อาหารในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี




อาหารในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

อาหารสัตว์น้ำกับแนวทางการลดต้นทุน

บทนำ
           
ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ค่าอาหารเป็นต้นทุนส่วนใหญ่ของการเลี้ยง และเป็นปัญหาหลักที่จะส่งผลถึงสาเหตุอื่นตามมา ได้แก่ ปลามีการเจริญเติบโตช้า ได้ผลผลิตต่อบ่อต่อไร่น้อย ซึ่งเป็นผลการเลือกใช้อาหารที่มีโปรตีน หรือสารอาหารไม่เพียงพอมีการเจริญเติบโตช้า ใช้ระยะเวลาในการเลี้ยงนานขึ้น หรือพื้นบ่อเน่าเสียเนื่องจากทำอาหารใช้เองโดยไม่มีการใช้สารเหนียวทำให้อาหารละลายน้ำไปก่อนปลาจะกินหรือมีการจัดการการเลี้ยงไม่เหมาะสม เช่น วิธีการให้อาหารทำให้ปลาไม่ได้กิน ส่งผลให้เกษตรกรหรือผู้เลี้ยงปลาเสี่ยงที่จะขาดทุน หรือได้กำไรน้อย ซึ่งสาเหตุที่กล่าวมาสามารถแก้ไขปัญหาปรับปรุงได้ซึ่งจะสามารถช่วยลดโอกาสการเกิดปัญหาพื้นบ่อเน่าเสีย การขาดทุนเนื่องจากอาหารละลายน้ำ หรือให้อาหารมากเกินไป รวมทั้งลดต้นทุนค่าอาหารได้ เช่น การส่งเสริมให้เกิดอาหารธรรมชาติในบ่อ การเลี้ยงปลาหลายชนิดร่วมกันเพื่อให้มีการใช้บ่อก็จะสามารถลดต้นทุนและได้กำไรจากการเลี้ยงมากขึ้น

แนวทางในการลดต้นทุนค่าอาหาร : 
1. การเลือกใช้อหารที่เหมาะสมกับชนิดและอายุของสัตว์น้ำ เพื่อให้ปลาหรือสัตว์น้ำมีการเจริญเติบโตได้ดี
      * ระดับโปรตีน โดยปกติลูกปลาวัยอ่อน หรือปลาที่มีขนาดเล็ก จะต้องการอาหารที่มีโปรตีนสูงประมาณ 40-50% และย่อยดูดซิมได้ง่าย ถ้าใช้อาหารที่มีโปรตีนต่ำจะทำให้ปลามีการเจริญเติบโตช้า เปลืองอาหารและใช้เวลาเลี้ยงนาน เช่น 
         ลูกปลาขนาด 5-10 กรัม -> ขนาด 60-80 กรัม
            : ถ้าใช้อาหารโปรตีน 35% ระยะเวลาเลี้ยง 2 เดือน
            : ถ้าใช้อาหารโปรตีน 15-20% ระยะเวลาเลี้ยง 4 เดือน
      * ขนาดของอาหาร ควรมีขนาดเล็กกว่าขนาดปากปลา เพื่อลดการสูญเสียจากสารอาหารที่ใช้เพื่อเจริญเติบโต
         : เม็ดอาหารมีขนาดใหญ่ ปลากินไม่ได้ ต้องรอให้ซึมน้ำนุ่มลง จึงกัดแทะกิน
         : เม็ดอาหารมีขนาดเล็กมาก หรือเล็กเกินไป ทำให้ปลาต้องว่ายน้ำนานเพื่อกินอาหารจึงสูญเสียพลักงานบางส่วนไปจึงเหลือพลังงานเพื่อใช้เจริญเติบโตลดลง

