• เต่ามะเฟือง จัดเป็นสัตว์ทะเลหายากและใกล้สูญพันธุ์ที่ได้รับความสำคัญจากนานาประเทศ เนื่องจากการอพยพย้ายถิ่นระยะไกล จึงมีแหล่งอาศัยในพื้นที่ทางทะเลระหว่างประเทศ จัดเป็นทรัพยากรร่วมของภูมิภาคและระดับโลก
• เต่ามะเฟืองเป็นเต่าทะเลที่มีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์สูงสุดเมื่อเปรียบเทียบกับเต่าทะเลที่มีอยู่ 7 ชนิดทั่วโลก จำนวนประชากรพ่อแม่พันธุ์เต่ามะเฟืองที่มาผสมพันธุ์และวางไข่ในประเทศไทย ลดลงอย่างต่อเนื่อง “เหลือเพียงปีละไม่ถึง 10 ตัวในปัจจุบัน”
• ทำให้ต้องมีการทบทวนแนวทางการอนุรักษ์เต่ามะเฟือง เพื่อเพิ่มความเข้มข้นในการคุ้มครองเต่าทะเลที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของโลกชนิดนี้ ให้เป็นสัตว์สงวนแห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562
……………………………………………………………
>> ภัยอันตรายต่อเต่ามะเฟือง <<
• ติดเรือประมง
• ถูกรบกวนจากกิจกรรมในทะเล
• การสูญเสียสภาพชายหาดที่เหมาะสมต่อการวางไข่
• ถูกรบกวนจากกิจกรรมบนชายฝั่ง
• ขยะทะเล
……………………………………………………………
>> ประโยชน์การค้า <<
• ไม่พบการล่าจับเต่ามะเฟืองในน่านน้ำไทยเพื่อการใช้ประโยชน์ทางการค้า แต่พบการติดเครื่องมือประมงโดยบังเอิญ ซึ่งอาจนำไปสู่การส่งออกเพื่อขายสำหรับการอุปโภคและบริโภคในตลาดต่างประเทศ
• มีการลักลอบเก็บไข่เต่ามะเฟืองเพื่อการบริโภค และลักลอบขาย
……………………………………………………………
Kingdom : Animalia
Phylum : Chordata
Class : Reptilia
Order : Testudines
Family : Dermochelyidae
Scientific Name : Dermochelys coriacea (Vandelli, 1761)
Synonym(s) : Testudo coriacea Vandelli, 1761
Common Name : Leatherback, Leatherback Sea Turtle, Leathery Turtle, Luth,Trunkback Turtle, Trunk Turtle, Coffin-back, Leatherback Turtle
ชื่อไทย : เต่ามะเฟือง
ข้อมูลจาก : https://km.dmcr.go.th/th/c_258/d_19102
#กรมประมง #สำนักงานประมงจังหวัดนครนายก #เต่ามะเฟือง
วาฬบรูด้า หนึ่งในสี่สัตว์ป่าสงวนชนิดใหม่ของไทย
..........................................................
• วาฬบรูด้าเป็นหนึ่งในสัตว์ป่าสงวน พระราชบัญญัติสงวน และคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 พบวาฬชนิดนี้แพร่กระจายอยู่ทั่วโลก โดยเฉพาะในเขตร้อนและเขตกึ่งร้อน ในเขตละติจูด 40 องศาเหนือถึงใต้ ไม่พบการอพยพย้ายถิ่นฐานเป็นระยะทางไกล
• ในประเทศไทยมีรายงานการพบวาฬบรูด้าทั้งฝั่งอ่าวไทย และอันดามัน พบหากินในบางฤดูบริเวณเกาะสุรินทร์ จ.พังงา และนอกชายฝั่งทับละมุ จ.พังงา ซึ่งพบห่างจากฝั่งเพียงแค่ 4-30 กิโลเมตร และประชากรที่พบในอ่าวไทยจัดเป็นวาฬประจำถิ่น
• มีบันทึกข้อมูลการเกยตื้นแบบยังมีชีวิตที่ อ่าวสิเกา จ.ตรัง และที่ จ.สตูล และพบซากเกือบทุกจังหวัดชายทะเลทั้งสองฝั่ง ส่วนฝั่งอ่าวไทยพบแพร่กระจายเกือบตลอดทั้งปีในอ่าวไทยตอนบน ในพื้นที่ชายทะเลของ จ.ชลบุรี สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา กรุงเทพฯ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม และเพชรบุรี และเคยพบเข้ามาหากินใกล้ฝั่งที่บ้านบ่อนอก จ.ประจวบคีรีขันธ์
---- สถานภาพการอนุรักษ์ ----
• สถานภาพการอนุรักษ์ในระดับโลก โดยการจัดอันดับของ IUCN (2018) คือ Least Concern (LC) หรือ ไม่ถูกคุกคาม/สถานภาพยังไม่น่าเป็นกังวลเท่าที่ควร
• สถานภาพการอนุรักษ์ในประเทศไทย เป็นสัตว์ป่าสงวน ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2562
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
ชั้นย่อย: Eutheria
อันดับ: Artiodactyla
อันดับฐาน: Cetacea
วงศ์: Balaenopteridae
สกุล: Balaenoptera
สปีชีส์: B. edeni
ขอบคุณข้อมูลจาก : https://km.dmcr.go.th/th/c_250/d_9775
#กรมประมง #สำนักงานประมงจังหวัดนครนายก #วาฬบรูด้า
ไฟเกษตรคืออะไร
" ไฟเกษตรคือ การนำไฟฟ้ามาใช้ภายในสวนของเกษตรกรเพื่อทำการเกษตร เช่น ใช้กับเครื่องสูบน้ำ หลอดไฟ เป็นต้น "
วิธีการขอไฟฟ้าลงพื้นที่เกษตร มี 3 ขั้นตอนดังนี้
1.ขอบ้านเลขที่
ในการขอไฟเกษตรต้องดูแนวโน้มในพื้นที่ด้วยว่าจะมีไฟฟ้าเข้ามาด้วยหรือไม่ และต้องมีบ้านอยู่ในโซนเดียวกันตั้งแต่ 3 หลังขึ้นไป
แต่ถ้าในพื้นที่มีบ้านหลังเดียวก็สามารถขอไฟฟ้าพิเศษได้ แต่ค่าไฟจะสูงกว่าปกติครับ
2. ยื่นเรื่องกับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น
อาจเป็น อบต. หรือเทศบาล
3. ยื่นเรื่องที่การไฟฟ้าในอำเภอของตนเอง
อย่าลืมถามความเป็นไปได้ในการที่จะได้ไฟฟ้าเข้าในพื้นที่ด้วยนะครับ แนะนำให้รวมกลุ่มกันมากๆ 3 หลัง 5 หลังหรือมากกว่า จะทำให้มีน้ำหนักมากขึ้น
ค่าธรรมเนียมในการยื่นขอมิเตอร์ไฟฟ้า
5(15) แอมป์ ค่าธรรมเนียม 1,000 บาท
15(45) แอมป์ 1 เฟส ค่าธรรมเนียม 6,450 บาท
15(45) แอมป์ 3 เฟส ค่าธรรมเนียม 21,350 บาท
เอกสารที่ต้องเตรียม
1. ใบรับรองจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือหน่วยงานราชการ
2. สำเนาทะเบียนบ้าน
3. สำเนาโฉนดที่ดิน
4. สำเนาบัตรประชาชน
