มีอะไร ในแม่น้ำ โขง? ตอนที่ 3 ปลาบึก Mekong giant catish

 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี




มีอะไร ในแม่น้ำ โขง? ตอนที่ 3 ปลาบึก Mekong giant catish

มีอะไร ในแม่น้ำ โขง?  

โดย สำนักศิลปากรที่ 8 ของแก่น    (ค้นคว้าและเรียบเรียง : กุลวดี สมัครไทย นักโบราณคดีชำนาญการ, Artwork : ทรัพย์อนันต์ ซื่อสัตย์)

ตอนที่ 3 "ปลาบึก" Mekong giant catish

              ปลาบึก เป็นปลาไม่มีเกล็ดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก พบเฉพาะในแม่น้ำโขงและลำน้ำสาขาเท่านั้น ขนาดโตเต็มที่ยาวประมาณ 3 เมตร มีน้ำหนักมากกว่า 250 กิโลกรัม
              ปลาบึก ถูกจัดเป็นปลาชนิดที่มีจำนวนน้อยและใกล้จะสูญพันธุ์ [Endangered species] รู้จักกันในชื่อ Mekong giant catfish มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pangasianodon gigas เป็นปลาที่ไม่มีฟันทั้งที่ขากรรไกรและเพดานปาก

              ถิ่นอาศัยของปลาบึก คือ ตลอดลำน้ำโขงตั้งแต่ประเทศจีน เมียนมา ลาว ไทย กัมพูชา และเวียดนามตอนใต้ แต่ไม่พบบริเวณปากแม่น้ำโขงซึ่งเป็นน้ำกร่อย ธรรมชาติของปลาบึกชอบอาศัยอยู่ในบริเวณที่มีน้ำลึกมากกว่า 10 เมตร โดยเฉพาะจุดที่เต็มไปด้วยก้อนหินโขดหินสลับซับซ้อน และถ้ำใต้น้ำ เนื่องจากปลาบึกที่มีขนาดใหญ่มักจะอาศัยถ้ำใต้น้ำเป็นที่หลบซ่อนตัว
              ประเทศไทย พบปลาบึกในแม่น้ำโขงตั้งแต่ง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ลงไปจนถึงอำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี แหล่งที่มีชุกชุมมาที่สุดอยู่ในเขตท้องที่จังหวัดหนองคาย โดยเฉพาะบริเวณวังปลาบึก หรืออ่างปลาบึก บ้านผาตั้ง อำเภอสังคม ที่นี่เคยจับปลาบึกได้ไม่ต่ำกว่าปีละ 40-50 ตัว ส่วนปลาบึกที่จับได้ที่จังหวัดเชียงราย ชาวประมงเชื่อว่าเป็นปลาที่อพยพย้างถิ่นมาจากวังปลาบึกที่หลวงพระบาง (กรมประมง,ออนไลน์)

              ปลาบึก ดำรงชีพด้วยการกินตะไคร่น้ำที่ขึ้นตามโขดหินเป็นอาหาร จากการสังเกตการณ์ของชาวบ้านริมแม่น้ำโขงในท้องที่จังหวัดเชียงราย พบว่าหากแม่น้ำโขงมีแก่งหินที่ทำให้เกิดวังน้ำวง ซึ่งเรียกกันว่า "คก" จุดนั้นจะมีฟองอากาศและคราบสีน้ำตาลลอยอยู่บนผิวน้ำ ชาวบ้านเรียกฟองอากาศที่เกิดขึ้นว่า "ปวกน้ำ" ซึ่งภายในปวกมักมีแมลง ตัวหนอน ไส้เดือน และเศษพืชเที่เป็นอาหารของปลาชนิดต่างๆ ซึ่งปลาบึกก็เป็นปลาอีกจำพวกหนึ่งที่ชอบกินปวกน้ำ (คณะนักวิจัยจาวบ้านเชียงของ-เวียงแก่น, 2549)

