สาระน่ารู้ของแอสตาแซนธิน

 กองวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ


สาระน่ารู้ของแอสตาแซนธิน 


ส่ง email แชร์ X ส่ง Line แชร์ Facebook
ฟังเสียงบรรยาย
ฟังเสียงบรรยาย

HOT สาระน่ารู้ของแอสตาแซนธิน..คลิก

ปัจจุบัน มีการนำแอสตาแซนธินมาใช้ในเชิงการค้าอย่างแพร่หลาย โดยนำมาเป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสุขภาพ ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง และอาหารสัตว์ เนื่องจากผลการศึกษาพบว่าสารนี้มีผลทำให้เกิดปฏิกิริยาทางชีววิทยาทั้งในคนและสัตว์

แอสตาแซนธิน (Astaxanthin) เป็นสารในกลุ่มแคโรทีนอยด์ มีสีแดงส้ม จัดอยู่ในกลุ่มของแซนโทฟิลล์ (Xanthophylls) เรียกว่า แซนโทฟิลล์แคโรทีนอยด์ (Xantho-carotenoid) แอสตาแซนธิน ประกอบด้วยไฮโดรคาร์บอนสายยาวที่มีวงเบต้าไอโอโนนโดยมีหมู่ไฮดรอกซิลที่ปลายสายทั้งสองข้าง เมื่อหมู่ไฮดรอกซิลทำปฏิกิริยากับกรดไขมันเพียงข้างเดียว จะเกิดโมเลกุลแบบโมโนเอสเทอร์ และหากหมู่ไฮดรอกซิลทำปฏิกิริยากับกรดไขมันทั้งสองข้าง จะเป็นโมเลกุลแบบไดเอสเทอร์ (Ciapara et al., 2006) ปัจจุบันแอสตาแซนธินมีทั้งที่มาจากธรรมชาติ และสังเคราะห์ด้วยกระบวนการทางเคมี แอสตาแซนธินที่มาจากธรรมชาติได้จากการสกัดจากจุลชีพ (microorganism) พืช และสัตว์ต่าง ๆ เช่น สาหร่ายขนาดเล็ก (Haematococcus pluvialis และ Chlorella vulgaris) ยีสต์ รา (Phaffia rhodozyma) แบคทีเรีย (Agrobacterium aurantiacum) และสัตว์กลุ่มครัสตาเซียน เช่น กุ้ง และปู ซึ่งสะสมแอสตาแซนธินในส่วนเปลือก (Ambati et al., 2014)

เนื่องจากแอสตาแซนธินเป็นสารประกอบไลโปฟิลิก สามารถละลายได้ในตัวทำละลายและน้ามัน การสกัดแอสตาแซนธินจึงใช้ทั้งตัวทำละลาย เช่น อะซิโตน กรด เช่น กรดไฮโดรคลอริก น้ำมันที่บริโภคได้ เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด น้ำมันโอลิฟ และใช้วิธีย่อยด้วยเอนไซม์ร่วมกับไมโครเวฟที่อุณหภูมิและเวลาเหมาะสม (Ambati et al., 2014) แอสตาแซนธินธรรมชาติส่วนใหญ่ผลิตจากสาหร่าย Haematococcus pluvialis โดยการสกัด 2 ขั้นตอนซึ่งใช้ตัวทำละลายอินทรีย์ที่แตกต่างกัน พบว่าการใช้กรดไฮโดรคลอริก แล้ว ตามด้วยอะซิโตน ให้ปริมาณน้ำมันที่สกัดสูงสุดร้อยละ 33 โดยมีปริมาณแอสตาแซนธินอยู่ในน้ำมันร้อยละ 19.8 ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 6.6 ของปริมาณสาหร่าย (Dong et al., 2014) ส่วน Sanchez-Camargo et al (2011) ศึกษาแอสตาแซนธินในส่วนเศษเหลือของกุ้ง (Farfantepenaeus paulansis) สามารถสกัดได้แอสตาแซนธิน 5.3 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัมน้ำหนักแห้ง และพบว่า แอสตาแซนธินที่สกัดได้ประกอบด้วยแอสตาแซนธินอิสระ แอสตาแซนธินโมโนเอสเทอร์ และแอสตาแซนธินไดเอสเทอร์ (อ่านเพิ่มเติม)