#กรมประมง #สำนักงานประมงจังหวัดนครนายก #ไฟฟ้าเกษตร
การเตรียมบ่อ
สัตว์น้ำหลากหลายชนิดไม่ว่าจะเป็น กุ้งขาว กุ้งก้ามกราม หรือ ปลา สามารถเพาะเลี้ยงได้เป็นอย่างดีในบ่อดิน ขั้นตอนแรกที่สำคัญก่อนเริ่มต้นการเลี้ยงในทุก ๆ รอบ คือ การเตรียมบ่อและน้ำเพื่อให้มีความเหมาะสมกับสัตว์น้ำที่เราจะเลี้ยง ซึ่งแน่นอนสัตว์น้ำแต่ละชนิดจะมีช่วงค่าคุณภาพน้ำที่แตกต่างกันออกไปในบางพารามิเตอร์ เช่น ค่าความเค็ม แต่อย่างไรก็ตามการเตรียมบ่อเพื่อใช้ในการเลี้ยงสัตว์น้ำ ค่าคุณภาพน้ำพื้นฐานที่ควรพิจารณา จะมีความคล้ายคลึงกัน เช่น ค่า pH, DO, และ Alkalinity เป็นต้น โดยทั่วไปแล้วการเตรียมบ่อจะมีขั้นตอนที่ไม่ซับซ้อนมากนัก แต่ถ้าหากขาดขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งก็อาจส่งผลกระทบต่อการเลี้ยงในระยะยาวได้ ซึ่งขั้นตอนในการเตรียมบ่อมีดังนี้
1. สูบน้ำออกจากบ่อ หลังจากเก็บเก็บผลผลิตแล้ว จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการสูบน้ำออกจากบ่อ เพื่อปล่อยให้ก้นพื้นบ่อได้สัมผัสกับแสงแดด เพื่อให้รังสียูวีได้ฆ่าเชื้อที่สะสมอยู่ในใต้พื้นบ่อเป็นระยะเวลาหลายเดือนตลอดฤดูการเลี้ยง การเลี้ยงสัตว์น้ำบางชนิด เช่น กุ้งขาว ถูกเลี้ยงด้วยระบบหนาแน่น มีการให้อาหารเยอะ ทำให้ของเสียในบ่อมีมากเช่นกัน หากบ่อเป็นบ่อดินไม่ได้มีการจัดการดูดเลนตะกอนระหว่างการเลี้ยง เกษตรกรจะมีการขุดลอกเลนหลังฤดูเก็บเกี่ยวเพื่อนำของเสียออกจากก้นบ่อ ซึ่งความถี่ของการลอกเลนขึ้นอยู่กับปริมาณของเสีย และตัวของเกษตรกรเอง
2. หากบ่อมีวัชพืชเกิดขึ้นมาก จะต้องมีการกำจัดออกให้หมด เนื่องจากวัชพืชตามคันบ่อ อาจเป็นที่หลบซ่อนของผู้ล่า หากเป็นพืชน้ำที่อยู่ในบ่อจะมีผลต่อการรักษาสมดุลของระดับออกซิเจนที่ละลายในน้ำ เนื่องจากในตอนกลางวันพืชสังเคราะห์แสง ทำให้มีการเพิ่มขึ้นของระดับออกซิเจนที่ละลายในน้ำ แต่ในทางตรงกันข้าม ในเวลากลางคืนพืชเหล่านี้จะเป็นผู้บริโภคออกเจนเพื่อใช้ในกระบวนการหายใจ ทำให้เกิดการแย่งกันระหว่างสัตว์น้ำกับพืชน้ำ ซึ่งอันเป็นผลให้เกิดการลดลงอย่างมากของระดับออกซิเจน จนนำไปสู่การตายของสัตว์น้ำ
3. หว่านโรยปูนขาว เพื่อช่วยกำจัดเชื้อแบคทีเรียที่ไม่ดี และช่วยปรับระดับของ pH ให้มีความเหมาะสมต่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (รายละเอียดใน infographic)
4. เติมน้ำเข้าบ่อ การเติมน้ำควรมีข้อควรระวังอยู่คือ น้ำที่เติมเข้าบ่อนั้น ควรเป็นน้ำที่สะอาด ไม่มีการปนเปื้อนของเสียจากชุมชน อุตสาหกรรม ในการเติมน้ำนั้นควรที่มีที่กรองที่มีตาข่ายขนาดเล็ก เพื่อป้องกันการหลุดรอดเข้ามาของ ปลาชนิดอื่น หรือแม้กระทั่งไข่ปลา เพราะสามารถเติบโตและกลายเป็นผู้ล่าในบ่อในท้ายที่สุด
5. ในบางกรณี น้ำที่ใช้ในการเลี้ยงมีสารอาหารในน้ำต่ำ ทำให้น้ำมีความใส่มากเกินไป เพราะไม่มีแพลงก์ตอนพืชเกิดขึ้นในบ่อ ในกรณีนี้ควรมีการสร้างอาหารธรรมชาติในบ่อด้วยการเติมปุ๋ยในปริมาณที่พอเหมาะ เพื่อกระตุ้นให้เกิดแพลงก์ตอนพืช และควรมีการเช็คค่าความโปร่งใสอย่างสม่ำเสมอ ค่าความโปร่งใสที่แนะนำสำหรับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ไม่ควรต่ำกว่า 30 cm เพราะถ้าน้ำมีความโปร่งใสต่ำเกินไป หมายความว่าน้ำของเรามีสารอาหารมากไป และจะส่งผลเสียแทน
6. หลังจากเตรียมบ่อเตรียมน้ำได้ตามข้อ 1-5 แล้ว ข้อนี้เป็นเรื่องที่สำคัญมากก่อนมีการปล่อยสัตว์น้ำ คือการตรวจวัดคุณภาพน้ำเบื้องต้น เช่น DO, Alkalinity, และ pH ในบ่อ ให้มีความเหมาะสม
7. ทำการปล่อยสัตว์น้ำ แนะนำให้เป็นช่วงเช้ามืดของวัน เนื่องจากเราจะได้สังเกตดูอาการของปลาได้ตลอดวัน ค่อย ๆ ปรับอุณหภูมิของน้ำที่ใช้ขนส่ง กับน้ำในบ่อเลี้ยงให้มีความใกล้เคียงกัน อย่าปล่อยโดยตรงลงบ่อโดยไม่มีการปรับค่าน้ำ การปรับค่าน้ำอาจจะค่อย ๆ น้ำนำในบ่อผสมกับน้ำที่ขนส่ง (ภาพ)
?? ติดตามข้อมูลจากโครงการได้ที่ https://aquadapt.org/products/
การจับปูไข่นอกกระดองมาใช้ประโยชน์จำนวนมาก จนธรรมชาติสร้างทดแทนไม่ทัน ทำให้ทรัพยากรปู ทั้งปริมาณ
และขนาดของปูที่จับได้จากธรรมชาติลดลงอย่างมาก
?? แม่ปู 1 ตัว สามารถวางไข่ได้ ประมาณ 300,000 – 700,000 ตัว อัตรารอด ไม่น้อยกว่า 1% ถ้าเรานำปูตัวนี้มาทานเท่ากับว่าลูกปูจำนวนนี้จะหายไปและหมดโอกาสโตเป็นพ่อแม่พันธุ์ในอนาคต
?? ระยะ ไข่นอกกระดอง ไข่ที่ปล่อยออกมาและยึดเกาะอยู่กับจับปิ้งเริ่มแรกมีสีเหลืองอมส้ม เปลี่ยนเป็นสีเหลืองปนเทา จากนั้นเปลี่ยนเป็นสีเทาอมน้ำตาล และดำ ตามลำดับ โดยใช้ระยะเวลาประมาณ 10-15 วัน แม่ปูก็จะใช้ขาเดินเขี่ยไข่ที่เสียให้หลุดจากจับปิ้ง เมื่อไข่ฟักเป็นลูกปูวัยอ่อนจะล่องลอยไปในทะเล
?? ไข่ปูในตามธรรมชาติเป็นแหล่งอาหารสำหรับสัตว์น้ำอื่นๆ เพราะตามวัฏจักรชีวิต ลูกปูยังถือเป็นแหล่งอาหารให้กับหมึก ปลา ชนิดอื่นๆ เพื่อรักษาสมดุลให้เกิดขึ้นต่อไป
?? ตามประกาศ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ช่วงเดือนตุลาคม ถึงธันวาคมของทุกปี ห้ามทำการประมงปูที่มีไข่นอกกระดอง คือ ปูทะเล ปูม้า ปูลาย ??