              โดยธรรมชาติแล้ว ปลาบึกจะต้องอพยพขึ้นไปวางไข่ทางตอนบนของแม่น้ำโขงในช่วงเดือนเมษายน - พฤษภาคม ของทุกปี ส่วนการอพยพกลับแม่น้ำโขงตอนล่างนั้น ยังไม่ทราบข้อมูลแน่ชัดว่าเกิดขึ้นในช่วงเวลาใด (คณะนักวิจัยจาวบ้านเชียงของ-เวียงแก่น, 2549) พรานปลาจึงอาศัยช่วงเวลานี้ในการล่าปลาบึก
              ด้วยเหตุนี้ การจับปลาบึกจึงทำได้เพียงปีละ 1 ครั้ง ซึ่งก่อนลงมือจับปลาจะต้องประกอบพิธีตามความเชื่อเสียก่อนโดย พบว่า แต่ละท้องที่ได้กำหนดช่วงวันเวลาที่เหมาะสมสำหรับทำพิธีกรรมแตกต่างกันไป

              ภาคเหนือ : มีแหล่งจับปลาบึกอยู่ที่ดอนแวง หน้าวัดหาดไคร้ อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย มีธรรมเนียมการจับปลาบึกในช่วงเดือนเมษายน - ต้นมิถุนายน ชาวประมงที่นี่มีภูมิปัญญาในการสังเกตช่วงวันเวลาที่เหมาะสม ผ่านปรากฎการณ์ธรรมชาติ 2 เรื่อง ดังนี้ 
                         (1) ก่อนที่ปลาบึกจะว่ายทวนน้ำขึ้นมา จะพบว่ามี "นกนางนวล" บินล่วงหน้า ซึ่งมาก่อนประมาณ 2-3 วัน หรือบางครั้ง ก็อาจบินมาพร้อมกับปลาบึกเลย เป็นสัญญาณให้พรานปลา ลงไหลมอง* เพื่อจับปลาบึก 
                                  (*มอง = ตาข่ายจับปลาชนิดหนึ่ง,   ไหลมอง = การปล่อยมองลงน้ำเพื่อตักปลา)

                         (2) ดอกซอมพอ สังเกตการบานของ "ดอกซอมพอ" หรือดอกหางนกยูง หากดอกซอมพอสีแดงบานเมื่อใด นั้นหมายความว่า ฤดูกาลอพยพขึ้นเหนือของปลาบึกได้มาถึงแล้ว พรานจับปลาบึกจึงใช้ดอกซอมพอในพิธีกรรมบวงสรวงปลาบึก และแม่ย่านางเรือด้วย (คณะนักวิจัยจาวบ้านเชียงของ-เวียงแก่น, 2549)

              ภาคอีสาน : การจับปลาบึกที่จุดนี้จะต้องมีพิธีกรรมใหญ่โต ที่เกิดจากความร่วมือของพรานปลาจากทั้งฝ่ายไทยและลาว ซึ่งโดยปกติแล้วทางฝ่ายลาว (เวียงจันทน์) จะเป็นเจ้าพิธี ฤดูกาลล่าปลาบึก เอาวันที่ 1 ค่ำ เดือน 3 เป็นวันเริ่มต้น และสิ้นสุดในวันแรม 7 ค่ำ เดือน 3
                         การจับปลาบึก นอกจากเพื่อเป็นอาหารแล้ว ยังนับเป็นพิธีกรรมเสี่ยงทายไปด้วยในตัวด้วย กล่าวคือหากว่าการประกอบพิธีกรรมนั้น มีการบัดพลีที่ถูกต้องก็จะทำให้จับปลาได้มาก ทำนายได้ว่าปีนั้นจะ "อยู่ดี กินหวาน บ้านเมืองจะอุดมสมบูรณ์" (ดูรายละเอียดใน ฤดีมน ปรีดีสนิท, 2530)

 

