ขีดจำกัดความเร็วตัวเรือ

 กลุ่มพัฒนาเทคโนโลยีเรือตรวจการประมง

ขีดจำกัดความเร็วตัวเรือ 

หมอเรือ


HOT ขีดจำกัดความเร็วตัวเรือ..คลิก

ถอยไปไกลถึงสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ในโลกตะวันตกอีกฟากหนึ่ง สูตรคำนวณ #ขีดจำกัดความเร็วตัวเรือ (Hull Speed, V = 2.4287 × L^0.5) ได้ถูกพัฒนาขึ้นโดยวิศวกรยุคคลาสสิค เพื่อใช้ประมาณหาความเร็วสูงสุดที่เป็นไปได้ในทางปฏิบัติของเรือที่ขับเคลื่อนด้วยใบเรือ เรื่อยมาจนถึงในปัจจุบัน แนวคิดดังกล่าวก็ยังมีพูดถึงกันอยู่บ่อยๆ ในสังคมของนักแล่นใบ ?

แม้ว่าสำหรับ ??‍ ? วิศวกรยุคใหม่แล้ว สูตรนี้จะมีความถูกต้องแค่บางส่วน ก็ไม่ได้หมายความว่า ทฤษฎีฟิสิกส์เรียบง่ายที่เป็นพื้นฐานของมันจะผิดพลาดเสียทีเดียว ??‍?? ดังนี้

1) คลื่นที่สร้างจากหัวเรือ ก็มีความเร็วไปตามเรือ ?? ก่อนจะหลุดไปด้านท้าย
2) เมื่อคลื่น(ตามขวาง)มีความเร็วตามเรือที่เร่งความเร็วขึ้น ความยาวของคลื่นก็ยืดตัวออกเรื่อยๆ

ตามนิยาม ??? #ความเร็วตัวเรือ หมายถึง ความเร็วที่หัวเรือจะสร้างคลื่นที่มีความยาวพอดีกับความยาวเรือ ไปแทรกสอดกับคลื่นที่เกิดจากบริเวณท้ายเรือในลักษณะที่เสริมกัน ทำให้เกิดการต้านทานการอย่างสูง...เกินกว่ากำลังขับเคลื่อนของเรือใบโบราณจะเอาชนะได้ เสมือนมีกำแพงความเร็วที่ไม่อาจข้ามผ่าน ??

ลองแทนตัวเลขดู เรือที่มีความยาวแนวน้ำเท่ากับ 5, 10, 15, 20, และ 25 ม. จะมีความเร็วตัวเรือเท่ากับ 5.4, 7.7, 9.4, 10.9, และ 12.1 น็อต ตามลำดับ

ใน 60 ปีที่ผ่านมา วิศวกรอย่าง Daniel Savitsky (อาจารย์ปู่ของแอดมินเอง) ก็ได้พัฒนาวิธี #ออกแบบเรือ ต่างๆ เพื่อก้าวข้ามกำแพงความเร็วดังกล่าวสำเร็จ เพราะสุดท้ายแล้วสิ่งที่กำหนดความเร็วสูงสุดของเรือมีเพียง 2 อย่าง คือ ?? แรงต้านทานสุทธิ ?? กำลังขับดันเรือ หาใช่สูตรวิเศษง่ายๆ ใดๆ ไม่ ??‍ ?

ความเร็วตัวเรือ กลายเป็นเพียง ความเร็วโหนก (Hump Speed) จุดหนึ่งที่ก้าวพ้นได้ ถ้าทำไว้ดีแต่แรกก็ไม่ต้อง “ติด Hump” เหมือนกับ #เรือปลา ขนของเถื่อนในบทความตอนที่แล้ว

ที่น่าเสียดายก็คือ การจะแก้ไขให้เรือหวานเย็นที่ต่อมาแล้วในทรงระวางขับน้ำทั้งอ้วนทั้งหนัก “ไต่ Hump” สำเร็จในภายหลัง แล้วยังต้องวิ่งต่อขึ้นไปอีกไกลตามกราฟความต้านทานเรือ ?? ที่สูงชันนั้น มักจะเป็นไปไม่ได้ในทางเศรษฐศาสตร์เสียแล้ว ??

ถอยไปไกลถึงสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ในโลกตะวันตกอีกฟากหนึ่ง สูตรคำนวณ #ขีดจำกัดความเร็วตัวเรือ (Hull Speed, V = 2.4287 × L^0.5) ได้ถูกพัฒนาขึ้นโดยวิศวกรยุคคลาสสิค เพื่อใช้ประมาณหาความเร็วสูงสุดที่เป็นไปได้ในทางปฏิบัติของเรือที่ขับเคลื่อนด้วยใบเรือ เรื่อยมาจนถึงในปัจจุบัน แนวคิดดังกล่าวก็ยังมีพูดถึงกันอยู่บ่อยๆ ในสังคมของนักแล่นใบ ?

แม้ว่าสำหรับ ??‍ ? วิศวกรยุคใหม่แล้ว สูตรนี้จะมีความถูกต้องแค่บางส่วน ก็ไม่ได้หมายความว่า ทฤษฎีฟิสิกส์เรียบง่ายที่เป็นพื้นฐานของมันจะผิดพลาดเสียทีเดียว ??‍?? ดังนี้

1) คลื่นที่สร้างจากหัวเรือ ก็มีความเร็วไปตามเรือ ?? ก่อนจะหลุดไปด้านท้าย
2) เมื่อคลื่น(ตามขวาง)มีความเร็วตามเรือที่เร่งความเร็วขึ้น ความยาวของคลื่นก็ยืดตัวออกเรื่อยๆ

ตามนิยาม ??? #ความเร็วตัวเรือ หมายถึง ความเร็วที่หัวเรือจะสร้างคลื่นที่มีความยาวพอดีกับความยาวเรือ ไปแทรกสอดกับคลื่นที่เกิดจากบริเวณท้ายเรือในลักษณะที่เสริมกัน ทำให้เกิดการต้านทานการอย่างสูง...เกินกว่ากำลังขับเคลื่อนของเรือใบโบราณจะเอาชนะได้ เสมือนมีกำแพงความเร็วที่ไม่อาจข้ามผ่าน ??

ลองแทนตัวเลขดู เรือที่มีความยาวแนวน้ำเท่ากับ 5, 10, 15, 20, และ 25 ม. จะมีความเร็วตัวเรือเท่ากับ 5.4, 7.7, 9.4, 10.9, และ 12.1 น็อต ตามลำดับ

ใน 60 ปีที่ผ่านมา วิศวกรอย่าง Daniel Savitsky (อาจารย์ปู่ของแอดมินเอง) ก็ได้พัฒนาวิธี #ออกแบบเรือ ต่างๆ เพื่อก้าวข้ามกำแพงความเร็วดังกล่าวสำเร็จ เพราะสุดท้ายแล้วสิ่งที่กำหนดความเร็วสูงสุดของเรือมีเพียง 2 อย่าง คือ ?? แรงต้านทานสุทธิ ?? กำลังขับดันเรือ หาใช่สูตรวิเศษง่ายๆ ใดๆ ไม่ ??‍ ?

ความเร็วตัวเรือ กลายเป็นเพียง ความเร็วโหนก (Hump Speed) จุดหนึ่งที่ก้าวพ้นได้ ถ้าทำไว้ดีแต่แรกก็ไม่ต้อง “ติด Hump” เหมือนกับ #เรือปลา ขนของเถื่อนในบทความตอนที่แล้ว

ที่น่าเสียดายก็คือ การจะแก้ไขให้เรือหวานเย็นที่ต่อมาแล้วในทรงระวางขับน้ำทั้งอ้วนทั้งหนัก “ไต่ Hump” สำเร็จในภายหลัง แล้วยังต้องวิ่งต่อขึ้นไปอีกไกลตามกราฟความต้านทานเรือ ?? ที่สูงชันนั้น มักจะเป็นไปไม่ได้ในทางเศรษฐศาสตร์เสียแล้ว ??

ถอยไปไกลถึงสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ในโลกตะวันตกอีกฟากหนึ่ง สูตรคำนวณ #ขีดจำกัดความเร็วตัวเรือ (Hull Speed, V = 2.4287 × L^0.5) ได้ถูกพัฒนาขึ้นโดยวิศวกรยุคคลาสสิค เพื่อใช้ประมาณหาความเร็วสูงสุดที่เป็นไปได้ในทางปฏิบัติของเรือที่ขับเคลื่อนด้วยใบเรือ เรื่อยมาจนถึงในปัจจุบัน แนวคิดดังกล่าวก็ยังมีพูดถึงกันอยู่บ่อยๆ ในสังคมของนักแล่นใบ ?

