Infographic สร้างสิ่งเรียนรู้เพื่อเกษตรกร... การสร้างสูตรอาหาร (Feed Formulation) 

 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี




Infographic สร้างสิ่งเรียนรู้เพื่อเกษตรกร... การสร้างสูตรอาหาร (Feed Formulation) 

#Infographic สร้างสิ่งเรียนรู้เพื่อเกษตรกร... การสร้างสูตรอาหาร (Feed Formulation) 

    อาหารสัตว์น้ำโดยทั่วไปมีส่วนผสมของวัสดุอาหารตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป เพราะไม่มีวัสดุอาหารใดที่มีโภชนาการครบถ้วน การสร้างสูตรอาหาร คือการหาส่วนผสมของอาหารที่ให้โภชนาการ ซึ่งมีสารอาหารสำคัญที่มีความจําเป็นต่อสัตว์น้ำ ได้แก่ คาร์โบไฮเดรตเป็นแหล่งให้พลังงานแก่สิ่งมีชีวิต โปรตีนเพื่อไปสร้างการเจริญเติบโต ลิปิดหรือไขมัน วิตามิน และแร่ธาตุ และอาหารสัตว์น้ำมีประโยชน์หรือไม่ขึ้นอยู่กับความสามารถในการย่อย และดูดซึมนําไปใช้ประโยชน์ของสัตว์น้ำหรือปลา โดยมีปัจจัยหลายๆ อย่างที่มีผลต่ออัตรา การย่อยอาหาร (Digestion) ดังนี้

     1. ชนิดของสัตว์น้ำ มีความแตกต่างในระบบทางเดินอาหาร ทำให้ปลาหรือสัตว์น้ำย่อยอาหารแต่ละชนิดได้ไม่เท่ากัน เช่น ปลาที่มีกระเพาะสามารถย่อยฟอสฟอรัสในกระดูกป่นได้แต่ปลาในวงศ์ Cyprinidae ไม่มีกระเพาะที่แท้จริง ไม่สามารถย่อย นกระดูกป่นได้
     2. อายุของสัตว์น้ำ สัตว์น้ำหรือปลาที่อายุน้อยระบบการย่อยอาหารยังไม่พัฒนาอย่างเต็มที่ทำให้ประสิทธิภาพในการย่อย สารอาหาร เช่น โปรตีน และแป้ง ได้น้อยกว่าปลาที่โตแล้ว
     3. ความเครียด ที่เกิดจากหลายสาเหตุ ได้แก่ โรค สิ่งแวดล้อม มีผลทําให้การย่อยอาหารผิดปกติ เช่น การขนย้ายปลา ทำให้ปลาไม่กินอาหาร และขับถ่ายมากผิดปกติ
     4. อุณหภูมิ ปลาเป็นสัตว์เลือดเย็น อุณหภูมิร่างกายจึงเปลี่ยนแปลงไปตามอุณหภูมิน้ำที่อาศัยอยู่ เมื่อน้ำมีอุณหภูมิสูงขึ้น ปลากินอาหารได้มาก เพราะระบบย่อยอาหารทำงานเร็วขึ้น มีน้ำย่อยออกมามาก และน้ำย่อยมีประสิทธิภาพมากขึ้น ปลากินอาหารในฤดูร้อนได้ดีกว่าในฤดูหนาว 
     5. องค์ประกอบของอาหาร ถือเป็นปัจจัยที่สำคัญ เพราะเกษตรกรหรือผู้ผลิตอาหารสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการย่อยได้สูงขึ้นได้ ดังนี้
        5.1 ชนิดวัตถุดิบ โดยทั่วไปสัตว์น้ำสามารถย่อยวัตถุดิบที่มาจากกสัตว์ได้ดีกว่าพืช เนื่องจากพืชมีผนังเซลล์ที่ทั้งหนาและแข็งแรงกว่าสัตว์ ทำให้ยากต่อการย่อยทำให้ไม่สามารถดึงสารอาหารนั้นๆ ออกมาใช้ประโยชน์ได้
        5.2 ขนาดวัตถุดิบ ปลาย่อยวัตถุดิบขนาดเล็กที่บดละเอียดได้ดีกว่าวัตถุขนาดใหญ่หรือหยาบ เพราะน้ำย่อยสามารถเข้าได้ทั่วถึงวัสดุขนาดเล็กได้มากกว่าวัสดุขนาดใหญ่
        5.3 ความสุกของวัตถุดิบ โดยเฉพาะแป้งถ้าทำให้สุกโดยการนึ่งหรือต้มมีประโยชน์กับปลามากกว่าแป้งดิบ เพราะแป้งดิบไปจับตัวทางเคมีกับน้ำย่อยในทางเดินอาหาร ทำให้น้ำย่อยมีประสิทธิภาพลดลง
        5.4 ปริมาณแป้งในอาหาร ปลามีน้ำย่อยแป้งได้ปริมาณจำกัด หากมีแป้งมากเกินความสามารถของน้ำย่อย ส่งผลให้ประสิทธิภาพการย่อยแป้งลดลง และยังทำให้ปลาย่อยโปรตีนได้น้อยลงอีกด้วย เนื่องจากแป้งที่ไม่ถูกย่อยสามารถเคลื่อนที่ผ่านทางเดินอาหารได้อย่างรวดเร็วพร้อมกับนำโปรตีนบางส่วนออกตามไปด้วย

ที่มา : การสร้างสตรอาหารสัตว์น้ำและสูตรอาหารสัตว์น้ำเศรษฐกิจ ; Tanaporn Chittapalapong,Central Administrative Office, Department of Fisheries, 2014

 

 

