ประวัติศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดพิษณุโลก


ประวัติศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดพิษณุโลก 


ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดพิษณุโลก สร้างขึ้นภายใต้โครงการบูรณะแหล่งน้ำธรรมชาติขนาดเล็กเพื่อการประมง (SSFIP SMALL SWAMP FISHERIES INLAND PROJECT) ซึ่งกรมประมงได้รับอนุมัติจากรัฐบาลกู้เงินเยน OECF มาดำเนินการ 

 

เนื่องจากแหล่งน้ำธรรมชาติได้เสื่อมสภาพลงจากสาเหตุต่าง ๆ ทำให้ผลผลิตสัตว์น้ำลดลงเป็นจำนวนมาก จึงจำเป็นต้องมีการปรับปรุงแหล่งน้ำธรรมชาติเหล่านี้ ทั้งทางกายภาพและชีวภาพ ให้มีสภาพสมบูรณ์ต่อไป 
ที่ตั้งที่ทำการ
  ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดพิษณุโลก  ตั้งอยู่บริเวณเขื่อนนเรศวร ตำบลพรหมพิราม อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก ระยะทางจากจังหวัดถึงศูนย์ฯ ประมาณ 35 กิโลเมตร  มีเนื้อที่ประมาณ 250 ไร่ ซึ่งกรมประมงได้รับมอบจากกรมชลประทาน 
งบประมาณ การก่อสร้างใช้งบประมาณทั้งสิ้น 59.3 ล้านบาท โดยจ่ายเป็นเงินกู้ 43% เป็นเงิน 25.5ล้านบาท และเงินสมทบ 57% เป็นเงิน 33.8 ล้านบาท  
ระยะเวลาก่อสร้าง เริ่มดำเนินการก่อสร้าง เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2529 แล้วเสร็จการก่อสร้างตามแผนระยะแรก เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2531 ประกอบด้วยสิ่งก่อสร้างดังต่อไปนี้
1. อาคารที่ทำการ TYPE B 1 หลัง 
2. โรงเพาะฟัก TYPE C 1 หลัง 
3. บ้านพักข้าราชการ TYPE A-D 22 หลัง 
4. บ้านพักคนงาน TYPE E 5 หลัง 
5. บ่อซีเมนต์ ขนาด 50 ตารางเมตร 5 บ่อ 
6. บ่อซีเมนต์ ขนาด 70 ตารางเมตร 84 บ่อ 
7. บ่ออนุบาลลูกปลา ขนาด 600 ตารางเมตร 60 บ่อ 
8. บ่ออนุบาลลูกปลา ขนาด 1,200 ตารางเมตร 24 บ่อ 
9. บ่อเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปลา ขนาด 2,700 ตารางเมตร 23 บ่อ