ปัจจุบันมีการอนุรักษ์และการฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเล? จะพบว่ามีหลายชุมชนที่ทำกิจกรรมธนาคารปูม้า ทุกๆ ชุมชนต่างช่วยกันฟื้นฟูพันธุ์สัตว์น้ำอย่างยั่งยืน
ร่วมกัน ไม่จับ ไม่บริโภค ปูไข่นอกกระดองกันนะ ??????
ข้อมูลและรูปภาพ จาก
ธนาคารปู : ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดาริ
มาตรฐานการปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดี (Good Aquaculture Practice; GAP) หรือ จี เอ พี หมายถึง
มาตรฐานการจัดการฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ซึ่งมีการจัดการสุขอนามัยของฟาร์มที่ดีและผลิตผลจากการเพาะเลี้ยงมีคุณภาพดี และมีความปลอดภัย (Food Safety) ตามหลักเกณฑ์หรือมาตรฐานที่กรมประมงกำหนด อีกทั้งยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Environmental friendly) คำนึงถึงสวัสดิภาพของสัตว์ (Animal welfare) ความรับผิดชอบต่อสังคม (Social Responsibility) สามารถตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) ตามหลักเกณฑ์หรือมาตรฐานที่สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติกำหนด
คุณสมบัติเกษตรกร
1. ต้องไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกดำเนินคดี หรือเป็นผู้ที่มีตัวแทนอยู่ในระหว่างถูกดำเนินคดีในความผิดฐานปลอมแปลงเอกสารของทางราชการ หรือใช้เอกสารปลอมที่เกี่ยวข้องกับระเบียบฉบับนี้
2.ต้องไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกตรวจสอบ เพื่อรับรองความถูกต้องแท้จริงของเอกสารฉบับใดฉบับหนึ่งที่อ้างว่าได้ออกตามระเบียบฉบับนี้
3. เป็นผู้ประกอบการที่ได้ขึ้นทะเบียนประเภทเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำกับกรมประมง
สถานที่ในการยื่นคำขอฯ
สำนักงานประมงจังหวัด หรือ ศูนย์/สถานีสังกัดกรมประมง ในท้องที่ที่ฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำ หรือฟาร์มเพาะพันธุ์และอนุบาลสัตว์น้ำตั้งอยู่
เอกสารหลักฐาน
1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้าน หรือสำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล/สำเนาหนังสือจดทะเบียนการค้าที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 90 วัน นับจากวันออกหนังสือ พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
2.ใบคำขอรับการรับรอง
3. สำเนาเอกสารทะเบียนฟาร์ม/สถานประกอบการ
4.แผนที่ระบุสถานที่ตั้งและดำเนินการฟาร์มเลี้ยงหรือโรงเพาะพันธุ์และอนุบาลสัตว์น้ำ
5.แผนผังฟาร์ม/สถานประกอบการ
6.รายละเอียดการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ณ ปัจจุบัน
7. กรณีมอบอำนาจให้ผู้อื่นมายื่นคำขอและดำเนินการแทน ต้องแนบหนังสือมอบอำนาจและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้มอบอำนาจ พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
ขอขอบคุณข้อมูลจากห้องวิชาการกุ้งจันท์ และกุ้งไทย "นสพ.กุ้งไทย"
ใครบ้างที่ต้องใช้ LAB
"Central LAB”
LAB ของรัฐบาลไทย
??029406881-3
099405993
หลายๆคน อาจจะมีคำถามว่า การตรวจสอบทางห้องปฏิบัติการ หรือ ที่เรียกกันติดปากว่า ห้องแล็บ มีความจำเป็นแค่ไหน ? และใครต้องใช้ห้องแล็บบ้าง ?
จริงๆแล้ว ห้องแล็บ มีความสำคัญในทุกภาคส่วนของกระบวนการผลิตสินค้า ตั้งแต่ เริ่มต้น ไปจนถึงมือผู้บริโภค เนื่องจากทุกขั้นตอนของการผลิตสินค้าแต่ละชนิดตามหลักสากลจำเป็นต้องมีคุณภาพและมาตรฐาน ห้องแล็บจึงเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่จำเป็นต้องเข้ามามีบทบาทในการควบคุมคุณภาพให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด
แต่หากจะแยกกลุ่มบุคคลคนที่จำเป็นต้องใช้แล็บอย่างจริงจัง เราสามารถแยกย่อยหมวดหมู่ได้ตามนี้
1. ผู้ประกอบการขนาดเล็ก ได้แก่ โอท็อป เอสเอ็มอี และกลุ่มวิสาหกิจชุมชน
2. กลุ่มเกษตรกร
3. ผู้ประกอบการส่งออก
โดยรายละเอียดความสำคัญของแต่ละกลุ่มที่จำเป็นต้องใช้แล็บในการตรวจสอบคุณภาพสินค้า เราได้แยกย่อยรายละเอียดไว้ในภาพ ผู้อ่านทุกท่านสามารุติดตามข้อมูลได้ในภาพตามหัวข้อต่างได้เลยครับ
"เราคือ เซ็นทรัลแล็บไทย ให้การสนับสนุนช่วยเหลือยกระดับสินค้าชุมชน โอท็อป เอสเอ็มอี และผู้ประกอบการรายใหญ่ทั่วประเทศ"
?? 029406881-3
099405993
ต้นทางคือป่าไม้ ปลายทางคือประมงที่ยั่งยืน
จากนภา....ผ่านภูผา....สู่มหานที
ถ้าป่าไม้บนยอดเขาสูง คือต้นทางของสายน้ำที่หล่อเลี้ยงสรรพชีวิตบนแผ่นดิน ป่าชายเลนก็คือต้นทางของชีวิตในท้องทะเล
สายน้ำที่ไหลมานับร้อยนับพันกิโลเมตร จากเทือกเขาสู่ลำธาร จากลำธารสู่แม่น้ำ เป็นน้ำกินน้ำใช้ ชำระสิ่งสกปรก จากต้นน้ำมาจนสุดแผ่นดินที่ป่าชายเลน
ป่าชายเลน เป็นเสมือนหนึ่งไตธรรมชาติ คอยกรองของเสียออกจากสายน้ำ ก่อนปล่อยออกสู่มหานที
ด้วยระบบรากที่หนาแน่น ตะกอนดินละสิ่งเจือปนที่มากับสายน้ำ กลายเป็นโคลนเลนทับถม เป็นแหล่งอาหารและแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำหลากหลายสายพันธุ์
เกิดเป็นวัฏจักรเวียนว่ายตายเกิดในป่าชายเลน ทิ้งซากพืชซากสัตว์ ย่อยสลายให้กลายเป็นความอุดมสมบูรณ์ไม่จบสิ้น
เราจึงกล่าวได้ว่า“ป่าชายเลนอ่าวคุ้งกระเบน” จึงเป็นส่วนหนึ่งของปราการสุดท้ายที่มีความสำคัญ ที่แสดงความเข้มแข็ง ความสมบูรณ์ของแผ่นดิน และแสดงความเป็นมหาอำนาจของทรัพยากรทางทะเล ในภาคตะวันออกของอ่าวไทย