หลักฐานเกี่ยวกับปลาบึก ในภาคอีสาน

สรุป

              (1) ปลาบึก เป็นปลาชนิดพิเศษ ที่มีความสัมพันธ์กับสภาพภูมิศาสตร์ และระบบนิเวศวิทยาของแม่น้ำโขง มีแหล่งจับปลาบึกที่สำคัญในประเทศไทยอยู่ที่จังหวัดเชียงราย หนองคาย และอุบลราชธานี
              (2) จากหลักฐานทางโบราณคดี แสดงให้เห็นว่ามนุษย์ที่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำโขงรู้จักและผูกพันธ์กับปลาบึกมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และเมื่อเขาสู่สมัยประวัติศาสตร์ยุคจารีต ปลาบึกก็ได้กลายมาเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีผลต่อความมั่นคงของรัฐในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง โดยเฉพาะนครหลวงพระบาง
              (3) คุณค่าความสำคัญของปลาบึกพบอย่างน้อย 3 ประการ คือ
                       (3.1) เป็นอาหาร
                       (3.2) เป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรม ซึ่งน่าจะเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่ยังไม่ทราบวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน สำหรับสมัยปัจจุบันจะมีความเกี่ยวข้องพิธีกรรมเรื่องความอุดมสมบูรณ์
                       (3.3) เป็นทรัพยากรหายากที่ถูกำหนดให้เป็นหนึ่งในเครื่องบรรณาการที่นครหลวงพระบางต้องส่งให้กับจีนในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 25

  •   หน่วยงาน: สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี
  •   ประกาศวันที่: 2023-08-24
  •   ประกาศสิ้นสุดเเล้วเมื่อวันที่: 2023-08-24 
  •   Hits
  • ภารกิจประจำวันที่ 10 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  ภารกิจประจำวันที่ 10 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 50  ภารกิจประจำวันที่ 27 มกราคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 27 มกราคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 26 ภารกิจประจำวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 26 ภารกิจประจำวันที่ 23 มกราคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 23 มกราคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 25 ภารกิจประจำวันที่ 31 มกราคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 31 มกราคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 23 ภารกิจประจำวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 22 ภารกิจประจำวันที่ 8 เมษายน 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 8 เมษายน 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 19 ภารกิจประจำวันที่ 25 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   ภารกิจประจำวันที่ 25 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 18 ภารกิจประจำวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 18 ภารกิจประจำวันที่ 5 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 5 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 17 ภารกิจประจำวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 17 ภารกิจประจำวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  ภารกิจประจำวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 16 ภารกิจประจำวันที่ 7 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 7 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 16 ภารกิจประจำวันที่ 16 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี     ภารกิจประจำวันที่ 16 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 16 ภารกิจประจำวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  ภารกิจประจำวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 15

    สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี

    รายละเอียด สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี SARABURI PROVINCIAL FISHERIES OFFICE ที่ตั้ง : 123 หมู่ 6 ศาลากลางจังหวัดสระบุรี สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี (ชั้น 2)            ตำบลตะกุด อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี 18000           123 Moo 6, Saraburi Provincial Hall, Saraburi Provincial Fisheries Office (2nd floor)            Takud Sub-district, Mueang Saraburi District, Saraburi, 18000 การเดินทางสาธารณะ : รถสองแถวสาย 9 (10 บาทตลอดสาย)                                       โดยจุดจอดรถสองแถวเริ่มต้นที่ บขส.สระบุรี สิ้นสุดที่ ศูนย์ราชการจังหวัดสระบุรี  Social Network     : fpo_saraburi@fisheries.go.th  LINEID : fposaraburi QR Code Line    ผู้ดูแลเว็บไซต์ : นางสาวพรศิริ โพธาราม   เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล  email  fpo_saraburi@fisheries.go.th  โทรศัพท์ 0 3634 0742  FAX 0 3634 0742  แฟนเพจ แฟนเพจ
    CreativeCommons Valid CSS! Explanation of WCAG 2.1 Level Triple-AA Conformance SSL Labs ipv6