ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณประเทศไทย และคลื่นลมแรงบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบน ฉบับที่ 7 ( 232/2566) (มีผลกระทบจนถึงวันที่ 3 กันยายน 2566)

 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี




ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณประเทศไทย และคลื่นลมแรงบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบน ฉบับที่ 7 ( 232/2566) (มีผลกระทบจนถึงวันที่ 3 กันยายน 2566)

ประชาสัมพันธ์ข่าวสารของทางราชการ...สู่ภาคประชาชน

ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณประเทศไทย และคลื่นลมแรงบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบน ฉบับที่ 7 ( 232/2566) (มีผลกระทบจนถึงวันที่ 3 กันยายน 2566)



#ขอให้ประชาชนระมัดระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมาก และฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่าน และพื้นที่ลุ่ม รวมถึงเพิ่มระดับความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีผลฟ้าคะนอง

#สำหรับเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ข้อควรระวังในการเลี้ยงปลาช่วงฤดูฝน มีปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
        1. อากาศร้อนมาก ๆ ก่อนฝนจะตกซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ ความเป็นกรด-ด่างและความขุ่นของน้ำอย่างรวดเร็วหลังฝนตกจึงมีผลต่อลูกปลาและปลาที่ปล่อยใหม่ ตลอดจนปลาที่เลี้ยงกันแบบหนาแน่นมากจะมีผลให้ปลาน๊อคหรือปลาตายเนื่องจากปลาปรับตัวไม่ทัน
        2. เมื่อฝนตกหนัก จะพัดพาพวกปุ๋ยเคมี ยาฆ่าแมลง ขี้เถ้าแกลบจากการเผาป่า ล้วนเป็นพิษต่อปลา ซึ่งอาจได้รับผลกระทบอย่างมากในช่วงที่ฝนตกใหม่ ๆ
        3. ตะกอนแขวนลอยซึ่งเกิดจากการชะดินของน้ำฝนในช่วงหน้าฝน ตะกอนจะฟุ้งกระจาย ซึ่งสร้างปัญหาเกี่ยวกับเหงือกสัตว์น้ำในการแลกเปลี่ยนออกซิเจน สัตว์น้ำจะกินอาหารลดลง เครียด และตาย
        4. ถ้าหากฝนตกทั้งวันทั้งคืนติดต่อกันหลายวัน จนเกิดปัญหาน้ำท่วมบ่อ อาจทำให้คันดินพังหรือน้ำท่วมมิดคันบ่อ ทำให้เกิดความเสียหายได้
        5. น้ำฝนจะชะล้างความเป็นกรดจากอากาศและดินลงสู่บ่อ ทำให้ pH ของ น้ำในบ่อต่ำลง ความเป็นพิษของก๊าซไข่เน่า และแอมโมเนียจะมากขึ้น ทำให้ปลาลอยหัวขึ้นมาหาอากาศหายใจ ซึ่งอาจทำให้ปลาเครียด ป่วย และตายได้
        6. สภาพอากาศมืดครึ้ม ฝนไม่ตก หรือสภาพอากาศอบอ้าวเป็นเวลานาน ๆ ซึ่งมีผลต่อการแลกเปลี่ยนออกซิเจนระหว่างชั้นบรรยากาศกับผิวน้ำได้ลำบาก ทำให้ปลาเกิดสภาพขาดออกซิเจน ปลาจะขึ้นมาลอยหัวหาอากาศบนผิวน้ำจำนวนมาก
        7. เมื่อฝนหยุดตก ควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อเพิ่มออกซิเจน และคลุกเคล้าน้ำฝนกับน้ำในบ่อให้เข้ากัน เพื่อป้องกันการแบ่งชั้นน้ำ และลดปัญหาปลาตาย
        8. เมื่อฝนตกหนัก ทำให้อุณหภูมิน้ำเปลี่ยนแปลง ปลาจะลดการกินอาหาร ดังนั้น การให้อาหารปลา ควรลดปริมาณอาหารให้น้อยลง หรืองดอาหารในวันที่ฝนตกหนัก