รูปู รูปลา รูงู แตกต่างกันอย่างไร
หากเราไปเดินเที่ยวป่าชายเลน ที่ไหนสักแห่ง ในช่วงเวลาน้ำลง จะเห็นรูจำนวนมากมายบนพื้นดินเลน และดินเลนค่อนข้างแข็ง มีขนาดใหญ่บ้างเล็กบ้างแตกต่างกันไป หากเราอยากทราบว่ารูไหนเป็นรูปู รูปลาตีน รูงู ให้สังเกตดังนี้
รูปู มีขุยทรายหรือขุยดินอยู่รอบๆรู เกิดจากปูใช้ขาเดิน(ขาคู่ที่ 2 ,3,และ 4) ซึ่งมีลักษณะคล้ายพลั่วขุดดิน คุ้ยทรายมากองไว้รอบๆปากรู โดยรูของปูก้ามดาบจะมีรูปกลมๆลึกตั้งฉากกับผิวดิน ขุยทรายและขุยดินรอบๆปากรู ค่อนข้างกองเป็นระเบียบสวยงาม รูของปูแสมจะใหญ่กว่ารูของปูก้ามดาบ รูส่วนใหญ่จะเอียง ทำมุมกับผิวดินประมาณ 45 องศาขึ้นไป ขุยทรายและขุยดินรอบๆปากรู จะกองไม่ค่อยมีระเบียบเหมือนปูก้ามดาบ ส่วนรูของปูดำหรือปูทะเล จะใหญ่กว่าปูทั้งสองชนิดมาก และเป็นรูเอียงจากผิวดินเหมือนปูแสม ขุยทรายและขุยดินรอบๆปากรูจะเป็นก้อนใหญ่ๆกระจายรอบๆปากรู ไม่เป็นระเบียบ
รูปลาตีน มักจะอยู่บนดินเลนปนโคลนเป็นหลุมใหญ่กว่าตัวมันสามถึงสี่เท่าซึ่งมันจะใช้ปากขุดโคลนมากอง บนปากหลุม เรียกว่า หลุมปลาตีน
ส่วนรูงู จะไม่มีขุยทรายหรือดินรอบปากรู ปากรูงูจะเป็นมันเลื่อมเนื่องจากการเลื้อยเข้าออกของงู
ปลาตีนพบอาศัยตามป่าชายเลน และบริเวณปากอ่าว หรือปากแม่น้ำที่มีน้ำท่วมถึง พบอาศัยมากในบริเวณที่เป็นดินโคลน ด้วยการขุดรูลึกลงไปในดินสำหรับพักอาศัยและหลบซ่อนตัวในช่วงที่มีน้ำขึ้น ส่วนลูกปลาตีนจะยังไม่พบการขุดรู แต่จะอาศัยการมุดหลบซ่อนในดินโคลนในช่วงน้ำขึ้น
#ปลากะพงขาว เป็นปลาน้ำกร่อยขนาดใหญ่ มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Lates calcarifer (Bloch) ชื่อสามัญเรียกว่า Giant Perch, Sea Bass หรือ White Sea Bass สามารถอาศัยอยู่ได้ทั้งในน้ำจืด น้ำกร่อยและน้ำเค็ม ปลาชนิดนี้ เลี้ยงกันแพร่หลายในเขตจังหวัดชายทะเลของประเทศไทย เนื่องจากเลี้ยงง่าย โตเร็ว และเนื้อมีรสชาติดี
ประเทศไทย พบปลากะพงขาวแพร่กระจายอยู่ทุกจังหวัดทั้งในอ่าวไทย และฝั่งทะเลอันดามัน จะอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำที่ไม่ห่างออกไปจากชายฝั่งมากนัก โดยพบอาศัยอยู่ชุกชุมตามปากแม่น้ำ ลำคลอง และปากทะเลสาบ นอกจากนี้? ปลากะพงขาวยังสามารถขึ้นไปอาศัยและเจริญเติบโต ในแหล่งน้ำจืดได้อีกด้วย จึงจัดเป็นปลาประเภทสองน้ำอย่างแท้จริง
https://www.ku.ac.th/e-magazine/july46/agri/fish_kapong.html
กรมประมง...เตือนเกษตรกรเฝ้าระวังโรคสัตว์น้ำในช่วงฤดูฝน
โดยมีข้อแนะนำ ดังนี้
วางแผนการเลี้ยงสัตว์น้ำให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และฤดูกาล เพื่อให้สามารถจับจำหน่ายได้ก่อนฤดูน้ำหลาก
ควรคัดเลือกลูกพันธุ์สัตว์น้ำที่มีความแข็งแรง จากฟาร์มผู้ผลิตที่ได้มาตรฐานและเชื่อถือได้
ควรปล่อยสัตว์น้ำลงเลี้ยงในอัตราความหนาแน่นที่เหมาะสมหรือน้อยกว่าปกติ เพื่อลดความสูญเสียจากคุณภาพน้ำที่ไม่เหมาะสม และการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว
เลือกใช้อาหารที่มีคุณภาพที่ดี และให้อาหารสัตว์น้ำในปริมาณที่เหมาะสม เสริมสารอาหารหรือวิตามินที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของสัตว์น้ำ เช่น โปรไบโอติก วิตามินซี วิตามินรวม เป็นต้น
วางแผนจัดการคุณภาพน้ำที่ดี ให้เหมาะสมสำหรับการเลี้ยงสัตว์น้ำหากสภาพอากาศปิด มีฝนตก ปริมาณออกซิเจนในน้ำลดลงอย่างฉับพลัน เกษตรกรสามารถป้องกันการตายของสัตว์น้ำได้ โดยการเปิดเครื่องตีน้ำหรือสูบน้ำในบ่อให้สัมผัสอากาศจะช่วยเพิ่มปริมาณออกซิเจนในน้ำได้ ส่วนกรณีที่ฝนตกหนัก ค่าความเป็นกรด-ด่าง (พีเฮช, pH) ในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำจะมีค่าลดลง ควรโรยปูนขาวหรือปูนมาร์ล เพื่อควบคุมค่าความเป็นกรด-ด่าง และเติมเกลือแกง เพื่อลดความเครียดของสัตว์น้ำที่เลี้ยงในบ่อนอกจากนี้ ควรควบคุมการใช้น้ำ และรักษาปริมาณน้ำในที่เลี้ยงสัตว์น้ำให้มีปริมาณพอเหมาะ หรือ มีปริมาณ 2 ใน 3 ส่วนของน้ำที่มีอยู่ในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ
ระหว่างเลี้ยง ควรทำความสะอาดพื้นบ่อ กรณีที่เลี้ยงในกระชังให้ทำความสะอาดกระชังอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดปริมาณสารอินทรีย์ เศษอาหาร มูลของเสีย ซึ่งเป็นแหล่งอาหารและที่อยู่อาศัยของปรสิตรวมถึงเชื้อโรคต่างๆ
ปรับปรุงบ่อ, เสริมคันบ่อหรือทำผนังบ่อให้สูงพอกับปริมาณน้ำที่เคยท่วมในปีที่ผ่านๆ มาพร้อมจัดทำร่องระบายน้ำ และขุดลอกตะกอนดินที่จะทำให้ร่องระบายน้ำตื้นเขินออกไป
ควรหมั่นตรวจสุขภาพสัตว์น้ำอย่างสม่ำเสมอ กรณีมีสัตว์น้ำป่วยตายควรกำจัดโดยการฝังหรือเผา
ไม่ควรทิ้งสัตว์น้ำป่วยไว้ในบริเวณบ่อหรือกระชังที่เลี้ยง เพราะจะเป็นการแพร่กระจายเชื้อโรคทำให้การระบาดของโรคเป็นไปอย่างรวดเร็ว
กรณีเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง ควรหมั่นตรวจสอบดูแลความคงทนแข็งแรงของกระชังให้มีระยะห่างกันพอสมควร เพื่อให้น้ำมีการหมุนเวียนถ่ายเทได้สะดวก
สำหรับโรคสัตว์น้ำที่พบได้บ่อย และเกษตรกรควรเฝ้าระวังในช่วงฤดูฝน ได้แก่
โรคที่เกิดจากปรสิต ที่พบในปลา เช่น เห็บระฆัง ปลิงใส เหาปลา และหมัดปลา ซึ่งจะทำให้ปลามีอาการผิดปกติ อาทิ ว่ายน้ำผิดปกติ หายใจถี่ มีจุดแดงตามผิวลำตัว เป็นต้น สามารถรักษาได้โดยใช้ด่างทับทิม
