การเพิ่มมูลค่าผลผลิต

 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี




การเพิ่มมูลค่าผลผลิต

การเพิ่มมูลค่าผลผลิต 

      การเพิ่มมูลค่าให้แก่ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ หมายถึง การเพิ่มมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำเป็นกิจกรรมหลังการจับ เพื่อจะทำให้มูลค่าของสัตว์น้ำเพิ่มขึ้น ซึ่งจะทำได้ก็ต้องมีองค์ความรู้ ทักษะ และการลงทุน เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ประมงให้มีมูลค่า เพื่อเสริมสร้างและหาแหล่งรายได้ใหม่ จัดหาโอกาสใหม่ในตลาด ลดการสูญเสียของอาหาร

สื่อจุดประกายความคิด:  สินค้าเกษตร ทำอย่างไรให้มีมูลค่า บทเรียนจากเกษตรกรร้อยล้านเยน | รายการ innovative wisdom

 

#การแปรรูปผลผลิต

   สัตว์น้ำจากแหล่งจับนำมาใใช้ประโยชน์ต่างๆ ดังนี้
     1. ใช้เพื่อการบริโภค
     2. นำมาเก็บถนอมและแปรรูปเป็นอาหารมนุษย์ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำบรรจุกระป๋อง แช่เยือกแข็ง ใส่เกลือ ตากแห้ง รมควันและหมักดอง เป็นต้น
     3. นำมาแปรรูปเป็นอาหารสัตว์ และผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ได้แก่ ปลาป่น น้ำมันปลาเจลาติน ไคติน ไคโตแซน ปุ๋ย ฯลฯ

   จากวิธีการนำมาใช้ประโยชน์ ทำให้แบ่งผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำได้เป็น 4 ประเภท ได้แก่
     1. ผลิตภัณฑ์อาหาร เช่น สัตว์น้ำที่บรรจุกระป๋อง แช่แข็ง เค็มแห้ง หมักดอง
     2. ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เช่น สีทาบ้านจากน้ำมันปลา
     3. ผลิตภัณฑ์เกษตรกรรม เช่น ปุ๋ย ปลาป่น
     4. ผลิตภัณฑ์ยาและอาหารเสริม เช่น น้ำมันปลา น้ำมันตับปลา

สื่อจุดประกายความคิด:  สื่อเรียนรู้เพื่อการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรภายใต้โครงการบูรณาการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินด้านการเกษตร (What2Grow)
       แปรรูปสัตว์น้ำ ตอนที่ 1 : แปรรูปสัตว์น้ำ...เพิ่มมูลค่า เพิ่มโอกาสรวย
       แปรรูปสัตว์น้ำ ตอนที่ 2 : แปรรูปสัตว์น้ำอย่างง่ายและประหยัด...ด้วยการทำแห้ง
       แปรรูปสัตว์น้ำ ตอนที่ 3 : เทคโนโลยีแปรรูปสัตว์น้ำ ด้วยการใช้ความร้อน
       แปรรูปสัตว์น้ำ ตอนที่ 4 : เทคโนโลยีแปรรูปสัตว์น้ำ ด้วยการใช้ความเย็น
       แปรรูปสัตว์น้ำ ตอนที่ 5 : เรื่องของความเค็ม ในการแปรรูปสัตว์น้ำด้วยการหมักดอง
       แปรรูปสัตว์น้ำ ตอนที่ 6 : รู้ทัน...วัตถุเจือปนอาหาร ที่ใช้ในการแปรรูปสัตว์น้ำ
       แปรรูปสัตว์น้ำ ตอนที่ 7 : แปลงกายให้เศษสัตว์น้ำ สู่ผลิตภัณฑ์ใหม่
       แปรรูปสัตว์น้ำ ตอนที่ 8 : เพิ่มมูลค่าแปรรูปสัตว์น้ำ ทำเองได้ ทำขายก็ดี

 

#การคัดแยกขนาดและคุณภาพ

การคัดขนาด เป็นการคัดคุณภาพตามขนาด (size) ของวัตถุดิบ เป็นขั้นตอนสำคัญของการเตรียมวัตถุดิบที่ใช้เพื่อ การแปรรูปอาหาร ผัก ผลไม้ เมล็ดธัญพืช ถั่วเมล็ดแห้ง ซากสัตว์ ชิ้นส่วนสัตว์ชำแหระ นอกเหนือจากการคัดขนาดวัตถุดิบ การคัดขนาดยังดำเนินการในระหว่างกระบวนการผลิต เช่น วัตถุดิบที่ผ่านการลดขนาดแล้ว หรือผลิตภัณฑ์อาหารที่ผ่านการแปรรูป เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีขนาดสม่ำเสมอตรงความต้องการของผู้บริโภค

