พระศรีศาสดาประชานาถ พระพุทธปฏิมาประธาน ของกรมประมง

 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี


พระศรีศาสดาประชานาถ พระพุทธปฏิมาประธาน ของกรมประมง 


ส่ง email แชร์ X ส่ง Line แชร์ Facebook
ฟังเสียงบรรยาย
ฟังเสียงบรรยาย

HOT พระศรีศาสดาประชานาถ พระพุทธปฏิมาประธาน ของกรมประมง..คลิก

พระศรีศาสดาประชานาถ พระพุทธปฏิมาประธาน ของกรมประมง

สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
โปรดประทานนามพระพุทธรูป ปางนาคปรก ที่กรมประมงจัดสร้างขึ้นเป็นพระพุทธปฏิมาประธาน
เพื่อเป็นที่สักการบูชาแห่งพุทธบริษัท ว่า

"พระศรีศาสดาประชานาถ" อ่านว่า พระ-สี-สาด-สะ-ดา -ประ-ชา-นาด"
แปลว่า พระพุทธเจ้าทรงเป็นพระศาสดาผู้รุ่งเรืองด้วยพระสิริทรงเป็นที่พึ่งของประชาชน 


Cr photo by กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมประมง

พระพุทธลักษณะพระศรีศาสดาประชานาถ
            พระศรีศาสดาประชานาถ (พระพุทธรูปปางมารวิชัย นาคปรก) เป็นพระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ขวาวางคว่ำบนพระชานุ นิ้วพระหัตถ์ชี้ลงพื้นธรณี หมายถึง พระพุทธประวัติตอนตรัสรู้ มีพญามารมาผจญ พระพุทธองค์ทรงเรียกแม่พระธรณีมาเป็นพยาน แม่พระธรณีได้บีบมวยผมหลั่งน้ำที่พระพุทธองค์เคยทรงบำเพ็ญบารมี ออกมาไหลท่วมเหล่ามารทั้งหลายพ่ายแพ้ไป พระองค์ประทับนั่งทับบนบัลลังก์นาคขนดซ้อนกัน 3 ชั้น เบื้องหลังเป็นพังพานและเศียรนาค 9 เศียร 

           ความเชื่อพุทธคุณของพระปางมารวิชัย นี้ ผู้บูชาพระปางมารวิชัยมีความเชื่อว่าจะรอดพ้นแคล้วคลาดจากภัยอันตรายทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็นภัยจากคน จากสัตว์ จากสิ่งที่มองเห็นหรือมองไม่เห็น หรือการแก้ปีชง แก้ดวงชะตาไม่ให้ตกต่ำ หรือตกต่ำแล้วให้ดีขึ้นกว่าเดิม

 

เล่าสู่กันฟัง...เรื่อง “พระพุทธรูปปางมารวิชัย เป็นเช่นไร”

ที่มา: กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม  
 
     พระพุทธรูปปางมารวิชัย เป็นพระพุทธรูปที่อยู่ในอิริยาบถนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้ายหงายวางบนพระเพลา (ขาหรือตัก) ส่วนพระหัตถ์ขวาวางคว่ำบนพระชานุ (เข่า) นิ้วพระหัตถ์ขวาชี้ลงที่พื้นธรณี ปางนี้เรียกกันอีกชื่อว่า "ปางชนะมาร” คำว่า วิชัย แปลว่า ชัยชนะ
 