1-2 กรัมต่อน้ำ 1 ตัน แต่หากเป็นการรักษาปลาที่เลี้ยงไว้ในกระชัง ให้ใช้ผ้าใบหุ้มกระชังก่อนสาดสารเคมี นอกจากนี้ ยังสามารถแช่ขวดหรือถุงด่างทับทิม หรือถุงเกลือ ไว้ในกระชังเป็นจุด ๆ เพื่อช่วยลดปริมาณปรสิตที่อยู่ในกระชังและลดความเครียดให้ปลาได้ด้วย
โรคที่เกิดจากแบคทีเรีย ที่พบในปลา เช่น วิบริโอ สเตรปโตคอคคัส แอโรโมแนส ฟลาโวแบคทีเรียม เป็นต้น ซึ่งแบคทีเรียมักจะฉวยโอกาสเข้าไปทำอันตรายปลาเมื่อปลาอ่อนแอ และแพร่กระจายอย่างรวดเร็วผ่านทางกระแสเลือด โดยปลาที่ป่วยจะมีอาการซึม ไม่กินอาหาร มีแผลเลือดออกตามลำตัวและอวัยวะต่าง ๆ มีตุ่มฝีที่บริเวณใต้คางและผิวลำตัว ตาขุ่น ตัวด่าง ทยอยตาย กรณีกุ้งให้สังเกตสีตับ เหงือก ผิวตัว ทั้งนี้ หากพบสัตว์น้ำมีอาการดังกล่าว ควรส่งตรวจวินิจฉัยโรคเพื่อตรวจสอบหาชนิดแบคทีเรีย และใช้ยาต้านจุลชีพที่สามารถยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียที่ก่อโรคนั้นๆ
โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส ที่พบในปลา เช่น เคเฮชวี และทีไอแอลวี เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีไวรัสอีกหลายชนิดที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคในกุ้งขาว และกุ้งก้ามกราม โดยสัตว์น้ำที่ได้รับเชื้อไวรัสจะมีอาการแตกต่างกันไปตามชนิดของเชื้อ แต่อาการโดยรวม คือ ไม่กินอาหาร อัตราการตายสูง การป่วยด้วยเชื้อไวรัสจะไม่สามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยาและสารเคมี เกษตรกรจึงควรป้องกันโดยให้ความสำคัญกับการจัดการเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดีและหลักความปลอดภัยทางชีวภาพ เพื่อลดความเสี่ยงและลดช่องทางในการรับเชื้อ
? ทั้งนี้ เกษตรกรควรติดตามข่าวสารการพยากรณ์อากาศจาก ทางราชการอย่างใกล้ชิด และหากมีปัญหาในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ สามารถขอรับคำปรึกษาและคำแนะนำได้ที่ สำนักงานประมงจังหวัด ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด /สัตว์น้ำชายฝั่ง ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดทุกแห่งทั่วประเทศ และกองวิจัยและพัฒนาสุขภาพสัตว์น้ำ กรุงเทพมหานคร
0-2562-0600-15 ©
ปลากะรังหงส์ หรือปลากะรังหน้างอน เป็นปลาทะเลเช่นเดียวกับปลาเก๋า หรือปลากะรัง แต่เนื่องจากเป็นปลาที่มีรูปร่างสวยงาม โดยพื้นตัวมีสีขาวและมีจุดดำประทั่วตัว ที่ปลายสุดของส่วนหัว คือ ปากจะงอนเชิดขึ้นเล็กน้อย จึงมีชื่อไทยเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "กะรังหน้างอน" และด้วยอาการที่ว่ายน้ำช้าๆ และดูน่ารักปลากะรังหงส์ตอนเล็กๆ ขนาด 1 - 5 นิ้ว จึงเป็นปลาสวยงามทะเลที่นิยมเลี้ยง
สำหรับปลาโตเต็มวัยมีรสชาติดี แต่ด้วยสาเหตุที่เป็นปลาหายาก ปลาชนิดนี้ จึงไม่มีจำหน่ายในท้องตลาดทั่วไป ส่งผลให้มีราคาจำหน่ายค่อนข้างแพง โดยปลาโตเต็มวัยขณะมีชีวิต (ปลาเป็น) น้ำหนัก 800 - 1,200 กรัม ราคากิโลกรัมละ 1,500 - 3,700 บาท ซึ่งเมื่อส่งไปจำหน่ายในตลาดต่างประเทศ เช่น ประเทศฮ่องกง จะมีราคาจำหน่ายสูงถึงกิโลกรัมละ 3,600 - 6,000 บาท ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระดับร้านอาหาร ภัตตาคารรวมถึงฤดูกาลด้วย อนึ่งเคยพบปลากะรังหงส์ขนาดใหญ่ที่สุดที่ประเทศออสเตรเลีย มีความยาวถึง 70 เซนติเมตร น้ำหนัก 4.8 กิโลกรัม
ปลากะรังหงส์ มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Cromileptes altivelis (Valenciennes, 1828 ) นับเป็นปลาทะเลหายากอีกชนิดหนึ่ง ที่ชอบอาศัยอยู่ในถ้ำ หรือหลืบหินตามแนวปะการัง ดังนั้น จึงพบปลาชนิดนี้อาศัยอยู่ในประเทศที่มีเกาะเป็นจำนวนมาก เช่น ประเทศออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย
บริเวณที่พบปลากะรังหงส์ ได้แก่ ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศออสเตรเลีย บริเวณ Great barrier reef ตลอดแนวชายฝั่งเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ แถบชายฝั่งอินโดแปซิฟิกตะวันตก ทางตอนใต้ของประเทศญี่ปุ่น และไต้หวัน จนถึงอินโดนีเซีย สำหรับใน #ประเทศไทย พบปลากะรังหงส์ตามแนวปะการังบริเวณชายฝั่งทะเลทางภาคตะวันออก และภาคใต้ทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน
ที่มาข้อมูล : กรมประมง
การขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการด้านการประมง (ทบ.2)
หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข
1. ผู้ประสงค์ยื่นคำขอขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการด้านการประมง (ทบ.2) จะต้องปฏิบัติตามระเบียบกรมประมงว่าด้วยการขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและผู้ประกอบการด้านการประมง พ.ศ. 2556
2. อายุของทะเบียนผู้ประกอบการด้านการประมงมีกำหนด 3 ปีนับแต่วันที่ได้รับการขึ้นทะเบียน
เงื่อนไข
1. ในกรณีเจ้าหน้าที่มีข้อสงสัยในหลักฐานเอกสารที่ยื่นมาเจ้าหน้าที่ผู้พิจารณาสามารถแจ้งให้ผู้ยื่นคำขอมาชี้แจงเพิ่มเติมได้
2. กรณีการมอบอำนาจผู้มอบอำนาจจะต้องมอบอำนาจให้ผู้ที่ได้รับมอบอำนาจในการดำเนินการจนเบ็ดเสร็จกระบวนงาน