#วิธีแก้ไข
        1.ทำให้น้ำในบ่อหมุนเวียนหรือเคลื่อนไหว โดยใช้เครื่องสูบน้ำ สูบน้ำในบ่อแล้วพ่นน้ำขึ้นบนอากาศให้ตกลงในบ่อเหมือนเดิม หรือเครื่องตีน้ำเพื่อให้น้ำในบ่อหมุนเวียน
        2.ใส่เกลือแกง 160 กก ต่อไร่ ไม่ควรใส่เกลือแกงพร้อมปูนขาว เพราะจะเกิดการยับยั้งฤทธิ์ซึ่งกันและกัน เกลือควรใส่โดยหว่านเป็นเม็ดให้ทั่วบ่อ
(การใช้เกลือแกงลดความเครียดของปลา สังเกตปลาที่มีอาการเครียด
                - ลักษณะการว่ายน้ำของปลา ปลาไม่ค่อยว่ายไปมามากนัก มักจะลอยตัวอยู่บริเวณผิวน้ำ
                - ปลาจะมีสีซีดกว่าปกติ ผิวปลาดูด้านๆ ไม่เป็นเงา
                - ปลาจะไม่ค่อยกินอาหาร
                - ช่วงที่มีฝนตกอย่างต่อเนื่อง และติดต่อกันหลายวันทำให้ออกซิเจนในน้ำน้อยส่งผลทำให้ปลาเครียดได้เช่นกัน )
                        (ข้อดี 1. ปลาแข็งแรง ไม่ค่อยเป็นโรค
                                 2. ปลาโตเร็ว เนื่องจากกินอาหารได้ดี
                                 3. เกลือสามารถฆ่าเชื้อบางชนิดในบ่อปลาได้
                                 4. ในขณะที่มีการขนส่งปลา ปลาจะไม่บอบซ้ำจากการขนส่ง)
        3.ใส่ปูนขาว 5-10 กิโล ต่อไร่ ห่างกันอาทิตย์ละครั้ง ไม่ควรเกิน 60 กิโล ควรละลายปูนขาวในน้ำแล้วสาด
                - ปูนขาวจะช่วยปรับสภาพความเป็น กรด - ด่าง (Buffer) ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมแก่การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ระหว่าง 6.5-8.5 เนื่องจากปูนขาวจะมีสภาพเป็นด่างเมื่อทำปฏิกิริยากับน้ำและดิน จึงสามารถลดความเป็นกรดของดิน หรือสภาพดินเปรี้ยวได้เป็นอย่างดี
                - ปูนขาวจะช่วยกำจัดเชื้อโรค และศัตรูปลา เมื่อใส่ในขณะที่น้ำในบ่อมีระดับต่ำสุด
                - ช่วยลดความขุ่นของน้ำอันเกิดจากกสารแขวนลอย โดยทำให้ตกตะกอน
                - ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของปุ๋ยที่ใส่ในบ่อปลา ทั้งนี้เพาะแพลงก์ตอนพืชจะเจริญเติบโตและแพร่พันธุ์ในน้ำที่มีความเป็นด่างอ่อน
                - ช่วยเร่งปฏิกิริยาการย่อยสลายของอินทรีย์วัตถุในบ่อ ทำให้การใช้ออกซิเจนในบ่อลดน้อยลง
        4.ใส่ปุ๋ยน้ำชีวภาพ พด 6 หรือ EM เพื่อปรับสภาพน้ำ
        5.ควรถ่ายเทน้ำเก่าในบ่อออก แล้วใส่น้ำใหม่แทน ปริมาณเท่าเดิม ให้ตากแดด 3- 5 วัน

ที่มา: กลุ่มประชาสัมพันธ์กรมอุตุนิยมวิทยา
https://www.facebook.com/100064688376319/posts/pfbid0vo1ue4jurHy7tSwFSiZtciTWFQr2co93sihQTmRxRrPD6nUtNi87vs9SWSDXnyTjl/?mibextid=Nif5oz

  •   หน่วยงาน: สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี
  •   ประกาศวันที่: 2023-08-30
  •   ประกาศสิ้นสุดเเล้วเมื่อวันที่: 2023-08-30 
  •   Hits
  • ภารกิจประจำวันที่ 10 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  ภารกิจประจำวันที่ 10 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 50  ภารกิจประจำวันที่ 27 มกราคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 27 มกราคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 26 ภารกิจประจำวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 26 ภารกิจประจำวันที่ 23 มกราคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 23 มกราคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 25 ภารกิจประจำวันที่ 31 มกราคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 31 มกราคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 23 ภารกิจประจำวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 22 ภารกิจประจำวันที่ 8 เมษายน 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 8 เมษายน 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 19 ภารกิจประจำวันที่ 25 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   ภารกิจประจำวันที่ 25 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 18 ภารกิจประจำวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 18 ภารกิจประจำวันที่ 5 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 5 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 17 ภารกิจประจำวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 17 ภารกิจประจำวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  ภารกิจประจำวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 16 ภารกิจประจำวันที่ 7 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 7 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 16 ภารกิจประจำวันที่ 16 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี     ภารกิจประจำวันที่ 16 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 16 ภารกิจประจำวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  ภารกิจประจำวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 15

    สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี

    รายละเอียด สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี SARABURI PROVINCIAL FISHERIES OFFICE ที่ตั้ง : 123 หมู่ 6 ศาลากลางจังหวัดสระบุรี สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี (ชั้น 2)            ตำบลตะกุด อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี 18000           123 Moo 6, Saraburi Provincial Hall, Saraburi Provincial Fisheries Office (2nd floor)            Takud Sub-district, Mueang Saraburi District, Saraburi, 18000 การเดินทางสาธารณะ : รถสองแถวสาย 9 (10 บาทตลอดสาย)                                       โดยจุดจอดรถสองแถวเริ่มต้นที่ บขส.สระบุรี สิ้นสุดที่ ศูนย์ราชการจังหวัดสระบุรี  Social Network     : fpo_saraburi@fisheries.go.th  LINEID : fposaraburi QR Code Line    ผู้ดูแลเว็บไซต์ : นางสาวพรศิริ โพธาราม   เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล  email  fpo_saraburi@fisheries.go.th  โทรศัพท์ 0 3634 0742  FAX 0 3634 0742  แฟนเพจ แฟนเพจ
    CreativeCommons Valid CSS! Explanation of WCAG 2.1 Level Triple-AA Conformance SSL Labs ipv6