แม้ว่าสำหรับ ??‍ ? วิศวกรยุคใหม่แล้ว สูตรนี้จะมีความถูกต้องแค่บางส่วน ก็ไม่ได้หมายความว่า ทฤษฎีฟิสิกส์เรียบง่ายที่เป็นพื้นฐานของมันจะผิดพลาดเสียทีเดียว ??‍?? ดังนี้

1) คลื่นที่สร้างจากหัวเรือ ก็มีความเร็วไปตามเรือ ?? ก่อนจะหลุดไปด้านท้าย
2) เมื่อคลื่น(ตามขวาง)มีความเร็วตามเรือที่เร่งความเร็วขึ้น ความยาวของคลื่นก็ยืดตัวออกเรื่อยๆ

ตามนิยาม ??? #ความเร็วตัวเรือ หมายถึง ความเร็วที่หัวเรือจะสร้างคลื่นที่มีความยาวพอดีกับความยาวเรือ ไปแทรกสอดกับคลื่นที่เกิดจากบริเวณท้ายเรือในลักษณะที่เสริมกัน ทำให้เกิดการต้านทานการอย่างสูง...เกินกว่ากำลังขับเคลื่อนของเรือใบโบราณจะเอาชนะได้ เสมือนมีกำแพงความเร็วที่ไม่อาจข้ามผ่าน ??

ลองแทนตัวเลขดู เรือที่มีความยาวแนวน้ำเท่ากับ 5, 10, 15, 20, และ 25 ม. จะมีความเร็วตัวเรือเท่ากับ 5.4, 7.7, 9.4, 10.9, และ 12.1 น็อต ตามลำดับ

ใน 60 ปีที่ผ่านมา วิศวกรอย่าง Daniel Savitsky (อาจารย์ปู่ของแอดมินเอง) ก็ได้พัฒนาวิธี #ออกแบบเรือ ต่างๆ เพื่อก้าวข้ามกำแพงความเร็วดังกล่าวสำเร็จ เพราะสุดท้ายแล้วสิ่งที่กำหนดความเร็วสูงสุดของเรือมีเพียง 2 อย่าง คือ ?? แรงต้านทานสุทธิ ?? กำลังขับดันเรือ หาใช่สูตรวิเศษง่ายๆ ใดๆ ไม่ ??‍ ?

ความเร็วตัวเรือ กลายเป็นเพียง ความเร็วโหนก (Hump Speed) จุดหนึ่งที่ก้าวพ้นได้ ถ้าทำไว้ดีแต่แรกก็ไม่ต้อง “ติด Hump” 

ที่น่าเสียดายก็คือ การจะแก้ไขให้เรือหวานเย็นที่ต่อมาแล้วในทรงระวางขับน้ำทั้งอ้วนทั้งหนัก “ไต่ Hump” สำเร็จในภายหลัง แล้วยังต้องวิ่งต่อขึ้นไปอีกไกลตามกราฟความต้านทานเรือ ?? ที่สูงชันนั้น มักจะเป็นไปไม่ได้ในทางเศรษฐศาสตร์เสียแล้ว 

บทความจาก Tagu offshore Thailand

 Tags

  •  บทความหน้าหลัก Hits 10 อันดับ (6 เดือน)
  • ยังไม่มีการจัดลำดับบทความรอบ 6 เดือน!


    สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.2566 กลุ่มพัฒนาเทคโนโลยีเรือตรวจการประมง

    รายละเอียด กลุ่มพัฒนาเทคโนโลยีเรือตรวจการประมงกองตรวจการประมง (กรมประมง) อาคารกลางน้ำ 3 ชั้น ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900  email  fptech.group@gmail.com  โทรศัพท์ 02-5620560 ต่อ 2307,2310,2400  FAX 02-5620568
    CreativeCommons Valid CSS! Explanation of WCAG 2.1 Level Triple-AA Conformance SSL Labs ipv6