรศิริ โพธาราม   เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล  email  fpo_saraburi@fisheries.go.th  โทรศัพท์ 0 3634 0742  FAX 0 3634 0742  แฟนเพจ แฟนเพจ
    CreativeCommons Valid CSS! Explanation of WCAG 2.1 Level Triple-AA Conformance SSL Labs ipv6