วีดิทัศน์เพื่อเสริมสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับ SDGs ภายใต้แนวคิดหลัก "ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมปรับเปลี่ยน สู่ความยั่งยืนของไทยและโลกเรา" (ตอนที่ 6) จัดทำโดย สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)วีดิทัศน์เพื่อเสริมสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับ SDGs ภายใต้แนวคิดหลัก "ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมปรับเปลี่ยน สู่ความยั่งยืนของไทยและโลกเรา" (ตอนที่ 6) จัดทำโดย สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) คลิก...เพื่อดาวน์โหลดวิดีทัศน์
การประชุมโครงการประกันภัยเพื่อกลุ่มชาวประมงเรือพื้นบ้าน
วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุมกุลาดำ ชั้น 7 อาคารจุฬาภรณ์ กรมประมง นายถาวร ทันใจ รองอธิบดีกรมประมง เป็นประธานการประชุม พร้อมด้วยผู้บริหารกรมประมง ร่วมประชุมโครงการประกันภัยเพื่อกลุ่มชาวประมงเรือพื้นบ้าน พร้อมประชุมผ่านระบบ Zoom Cloud Meetings กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมเจ้าท่า สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ และตัวแทนบริษัทประกันภัยต่าง ๆ ฯลฯ เพื่อหารือแนวทางการดำเนินงานโครงการประกันภัยประมงเพื่อรองรับนโยบายรัฐบาล สำหรับกลุ่มชาวประมงเรือพื้นบ้าน
การประชุมคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย
ครั้งที่ 2/2564
วันพฤหัสบดีที่ 10 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 14.30 น.
ณ ห้องประชุมพะยูน ชั้น 7 อาคารจุฬาภรณ์ กรมประมง
เริ่มประชุมเวลา 14.30 น.
การประชุมครั้งนี้มีพลเอก ณัฐพล นาคพาณิชย์ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ เป็นประธานการประชุม อธิบดีกรมประมง เป็นกรรมการ และรองอธิบดีกรมประมง (นายวิชาญ อิงศรีสว่าง) เป็นกรรมการและเลขานุการ โดยมีกรรมการและผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 35 คน ได้ร่วมกันรับรองรายงานการประชุมครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2563 โดยการประชุมครั้งนี้ ไม่มีเรื่องเพื่อทราบ และร่วมกันพิจารณา จำนวน 5 เรื่อง และมีวาระอื่น ๆ จำนวน 1 เรื่อง
เลิกประชุมเวลา 17.00 น.
การประชุมคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย
ครั้งที่ 1/2564
วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 14.30 น.
ณ ห้องประชุมกุลาดำ ชั้น 7 อาคารจุฬาภรณ์ กรมประมง
เริ่มประชุมเวลา 14.30 น.
การประชุมครั้งนี้มีพลเอก ณัฐพล นาคพาณิชย์ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ เป็นประธานการประชุม อธิบดีกรมประมง เป็นกรรมการ และรองอธิบดีกรมประมง (นายวิชาญ อิงศรีสว่าง) เป็นกรรมการและเลขานุการ โดยมีกรรมการและผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 30 คน ได้ร่วมกันรับรองรายงานการประชุมครั้งที่ 10/2563 เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2563 และฝ่ายเลขาฯ ได้แจ้งที่ประชุมทราบ 5 เรื่อง และร่วมกันพิจารณา 2 เรื่อง
เลิกประชุมเวลา 17.30 น.
วันที่ 14 มกราคม 2564 เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุมกุลาดำ ชั้น 7 อาคารจุฬาภรณ์ กรมประมง นายบัญชา สุขแก้ว รองอธิบดีกรมประมง เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการอำนวยการโครงการสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องผู้ประกอบการประมง ครั้งที่ 1/2564 ผ่านระบบ Video Conference ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อติดตามความก้าวหน้าการดำเนินการโครงการสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องผู้ประกอบการประมง รวมถึงพิจารณาแนวทางในการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคจากการปฏิบัติงาน และการขอขยายระยะเวลาในการจ่ายสินเชื่อตามโครงการ เพื่อลดความเสี่ยงและความแออัดในการใช้บริการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) อันเนื่องมาจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19)?