     ตามประวัติเล่าว่า เมื่อครั้งพระโพธิสัตว์หรือเจ้าชายสิทธัตถะจะได้ตรัสรู้นั้น ได้นั่งบนหญ้าคาที่โสตถิยะพราหมณ์ถวายที่ใต้ต้นมหาโพธิ์ ทรงได้ตั้งปณิธานอย่างแน่วแน่ว่า "ถ้าเรายังไม่บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณตราบใด เราจักไม่ยอมลุกขึ้นตราบนั้น แม้ว่าเนื้อและเลือดจะเหือดแห้งไป เหลือแต่หนัง เอ็น และกระดูกก็ตามที” จากนั้นได้ประทับนิ่งและเริ่มบำเพ็ญเพียรทางจิต ขณะนั้นเป็นเวลาพระอาทิตย์ตกดิน พญามารที่ชื่อว่า "วสวัสตี” ที่คอยขัดขวางการกระทำความดีของพระโพธิสัตว์มาโดยตลอด เมื่อทราบถึงพระดำริปณิธานนั้น ก็เกิดความหวั่นเกรงว่า หากปล่อยให้บรรลุความสำเร็จตามที่ตั้งสัตย์อธิษฐานแล้ว พระองค์ก็จะพ้นอำนาจของตนไป จึงได้ระดมพลเสนามารทั้งหลายมาทำการก่อกวนด้วยวิธีต่างๆนานาเพื่อให้พระองค์เกิดความเกรงกลัวและตกใจหนีไป เช่น บันดาลให้เกิดพายุพัดรุนแรง เกิดฝนตกหนัก บันดาลอาวุธต่างๆยิงตกต้องพระองค์ ฯลฯ แต่กระนั้นพระองค์หาได้หวั่นเกรงไม่ กลับทรงตั้งจิตมั่นระลึกถึงบุญบารมีต่างๆที่เคยทรงบำเพ็ญมา โดยไม่หวาดกลัวต่ออำนาจทำลายล้างของเหล่ามารที่มาผจญ ยิ่งกว่านั้นบรรดาศรัตราวุธที่ส่งมาทำร้าย ล้วนกลับกลายเป็นบุปผามาลัยบูชาพระองค์ไปสิ้นเมื่อเห็นดังนั้น พญามารจึงใช้วิธีใหม่ โดยกล่าวว่า บัลลังก์ที่พระองค์ประทับอยู่นั้น เป็นบัลลังก์ที่เกิดด้วยบุญบารมีของตน หาใช่ของพระสิทธัตถะไม่ ทั้งนี้ ได้อ้างเหล่าเสนามารทั้งหลายเป็นพยาน พระสิทธัตถะก็โต้กลับพญามารว่า บังลังก์ที่ทรงประทับนี้เกิดขึ้นด้วยบุญบารมีที่ทรงบำเพ็ญมานานจนนับประมาณมิได้ พระองค์จึงมีสิทธิ์นั่งโดยชอบธรรม พญามารไม่ยินยอม กล่าวคัดค้านและถามหาพยานของพระองค์ พระสิทธัตถะจึงทรงเหยียดพระหัตถ์ขวาชี้ลงไปที่พระแม่ธรณี และขอให้ทรงเป็นพยานถึงการบำเพ็ญกุศลของพระองค์ในกาลก่อนขณะนั้น พระแม่ธรณีที่ชื่อว่า "วสุนธรา” ก็ได้มาปรากฏองค์แสดงอภิวาทต่อพระมหาบุรุษและได้ประกาศยืนยันต่อพญามารว่า พระมหาบุรุษเมื่อครั้งยังเป็นพระโพธิสัตว์ ได้บำเพ็ญบุญมามากมายสุดจะประมาณได้ แค่น้ำที่หลั่งทักษิโณทกลงบนมวยผมของพระนาง ก็เหลือจะคณานับ ว่าแล้วก็ปล่อยมวยผม บีบน้ำที่พระมหาบุรุษกรวดสะสมไว้นับแต่อดีตเป็นเอนกชาติหลั่งออกมาเป็นกระแสน้ำไหล่บ่ามาอย่างแรง จนพัดพาพญามารและเหล่าเสนามารลอยไปไกลจนสุดขอบฟ้า พญามารต้องตกตะลึงด้วยความอัศจรรย์ใจ และยอมรับความพ่ายแพ้ในที่สุด เมื่อกำจัดเหล่ามารไปสิ้นแล้ว พระองค์ก็ทรงตั้งพระทัยเจริญภาวนาสมาธิบำเพ็ญเพียรทางจิตต่อไป จนตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณ สำเร็จเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในวันนั้น ก็คือวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ หรือวันวิสาขบูชานั่นเอง
 
