สถิติกุ้งขาวแวนนาไมและกุ้งกุลาดำ ปี 2562 



กุ้งกุลาดำ

ปี 2562

 

รวมทั้งประเทศ

        เนื้อที่เลี้ยง 11,167 ไร่ เพิ่มขึ้น จากปีที่แล้ว 455 ไร่ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.25

        ผลผลิต 15,247 ตัน เพิ่มขึ้น จากปีที่แล้ว 1,401 ตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.12

        ผลผลิตต่อไร่ต่อปี 1,365 กิโลกรัม เพิ่มขึ้น จากปีที่แล้ว 73 กิโลกรัม หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.63

สถานการณ์การผลิต

        ปริมาณการผลิตและเนื้อที่เลี้ยงกุ้งกุลาดำปี 2562 เพิ่มขึ้นจากปี 2561 โดยปกติแล้วเกษตรกรผู้เลี้ยง
กุ้งกุลาดำจะเป็นเกษตรกรรายเดิมซึ่งมีความชำนาญในการเลี้ยงกุ้งกุลาดำ และเลี้ยงตามคำสั่งซื้อของลูกค้าประจำในส่วนผู้ส่งออกสามารถปรับตัว และบริหารจัดการการขนส่งได้ดีขึ้นหลังจากที่ประสบปัญหาการยกเลิกเที่ยวบินจากภูเก็ตไปประเทศจีน โดยปรับเปลี่ยนไปส่งออกทางสนามบินสุราษฎร์ธานีและสุวรรณภูมิเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมในบางพื้นที่ เช่นจังหวัดจันทบุรี เปลี่ยนมาเลี้ยงกุ้งกุลาดำ เนื่องจากมีความต้องการของตลาดเพิ่มมากขึ้น ทั้งตลาดภายในประเทศและตลาดจีน ในรูปแบบกุ้งต้ม ณ ปากบ่อ และกุ้งมีชีวิต อีกทั้งในปีนี้เกษตรกรนิยมเลี้ยงกุ้งขนาดใหญ่มากขึ้นเพราะตลาดมีความต้องการและมีราคาสูง รวมทั้งยังคงมีการบริหารจัดการที่ดี ปล่อยกุ้งในอัตราที่เหมาะสม ทำให้อัตรารอดดี ส่งผลให้ภาพรวมปริมาณการผลิตทั้งประเทศเพิ่มขึ้นด้วย

---------------------------------------------------------------------------------------------------------

กุ้งขาวแวนนาไม

ปี 2562

       

เนื้อที่เลี้ยง รวมทั้งประเทศ 248,378 ไร่ เพิ่มขึ้น จากปีที่แล้ว 17,466 ไร่ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.56

ผลผลิต รวมทั้งประเทศ 377,595 ตัน เพิ่มขึ้น จากปีที่แล้ว 20,222 ตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.66

ผลผลิตต่อไร่ต่อปี รวมทั้งประเทศ 1,520 กิโลกรัม ลดลง จากปีที่แล้ว 28 กิโลกรัม  หรือลดลงร้อยละ 1.79

สถานการณ์การผลิต

       เนื้อที่เลี้ยงปี 2562 เพิ่มขึ้นจากปี 2561 เนื่องจากราคาที่เกษตรกรขายได้แม้จะลดลงจากปีก่อน
แต่อยู่ในเกณฑ์ที่เกษตรกรรับได้จึงยังคงเลี้ยงอยู่ รวมทั้งมีการเลี้ยงเพิ่มขึ้นมากในบางจังหวัดภาคกลาง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมรวมกับกุ้งก้ามกรามหรือปลาน้ำจืด เช่น ปลานิล เพราะให้ผลตอบแทนที่จูงใจ
ส่วนผลผลิตต่อไร่ลดลง เนื่องจากหลายพื้นที่ประสบปัญหาโรคระบาด เช่น โรค
EMS โรคขี้ขาว และโรคตัวแดงดวงขาว นอกจากนี้เกษตรกรยังลดความหนาแน่นในการเลี้ยง โดยการปล่อยลูกกุ้งลดลงเพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดโรค และผลจากราคากุ้งที่ลดต่ำลง แต่ในภาพรวมผลผลิตกุ้งขาวแวนนาไม ปี 2562 เพิ่มขึ้นตามเนื้อที่เลี้ยงที่เพิ่มขึ้น

 

 Tags

  •  บทความหน้าหลัก Hits 10 อันดับ (6 เดือน)
  • ยังไม่มีการจัดลำดับบทความรอบ 6 เดือน!
  •  กิจกรรม Hits 10 อันดับ (6 เดือน)
  •  กิจกรรมลงแขกเกี่ยวข้าว อนุรักษ์วิถีชีวิตและภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อพัฒนาการเกษตรอ...  201   ประกาศสำนักงานประมงจังหวัดยะลา เรื่อง รายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการประเมินความรู้ค...  191  กิจกรรม "ลงแหจับปลาบึงละหาร"    146  รับสมัครพนักงานราชการทั่วไป   145  โครงการบริหารจัดการทรัพยากรประมง   141  งานวันถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเริ่มต้นฤดูการผลิตใหม่ (Field Day ) พื้นที่อำเภอเมือง...  119  ตรวจประเมินฟาร์มของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการยกระดับคุณภาพมาตรฐานสินค้าเกษตร   116  โครงการยกระดับคุณภาพมาตรฐานสินค้าเกษตร ในพื้นที่่อำเภอบันนังสตา   116  นิทรรศการการส่งเสริมและพัฒนาการเรียนรู้ที่ยั่งยืนด้วยการบูรณาการการมีส่วนร่วมโคร...  111  ประกาศคณะกรรมการคัดเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายการประมงแห่งชาติ พ...  107


    สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.2566 สำนักงานประมงจังหวัดยะลา

     ศาลากลางจังหวัดยะลา อาคาร1 ชั้น 1  ถนนสุขยางค์ ตำบลสะเตง อำเภอเมือง จังหวัดยะลา 95000    fpo_yala@fisheries.go.th   073-213971 มือถือ 098-671-6090   073-242973   แฟนเพจ