#Infographic สร้างสิ่งเรียนรู้เพื่อเกษตรกร...อาหารธรรมชาติ  

อาหารสัตว์น้ำแบ่งได้เป็น 2 ชนิด ได้แก่ อาหารที่ผลิต และอาหารธรรมชาติ โดยอาหารธรรมชาติเกิดขึ้นเองในแหล่งน้ำธรรมชาติ ได้แก่ แพลงก์ตอน แพลงก์ตอนสัตว์น้ำ สัตว์หน้าดิน ตัวอ่อนแมลง ไส้เดือนน้ำ สัตว์เกาะติด พรรณไม้น้ำ กุ้ง และปลา ปัจจุบันมีอาหารธรรมชาติ หลายชนิด ที่สามารถผลิตได้ และนำมาใช้อนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อน ทำให้มีอัตรารอดตายสูง เพราะอาหารธรรมชาติมีคุณค่าทางโภชนาการสูง แบ่งได้ดังนี้

#แพลงก์ตอนพืช
  1. Chaetoceros spp เป็นสาหร่ายจำพวก Diatom 
      โปรตีน 36.1%  คาร์โบไฮเดรต 49.2% ไขมัน 20.7%
  2. Chlorella spp. เป็นสาหร่ายสีเขียว
      โปรตีนสูงถึง 51-58%  คาร์โบไฮเดรต 12-17%  ไขมัน 14-22%
  3. Spirulina spp. หรือสาหร่ายเกลียวทอง เป็นสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน ผนังเซลล์บาง
      โปรตีนสูงถึง 63% คาร์โบไฮเดรต 18% ไขมัน 5% เถ้า 9% ความชื้น 5%
      กรดอะมิโนที่จำเป็นทุกชนิด วิตามิน และแร่ธาตุ และยังมีรงควัตถุหรือสารสี
      #ใช้ในอาหารผสมเลี้ยงลูกปลาวัยอ่อน #และเลี้ยงปลาสวยงาม

#แพลงก์ตอนสัตว์
  1. โรติเฟอร์ ที่สามารถนำมาเพาะเลี้ยงได้ในปริมาณมาก คือ Brachionus plicatilis Muller,1786 อยู่ใน Phylum Rotifera
      โปรตีน 60.48-65.03%  ไขมัน 8.35-14.90% และเถ้า 14.93-18.12% 
      #นำมาเลี้ยงลูกกุ้งทะเลระยะ Mysis ทดแทนไรน้ำเค็ม หรือ Artemia #และยังเป็นอาหารลูกปลากะพงขาว ปลากะรัง และปลากะพงแดง

  2. ไรแดง ที่สามารถนำมาเพาะเลี้ยงได้ในปริมาณมาก คือ Moina macrocopa(Straus, 1820) อยู่ใน Phylum Arthropoda อันดับ Cladocera มีฝา (value) หุ้ม 2 ฝาแต่ปิดไม่สนิท
      โปรตีนสูง 74.09% คาร์โบไฮเดรต 12.5% ไขมัน 10.19% และเถ้า 3.47% 
      #นำมาอนุบาลลูกปลาน้ำจืด #และเลี้ยงปลาสวยงาม

ที่มา : การสร้างสตรอาหารสัตว์น้ำและสูตรอาหารสัตว์น้ำเศรษฐกิจ ; Tanaporn Chittapalapong,Central Administrative Office, Department of Fisheries, 2014

  •   หน่วยงาน: สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี
  •   ประกาศวันที่: 2024-03-20
  •   ประกาศสิ้นสุดเเล้วเมื่อวันที่: 2024-03-20 
  •   Hits
  • ภารกิจประจำวันที่ 10 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  ภารกิจประจำวันที่ 10 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 51  ภารกิจประจำวันที่ 27 มกราคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 27 มกราคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 26 ภารกิจประจำวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 26 ภารกิจประจำวันที่ 31 มกราคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 31 มกราคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 23 ภารกิจประจำวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 22 ภารกิจประจำวันที่ 8 เมษายน 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 8 เมษายน 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 20 ภารกิจประจำวันที่ 25 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   ภารกิจประจำวันที่ 25 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 19 ภารกิจประจำวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 18 ภารกิจประจำวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 17 ภารกิจประจำวันที่ 5 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 5 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 17 ภารกิจประจำวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  ภารกิจประจำวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 16 ภารกิจประจำวันที่ 7 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 7 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 16 ภารกิจประจำวันที่ 16 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี     ภารกิจประจำวันที่ 16 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 16 ภารกิจประจำวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 16 ภารกิจประจำวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  ภารกิจประจำวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 15

    สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี

    รายละเอียด สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี SARABURI PROVINCIAL FISHERIES OFFICE ที่ตั้ง : 123 หมู่ 6 ศาลากลางจังหวัดสระบุรี สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี (ชั้น 2)            ตำบลตะกุด อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี 18000           123 Moo 6, Saraburi Provincial Hall, Saraburi Provincial Fisheries Office (2nd floor)            Takud Sub-district, Mueang Saraburi District, Saraburi, 18000 การเดินทางสาธารณะ : รถสองแถวสาย 9 (10 บาทตลอดสาย)                                       โดยจุดจอดรถสองแถวเริ่มต้นที่ บขส.สระบุรี สิ้นสุดที่ ศูนย์ราชการจังหวัดสระบุรี  Social Network     : fpo_saraburi@fisheries.go.th  LINEID : fposaraburi QR Code Line    ผู้ดูแลเว็บไซต์ : นางสาวพรศิริ โพธาราม   เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล  email  fpo_saraburi@fisheries.go.th  โทรศัพท์ 0 3634 0742  FAX 0 3634 0742  แฟนเพจ แฟนเพจ
    CreativeCommons Valid CSS! Explanation of WCAG 2.1 Level Triple-AA Conformance SSL Labs ipv6