2. การควบคุมปริมาณอาหารที่ให้ร่วมกับการตรวจสอบการเจริญเติบโต (ค่า FCR) 
        ค่าอัตราแลกเนื้อง หรือ FCR  = น้ำหนักอาหารที่ให้
                           น้ำหนักปลาที่เพิ่มขึ้น
      * ค่า FCR = 3 แสดงว่า ใช้อาหาร 3 กก. ทำให้ปลามีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 1 กก.
                (อาหารโปรตีน 15-20% กก.ละ 20 บาท ค่าอาหาร = 60 บาท)
      * ค่า FCR = 1.5 แสดงว่า ใช้อาหาร 2 กก. ทำให้ปลามีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 1 กก.
                (อาหารโปรตีน 25-30% กก.ละ 25 บาท ค่าอาหาร = 37.50 บาท)
      ดังนั้น ผู้เลี้ยงควรตรวจสอบความผิดปกติ หรือการเจริญเติบโตทุก 2-4 สัปดาห์ การที่ปลามีการเจริญเติบโตช้าเกิกจากสาเหตุใด เช่น อาหารละลายน้ำเร็ว หรืออาหารไม่มีกลิ่นหอมปลาป่น ปลาจึงกินแล้วพ่นคายออกมาทำให้ไม่ได้กินตามปริมาณที่ให้ หรือให้อาหารเหลือมากละลายน้ำทำให้เปลืองต้นทุนค่าอาหาร และควรมีการใช้ถาดใส่อาหารสำหรับอาหารชนิดเม็ดจมน้ำ หรืออาหารปั้นก้อน

3. การส่งเสริมให้เกิดอาหารธรรมชาติในบ่อ เป็นการลดต้นทุนค่าอาหารสำหรับการเลี้ยงปลากินพืช เช่น ปลาจีน ปลาสลิด และปลานิล และสามารถใช้ในการเตรียมบ่ออนุบาลลูกปลาได้ โดยการทำฟางหรือหญ้าหมักกับมูลสัตว์แห้ง (ไก่ เป็ด ห่าน หมู วัว)
                 ใช้อัตราของฟ้างแห้ง : มูลสัตว์แห้ง = 1 : 1 (หรือ 2 : 1 สำหรับหญ้าสด) ใส่ใน อัตรา 100-150 กก./ ไร่/เดือน โดยแบ่งเป็นกองรอบๆ มุมบ่อ วิธีการคือ นำหญ้า หรือฟางแห้งใส่ที่มุมบ่อหนาประมาณ 15-20 ซม. สลับชั้นกับมูลสัตว์เป็นชั้นๆ จนถึงผิวน้ำหรืออาจใช้ไม้รวกปักรอบๆ เพื่อป้องกันหญ้าหรือฟางลอยกระจายออกมาส่วนการเตรียมบ่ออนุบาลลูกปลา ให้ทำวิธีเดียวกันแต่ให้เตรียมบ่อใส่น้ำเพียง 30-50 ซม. ก่อนปล่อยปลา 3 วัน หากนานกว่านี้จะมีตัวแมลงศัตรูเจริญเติบโตก่อนลูกปลาและมากัดกินลูกปลาได้
                  การส่งเสริมอาหารธรรมชาติวิธีนี้ น้ำในบ่อจะเป็นสีน้ำตาลเนื่องจากจะเกิดแพลงค์ตอนสัตว์จำนวนมาก ได้แก่ พารามีเซียม โรติเฟอร์ ไรแดง หนองแดง และไส้เดือนน้ำจำนวนมาก รวมทั้งมีแบคทีเรียมาเพิ่มจำนวนเกาะที่ฟางแห้ง ซึ่งมีข้อดีกว่าการใส่มูลสัตว์หรือขี้ไก่แห้งโดยตรงในบ่อซึ่งจะทำให้น้ำเขียวเกิดแต่แพลงค์ตอนพืช มักพบปัญหาน้ำเขียวเกินและน้ำเน่าเสียทำให้ปลาขาดออกซิเจน

4. การจัดการเลี้ยงด้วยวิธีต่างๆ เช่น ปล่อยปลาไม่หนาแน่น การเลี้ยงปลาหลายชนิดรวมกันร่วมกับการส่งเสริมให้เกิดอาหารธรรมชาติเพื่อให้เกิดการใช้บ่อเลี้ยงอย่างมีประสิทธิภาพ และลดต้นทุนค่าอาหารได้ ดังนี้
      * การปล่อยปลาแบบไม่หนาแน่น เน้นส่งเสริมการเกิดอาหารธรรมชาติจะช่วยให้ปลามีอาหารเพียงพอ โดยไม่จำเป็นต้องให้อาหารมากนัก เช่น ให้อาหารเพียง 1% ของน้ำหนักตัววันละ 1 มื้อ หรือวันเว้นวันซึ่งจะสามารถลดต้นทุนค่าอาหารได้ประมาณ 50% แต่อาจต้องใช้การเลี้ยงนานกว่าการเลี้ยงแบบหนาแน่นหรือให้อาหารมาก

