มาตรฐานอาหารปลอดภัย (Food Safety)


[2025-06-23] ประกาศแผนการจัดซื้อวัสดุการเกษตร 7 รายการ โครงการส่งเสริมทางเลือกอาชีพ.. [2025-05-26] นายณัฐรัฐ พรเดชอนันต์ ประมงจังหวัดเชียงราย พร้อมด้วยนายพงศกร น้อยมูล เ.. [2023-11-23] ปากอิงใต้.. [2023-10-20] ประกาศ กรมประมง เรื่อง หลักเกณฑ์ การขึ้นทะเบียนองค์กรชุมชนประมงท้องถิ่.. [2022-08-03] มาตรฐานอาหารปลอดภัย (Food Safety).. [2022-07-06] ประกาศกรมประมง เรื่อง บัญชีรายชื่อผู้ผ่านการเลือกสรรเพื่อจัดจ้างเป็นพน.. [2022-06-09] ประชาสัมพันธ์ การลดต้นทุนการเลี้ยงสัตว์น้ำ.. [2022-05-12] ประกาศกรมประมง เรื่อง รับสมัครบุคคลเพื่อเลือกสรรเป็นพนักงานราชการทั่ว.. [2022-05-11] Fisherman market @chiangrai.. [2022-05-11] เรื่อง กำหนดช่วงระยะเวลาฤดูสัตว์น้ำจืดมีไข่ หรือวางไข่ เลี้ยงตัวอ่อน แ.. อ่านทั้งหมด 

มาตรฐานอาหารปลอดภัย (Food Safety) 

 คลังความรู้  ข้อมูลเผยเเพร่  ข้อมูลเผยเเพร่ อื่นๆ

ส่ง email แชร์ X ส่ง Line แชร์ Facebook
ฟังเสียงบรรยาย
ฟังเสียงบรรยาย

กรมประมงตอบสนองนโยบายรัฐบาลที่ให้ความสำคัญในเรื่องของมาตรฐานอาหารปลอดภัย (Food Safety) ของผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำของประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันกรมประมงเปิดขอบข่ายให้การรับรองมาตรฐานเพิ่มอีก 2 มาตรฐาน มาตั้งแต่กลางปีที่ผ่านมาเพื่อเปลี่ยนผ่านมาตรฐาน GAP ของกรมประมง เป็น GAP มกษ. ได้แก่

1. มกษ. 7421 – 2561 การปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดี สำหรับฟาร์มเพาะและอนุบาลสัตว์น้ำจืด

2. มกษ. 7434 – 2562 การปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดี สำหรับฟาร์มสาหร่ายทะเล

ในปี พ.ศ. 2563 คณะกรรมการมาตรฐานสินค้าเกษตรได้กำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตรขึ้น คือมกษ.7436-2563 การปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดีสำหรับฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อการบริโภค เป็นมาตรฐานทั่วไป หรือมาตรฐานสมัครใจ ซึ่งสามารถเรียกได้ว่าเป็นมาตรฐาน GAP มกษ. ขั้นพื้นฐาน ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ประกาศกำหนดขึ้น สำหรับมกษ. 7436–2563 สำหรับฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อการบริโภค มีขอบข่ายครอบคลุมกิจกรรมการเลี้ยงสัตว์น้ำ ทั้งการเลี้ยงในบ่อและการเลี้ยงในแหล่งน้ำสาธารณะ ตั้งแต่การเลี้ยง การจับ จนถึงหลังการจับก่อนการขนส่งออกจากฟาร์ม แต่ไม่ครอบคลุมสัตว์น้ำ 3 ชนิด ได้แก่ จระเข้ สาหร่ายทะเล และกุ้งเครย์ฟิช โดยประกอบด้วยข้อกำหนด 9 ข้อสำคัญ ดังนี้ 1.สถานที่ 2.การจัดการเลี้ยง 3. การจัดการคุณภาพสัตว์น้ำ 4. การใช้ยาสัตว์ สารเคมี และผลิตภัณฑ์จุลชีพ 5.สุขลักษณะภายในฟาร์ม 6.การจัดการน้ำทิ้ง 7.การจับและการปฏิบัติหลังการจับก่อนการขนส่งออกจากฟาร์ม 8.ผู้ปฏิบัติงาน และ 9.การเก็บหลักฐานและการบันทึกข้อมูล

ซึ่งหากปฏิบัติตามและได้รับการรับรองมาตรฐานจะช่วยให้ผู้บริโภคมั่นใจได้ว่าผลผลิตสัตว์น้ำ ที่ได้มีคุณภาพและปลอดภัยต่อการบริโภค อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้าเพื่อปิดช่องว่างการกีดกันทางการค้าจากประเทศคู่ค้าอื่น ๆ ในด้านการส่งออกสินค้าและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำของไทย เนื่องจากมาตรฐานนี้เป็นมาตรฐานสมัครใจ 

สำนักงานประมงจังหวัดเชียงรายขอเชิญชวนเกษตรกรหรือผู้ประกอบการที่สนใจ ยื่นคำขอรับการตรวจรับรองมาตรฐาน มกษ. 7436-2563 สำหรับฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อการบริโภคได้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564 เป็นต้นไป ณ สำนักงานประมงจังหวัดเชียงราย หรือศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดเชียงราย


คุยกับน้องมัจฉา Add Friends คุยกับน้องมัจฉา