3. กรณีคำขอหรือเอกสารหลักฐานประกอบการพิจารณาไม่ครบถ้วนหรือไม่ถูกต้องและไม่อาจแก้ไขเพิ่มเติมได้ในขณะนั้นผู้รับคำขอและผู้ยื่นคำขอจะต้องลงนามบันทึกความบกพร่องและรายการเอกสารหลักฐานร่วมกันพร้อมกำหนดระยะเวลาให้ผู้ยื่นคำขอดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมหากผู้ยื่นคำขอไม่ดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมภายในระยะเวลาที่กำหนดจะถือว่าผู้ยื่นคำขอไม่ประสงค์จะยื่นคำขอ (หมายเหตุ: กรณีเอกสารไม่ถูกต้องครบถ้วน ให้ผู้ประกอบการปรับปรุงแก้ไข ภายใน 1 วันทำการ)
4. ขั้นตอนการดำเนินงานตามคู่มือจะเริ่มนับระยะเวลาตั้งแต่เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอกสารครบถ้วนถูกต้องตามที่ระบุไว้ในคู่มือประชาชนเรียบร้อยแล้ว
5. สำเนาเอกสารต้องลงนามรับรองสำเนาถูกต้องทุกฉบับ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ระเบียบกรมประมงว่าด้วยการขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและผู้ประกอบการด้านการประมง พ.ศ. 2556
ระยะเวลาดำเนินการรวม 5 วันทำการ
ผ่านการดำเนินการลดขั้นตอน และระยะเวลาปฏิบัติราชการมาแล้ว 5 วันทำการ
1.การตรวจสอบเอกสาร
1. ผู้ประกอบการด้านการประมง ยื่นคำขอตามแบบ ทบ 2-1พร้อมเอกสารหลักฐานประกอบ
2. เจ้าหน้าที่ลงทะเบียนรับคำขอและตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของข้อความและเอกสารหลักฐาน
3. เจ้าหน้าที่ออกใบนัดหมายการรับบัตรประจำตัวผู้ประกอบการด้านการประมงแก่ผู้ยื่นคำขอ
หมายเหตุ: กรณีเอกสารไม่ถูกต้องครบถ้วน ให้ผู้ประกอบการปรับปรุงแก้ไข ภายใน 1 วันทำการ
ระยะเวลา 1 วันทำการ
2.การพิจารณา
1. เจ้าหน้าที่ดำเนินการบันทึกรายชื่อและข้อมูลของผู้ประกอบการลงในระบบฐานข้อมูลของกรมประมง
2. เจ้าหน้าที่จัดทำบัตรประจำตัวผู้ประกอบการด้านการประมงเสนอผู้มีอำนาจเพื่อพิจารณาลงนาม
ระยะเวลา 3 วันทำการ
3.การลงนาม/คณะกรรมการมีมติ
ผู้มีอำนาจลงนามในบัตรประจำตัวผู้ประกอบการด้านการประมง
ระยะเวลา 1 วันทำการ
รายการเอกสาร หลักฐานประกอบ
1.บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับจริง)
2.หนังสือเดินทาง ( ฉบับจริง 1 ฉบับ ) กรณีเป็นชาวต่างด้าว ที่เป็นนิติบุคคล ให้ใช้เป็นเอกสารยืนยันตัวตน
3.ใบอนุญาตประกอบธุรกิจสำหรับคนต่างด้าว ( ฉบับจริง 1 ฉบับ ) กรณีเป็นคนต่างด้าว
4.หนังสือรับรองนิติบุคคล ( ฉบับจริง 1 ฉบับ ) 1.กรณีผู้ยื่นคำขอเป็นนิติบุคคล ออกให้ไม่เกิน 6 เดือน 2.ต้องเป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย
5.บัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจลงนามผูกพันนิติบุคคล ( ฉบับจริง 1 ฉบับ ) กรณีเป็นนิติบุคคล
6.หนังสือมอบอำนาจ กรณีให้บุคคลอื่นดำเนินการแทน ( ฉบับจริง 1 ฉบับ ) 1. หนังสือมอบอำนาจติดอากรแสตมป์ 10 บาท 2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้มอบอำนาจ 1 ฉบับ
7.ใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน ( ฉบับจริง 1 ฉบับ ) กรณีสถานประกอบการเป็นโรงงาน
ค่าธรรมเนียม ไม่มีค่าธรรมเนียม 0.00 บาท
แบบฟอร์ม ตัวอย่างและ คู่มือการกรอก
1.คำขอขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการด้านการประมง (ทบ.2-1)
การต่ออายุทะเบียนเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (ทบ.1)
หลักเกณฑ์
1. เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไว้แล้วและใกล้หมดอายุ หากประสงค์จะต่ออายุทะเบียน ให้ยื่นแบบแสดงความจำนงค์ต่ออายุทะเบียนตามแบบ ทบ. 1-5 ณ สถานที่ที่ยื่นคำขอขึ้นทะเบียน ภายใน 60 วัน ก่อนทะเบียนจะหมดอายุลง
2. ผู้ยื่นคำขอจะต้องปฏิบัติตามระเบียบกรมประมงว่าด้วยการขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและผู้ประกอบการด้านการประมง พ.ศ. 2556
3. อายุของทะเบียนเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำมีกำหนด 3 ปีนับจากวันสิ้นอายุเดิม
เงื่อนไข
1. ในกรณีเจ้าหน้าที่มีข้อสงสัยในหลักฐานเอกสารที่ยื่นมา เจ้าหน้าที่ผู้พิจารณาสามารถแจ้งให้ผู้ยื่นคำขอมาชี้แจงเพิ่มเติมได้
2. กรณีการมอบอำนาจ ผู้มอบอำนาจจะต้องมอบอำนาจให้ผู้ที่ได้รับมอบอำนาจในการดำเนินการจนเบ็ดเสร็จกระบวนงาน
3. กรณียื่นเอกสารหลักฐานประกอบไม่ครบถ้วนถูกต้องจะถือว่ายังไม่ได้รับเอกสารคำขอจนกว่าเอกสารประกอบคำขอจะครบถ้วนถูกต้อง
4. กรณีคำขอหรือเอกสารหลักฐานประกอบการพิจารณาไม่ครบถ้วนหรือไม่ถูกต้องและไม่อาจแก้ไขเพิ่มเติมได้ในขณะนั้น ผู้รับคำขอและผู้ยื่นคำขอจะต้องลงนามบันทึกความบกพร่องและรายการเอกสารหลักฐานร่วมกันพร้อมกำหนดระยะเวลาให้ผู้ยื่นคำขอดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติม หากผู้ยื่นคำขอไม่ดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมภายในระยะเวลาที่กำหนดจะถือว่าผู้ยื่นคำขอไม่ประสงค์จะยื่นคำขอ
5. ขั้นตอนการดำเนินงานตามคู่มือจะเริ่มนับระยะเวลาตั้งแต่เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอกสารครบถ้วนถูกต้องตามที่ระบุไว้ในคู่มือประชาชนเรียบร้อยแล้ว
6. สำเนาเอกสารต้องลงนามรับรองสำเนาถูกต้องทุกฉบับ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ระเบียบกรมประมงว่าด้วยการขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและผู้ประกอบการด้านการประมง พ.ศ. 2556
ระยะเวลาดำเนินการรวม 10 วันทำการ
1.การตรวจสอบเอกสาร