วันที่ 14 มกราคม 2564 เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุมกุลาดำ ชั้น 7 อาคารจุฬาภรณ์ กรมประมง นายบัญชา สุขแก้ว รองอธิบดีกรมประมง เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการอำนวยการโครงการสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องผู้ประกอบการประมง ครั้งที่ 1/2564 ผ่านระบบ Video Conference ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อติดตามความก้าวหน้าการดำเนินการโครงการสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องผู้ประกอบการประมง รวมถึงพิจารณาแนวทางในการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคจากการปฏิบัติงาน และการขอขยายระยะเวลาในการจ่ายสินเชื่อตามโครงการ เพื่อลดความเสี่ยงและความแออัดในการใช้บริการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) อันเนื่องมาจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19)?
การประชุมคณะกรรมการคัดเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
ในคณะกรรมการนโยบายการประมงแห่งชาติ ครั้งที่ 3/2563
วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน 2563 เวลา 09.30 – 12.00 น.
ณ ห้องประชุม 123 ชั้น 2 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เริ่มประชุมเวลา 09.30 น.
การประชุมครั้งนี้มีรองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์) เป็นประธานการประชุม มีผู้อำนวยการกองนโยบายและแผนพัฒนาการประมง เป็นกรรมการและเลขานุการ โดยได้รับรองรายงานการประชุม ครั้งที่ 2/2563 เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2563 และฝ่ายเลขาฯ ได้แจ้งเรื่องเพื่อทราบ คือ การดำเนินการรับสมัครคัดเลือกและผลการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายการประมงแห่งชาติ พ.ศ. 2563 ที่ 1/2563 โดยร่วมกันพิจารณา เรื่อง การพิจารณาคัดเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายการประมงแห่งชาติ
โดยการประชุมครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 15 คน
เลิกประชุมเวลา 11.00 น.
เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2563 นางสาวชมัยพร ชูงาน ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจการประมง พร้อมด้วยหัวหน้ากลุ่มวิเคราะห์นโยบายและประสานงานคณะกรรมการนโยบายการประมงแห่งชาติเข้าร่วมการประชุมเตรียมการสำหรับการประชุมคณะกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี ณ ห้องประชุม 134-135 ชั้น 3 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยมีนายวิชัย ไตรสุรัตน์ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการประชุมฯ
วันที่ 13 พฤศจิกายน 2563 เวลา 09.30 น.
ณ ห้องประชุมยี่สก ชั้น 2 อาคารจุฬาภรณ์ กรมประมง นายบัญชา สุขแก้ว รองอธิบดีกรมประมง เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการอำนวยการโครงการสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องผู้ประกอบการประมง ครั้งที่ 4/2563 โดยมีนายสงกรานต์ แสงจันทร์ ผู้ตรวจราชการกรมประมง สำนักงานประมงจังหวัดชายทะเล ทั้ง 22 จังหวัด หน่วยงานกรมประมงส่วนกลาง ผู้แทนจากสมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย สมาคมการประมงแห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารออมสิน กรมเจ้าท่า เข้าร่วมประชุมผ่านระบบ Video Conference เพื่อติดตามผลการดำเนินงานโครงการสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องผู้ประกอบการประมง รวมทั้งพิจารณาแนวทางในการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคจากการปฏิบัติงานโครงการฯ เพื่อเร่งให้การช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของพี่น้องชาวประมงพื้นบ้านและประมงพาณิชย์ให้สามารถประกอบอาชีพประมงได้มั่นคงมากขึ้น
วันที่ 30 กันยายน 2563 เวลา 09.30 น. ร ห้องประชุมพะยูน ชั้น 7 อาคารจุฬาภรณ์ กรมประมง นายถาวร ทันใจ ผู้อำนวยการกองนโยบายและแผนพัฒนาการประมง เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการกลั่นกรองตัวชี้วัดและผลการประเมินผลการปฏิบัติราชการของหน่วยงาน รอบที่ 2 ประจำปีงบประมาน 2563 เพื่อหารือพิจารณาประเมินผลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ รวมถึงปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติราชการ
