ฟอร์มาลินกับสัตว์น้ำ

 กองวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ


ฟอร์มาลินกับสัตว์น้ำ 


ส่ง email แชร์ X ส่ง Line แชร์ Facebook
ฟังเสียงบรรยาย
ฟังเสียงบรรยาย

HOT ฟอร์มาลินกับสัตว์น้ำ..คลิก

ฟอร์มาลินกับสัตว์น้ำ

     ฟอร์มาลินที่นำมาใช้โดยทั่วไปอยู่ในรูปสารละลาย ประกอบด้วยก๊าซฟอร์มาลดีไฮด์ร้อยละ 37-40 ในน้ำ และมีเมทานอลร้อยละ 10-15 เพื่อทำให้ฟอร์มาลินไม่เปลี่ยนรูปเป็นโพลิเมอร์พาราฟอร์มาลดีไฮด์ซึ่งมีความเป็นพิษมากกว่า ฟอร์มาลินมีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อ จุลินทรีย์ เชื้อรา จึงมีการนำมาใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์ การเก็บรักษาธัญพืชหลังการเก็บเกี่ยว การป้องกันแมลง และอุตสาหกรรมอื่น เช่น ใช้เป็นน้ำยาอาบผ้าไม่ให้ย่นในอุตสาหกรรมสิ่งทอ ใช้ให้กระดาษลื่นและป้องกันน้ำในอุตสาหกรรมกระดาษ เป็นต้น นอกจากนี้ ฟอร์มาลินยังใช้ในการกำจัดปรสิตภายนอกสำหรับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอีกด้วย คุณสมบัติของฟอร์มาลินที่สามารถฆ่าเชื้อได้ จึงมีข่าวเผยแพร่การนำสารชนิดนี้ไปใช้กับอาหาร เช่น ใช้แช่ผักและเนื้อสัตว์ โดยเฉพาะอาหารทะเล เพื่อทำให้อาหารเหล่านั้นดูสดและน่ารับประทานได้นาน ไม่เน่าเสียง่าย สำหรับโทษของการบริโภคอาหารที่ปนเปื้อนฟอร์มาลินจะส่งผลให้เกิดพิษต่อระบบทางเดินอาหาร มีอาการปวดท้อง ปากแห้ง คอแห้ง ปวดศีรษะอย่างรุนแรง แน่นหน้าอก หัวใจเต้นเร็ว อาจมีอาการท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน ปัสสาวะไม่ออกหรือปัสสาวะเป็นเลือด อ่อนเพลีย เหงื่อออก ตัวเย็น ผิวหนังเป็นผื่นคล้ายลมพิษไปจนถึงผิวหนังไหม้ หากรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนฟอร์มาลินเป็นเวลานานจะเกิดการสะสมในร่างกายและทำให้เป็นมะเร็งได้ นอกจากนี้ไอระเหยของฟอร์มาลินยังส่งผลต่อระบบหายใจทำให้แสบจมูก เจ็บคอ ไอ หายใจไม่ออก ปอดอักเสบ น้ำท่วมปอด และอาจถึงแก่ชีวิตได้ถ้าสูดดมในปริมาณมาก

     อย่างไรก็ตาม สัตว์น้ำโดยธรรมชาติมีสารฟอร์มัลดีไฮด์อยู่แล้วในปริมาณหนึ่ง แม้ว่าสัตว์น้ำนั้นจะไม่สัมผัสสารละลายฟอร์มาลินเลยก็ตาม เนื่องจากในเนื้อเยื่อสัตว์น้ำมีสารประกอบไนโตรเจนที่ไม่ใช่โปรตีน (non-protein nitrogen) ชื่อว่าไตรเมทิลเอมีนออกไซด์ (TMAO) เมื่อปลาเกิดการเสื่อมเสีย เอนไซม์ในตัวปลาชื่อไตรเมทิลเอมีน ดีเมทิลเลส (trimethylamine demethylase) จะเปลี่ยน TMAO เป็นไดเมทิลเอมีน (DMA) และฟอร์มัลดีไฮด์ ซึ่งจากรายงานของกรมประมง โดยสุภาพรรณ และคณะ (2543) ที่ศึกษาปริมาณฟอร์มัลดีไฮด์ในเนื้อปลาธรรมชาติ 9 ชนิด ได้แก่ ปลาทรายแดง ปลากะพงแดง ปลากะพงขาว ปลาเก๋า ปลาตาเดียว ปลาน้ำดอกไม้ ปลาทู ปลาซาดีน และปลาปากคม พบว่า มีปริมาณฟอร์มัลดีไฮด์ประมาณ 5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ยกเว้นปลาปากคมที่มีปริมาณฟอร์มัลดีไฮด์สูงกว่าปลาชนิดอื่น และจากผลการสำรวจปริมาณฟอร์มัลดีไฮด์ในสัตว์ทะเลธรรมชาติของกองอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จำนวน 8 ชนิด ได้แก่ ปลาเก๋า ปลากะพง ปลาจาระเม็ด ปลาทู ปลาสำลี หมึก ปู และกุ้ง รวมทั้งสิ้น 140 ตัวอย่าง พบว่า สัตว์ทะเลดังกล่าวมีปริมาณฟอร์มัลดีไฮด์อยู่ในช่วง 0.00-3.90 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม

     กระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศห้ามใช้ฟอร์มาลินกับอาหาร ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 151 (พ.ศ. 2536) แห่งพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 กำหนดให้สารละลายฟอร์มัลดีไฮด์ หรือฟอร์มาลิน เป็นวัตถุห้ามใช้ในอาหาร ผู้ใช้สารนี้กับอาหารหรือทำให้อาหารนั้นเกิดพิษภัยต่อผู้บริโภค จัดเป็นการผลิต จำหน่ายอาหารไม่บริสุทธิ์ และถ้าตรวจพบการกระทำดังกล่าว จะต้องถูกดำเนินการตามกฎหมาย มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ โดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ได้กำหนดปริมาณฟอร์มาลดีไฮด์ในสัตว์ทะเล (เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการตามกฎหมาย) คือต้องไม่เกิน 5.0 มิลลิกรัมมต่อกิโลกรัม

 

เอกสารอ้างอิง

ชนิพรรณ บุตรยี่. 2536. ฟอร์มาลิน กับ อาหาร. บทความสุขภาพน่ารู้.  

      https://www.doctor.or.th/article/detail/3244. วันที่สืบค้น 31 กค. 62

วันทนีย์ ขำเลิศ และคณะ. 2536. การเปลี่ยนแปลงระดับปริมาณฟอร์มัลดีไฮด์ในอาหารต่าง ๆ ใน 2 ช่วงเวลา. 

      วารสารอนามัย. (4): 217-229.

ศูนย์วิจัยและพัฒนาการป้องกันและจัดการภัยพิบัติ. 2555. พิษจากสารฟอร์มาลดีไฮด์. ภัยจากสารเคมี.

      http://dpm.nida.ac.th/main/index.php/articles/chemical-hazards/item/130-พิษจากสาร      

      ฟอร์มาลดีไฮด์. วันที่สืบค้น 31 กค. 62

สุดา ตัณฑวณิช และคณะ. 2556. ยาและสารเคมี เพื่อการป้องกันและรักษาโรคสัตว์น้ำ. ชุมชนสหกรณ์

      การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด. 25 หน้า.

สุทธวัฒน์ เบญจกุล. 2554. เคมีและคุณภาพสัตว์น้ำ. โอเดียนสโตร์. 376 หน้า.

สุภาพรรณ บริลเลียนเตส และคณะ. 2543. การตรวจวิเคราะห์ปริมาณฟอร์มัลดีไฮด์ในปลา. ว.การประมง 53(3):

      238-247.

Thienes, C.E. 1972. Clinical Toxicology. Lea and Febigar. Philadephia.

United States Environmental Protection Agency. 1999. Integrated Risk Information System (IRIS)

      on Formaldehyde. National Center for Environmental Assessment. Office of Research and

      Development. Washington DC: U.S. EPA.

 

