บ่อปลา กลางแจ้ง ต้องเจอภาวะน้ำเขียว

 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี




บ่อปลา กลางแจ้ง ต้องเจอภาวะน้ำเขียว

บ่อปลา "กลางแจ้ง" ต้องเจอภาวะน้ำเขียว


หลักการ

       เมื่อน้ำมีอาหารพืช คือ ปุ๋ยไนโตเจนในรูปของแอมโมเนียและไนไตท์ บวกกับมีแสงแดด ก็เกิดพืชน้ำโดยธรรมชาติ คือ สาหร่ายเซลล์เดียวจะใช้แสงแดดเป็นส่วนสังเคราะห์อาหาร #ถ้ามีแอมโมเนียและไนไตท์มากบวกกับมีแสงแดดก็จะเกิดสาหร่ายเซลล์เดียวแขวนลอยอยู่ในน้ำทำให้น้ำเขียว

      การทำความสะอาดน้ำ ด้วยการทำงานแบบไบโอฟิลเตอร์ ก็คือการใช้จุลินทรีย์ในธรรมชาติเติมเข้าไป เปลี่ยนแอมโมเนียและไนไตท์ให้เป็นสารไนเตรท น้ำก็จะสะอาด ปลาสามารถมีชีวิตอยู่ได้ สารไนเตรทที่อยู่ในบ่อปลาจะถูกสาหร่ายหลายเซลล์ที่เกาะอยู่ตามผนังบ่อและพื้นบ่อใช้ประโยชน์ ส่วนสาหร่ายเซลเดียวสามารถใช้ไนเตรทได้เหมือนพืชหลายเซลเหมือนกันแต่ไม่ดีเท่า ปลาก็จะกินตะไคร่น้ำรอบบ่อ/พื้นบ่อ ต่อไปจนครบวงจรน้ำก็จะใส อ้างอิง: http://www.waterprogarden.com/article/10041/การแก้ไขน้ำเขียวในบ่อปลาคาร์พ

ข้อดีและข้อเสียของน้ำเขียว

ข้อดี ข้อเสีย

 

   - น้ำที่เปี่ยมไปด้วยออกซิเจน ในระหว่างการ Photosynthesis ของพืช คาร์บอนไดออกไซด์และแอมโมเนีย จะถูกใช้ไป ออกซิเจนจะถูกผลิตออกมาแทนที่ปลาที่ได้รับ ออกซิเจน ในปริมาณที่มากจะเจริญอาหาร โตเร็วและแข็งแรง ผลพลอยได้ก็คือพัฒนาการที่ดีของทั้งรูปร่าง
 
   - น้ำที่ปราศจากของเสีย Nitrite และ Nitrate ซึ่งเป็นพิษสำหรับปลา จะถูกกำจัดออกไปในกระบวนการ Photosynthesis 
 
   - ระบบกรองแบบธรรมชาติที่ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ น้ำเขียวสามารถถูกนำมาใช้แทนที่ระบบกรองที่ต้องลงทุนทั้งเม็ดเงินและเวลาในการดูแลรักษา
 
   - ช่วยให้สภาพของน้ำไม่แปรปรวน คุณสมบัติที่ดีอีกอย่างของน้ำเขียว คือสามารถทำให้ไม่เกิดการแกว่งตัวอย่างเฉียบพลัน ของค่า pH ในน้ำ และเมื่อเปรียบเทียบกับน้ำใส น้ำเขียวจะมีการปรับตัวของอุณหภูมิที่ช้ากว่าเมื่อต้องเจอกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของอุณหภูมิโดยรอบ
 
   - เป็นแหล่งอาหารชั้นยอด น้ำเขียวมีสัดส่วนของโปรตีน ในจำนวนมาก เและยังมี Carotene ที่เป็นสารเร่งสีแบบธรรมชาติสำหรับปลาทองอีกด้วยเพราะฉะนั้นเราจะเห็นชาวญี่ปุ่นนิยมที่จะเตรียมน้ำเขียวก่อนเข้าฤดูหนาวไว้ใช้เลี้ยงปลาช่วงฤดูหนาว เพราะช่วงฤดูหนาวปลาจะจำศีลและจะไม่มีการให้อาหารหรือเปลี่ยนน้ำเด็ดขาด น้ำเขียวจึงเป็นแหล่งอาหารที่ดี และยังช่วยคงสภาพน้ำในช่วงที่สภาพอากาศเลวร้ายอีกด้วย
 
   - ช่วยลดความเครียดให้กับปลา ทุกท่านอาจเคยได้ยินว่าเวลาปลาป่วยให้ใส่ยาและปิดบ่อ เพื่อลดความเครียดของปลา น้ำเขียวก็สามารถทำหน้าที่ได้เหมือนกับการปิดบ่อ เพราะปลาจะมองเห็นแต่สีเขียวและจะไม่แตกตื่นง่ายต่อการเคลื่อนใหวของสิ่งต่างๆรอบข้าง