1. เกษตรกรยื่นคำขอตามแบบคำขอต่ออายุทะเบียนเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (แบบ ทบ 1-5) พร้อมเอกสารหลักฐานประกอบ
2. เจ้าหน้าที่ลงทะเบียนรับคำขอและและตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของข้อความและเอกสารหลักฐาน
3. เจ้าหน้าที่ออกใบนัดหมายการรับบัตรประจำตัวเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำแก่ผู้ยื่นคำขอ
กรณีเอกสารไม่ถูกต้องครบถ้วน ให้เกษตรกรผู้ยื่นคำขอปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้อง ภายใน 1 วันทำการ
ระยะเวลา 1 วันทำการ
2.การพิจารณา
เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบประจำพื้นที่นัดหมายเกษตรกร และเข้าตรวจสอบฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของเกษตรกร
หากเกษตรกรไม่ปฏิบัติตามที่นัดหมาย หรือกรณีอื่นใดที่ส่งผลให้เจ้าหน้าที่ไม่สามารถเข้าตรวจสอบฟาร์มได้ภายใน 2 วันทำการ หลังจากที่นัดหมาย จะถือว่าไม่ประสงค์ยื่นคำขอฯ
ระยะเวลา 2 วันทำการ
3.การพิจารณา
เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบประจำพื้นที่ สรุปรายงานผลการตรวจสอบฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ พร้อมจัดส่งเอกสารหลักฐานประกอบส่งคืนหน่วยงานที่รับคำขอ
ระยะเวลา 2 วันทำการ
4.การพิจารณา
1. เจ้าหน้าที่ลงทะเบียนรับเอกสาร และตรวจพิจารณาคำขอ และเอกสารหลักฐานอีกครั้งหนึ่ง 2. เจ้าหน้าที่เสนอเอกสารคำขอและผลการตรวจสอบฟาร์ม ให้ผู้มีอำนาจเพื่อพิจารณาอนุมัติในหลักการ
กรณีตรวจพิจารณาแล้วเห็นว่าข้อมูลไม่ถูกต้อง และไม่ครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ มิให้รับต่อทะเบียน และให้ส่งคืนไปยังผู้ยื่นคำขอเพื่อแจ้งการไม่รับต่อทะเบียนพร้อมเหตุผลให้เกษตรกรทราบภายใน 5 วันทำการ
ระยะเวลา 2 วันทำการ
5.การพิจารณา
ผู้มีอำนาจอนุมัติให้ต่อทะเบียน
เมื่อผู้มีอำนาจได้อนุมัติให้ต่อทะเบียนแล้ว ให้ถือว่าเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำดังกล่าวเป็นผู้ที่ได้รับการต่อทะเบียนฯนับแต่วันที่หมดอายุ
ระยะเวลา 1 วันทำการ
6.การพิจารณา
1. เจ้าหน้าที่ดำเนินการบันทึกรายชื่อและข้อมูลของเกษตรกรลงในระบบฐานข้อมูลของกรมประมง 2. เจ้าหน้าที่จัดทำบัตรประจำตัวเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเสนอผู้มีอำนาจเพื่อพิจารณาลงนาม
ระยะเวลา 1 วันทำการ
7.การลงนาม/คณะกรรมการมีมติ
ผู้มีอำนาจลงนามในบัตรประจำตัวเกษตรกร
ระยะเวลา 1 วันทำการ
รายการเอกสาร หลักฐานประกอบ
1.บัตรประจำตัวเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ(ทบ.1) ฉบับเดิม ( ฉบับจริง 1 ฉบับ )
2.บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับจริง)
3.หนังสือมอบอำนาจ กรณีให้บุคคลอื่นดำเนินการแทน ( ฉบับจริง 1 ฉบับ ) ติดอากรแสตมป์ 10 บาท
4.หลักฐานที่แสดงว่าได้มีการดำเนินการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอย่างต่อเนื่อง ( ฉบับจริง 1 ฉบับ ) เกษตรกรสามารถแสดง หลักฐานอื่นๆที่แสดงว่าได้มีการดำเนินการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอย่างต่อเนื่อง เช่น ใบเสร็จรับเงินค่าซื้อพันธุ์สัตว์น้ำ ใบเสร็จรับเงินค่าซื้ออาหารสัตว์น้ำ เป็นต้น
5.ใบอนุญาตหรือหนังสืออนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ( ฉบับจริง 1 ฉบับ ) กรณีดำเนินการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำ ในที่ดินสาธารณประโยชน์ในที่ดินของรัฐ หรือในที่ดินอื่น
6.สัญญาเช่าที่ดิน ( ฉบับจริง 1 ฉบับ ) กรณีเกษตรกรเช่าที่ดินที่มีกำหนดระยะเวลา
ค่าธรรมเนียม ไม่มีค่าธรรมเนียม 0.00 บาท
แบบฟอร์ม ตัวอย่างและ คู่มือการกรอก
1.แบบคำขอต่ออายุทะเบียนเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (ทบ.1-5)
https://www4.fisheries.go.th/local/file_document/20180716140145_1_file.pdf
2.แบบแจ้งข้อมูลรายปี
การขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (ทบ.1)
หลักเกณฑ์
1. ผู้ประสงค์ยื่นคำขอขึ้นทะเบียนเกษตรกรด้านการประมง (ทบ.1) จะต้องปฏิบัติตามระเบียบกรมประมงว่าด้วยการขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและผู้ประกอบการด้านการประมง พ.ศ. 2556
2. อายุของทะเบียนเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ มีกำหนด 3 ปี นับแต่วันที่ได้รับการขึ้นทะเบียน
เงื่อนไข
1.ในกรณีเจ้าหน้าที่มีข้อสงสัยในหลักฐานเอกสารที่ยื่นมา เจ้าหน้าที่ผู้พิจารณาสามารถแจ้งให้ผู้ยื่นคำขอมาชี้แจงเพิ่มเติมได้
2.กรณีการมอบอำนาจ ผู้มอบอำนาจจะต้องมอบอำนาจให้ผู้ที่ได้รับมอบอำนาจในการดำเนินการจนเบ็ดเสร็จกระบวนงาน
3.กรณียื่นเอกสารหลักฐานประกอบไม่ถูกต้องครบถ้วน จะถือว่ายังไม่ได้รับเอกสารคำขอจนกว่าเอกสารประกอบคำขอจะถูกต้องครบถ้วน
4.กรณีคำขอหรือเอกสารหลักฐานประกอบการพิจารณาไม่ครบถ้วนหรือไม่ถูกต้องและไม่อาจแก้ไขเพิ่มเติมได้ในขณะนั้น ผู้รับคำขอและผู้ยื่นคำขอจะต้องลงนามบันทึกความบกพร่องและรายการเอกสารหลักฐานร่วมกันพร้อมกำหนดระยะเวลาให้ผู้ยื่นคำขอดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติม หากผู้ยื่นคำขอไม่ดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมภายในระยะเวลาที่กำหนดจะถือว่าผู้ยื่นคำขอไม่ประสงค์จะยื่นคำขอ