 Tags

  •   Hits
  • คัดเลือกสถาบันเกษตรกรดีเด่นกลุ่มเกษตรกรแปรรูปสัตว์น้ำ ณ วิสาหกิจชุมชนแปรรูปอาหารทะเลบ้านแพรกเมือง อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช  คัดเลือกสถาบันเกษตรกรดีเด่นกลุ่มเกษตรกรแปรรูปสัตว์น้ำ ณ วิสาหกิจชุมชนแปรรูปอาหาร... จำนวนผู้อ่าน 146  นิทรรศการ แปรรูปเพิ่มมูลค่า ต่อยอด Zero waste สู่ประมงยั่งยืน“ จับปลาได้ จัดการดี มีกินตลอดปิดอ่าว” ณ บริเวณท่าเทียบเรือประมงชุมพร จ.ชุมพร นิทรรศการ แปรรูปเพิ่มมูลค่า ต่อยอด Zero waste สู่ประมงยั่งยืน“ จับปลาได้ จัดการด... จำนวนผู้อ่าน 136 การมีส่วนร่วมของเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทะเลและผู้ประกอบการแปรรูปกุ้ง การมีส่วนร่วมของเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทะเลและผู้ประกอบการแปรรูปกุ้ง  จำนวนผู้อ่าน 130 ประชุมคณะกรรมการคัดเลือกเกษตรกร และสถาบันเกษตรกรดีเด่น ด้านการประมง ครั้งที่ 1/2568 ประชุมคณะกรรมการคัดเลือกเกษตรกร และสถาบันเกษตรกรดีเด่น ด้านการประมง ครั้งที่ 1/2... จำนวนผู้อ่าน 92 การประชุมคณะอนุกรรมการส่งเสริมการแปรรูปสินค้าเกษตร ครั้งที่ 2/2568 การประชุมคณะอนุกรรมการส่งเสริมการแปรรูปสินค้าเกษตร ครั้งที่ 2/2568  จำนวนผู้อ่าน 91 ร่วมแต่งกายด้วยเครื่องแบบข้าราชการ ลูกจ้างประจำ พนักงานราชการ ทุกวันจันทร์ ร่วมแต่งกายด้วยเครื่องแบบข้าราชการ ลูกจ้างประจำ พนักงานราชการ ทุกวันจันทร์  จำนวนผู้อ่าน 89 รายงานประจำปี กอส. รายงานประจำปี กอส.  จำนวนผู้อ่าน 85 การประชุมคณะกรรมการอำนวยการโครงการสร้างแรงจูงใจในการนำปลาหมอคางดำที่กำจัดออกไปใช้ประโยชน์โดยการหมักปลาร้า ครั้งที่ 1/2568 การประชุมคณะกรรมการอำนวยการโครงการสร้างแรงจูงใจในการนำปลาหมอคางดำที่กำจัดออกไปใช... จำนวนผู้อ่าน 78 ประกาศกรมประมง เรื่องขายครุภัณฑ์ที่ชำรุด ประกาศกรมประมง เรื่องขายครุภัณฑ์ที่ชำรุด  จำนวนผู้อ่าน 78 เจตนารมณ์ไม่รับของขวัญและของกำนัลทุกชนิดจากการปฏิบัติหน้าที่ (์No Gift Policy) เจตนารมณ์ไม่รับของขวัญและของกำนัลทุกชนิดจากการปฏิบัติหน้าที่ (์No Gift Policy)  จำนวนผู้อ่าน 76 คู่มือการให้บริการการขอใช้ตราสัญลักษณ์ประมงธงเขียวสำหรับผู้รับบริการ คู่มือการให้บริการการขอใช้ตราสัญลักษณ์ประมงธงเขียวสำหรับผู้รับบริการ  จำนวนผู้อ่าน 70 คู่มือการออกตราสัญลักษณ์ประมงธงเขียวสำหรับเจ้าหน้าที่ คู่มือการออกตราสัญลักษณ์ประมงธงเขียวสำหรับเจ้าหน้าที่  จำนวนผู้อ่าน 68 งานพิธีประกาศใช้มาตรการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำในฤดูสัตว์น้ำมีไข่ วางไข่ เลี้ยงตัวอ่อน พื้นที่ทะเลฝั่งอันดามัน ประจำปี 2568 งานพิธีประกาศใช้มาตรการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำในฤดูสัตว์น้ำมีไข่ วางไข่ เลี... จำนวนผู้อ่าน 65 การประชุมคณะกรรมการอำนวยการโครงการสร้างแรงจูงใจในการนำปลาหมอคางดำที่กำจัดออกไปใช้ประโยชน์โดยการหมักปลาร้า ครั้งที่ 2/2568 การประชุมคณะกรรมการอำนวยการโครงการสร้างแรงจูงใจในการนำปลาหมอคางดำที่กำจัดออกไปใช... จำนวนผู้อ่าน 64 การประชุมข้าราชการกองวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ ครั้งที่ 1/2568 การประชุมข้าราชการกองวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ ครั้งที่ 1/2568  จำนวนผู้อ่าน 46


    สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.2568 กองวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ

    รายละเอียด 50 ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900  email  ftdd@fisheries.go.th  โทรศัพท์ 02 940 6130-45  FAX 02 940 6200  แฟนเพจ แฟนเพจ
    CreativeCommons Valid CSS! Explanation of WCAG 2.1 Level Triple-AA Conformance SSL Labs ipv6