      * การเลี้ยงปลามากกว่า 1 ชนิดร่วมกัน ซึ่งเป็นปลาที่มีนิสัยการเลือกกินอาหารที่แตกต่างกันในลำดับชั้นของน้ำ จะไม่ส่งผลต่อการกินอาหารและได้น้ำหนักปลาอื่นเพิ่มเข้ามา 

 

ผลของอาหารที่มีผลต่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

บทนำ
         อาหารเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตและผลิตสัตว์น้ำ และเป็นต้นทุนส่วนใหญ่มากกว่า 60% ส่งผลให้เกษตรกรหรือผู้เลี้ยงปลามีความเสี่ยงที่จะขาดทุนหรือได้กำไรน้อย ซึ่งมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย ได้แก่ การเลือกใช้อาหารที่มีระดับโปรตีนไม่เหมาะสมกับชนิดหรืออายุของสัตว์น้ำที่เลี้ยง ส่งผลให้การเจริญเติบโตของสัตว์น้ำไม่ดี ใช้ระยะเวลาในการเลี้ยงนานขึ้น นอกจากนี้ปัจจัยจากคุณภาพอาหาร คุณภาพของโปรตีนที่มีโปรตีนจากพืชสูงมากสามารถส่งผลเสียต่อสุขภาพของปลา แหล่งของโปรตีนมาจากวัสดุที่ย่อยยาก เช่น ขนไก่ป่น หรืออาหารมีปริมาณสารอาหารที่ไม่เพียงพอได้แก่ค่าพลังงานในอาหาร ปริมาณของวิตามินซีที่ส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกันเนื่องจากขบวนการผลิตใช้ความร้อนสูง หรือเก็บรักษาอาหารไม่ดีอาหารหมดอายุ เป็นต้น ล้วนสามารถส่งผลต่อการกินอหารและการเจริญเติบโตของสัตว์น้ำ ดังนั้นผู้เลี้ยงสัตว์น้ำจึงควรคำนึงถึงปัจจัยดังกล่าวข้างต้นและควบคุมดูแลอย่างเหมาะสม

ปัญหาในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่เป็นผลจากอาหาร พบว่า ปลามีการเจริญเติบโตช้า ซึ่งสามารถเกิดจากสาเหตุต่างๆ ดังนี้
1. คุณภาพของโปรตีน
มีการใช้โปรตีนจากพืชทดแทนปลาป่นในปริมาณมากเกินสามารถส่งผลเสีย 2 ประการ คือ 
      * ทำให้เกิดการเสียสมดุลย์ของกรดอะมิโนในอาหาร หรือมีปริมาณไม่เพียงพอเหมาะสมกับความต้องการของปลา
      * ผลเสียต่อสุขภาพของปลา เนื่องจากโปรตีนจากพืชมีสารต้านโภชนาการ ที่ทำให้เกิดความผิดปกติของขบวนการต่างๆ ในร่างกาย เช่น ระบบการย่อยอาหาร ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ เป็นต้น

2. แหล่งของโปรตีน มาจากวัสดุที่ย่อยยาก ดูดซึมหรือใช้ประโยชน์ได้น้อย แม้ว่าจะมีโปรตีนสูง เช่น ขนไก่ป่น หนัง-ขนสัตว์ หัวกุ้ง เป็นต้น ส่งผลให้ปลาเจริญเติบโตช้า และขับส่วนที่ย่อยไม่ได้ออกมาเป็นของเสีย (มูลปลา) ออกสู่สิ่งแวดล้อมในปริมาณมาก