เกษตรอัจฉริยะ : ภาคประมง
สุกัญญา พิมมาดี
กลุ่มเศรษฐกิจการประมง
กองนโยบายและแผนพัฒนาการประมง
กันยายน 2563
ยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๑-๒๕๘๐) เป็นยุทธศาสตร์ชาติฉบับแรกของประเทศไทยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งจะต้องนำไปสู่การปฏิบัติเพื่อให้ประเทศไทยบรรลุวิสัยทัศน์ “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” โดยมีปัจจัยสำคัญที่ช่วยผลักดันให้บรรลุเป้าหมาย 6 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านความมั่นคง
(2) ด้านการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน
(3) ด้านพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์
(4) ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม
(5) ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และ
(6) การปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความชัดเจนและการเชื่อมโยงระหว่างยุทธศาสตร์ชาติทั้ง 6 ด้าน จึงได้มีการสรุปประเด็นสาระสำคัญประกอบด้วย 23
แผนแม่บทหลัก และ 85 แผนแม่บทย่อย
แผนแม่บทด้านการเกษตรเป็นหนึ่งในแผนแม่บทหลัก และมีประเด็นเกษตรอัจฉริยะเป็นหนึ่งใน
แผนแม่บทย่อย ภายใต้ยุทธศาสตร์ด้านการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งขับเคลื่อนโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ภายใต้โครงการเกษตรอัจฉริยะ (Smart Farm หรือ Intelligent Farm) เป็นการทำการเกษตรรูปแบบใหม่ ด้วยการใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ ที่มีความแม่นยำสูง เข้ามาช่วยในการทำงาน โดยให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัยต่อผู้บริโภค และเป็นการใช้ทรัพยากรให้เกิดความคุ้มค่ามากที่สุด ในสถานการณ์ปัจจุบันที่แรงงานในภาคการเกษตรลดลง และส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ ทำให้ภาคเกษตรต้องปรับตัวโดยการนำเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
การดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายเกษตรอัจฉริยะอย่างมีประสิทธิภาพจะต้องพิจารณาองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ด้าน คือ
1) การระบุตำแหน่งพื้นที่ทำการเกษตรที่เหมาะสม
2) การแปรวิเคราะห์ข้อมูลที่ตรงกับระยะเวลาของการเพาะปลูกพืช/เลี้ยงสัตว์
3) การบริหารจัดการพื้นที่โดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม ไม่สิ้นเปลืองทรัพยากร และต้องเข้ากับการเพาะปลูกพืช/เลี้ยงสัตว์ชนิดนั้นๆ
ภาครัฐได้ดำเนินการขับเคลื่อนการทำงานด้านเกษตรอัจฉริยะ ผ่านทางคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเกษตรอัจฉริยะ โดยได้ดำเนินการยกร่างแผนแม่บทเกษตรอัจฉริยะแล้วเสร็จในเบื้องต้นตั้งแต่ปลายปี 2562 มีสาระสำคัญประกอบด้วย 6 แนวทาง คือ
1) การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะ
2) การสร้างแปลงเรียนรู้ต้นแบบเกษตรอัจฉริยะ แปลงใหญ่เกษตรอัจฉริยะ
3) การสร้างการรับรู้ เข้าถึง ใช้ประโยชน์ และการส่งเสริมขยายผลเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะ
4) การพัฒนาการแปรรูปและการตลาดเกษตรอัจฉริยะ
5) การส่งเสริมและพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อการบริหารจัดการเกษตรอัจฉริยะ
6) การพัฒนาบุคลากรและเครือข่ายด้านเกษตรอัจฉริยะ
ภาคประมง ถือเป็นสาขาหนึ่งของภาคเกษตร ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนงานโครงการ เพื่อให้ผลักดันเป้าหมายเกษตรอัจฉริยะ ภายใต้ร่างแผนปฏิบัติการด้านเกษตรอัจฉริยะ พ.ศ. 2565-2566 ดังนี้
1) โครงการวิจัยและพัฒนาพันธุ์สัตว์น้ำที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของประเทศไทยและรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างทันท่วงทีด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์สัตว์น้ำสำคัญให้เหมาะสม สามารถปรับตัวเข้ากับกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปอันเนื่องมาจาก
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