วัตถุประสงค์ของการคัดขนาด 
   1 เพื่อให้ได้วัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ที่มีขนาดสม่ำเสมอ มีมาตรฐานซึ่งเป็นคุณภาพซึ่งผู้บริโภคต้องการ สินค้าที่มีขนาดไม่สม่ำเสมอ เช่น มีการแตกหัก เป็นตำหนิ ซึ่งมีผลต่อการยอมรับสินค้า
   2 เพื่อแบ่งวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์ออกเป็นระดับชั้นคุณภาพ ตามขนาด (size grading) เพื่อเพิ่มมูลค่า และเพื่อการใช้งานตามวัตถุประสงค์
   3 เพื่อให้ได้วัตถุดิบที่มีขนาดสม่ำเสมอสะดวกต่อการแปรรูปในขั้นตอนต่อไปโดยเฉพาะการแปรรูปด้วยเครื่องจักร เช่น การปอกเปลือก กุ้ง การลดขนาด การขอดเกร็ดปลา
   4 เพื่อให้เกิดความสม่ำเสมอของการกระจายอุณหภูมิ ระหว่างการแปรรูปอาหาร เช่น การนึ่ง การทอด การต้ม การแปรรูปด้วยความร้อน (thermal processing) การทำแห้ง การแช่เย็น การแช่เยือกแข็ง เป็นต้น
   5 เพื่อให้สะดวกในการบรรจุใน บรรจุภัณฑ์ เช่น ผลไม้สดที่บรรจุกล่องขนาดมาตรฐาน จะมีจำนวนผลในกล่องบรรจุเท่ากัน

วิธีการคัดขนาด
   1. วิธีการคัดขนาดการคัดด้วยคน โดยการใช้สายตา เพื่อตรวจพินิจ คัดขนาดที่ไม่ต้องการออก มีข้อดีคือ คนมีความยืดหยุ่นสูงสามารถใช้ได้กับอาหารได้ทุกชนิด
   2 การคัดขนาดด้วยการใช้เครื่องคัดขนาด (sizer)

 

#การตัดแต่งผลผลิต 

   การตัดแต่ง หมายความว่า การนำสัตว์น้ำมาทำให้ชิ้นส่วนที่ไม่ต้องการออกไป เช่น การตัดหัวปลา ขอดเกล็ด ควักไส้ ดึงก้าง ลอกหนัง แล่เป็นชิ้น ผ่าหลัง เป็นต้น

 


 

 

 

  •   หน่วยงาน: สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี
  •   ประกาศวันที่: 2023-04-05
  •   ประกาศสิ้นสุดเเล้วเมื่อวันที่: 2023-04-05 
  •   Hits
  • ภารกิจประจำวันที่ 10 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  ภารกิจประจำวันที่ 10 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 52  ภารกิจประจำวันที่ 27 มกราคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 27 มกราคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 30 ภารกิจประจำวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 30 ภารกิจประจำวันที่ 31 มกราคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 31 มกราคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 26 ภารกิจประจำวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 26 ภารกิจประจำวันที่ 25 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   ภารกิจประจำวันที่ 25 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 25 ภารกิจประจำวันที่ 8 เมษายน 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 8 เมษายน 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 23 ภารกิจประจำวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 22 ภารกิจประจำวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 21 ภารกิจประจำวันที่ 5 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 5 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 20 ภารกิจประจำวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  ภารกิจประจำวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 20 ภารกิจประจำวันที่ 7 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 7 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 20 ภารกิจประจำวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 19 ภารกิจประจำวันที่ 16 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี     ภารกิจประจำวันที่ 16 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 18 ภารกิจประจำวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  ภารกิจประจำวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 18

    สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี

    รายละเอียด สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี SARABURI PROVINCIAL FISHERIES OFFICE ที่ตั้ง : 123 หมู่ 6 ศาลากลางจังหวัดสระบุรี สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี (ชั้น 2)            ตำบลตะกุด อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี 18000           123 Moo 6, Saraburi Provincial Hall, Saraburi Provincial Fisheries Office (2nd floor)            Takud Sub-district, Mueang Saraburi District, Saraburi, 18000 การเดินทางสาธารณะ : รถสองแถวสาย 9 (10 บาทตลอดสาย)                                       โดยจุดจอดรถสองแถวเริ่มต้นที่ บขส.สระบุรี สิ้นสุดที่ ศูนย์ราชการจังหวัดสระบุรี  Social Network     : fpo_saraburi@fisheries.go.th  LINEID : fposaraburi QR Code Line    ผู้ดูแลเว็บไซต์ : นางสาวพรศิริ โพธาราม   เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล  email  fpo_saraburi@fisheries.go.th  โทรศัพท์ 0 3634 0742  FAX 0 3634 0742  แฟนเพจ แฟนเพจ
    CreativeCommons Valid CSS! Explanation of WCAG 2.1 Level Triple-AA Conformance SSL Labs ipv6