     ดังนั้น ด้วยพระอิริยาบถที่ทรงชี้พระหัตถ์ขวาลงไปที่พระแม่ธรณี เพื่อขอให้เป็นพยานในบุญบารมีที่พระองค์ได้สั่งสมมาตลอดระยะเวลาอันยาวนานนับอนันตชาติ จนพระแม่ธรณีได้บีบมวยผมหลั่งน้ำที่ทรงกรวดอุทิศที่มีจำนวนมากมายมหาศาลไหลท่วมท้นเหล่ามารจนแพ้ไปนั้น จึงได้กลายมาเป็นลักษณะของพระพุทธรูป "ปางมารวิชัย” หรือ "ปางชนะมาร” อย่างที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งพระพุทธรูปปางนี้ มักจะสร้างเป็นพระประธานในโบสถ์ หรือเป็นพระพุทธรูปสำคัญทั้งนี้คงเป็นเพราะการชนะมารดังกล่าว ก็คือ การชนะกิเลส ทำให้หลุดพ้น หรือชนะอุปสรรคต่างๆ นั่นเอง
 
     สำหรับพระพุทธรูปปางมารวิชัยที่เราส่วนใหญ่เคยเห็น เช่น พระพุทธชินราชที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก พระสุวรรณเขตและพระพุทธชินสีห์ ซึ่งเป็นพระประธานคู่ในวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร กทม. พระพุทธสิหิงค์ ที่วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร จังหวัดเชียงใหม่ พระพุทธสิหิงค์ ที่หอพระพุทธสิหิงค์ จังหวัดนครศรีธรรมราช (ส่วนพระพุทธสิหิงค์ในกรุงเทพฯจะเป็นปางสมาธิ ประดิษฐานที่พระที่นั่งพุทไธสวรรย์)และ พระพุทธตรีโลกเชษฐ์ พระประธานที่วัดสุทัศน์เทพวราราม เป็นต้น

 


Cr photo by กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมประมง 

=> บทนมัสการพระพุทธเจ้า พร้อมคำแปล

              นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
แปล       ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้เป็นอรหันต์ ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง

              นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
แปล       ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้เป็นอรหันต์ ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง

              นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
แปล       ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้เป็นอรหันต์ ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง

 

=> บทเจริญพระพุทธมนต์  ชะยะปริตร (มหาการุณิโก ) พร้อมคำแปล

              มะหาการุณิโก นาโถ หิตายะ สัพพะปาณินัง ปูเรตวา ปาระมี สัพพา ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลังฯ
แปล       ผู้เป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลาย ประกอบแล้วด้วยพระมหากรุณา ยังบารมีทั้งหลายทั้งปวงให้เต็ม เพื่อประโยชน์แก่สรรพสัตว์ทั้งหลาย ได้บรรลุสัมโพธิญาณอันอุดมแล้ว ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่าน
              ชะยันโต โพธิยา มูเล สักยานัง นันทิวัฑฒะโน เอวัง ตะวัง วิชะโย โหหิ ชะยัสสุ ชะยะมังคะเล อะปะราชิตะปัลลังเก สีเส ปะฐะวิโปกขะเร อะภิเสเก สัพพะพุทธานัง อัคคัปปัตโต ปะโมทะติฯ
แปล       ขอท่านจงมีชัยชนะ ดุจพระจอมมุนีที่ทรงชนะมาร ที่โคนโพธิพฤกษ์ ถึงความเป็นผู้เลิศในสรรพพุทธาภิเษก ทรงปราโมทย์อยู่บนอปราชิตบัลลังก์อันสูง เป็นจอมมหาปฐพี ทรงเพิ่มพูนความยินดีแก่ เหล่าประยูรญาติศากยวงศ์ฉะนั้นเทอญ