5.ขั้นตอนการดำเนินงานตามคู่มือจะเริ่มนับระยะเวลาตั้งแต่เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอกสารครบถ้วนถูกต้องตามที่ระบุไว้ในคู่มือประชาชนเรียบร้อยแล้ว
6.สำเนาเอกสารต้องลงนามรับรองสำเนาถูกต้องทุกฉบับ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ระเบียบกรมประมงว่าด้วยการขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและผู้ประกอบการด้านการประมง พ.ศ. 2556
สถานที่ / ช่องทางการให้บริการ
สำนักงานประมงจังหวัด / ติดต่อด้วยตนเอง ณ หน่วยงาน
เปิดให้บริการวัน จันทร์ ถึง วันศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดที่ทางราชการกำหนด) ตั้งแต่เวลา 08:30 - 16:30 น. (มีพักเที่ยง)
ระยะเวลาดำเนินการรวม 15 วันทำการ
1.การตรวจสอบเอกสาร
1. เกษตรกรยื่นคำขอตามแบบคำขอขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (แบบ ทบ.1-1) พร้อมเอกสารหลักฐานประกอบ
2.เจ้าหน้าที่ลงทะเบียนรับคำขอและและตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของข้อความและเอกสารหลักฐาน
3.เจ้าหน้าที่ออกใบนัดหมายการรับบัตรประจำตัวเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำแก่ผู้ยื่นคำขอ
กรณีเอกสารไม่ถูกต้องครบถ้วน ให้เกษตรกรผู้ยื่นคำขอปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้อง ภายใน 1 วันทำการ
ระยะเวลา 1 วันทำการ
2.การพิจารณา
เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบประจำพื้นที่นัดหมายเกษตรกร และเข้าตรวจสอบฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของเกษตรกร
หากเกษตรกรไม่ปฏิบัติตามที่นัดหมาย หรือกรณีอื่นใดที่ส่งผลให้เจ้าหน้าที่ไม่สามารถเข้าตรวจสอบฟาร์มได้ภายใน 5 วันทำการ หลังจากที่นัดหมาย จะถือว่าไม่ประสงค์ยื่นคำขอ
ระยะเวลา 5 วันทำการ
3.การพิจารณา
เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบประจำพื้นที่สรุปรายงานผลการตรวจสอบฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ พร้อมจัดส่งเอกสารหลักฐานประกอบไปยังหน่วยงานที่รับคำขอ
ระยะเวลา 2 วันทำการ
4.การพิจารณา
1.เจ้าหน้าที่ลงทะเบียนรับเอกสาร และตรวจพิจารณาคำขอ และเอกสารหลักฐานอีกครั้งหนึ่ง 2.เจ้าหน้าที่เสนอเอกสารคำขอและผลการตรวจสอบฟาร์มให้ผู้มีอำนาจเพื่อพิจารณาอนุมัติให้ขึ้นทะเบียน
กรณีตรวจสอบแล้วเห็นว่าข้อมูลไม่ถูกต้อง และไม่ครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ มิให้รับขึ้นทะเบียน และให้ส่งคืนไปยังผู้ยื่นคำขอเพื่อแจ้งการไม่รับขึ้นทะเบียนพร้อมเหตุผลให้เกษตรกรทราบภายใน 5 วันทำการ
ระยะเวลา 2 วันทำการ
5.การพิจารณา
ผู้มีอำนาจพิจารณาอนุมัติให้ขึ้นทะเบียน
เมื่อผู้มีอำนาจได้อนุมัติให้ขึ้นทะเบียนแล้ว ให้ถือว่าเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำดังกล่าวเป็นผู้ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนฯนับแต่วันที่ได้ยื่นคำขอขึ้นทะเบียน
ระยะเวลา 1 วันทำการ
6.การพิจารณา
1. เจ้าหน้าที่ดำเนินการบันทึกรายชื่อและข้อมูลของเกษตรกรลงในระบบฐานข้อมูลของกรมประมง 2. เจ้าหน้าที่เสนอผู้มีอำนาจ เพื่อพิจารณาลงนามในบัตรประจำตัวเกษตรกร
ระยะเวลา 3 วันทำการ
7.การลงนาม/คณะกรรมการมีมติ
ผู้มีอำนาจลงนามในบัตรประจำตัวเกษตรกร
ระยะเวลา 1 วันทำการ
รายการเอกสาร หลักฐานประกอบ
1.บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับจริง)
2.หนังสือรับรองนิติบุคคล ( ฉบับจริง 1 ฉบับ ) 1.กรณีผู้ยื่นคำขอเป็นนิติบุคคล ออกให้ไม่เกิน 6 เดือน 2.ต้องเป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย
3.บัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจลงนามผูกพันนิติบุคคล ( ฉบับจริง 1 ฉบับ ) กรณีเป็นนิติบุคคล
4.หนังสือมอบอำนาจ กรณีให้บุคคลอื่นดำเนินการแทน ( ฉบับจริง 1 ฉบับ ) 1. หนังสือมอบอำนาจติดอากรแสตมป์ 10 บาท 2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้มอบอำนาจ 1 ฉบับ
5.โฉนดที่ดิน ( ฉบับจริง 1 ฉบับ ) กรณีเกษตรกรเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดิน
6.เอกสารที่แสดงว่าเกษตรกรเป็นผู้มีสิทธิใช้ประโยชน์ในที่ดิน ( ฉบับจริง 1 ฉบับ )
7.แบบแสดงข้อมูลที่ดิน (แบบ ทบ.1-2) ( ฉบับจริง 1 ฉบับ ) 1.กรณีไม่สามารถนำโฉนดที่ดินมาแสดงได้ 2.กรณีที่ไม่สามารถนำเอกสารผู้มีสิทธิใช้ประโยชน์ในที่ดินใดๆมาแสดงได้
8.แบบรับรองการใช้ประโยชน์ในที่ดิน (แบบ ทบ.1-3) ( ฉบับจริง 1 ฉบับ ) 1.กรณีเกษตรกรได้ครอบครองและใช้ประโยชน์ในที่ดินโดยไม่มีสิทธิได้รับเอกสาร แต่มีแบบแสดงรายการที่ดิน (ภบท.5) และใบเสร็จรับเงินภาษีบำรุงท้องที่ (ภบท.11) 2.กรณีเกษตรกรได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินในเขตป่า หรือเขตอุทยาน โดยมิใช่การครอบครองทำประโยชน์โดยการบุกรุก
9.หนังสือยินยอมให้ใช้ที่ดิน (แบบ ทบ.1-4) ( ฉบับจริง 1 ฉบับ ) กรณีใช้ที่ดินของผู้อื่น(พร้อมแนบสำเนาโฉนดที่ดิน)
ค่าธรรมเนียม
ไม่มีค่าธรรมเนียม 0.00 บาท
แบบฟอร์ม ตัวอย่างและ คู่มือการกรอก
แบบคำขอขึ้นทะเบียนผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (แบบ ทบ.1-1)
แบบแสดงข้อมูลที่ดิน (แบบ ทบ.1-2)
แบบรับรองการใช้ประโยชน์ในที่ดิน (แบบ ทบ.1-3)
หนังสือยินยอมให้ใช้ที่ดิน (แบบ ทบ.1-4)