ผลกระทบจากการระบาดของไวรัส COVID – 19 ต่อการค้าผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ ในสาธารณรัฐประชาชนจีน

 กองนโยบายและแผนพัฒนาการประมง

ผลกระทบจากการระบาดของไวรัส COVID – 19 ต่อการค้าผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ ในสาธารณรัฐประชาชนจีน 


ส่ง email แชร์ X ส่ง Line แชร์ Facebook
ฟังเสียงบรรยาย
ฟังเสียงบรรยาย

HOT ผลกระทบจากการระบาดของไวรัส COVID – 19 ต่อการค้าผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ ในสาธารณรัฐประชาชนจีน..คลิก

ผลกระทบจากการระบาดของไวรัส COVID – 19 ต่อการค้าผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ

ในสาธารณรัฐประชาชนจีน

 

 

สุทธสินี  สนธิรัตน

กลุ่มเศรษฐกิจการประมง

กองนโยบายและพัฒนายุทธศาสตร์การประมง

 

 

          ในสภาวะที่ไวรัส COVID – 19 กำลังระบาด เป็นช่วงที่ปลานิลที่เกษตรกรจีนเพาะเลี้ยงถึงเวลาที่จับขายพอดีการระบาดของไวรัสดังกล่าว ส่งผลให้คำสั่งซื้อจากประเทศคู่ค้าที่สำคัญถูกเลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนด

          ผลกระทบที่สำคัญของ COVID – 19 คือ งานแสดงนิทรรศการและงานสัมมนาทางวิชาการที่สำคัญ 2 งาน ได้ถูกเลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนด ได้แก่ Seafood Expo North America ณ เมืองบอสตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา ในช่วงกลางเดือนมีนาคมของทุกปี และ Seafood Expo Global ณ กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยม ในช่วงเดือนเมษายนของทุกปี

          ผู้ค้า/บริษัทจีนโดยปกติจะได้รับคำสั่งซื้อจากประเทศคู่ค้าในงาน Seafood Expo North America ถึง    ร้อยละ 40 – 50 ซึ่งในปี 2562 บริษัทจากประเทศจีน 200 บริษัท ได้เข้าร่วมในงานดังกล่าวเพื่อรักษาส่วนแบ่งการตลาดที่มีอยู่และต่อรองราคากับลูกค้าที่เปลี่ยนไปซื้อกับประเทศคู่แข่ง การเลื่อนคำสั่งซื้อออกไปทำให้เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงปลานิลไม่ต้องตอบคำถามเกี่ยวกับสุขอนามัยและเสถียรภาพด้านอุปทานจากคู่ค้าต่างประเทศ

          อย่างไรก็ตาม เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดจะได้รับผลกระทบ ได้แก่ ปัญหาด้านการส่งออก เนื่องจากระบบการขนส่งของประเทศจีนถูกตัดขาดชั่วคราว พื้นที่สาธารณะถูกปิด และประชาชนต้องอยู่ในบ้านของตนเพื่อกำจัดการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส มีเพียงผู้ซื้อสัตว์น้ำภายในประเทศ 2 – 3 ราย เท่านั้น     ที่เปิดให้บริการ และแทบไม่มีคนทานอาหารในร้านอาหาร เป็นเวลา 1 เดือนครึ่ง ซึ่งหลังจากที่มีการปิดเมือง   อู่ฮั่น ได้มีการสำรวจตลาดที่สำคัญ 55 ตลาด ในกรุงปักกิ่ง นครเซี่ยงไฮ้ และเมืองกว่างโจว ผลการสำรวจ พบว่า การค้าสินค้าสัตว์น้ำฟื้นตัวเพียงครึ่งเดียวจากระดับปกติ ผลกระทบนี้เริ่มต้นจากโรงเพาะฟัก ฟาร์มเพาะเลี้ยง   ผู้แปรรูป ผู้ขายปลีก และผู้ส่งออก ตามห่วงโซ่อุปทานการผลิตทั้งหมด

