ปูม้า 

 คลังความรู้  ความรู้ด้านการประมง


ปูม้า

ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ : Blue swimming crab, Flower crab, Blue crab
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Portunus pelagicus

 

 

ปูม้า เป็นปูทะเลชนิดหนึ่ง อยู่ในสกุล Portunus ลักษณะทั่วไปแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนตัว ส่วนอก และส่วนท้อง ส่วนหัวและอกจะอยู่ติดกัน มีกระดองหัวอยู่ตอนบน ทางด้านข้างทั้งสองของกระดองเป็นรอยหยักคล้ายฟันเลื่อย ลักษณะเป็นหนามแหลมข้างละ 9 อัน ขามีทั้งหมด 5 คู่ คู่แรกเปลี่ยนแปลงไปเป็นก้ามใหญ่เพื่อใช้ป้องกันตัวและจับอาหาร ขาคู่ที่ 2-4 มีขนาดเล็ก ปลายแหลม ใช้เป็นขาเดิน ขาคู่สุดท้าย ตอนปลายมีลักษณะเป็นใบพายใช้ในการว่ายน้ำ ขนาดกระดองสามารถโตเต็มที่ได้ราว 15-20 เซนติเมตร

 

ปูม้าตัวผู้ มีก้ามยาวเรียว มีสีฟ้าอ่อน และมีจุดขาวตกกระทั่วไปทั้งกระดองและก้าม พื้นท้องเป็นสีขาว จับปิ้งเป็นรูปสามเหลี่ยมเรียวสูง

 

 

 

ปูม้าตัวเมีย มีก้ามสั้นกว่ากระดอง และก้ามมีสีฟ้าอมน้ำตาลอ่อนและมีจุดขาวตกกระทั่วไปทั้งกระดองและก้าม เมื่อถึงฤดูกาลวางไข่ ปูม้าตัวเมียจะมีไข่ติดอยู่บริเวณรยางค์ซึ่งเคยเป็นขาว่ายน้ำในระยะวัยอ่อน โดยในระยะแรกไข่จะอยู่ภายในกระดองต่อมากระดองทางหน้าท้องเปิดออกทำให้เห็นไข่ชัดเจน จึงเรียกปูม้าลักษณะนี้ว่า ปูม้าที่มีไข่นอกกระดอง

 

 

 

แม่ปูม้าไข่นอกกระดอง ไข่จะเจริญแบ่งเซลล์อยู่ภายในเปลือกไข่ สีของไข่จะค่อยๆ เปลี่ยนจากสีเหลืองอมส้มเป็นสีเหลืองปนเทา สีเทา และสีเทาอมดำ ปูม้าที่มีไข่สีเทาอมดำจะวางไข่ภายใน 1-2 วัน

 

 

 

วงจรชีวิตและระยะของปูม้า