              สุนักขัตตัง สุมังคะลัง สุปะภาตัง สุหุฏฐิตัง สุขะโณ สุมุหุตโต จะ สุยิฏฐัง พรัหมะ จาริสุ ปะทักขิณัง กายะกัมมัง วาจากัมมัง ปะทักขิณัง ปะทักขิณัง มะโนกัมมัง ปะณิธี เต ปะทักขิณา ปะทักขิณานิ กัตตะวานะ ละภันตัตเถ ปะทักขิเณฯ 
แปล        เวลาที่ “สัตว์” (หมายถึงสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย เช่น มนุษย์และสรรพสัตว์) ประพฤติชอบ ชื่อว่า ฤกษ์ดี มงคลดี สว่างดี รุ่งดี และขณะดี ครู่ดี บูชาดีแล้ว ในพรหมจารีบุคคลทั้งหลาย กายกรรม เป็นประทักษิณ วจีกรรม เป็นประทักษิณ มโนกรรม เป็นประทักษิณ ความปรารถนาของท่านเป็นประทักษิณ สัตว์ทั้งหลายทำกรรม อันเป็นประทักษิณแล้ว ย่อมได้ประโยชน์ทั้งหลาย อันเป็น ประทักษิณ

 

=> สัพพมงคลคาถา พร้อมคำแปล

              ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะพุทธานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต ฯ 
แปล       ขอสรรพมงคลจงมีแก่ท่าน ขอเหล่าเทวดาทั้งปวงจงรักษาท่าน ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธเจ้า ขอความสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ท่านทุกเมื่อ

              ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะธัมมานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต ฯ 
แปล       ขอสรรพมงคลจงมีแก่ท่าน ขอเหล่าเทวดาทั้งปวงจงรักษาท่าน ด้วยอานุภาพแห่งพระธรรม ขอความสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ท่านทุกเมื่อ

              ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะสังฆานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต ฯ
แปล       ขอสรรพมงคลจงมีแก่ท่าน ขอเหล่าเทวดาทั้งปวงจงรักษาท่าน ด้วยอานุภาพแห่งพระสงฆ์ ขอความสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ท่านทุกเมื่อ

(กราบ 3 ครั้ง)

 Tags

  •   Hits
  • ภารกิจประจำวันที่ 10 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  ภารกิจประจำวันที่ 10 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 52  ภารกิจประจำวันที่ 27 มกราคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 27 มกราคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 29 ภารกิจประจำวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 28 ภารกิจประจำวันที่ 31 มกราคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 31 มกราคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 25 ภารกิจประจำวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 25 ภารกิจประจำวันที่ 8 เมษายน 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 8 เมษายน 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 22 ภารกิจประจำวันที่ 25 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   ภารกิจประจำวันที่ 25 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 21 ภารกิจประจำวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 21 ภารกิจประจำวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 20 ภารกิจประจำวันที่ 5 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 5 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 19 ภารกิจประจำวันที่ 7 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 7 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 19 ภารกิจประจำวันที่ 16 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี     ภารกิจประจำวันที่ 16 มีนาคม 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 18 ภารกิจประจำวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  ภารกิจประจำวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 18 ภารกิจประจำวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  ภารกิจประจำวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี   จำนวนผู้อ่าน 17 ภารกิจประจำวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี ภารกิจประจำวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี  จำนวนผู้อ่าน 17


    สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.2568 สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี

    รายละเอียด สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี SARABURI PROVINCIAL FISHERIES OFFICE ที่ตั้ง : 123 หมู่ 6 ศาลากลางจังหวัดสระบุรี สำนักงานประมงจังหวัดสระบุรี (ชั้น 2)            ตำบลตะกุด อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี 18000           123 Moo 6, Saraburi Provincial Hall, Saraburi Provincial Fisheries Office (2nd floor)            Takud Sub-district, Mueang Saraburi District, Saraburi, 18000 การเดินทางสาธารณะ : รถสองแถวสาย 9 (10 บาทตลอดสาย)                                       โดยจุดจอดรถสองแถวเริ่มต้นที่ บขส.สระบุรี สิ้นสุดที่ ศูนย์ราชการจังหวัดสระบุรี  Social Network     : fpo_saraburi@fisheries.go.th  LINEID : fposaraburi QR Code Line    ผู้ดูแลเว็บไซต์ : นางสาวพรศิริ โพธาราม   เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล  email  fpo_saraburi@fisheries.go.th  โทรศัพท์ 0 3634 0742  FAX 0 3634 0742  แฟนเพจ แฟนเพจ
    CreativeCommons Valid CSS! Explanation of WCAG 2.1 Level Triple-AA Conformance SSL Labs ipv6