          ร้อยละ 60 ของผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำในโลกผลิตจากประเทศจีน ปลานิลมีการเพาะเลี้ยงในประเทศจีนมา กว่า 30 ปี โดยเฉพาะทางใต้ของมณฑลไห่หนาน มณฑลกวางตุ้ง และเขตปกครองตนเองกวางสี บริษัทเพาะเลี้ยงปลานิลขนาดใหญ่จะทำงานอย่างใกล้ชิดกับเกษตรกรรายย่อย โดยให้บริการลูกพันธุ์และคำแนะนำทางเทคนิค และรับซื้อปลาที่โตเต็มวัยจากเกษตรกรเพื่อขายต่อไป

          ผลกระทบจากการระบาดของไวรัสดังกล่าวทำให้ผู้ซื้อมากกว่าร้อยละ 40 เลื่อนคำสั่งซื้อของเดือนมีนาคมออกไปอีก 2 เดือน ซึ่งคำสั่งซื้อส่วนใหญ่มาจากสหรัฐอเมริกา แคนาดา และฟิลิปปินส์ โดยสหรัฐอเมริกา

เป็นคู่ค้ารายใหญ่ติดอันดับ 1 ใน 3 ของประเทศที่นำเข้าปลานิลจากประเทศจีน ปลานิลที่นำเข้าจากจีนในช่วงต้นเดือนมีนาคม สหรัฐอเมริกาจะกักสินค้าที่ด่านศุลกากรเพื่อตรวจสอบอย่างน้อย 14 วัน (ระยะเวลานานพอสมควรเพื่อให้เชื้อไวรัส COVID – 19 ตายไปเองตามธรรมชาติ) แต่ในช่วงกลางเดือนมีนาคม องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (the US Food and Drug Administration : FDA) ได้เปลี่ยนการตรวจสอบสินค้าที่จะนำเข้ามาในสหรัฐอเมริกา เป็นการสุ่มตัวอย่าง ณ ด่านศุลกากรสหรัฐอเมริกา เพื่อตรวจสอบข้อมูลอย่างละเอียดร่วมกับรัฐบาลต่างประเทศ การตรวจสอบนี้คาดว่าจะมีผลปฏิบัติถึงเดือนเมษายน และจะทำให้การค้าชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง

          สำหรับลูกจ้างในบริษัทผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำของจีนได้เริ่มกลับมาทำงานอีกครั้งตั้งแต่ปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เนื่องจาก รัฐบาลจีนใช้มาตรการป้องกันการติดเชื้ออย่างเข้มข้น อย่างไรก็ตาม ผู้ซื้อยังไม่สามารถยืนยันคำสั่งซื้อได้จนกว่าเดือนพฤษภาคมหรือมิถุนายน

          ปลานิลสามารถผลิตได้ 2 รุ่นต่อปี จากการสำรวจในมณฑลไห่หนาน พบว่า 1 ใน 10 ของเกษตรกร   ผู้เลี้ยงปลานิลไม่สามารถจับปลาที่โตเต็มวัยได้ทั้งหมดก่อนที่จะลงลูกพันธุ์รุ่นใหม่ หากยังถูกเลื่อนคำสั่งซื้อไปอีก 2 – 3 เดือน ผู้ประกอบการแปรรูปและผู้ส่งออกจะได้รับผลกระทบในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ เนื่องจากมีผลผลิตล้นตลาด ปริมาณสินค้าส่วนใหญ่จะถูกขายให้กับผู้ประกอบการแปรรูปในราคาที่ถูกลง จึงต้องมีการส่งเสริมการบริโภคภายในประเทศเพิ่มขึ้น เนื่องจากการแปรรูปและการส่งออกเป็นจุดเชื่อมโยงที่สำคัญใน  ห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมสินค้าสัตว์น้ำ

         

-----------------------------------------------------------

13 เมษายน 2563

 