3. ปริมาณสารอาหารที่ไม่เพียงพอ ได้แก่ ค่าพลังงานในอาหาร ปริมาณของวิตามินซี เป็นต้น
      *  ปริมาณวิตามินในอาหารไม่เพียงพอ มีสาเหตุจาก
           > ขบวนการผลิตใช้ความร้อนสูง ทำให้ขาดวิตามินที่สำคัญต่อการเสริมระบบภูมิคุ้มกันในตัวปลา เช่น วิตามินซี
           > เก็บรักษาอาหารไม่ดี หรืออาหารหมดอายุ ทำให้อาหารเปลี่ยนสภาพ เช่น ทีนเกิดเชื้อรา ส่งผลให้ปลากินอาหารลดลง
      * ค่าพลังงานในอาหาร ต้องมีมากเพียงพอสำหรับดำรงชีวิตพื้นฐานก่อน (หายใจ ว่ายน้ำ ย่อยอาหาร) จึงนำมาใช้เพื่อการเจริญเติบโต

       : อาหารมีโปรตีน 32% พลังาน 360 กิโลคาลอรี/100 กรัม  ->> ปลาเจริญเติบโตดี
       : อาหารมีโปรตีน 25% พลังาน 350 กิโลคาลอรี/100 กรัม  ->> ปลาอ่อนแอ
               ไม่พอ/ดึงโปรตีน + พลังงาน แอโมเนีย (เป็นพิษ1) ติดเชื้อง่าย นำ้หนักลด
       : อาหารมีโปรตีนต่ำกว่าความต้องการ (25%) ดึงโปรตีน ->> แอมโมเนีย (เครียดน้ำหนัดลดโตช้า)
                    หรือมีโปรตีนสูงเกิน (45-50%) ขับโปรตีนออก  ->> แอมโมเนีย (เครียดน้ำหนัดลดโตช้า)
              และมีปัจจัยร่วมกับอาหารมีพลังงานต่ำ (ไม่เพียงพอ ดึงไขมัน/แป้ง +สารคีโตแอซิด (เป็นพิษ 2)   (เครียดน้ำหนัดลดโตช้า) 

4. คุณลักษณะของอาหาร ส่งผลให้ปลากินอาหารได้น้อย เช่นแข็งเกินไป หรือละลายน้ำเร็ว

5. การกินอาหารกับคุณภาพน้ำ ปัจจัยคุณสมบัติของน้ำสามารถส่งผลให้ปลากินอาหารได้น้อย และส่งผลให้ปลาอ่อนแอขาดสารอาหารที่สร้างภูมิต้านทานและติดเชื้อตายได้ ได้แก่
        ปริมาณออกซิเจน | อุณหภูมิของน้ำ     =>>>   ย่อยอาหาร   =>>> ไม่เพียงพอสูงหรือต่ำเกินไป 

         แอมโมเนียสูง | ค่าความเป็นกรด-ด่างของน้ำสูง-ต่ำเกินไป    =>>> ปลาจะเครียดไม่กินอาหาร อ่อนแอ ติดเชื้อ-ตาย
         อาหารเหลือ-พื้นที่บ่อเน่า

 

ปัญหาและข้อจำกัดในการผลิตอาหารสัตว์น้ำ

บทนำ
          เกษตรกรส่วนใหญ่มักประสบปัญหาขาดทุนจากการเลี้ยงสัตว์น้ำซึ่งเป็นผลเนื่องจากอาหารที่ใช้เลี้ยงมีราคาแพง หรืออาจเป็นผลจากการให้อาหารไม่มีประสิทธิภาพ เลือกใช้อหารไม่เหมาะสมกับชนิดและอายุสัตว์น้ำหรือคุณภาพอาหารไม่ดี เนื่องจากอหารหารเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตสัตว์น้ำ จึงมีเกษตรกรจำนวนมากต้องการผลิตอาหารสัตว์น้ำใช้เอง ซึ่งคาดว่าสามารถลดต้นทุนได้ อย่างไรก็ตามหากเกษตรกรขาดความรู้และความเข้าใจด้านอาหารสัตว์น้ำ โดยเฉพาะการเลือกใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพดีไม่มีการปลอมปน หรืออุปกรณ์เครื่องมือที่ใช้ในการผลิตอาหารสัตว์น้ำแต่ละชนิดมีข้อจำกัด และจะส่งผลให้ได้อาหารคุณภาพไม่ดี ซึ่งมีโอกาสขาดทุนได้ เช่นกัน อีกทั้งเกษตรกรควรมีการรวมกลุ่มกันผลิตอาหารหรือผลิตปริมาณมากจึงจะได้วัตถุดิบที่มีราคาถูก ดังนั้น เกษตรกรจึงควรคำนึงถึงปัจจัยดังกล่าวข้างต้นด้วยอย่างพอสังเขป