 Tags

  •   Hits
  • คัดเลือกสถาบันเกษตรกรดีเด่นกลุ่มเกษตรกรแปรรูปสัตว์น้ำ ณ วิสาหกิจชุมชนแปรรูปอาหารทะเลบ้านแพรกเมือง อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช  คัดเลือกสถาบันเกษตรกรดีเด่นกลุ่มเกษตรกรแปรรูปสัตว์น้ำ ณ วิสาหกิจชุมชนแปรรูปอาหาร... จำนวนผู้อ่าน 147  นิทรรศการ แปรรูปเพิ่มมูลค่า ต่อยอด Zero waste สู่ประมงยั่งยืน“ จับปลาได้ จัดการดี มีกินตลอดปิดอ่าว” ณ บริเวณท่าเทียบเรือประมงชุมพร จ.ชุมพร นิทรรศการ แปรรูปเพิ่มมูลค่า ต่อยอด Zero waste สู่ประมงยั่งยืน“ จับปลาได้ จัดการด... จำนวนผู้อ่าน 136 การมีส่วนร่วมของเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทะเลและผู้ประกอบการแปรรูปกุ้ง การมีส่วนร่วมของเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทะเลและผู้ประกอบการแปรรูปกุ้ง  จำนวนผู้อ่าน 130 ประชุมคณะกรรมการคัดเลือกเกษตรกร และสถาบันเกษตรกรดีเด่น ด้านการประมง ครั้งที่ 1/2568 ประชุมคณะกรรมการคัดเลือกเกษตรกร และสถาบันเกษตรกรดีเด่น ด้านการประมง ครั้งที่ 1/2... จำนวนผู้อ่าน 92 การประชุมคณะอนุกรรมการส่งเสริมการแปรรูปสินค้าเกษตร ครั้งที่ 2/2568 การประชุมคณะอนุกรรมการส่งเสริมการแปรรูปสินค้าเกษตร ครั้งที่ 2/2568  จำนวนผู้อ่าน 91 ร่วมแต่งกายด้วยเครื่องแบบข้าราชการ ลูกจ้างประจำ พนักงานราชการ ทุกวันจันทร์ ร่วมแต่งกายด้วยเครื่องแบบข้าราชการ ลูกจ้างประจำ พนักงานราชการ ทุกวันจันทร์  จำนวนผู้อ่าน 89 รายงานประจำปี กอส. รายงานประจำปี กอส.  จำนวนผู้อ่าน 85 การประชุมคณะกรรมการอำนวยการโครงการสร้างแรงจูงใจในการนำปลาหมอคางดำที่กำจัดออกไปใช้ประโยชน์โดยการหมักปลาร้า ครั้งที่ 1/2568 การประชุมคณะกรรมการอำนวยการโครงการสร้างแรงจูงใจในการนำปลาหมอคางดำที่กำจัดออกไปใช... จำนวนผู้อ่าน 78 ประกาศกรมประมง เรื่องขายครุภัณฑ์ที่ชำรุด ประกาศกรมประมง เรื่องขายครุภัณฑ์ที่ชำรุด  จำนวนผู้อ่าน 78 เจตนารมณ์ไม่รับของขวัญและของกำนัลทุกชนิดจากการปฏิบัติหน้าที่ (์No Gift Policy) เจตนารมณ์ไม่รับของขวัญและของกำนัลทุกชนิดจากการปฏิบัติหน้าที่ (์No Gift Policy)  จำนวนผู้อ่าน 76 คู่มือการให้บริการการขอใช้ตราสัญลักษณ์ประมงธงเขียวสำหรับผู้รับบริการ คู่มือการให้บริการการขอใช้ตราสัญลักษณ์ประมงธงเขียวสำหรับผู้รับบริการ  จำนวนผู้อ่าน 71 คู่มือการออกตราสัญลักษณ์ประมงธงเขียวสำหรับเจ้าหน้าที่ คู่มือการออกตราสัญลักษณ์ประมงธงเขียวสำหรับเจ้าหน้าที่  จำนวนผู้อ่าน 69 งานพิธีประกาศใช้มาตรการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำในฤดูสัตว์น้ำมีไข่ วางไข่ เลี้ยงตัวอ่อน พื้นที่ทะเลฝั่งอันดามัน ประจำปี 2568 งานพิธีประกาศใช้มาตรการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำในฤดูสัตว์น้ำมีไข่ วางไข่ เลี... จำนวนผู้อ่าน 65 การประชุมคณะกรรมการอำนวยการโครงการสร้างแรงจูงใจในการนำปลาหมอคางดำที่กำจัดออกไปใช้ประโยชน์โดยการหมักปลาร้า ครั้งที่ 2/2568 การประชุมคณะกรรมการอำนวยการโครงการสร้างแรงจูงใจในการนำปลาหมอคางดำที่กำจัดออกไปใช... จำนวนผู้อ่าน 64 การประชุมข้าราชการกองวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ ครั้งที่ 1/2568 การประชุมข้าราชการกองวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ ครั้งที่ 1/2568  จำนวนผู้อ่าน 46


    สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.2568 กองวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ

    รายละเอียด 50 ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900  email  ftdd@fisheries.go.th  โทรศัพท์ 02 940 6130-45  FAX 02 940 6200  แฟนเพจ แฟนเพจ
    CreativeCommons Valid CSS! Explanation of WCAG 2.1 Level Triple-AA Conformance SSL Labs ipv6