 Tags

  •   Hits
  • การประชุม คณะกรรมการจัดการประชุมวิชาการประมง ครั้งที่ 1/2568 การประชุม คณะกรรมการจัดการประชุมวิชาการประมง ครั้งที่ 1/2568  จำนวนผู้อ่าน 310  ดาวน์โหลดเอกสาร การประชุม (Brainstorming)  ดาวน์โหลดเอกสาร การประชุม (Brainstorming)   จำนวนผู้อ่าน 279 การประชุมระดมความคิดเห็น (Brainstorming)  การประชุมระดมความคิดเห็น (Brainstorming)   จำนวนผู้อ่าน 178 การประชุมเตรียมมาตรการรองรับผลกระทบจากการใช้มาตรการภาษีตอบโต้ของสหรัฐฯ ต่อสินค้าประมง การประชุมเตรียมมาตรการรองรับผลกระทบจากการใช้มาตรการภาษีตอบโต้ของสหรัฐฯ ต่อสินค้า... จำนวนผู้อ่าน 130 Fisheries Supply Chain 2567 (ภาษาอังกฤษ) Fisheries Supply Chain 2567 (ภาษาอังกฤษ)  จำนวนผู้อ่าน 121 กิจกรรม Big Cleaning Day 2025 สะอาด สดใส ใส่ใจองค์กร กิจกรรม Big Cleaning Day 2025 สะอาด สดใส ใส่ใจองค์กร  จำนวนผู้อ่าน 104 มาตรการและแนวทางประหยัดพลังงาน ปี 2567 - 2570  มาตรการและแนวทางประหยัดพลังงาน ปี 2567 - 2570   จำนวนผู้อ่าน 97 ประกาศกองนโยบายและแผนพัฒนาการประมง ประกาศกองนโยบายและแผนพัฒนาการประมง  จำนวนผู้อ่าน 96 รายงานผลสำเร็จ การดำเนินการขับเคลื่อนองค์กรคุณธรรม และการถอดบทเรียนประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 (ไฟล์ .pptx) รายงานผลสำเร็จ การดำเนินการขับเคลื่อนองค์กรคุณธรรม และการถอดบทเรียนประจำปีงบประม... จำนวนผู้อ่าน 90 ประกาศกรมประมง ประกาศกรมประมง  จำนวนผู้อ่าน 83 ขอเชิญบุคลากรร่วมกิจกรรม  ขอเชิญบุคลากรร่วมกิจกรรม "Big Cleaning Day 2025 สะอาดสดใส ใส่ใจองค์กร"  จำนวนผู้อ่าน 77 นโยบายการไม่รับของขวัญและของกำนัลจากการปฏิบัติหน้าที่ (No Gift Policy) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 นโยบายการไม่รับของขวัญและของกำนัลจากการปฏิบัติหน้าที่ (No Gift Policy) ประจำปีงบ... จำนวนผู้อ่าน 67 เสวนา! ถกประเด็นสิทธิมนุษยชน แรงงานเด็ก และแรงงานบังคับในอุตสาหกรรมประมงไทย เสวนา! ถกประเด็นสิทธิมนุษยชน แรงงานเด็ก และแรงงานบังคับในอุตสาหกรรมประมงไทย  จำนวนผู้อ่าน 63 การประชุมกองนโยบายแลแผนพัฒนาการประมง ครั้งที่ 2/68 การประชุมกองนโยบายแลแผนพัฒนาการประมง ครั้งที่ 2/68  จำนวนผู้อ่าน 62 รายงานผลสำเร็จ การดำเนินการขับเคลื่อนองค์กรคุณธรรม และการถอดบทเรียนประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 (ฉบับ E-book) รายงานผลสำเร็จ การดำเนินการขับเคลื่อนองค์กรคุณธรรม และการถอดบทเรียนประจำปีงบประม... จำนวนผู้อ่าน 57


    สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.2568 กองนโยบายและแผนพัฒนาการประมง

    รายละเอียด ชั้น 5-6 อาคารปรีดากรรณสูต  email  strategynew2013@gmail.com  โทรศัพท์ 0 2561 4739  แฟนเพจ แฟนเพจ
    CreativeCommons Valid CSS! Explanation of WCAG 2.1 Level Triple-AA Conformance SSL Labs ipv6