 

การทำอาหารสัตว์น้ำสำเร็จรูปแบบพื้นบ้าน

เกษตรกรผู้เลี้ยงปลาสามารถผลิตอาหารสัตว์น้ำสำเร็จรูปขึ้นใช้ได้ในรูปแบบของอาหารเม็ดจมน้ำชนิดเปียก และแห้งโดยใช้เครื่องมือในการผลิตที่สามารถหาซื้อได้ในท้องตลาด 

สูตรอาหาร  สิ่งแรกที่เกษตรกรจะคิดทำอาหารสำเร็จรูปขึ้นใช้เองนั้น คือ จะต้องรู้ว่าต้องการใช้สูตรอาหารใดเลี้ยงสัตว์น้ำของตนเองสูตรอาอาหารสัตว์น้ำที่ดีมีข้อสังเกตดังนี้
    1. ทำให้สัตว์ฯ้ำมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว แข็งแรงและมีภูมิต้านทานโรคดี
    2. ทำให้สัตว์น้ำมีอัตราการแลกเนื้อที่ดี และอัตราการรอดสูง
    3. วัตถุดิบต่างๆ ที่ใช้สามารถจัดซื้อหาได้ง่าย ราคาถูก และสะดวก ต่อการเก็บรักษา 

สารอาหารที่สัตว์น้ำต้องการ อาหารสัตว์น้ำที่ดีจะต้องมีสารอาหารที่มีคุณค่าโภชนาการครบถ้วนและสมดุล จึงจะให้สัตว์น้ำเจริญเติบโตได้ดี สารอหารหลักที่สำคัญมีดังนี้
       1. โปรตีนและกรดอะมิโนที่จำเป็น 
       2. ไขมันและกรมไขมันที่จำเป็น
       3. แป้งหรือคาร์โบไฮเดรต
       4. วิตามินและแร่ธาตุรวม

ปัจจัยสำคัญในการผลิตอาหารสัตว์น้ำ คือ 
      1. วัตถุดิบต้องบดละเอียด
      2. ส่วนที่เป็นแป้งดิน เช่น ปลายข้าว มันเส้น ควรต้มนึ่งให้สุกก่อนน้ำไปใช้ ซึ่งจะช่วยทำให้ปลาย่อยง่ายและโตดีกว่า

ชนิดของอาหารสัตว์น้ำ สามารถแยกตามชนิดการกินอาหารได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ
    1. อาหารสำหรับปลากินพืช ปลาจีน ปลาแรด ปลานวลจันทร์ อาหารชนิดนี้จะมีส่วนผสมของแป้ง หรือพืชมากกว่ากลุ่มที่กินเนื้อ
    2. อาหารสำหรับสัตว์น้ำที่กินทั้งพืช-เนื้อ 
             > 
กลุ่มกินพืชมากกว่าเนื้อ ได้แก่ ปลานิล ปลาตะเพียน
             > กลุ่มกินเนื้อมากกว่าพืช ได้แก่ ปลาดุก กุ้งก้ามกราม
    3. อาหารสำหรับสัตว์ฯ้ำที่กินเนื้อ ได้แก่ ปลาช่อง ปลาปู่ ปลากราย ปลาหมอไทย กุ้งกุลาดำ ต้องการอาหารที่มีโปรตีนสูง ย่อยแป้งพืชได้น้อย ถ้าใส่แป้งมากเกินไปจะทำให้สัตว์น้ำย่อยไม่ดีอาจจะท้องอืดตายได้
*****ส่วนปลาสวยงามจะจัดกลุ่มตามชนิดของปลา ซึ่งมีทั้งกลุ่มปลากินพืช และกินเนื้อ

 