   - การขาดออกซิเจน ในขณะที่ตอนกลางวัน น้ำเขียวจะปล่อย ออกซิเจน ออกมาจำนวนมากและช่วยให้ปลาสดชื่นและเจริญอาหาร แต่ในตอนกลางคืนน้ำเขียวจะแย่ง ออกซิเจน และอาจทำให้เกิดการขาดออกซิเจน ได้แต่โดยรวมแล้ว ปลามักจะมีการเคลื่อนไหวน้อยและกินอาหารน้อยอยู่แล้วจึงไม่ต้องใช้ ออกซิเจน มากเท่าตอนกลางวัน แต่เพื่อความปลอดภัย การเติมอากาศให้เพียงพอจึงเป็นเรื่องสำคัญในตอนกลางคืน (การติดตั้งระบบบ่อกรอง น้ำตก น้ำพุ หรือหัวเจ็ต จะช่วยเพิ่มการไหลเวียนของน้ำและเพิ่มออกซิเจน ซึ่งช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของตะไคร่น้ำได้)

 
   - แผลเป็นที่เกิดจากออกซิเจน บางท่านอาจจะเคยพบว่าเกิดฟองอากาศขึ้นตามครีบและหางบนตัวปลา เมื่อพยายามเขี่ยก็ไม่ออก สาเหตุของอาการดังกล่าวเกิดจากออกซิเจนที่ถูกผลิตออกมาในจำนวนมากโดยน้ำเขียวและได้เกิดการรวมตัวเป็นจำนวนมากในครีบหรือหางของปลาและเกิดภาวะระเบิดออกจากแรงอัดอากาศ ทำให้เกิดแผลเป็นขึ้น
 
   - มองไม่เห็นปลา นี่คงเป็นข้อเสียข้อสำคัญสำหรับนักเลี้ยง เพราะทุกท่านเลี้ยงปลาเพื่อผ่อนคลายเวลาชมปลาตัวโปรดของเราว่ายน้ำ นอกจากจะไม่ได้ชื่นชมปลาตัวโปรดแล้ว การมองไม่เห็นปลาที่เราเลี้ยงก็มีความเสี่ยงในการรักษาปลาที่เป็นโรค หากพบอาการป่วยของปลาช้าเกินไป

 

 

 

 

 

 

 

 

เพิ่มเติม : 

พืชน้ำ โดยมักวางในตำแหน่งที่โดนแสงแดดจัด เพื่อลดอุณหภูมิและให้ร่มเงา นอกจากนี้พืชน้ำยังมีประโยชน์ต่อสัตว์น้ำที่เลี้ยงไว้ เนื่องจากเป็นทั้งแหล่งอาหาร ที่วางไข่และ ที่หลบซ่อน อีกทั้งยังสามารถผลิตออกซิเจนให้แก่แหล่งน้ำ พร้อมทั้งดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ทำให้น้ำอยู่ในสภาพสมดุล

  •   หน่วยงาน: สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี
  •   ประกาศวันที่: 2024-05-02
  •   ประกาศสิ้นสุดเเล้วเมื่อวันที่: 2024-05-02 
  •   Hits
  • ภารกิจประจำวันที่ 10 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  ภารกิจประจำวันที่ 10 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 52  ภารกิจประจำวันที่ 27 มกราคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 27 มกราคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 29 ภารกิจประจำวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 28 ภารกิจประจำวันที่ 31 มกราคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 31 มกราคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 25 ภารกิจประจำวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 25 ภารกิจประจำวันที่ 8 เมษายน 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 8 เมษายน 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 22 ภารกิจประจำวันที่ 25 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   ภารกิจประจำวันที่ 25 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 21 ภารกิจประจำวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 21 ภารกิจประจำวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 20 ภารกิจประจำวันที่ 5 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 5 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 19 ภารกิจประจำวันที่ 7 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 7 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 19 ภารกิจประจำวันที่ 16 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี     ภารกิจประจำวันที่ 16 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 18 ภารกิจประจำวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  ภารกิจประจำวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 18 ภารกิจประจำวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  ภารกิจประจำวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 17 ภารกิจประจำวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 17

    สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี

    รายละเอียด สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี SARABURI PROVINCIAL FISHERIES OFFICE ที่ตั้ง : 123 หมู่ 6 ศาลากลางจังหวัดสระบุรี สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี (ชั้น 2)            ตำบลตะกุด อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี 18000           123 Moo 6, Saraburi Provincial Hall, Saraburi Provincial Fisheries Office (2nd floor)            Takud Sub-district, Mueang Saraburi District, Saraburi, 18000 การเดินทางสาธารณะ : รถสองแถวสาย 9 (10 บาทตลอดสาย)                                       โดยจุดจอดรถสองแถวเริ่มต้นที่ บขส.สระบุรี สิ้นสุดที่ ศูนย์ราชการจังหวัดสระบุรี  Social Network     : fpo_saraburi@fisheries.go.th  LINEID : fposaraburi QR Code Line    ผู้ดูแลเว็บไซต์ : นางสาวพรศิริ โพธาราม   เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล  email  fpo_saraburi@fisheries.go.th  โทรศัพท์ 0 3634 0742  FAX 0 3634 0742  แฟนเพจ แฟนเพจ
    CreativeCommons Valid CSS! Explanation of WCAG 2.1 Level Triple-AA Conformance SSL Labs ipv6