สารเสริม Premix ในอาหารเพื่อเพิมคุณภาพสัตว์น้ำ

สารเสริม Premix เป็นการใช้เสริมในอาหารเพื่อเสริมคุณภาพของสัตว์น้ำให้ดีขึ้น ได้แก่ พ่อแม่พันธุ์มีความสมบูรณ์พันธุ์มากขึ้น ลูกปลาสัตว์ฯ้ำ และกุ้งที่มีอัตรารอดดีขึ้น ปลาสวยงาม (ปลาคาร์พ ปลากัด ฯลฯ) มีสีเข้มเกล็ดแวววาวสวยงามขึ้น หรือใช้เป็นแปลงเพศกุ้งก้ามแราเป็นเพศผู้ทำให้ขายได้ราคาสูงขึ้น

 

การเสริม Agar ในอาหารเพื่อเพิ่มคุณภาพสัตว์น้ำ

     อาหารเสริม agar หรือวุ้น เป็นการเพิ่มคุณภาพอาหารสัตว์น้ำวัยอ่อน ให้ความอ่อนนุ่มและความคงตัวในน้ำได้นานและอาหารมีเนื้อสัมผัสอ่อนนุ่มคล้ายอาหารมีชีวิต ทำให้สัตว์น้ำวัยอ่อนยอมรับอาหารได้ง่ายและเร็วขึ้น สามารถเสริมสารอาหารที่เป็นประโยชน์และตรงตามความต้องการหรือเป้าหมายได้ดี และเก็บรักษาคุณภาพสารอาหารได้นานเพียงพอให้สัตว์น้ำเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาการขาดแคลนอาหารมีชีวิต เช่น ไรแดง อาร์ทีเมีย และลดต้นทุนให้เกษตรกรได้ทางหนึ่ง

  •   หน่วยงาน: สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี
  •   ประกาศวันที่: 2024-03-12
  •   ประกาศสิ้นสุดเเล้วเมื่อวันที่: 2024-03-12 
  •   Hits
  • ภารกิจประจำวันที่ 10 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  ภารกิจประจำวันที่ 10 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 51  ภารกิจประจำวันที่ 27 มกราคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 27 มกราคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 26 ภารกิจประจำวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 26 ภารกิจประจำวันที่ 31 มกราคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 31 มกราคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 23 ภารกิจประจำวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 22 ภารกิจประจำวันที่ 8 เมษายน 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 8 เมษายน 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 20 ภารกิจประจำวันที่ 25 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   ภารกิจประจำวันที่ 25 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 19 ภารกิจประจำวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 18 ภารกิจประจำวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 17 ภารกิจประจำวันที่ 5 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 5 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 17 ภารกิจประจำวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  ภารกิจประจำวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 16 ภารกิจประจำวันที่ 7 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 7 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 16 ภารกิจประจำวันที่ 16 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี     ภารกิจประจำวันที่ 16 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 16 ภารกิจประจำวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 16 ภารกิจประจำวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  ภารกิจประจำวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 15

    สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี

    รายละเอียด สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี SARABURI PROVINCIAL FISHERIES OFFICE ที่ตั้ง : 123 หมู่ 6 ศาลากลางจังหวัดสระบุรี สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี (ชั้น 2)            ตำบลตะกุด อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี 18000           123 Moo 6, Saraburi Provincial Hall, Saraburi Provincial Fisheries Office (2nd floor)            Takud Sub-district, Mueang Saraburi District, Saraburi, 18000 การเดินทางสาธารณะ : รถสองแถวสาย 9 (10 บาทตลอดสาย)                                       โดยจุดจอดรถสองแถวเริ่มต้นที่ บขส.สระบุรี สิ้นสุดที่ ศูนย์ราชการจังหวัดสระบุรี  Social Network     : fpo_saraburi@fisheries.go.th  LINEID : fposaraburi QR Code Line    ผู้ดูแลเว็บไซต์ : นางสาวพรศิริ โพธาราม   เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล  email  fpo_saraburi@fisheries.go.th  โทรศัพท์ 0 3634 0742  FAX 0 3634 0742  แฟนเพจ แฟนเพจ
    CreativeCommons Valid CSS! Explanation of WCAG 2.1 Level Triple-AA Conformance SSL Labs ipv6