2).โครงการวิจัยและพัฒนาระบบฐานข้อมูลการอารักขาพืช สัตว์ และสัตว์น้ำ ที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของประเทศไทยและรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพื่อพัฒนาระบบฐานข้อมูลด้านการอารักขาพืช สัตว์ และสัตว์น้ำเศรษฐกิจสำคัญ พร้อมรับมือกับสถานการณ์ทางด้านโรคที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว อันเนื่องมาจากสภาวะโลกร้อน
3) โครงการวิจัยและพัฒนาระบบประเมินและติดตามสุขภาพพืช สัตว์ และสัตว์น้ำที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของประเทศไทยและรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อพัฒนาระบบประเมินและติดตามสุขภาพพืช สัตว์ และสัตว์น้ำเศรษฐกิจสำคัญ พร้อมรองรับกับการเปลี่ยนแปลงในสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
4) โครงการวิจัยและพัฒนา “Index Library” เพื่อพัฒนาระบบฐานข้อมูลสำหรับเป็นเครื่องมือช่วยสนับสนุนการตัดสินใจในการติดตามสุขภาพและการอารักขา ของพืชเศรษฐกิจสำคัญ
5) โครงการพัฒนาเกษตรกรผู้นำการเปลี่ยนแปลงให้เป็น smart farmer / young smart farmer เพื่อสร้าง smart farmer/young smart farmer ด้านเกษตรอัจฉริยะในพื้นที่ เพื่อเป็นต้นแบบ
การทำแปลงใหญ่เกษตรอัจฉริยะ
6) โครงการส่งเสริมเกษตรกรอัจฉริยะให้เป็นผู้ประกอบการรุ่นใหม่ (Startup Smart Farmer) เพื่อสนับสนุน smart farmer ที่มีศักยภาพในการเป็นผู้ประกอบการให้บริการด้านเกษตรอัจฉริยะที่เกี่ยวข้องให้กระจายทั่วประเทศ เกษตรกรสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีในราคาที่เหมาะสม
7) โครงการพัฒนาฐานข้อมูล smart farmer / young smart farmer เกษตรอัจฉริยะ เพื่อสร้างฐานข้อมูลเกษตรกรกลุ่มเป้าหมายและเกษตรกรอัจฉริยะเพื่อเป็นผู้ให้บริการ (service provider) สามารถนำเทคโนโลยีต่าง ๆ ไปถ่ายทอดให้แก่เกษตรกรได้โดยตรง
8) โครงการจัดทำและพัฒนาแปลงเรียนรู้เกษตรอัจฉริยะ เพื่อเป็นแหล่งการเรียนรู้และการปรับใช้เทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะให้แก่เกษตรกรและผู้สนใจ
9) โครงการส่งเสริมการทำแปลงเกษตรอัจฉริยะ เพื่อสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะสำหรับการผลิตพืช ปศุสัตว์ ประมง หม่อนไหม
10) โครงการส่งเสริมการทำแปลงใหญ่เกษตรอัจฉริยะ เพื่อขยายผลการทำแปลงเกษตรอัจฉริยะ
ในพื้นที่แปลงใหญ่ที่มีศักยภาพด้วยเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะที่เหมาะสมกับพื้นที่ สำหรับการผลิตพืช ปศุสัตว์ ประมง หม่อนไหม
11) โครงการพัฒนาศักยภาพองค์กรการเกษตรสู่การเป็นองค์กรการเกษตรอัจฉริยะ เพื่อพัฒนาสหกรณ์การเกษตรให้มีความเข้มแข็งตลอดห่วงโซ่ ตั้งแต่กระบวนการผลิต การแปรรูป การตลาด ตลอดจนแพลตฟอร์มทางการตลาดออนไลน์ ด้วยเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะ IoT (Internet of Things)
12) โครงการบริหารจัดการข้อมูลสินค้าเกษตรที่แม่นยำตั้งแต่ฟาร์มจนถึงผู้บริโภค เพื่อให้ได้ข้อมูลสินค้าเกษตรที่ถูกต้องแม่นยำ สามารถใช้ในการบริหารจัดการได้ตลอดห่วงโซ่ตั้งแต่ผู้ผลิตจนถึงผู้บริโภค
13) โครงการพัฒนาเครือข่ายวงแหวนการใช้เครื่องจักรกลการเกษตร เพื่อให้เกิดระบบการใช้ทรัพยากรด้านเครื่องจักรกลการเกษตรร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่าในการลงทุน เพิ่มโอกาสในการเข้าถึงเครื่องจักรตลอดห่วงโซ่การผลิต รวมถึงการสร้างเครือข่ายธุรกิจของชุมชน
14) โครงการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ ขนส่งสินค้าเกษตรของชุมชน เพื่อสนับสนุนการใช้ยานพาหนะของชุมชนที่มีอยู่อย่างเต็มประสิทธิภาพและคุ้มค่าการลงทุน ตลอดจนลดการสูญเสียและความเสียหายของผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร รวมถึงการสร้างเครือข่ายธุรกิจขนส่งของชุมชน
15) โครงการบริหารจัดการคลังสินค้าอัจฉริยะ เพื่อให้มีระบบคลังสินค้าและการกระจายสินค้าที่มีประสิทธิภาพ ลดต้นทุนการขนส่ง ลดการสูญเสียและความเสียหายของผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์ของชุมชน
16)โครงการพัฒนาระบบติดตามและตรวจสอบย้อนกลับเพื่อสร้างความเชื่อมั่นในกระบวนการจัดการสินค้าเกษตรตั้งแต่ระดับฟาร์มจนถึงจำหน่ายแก่ผู้บริโภคการยกระดับการผลิต และผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตร มีระบบฐานข้อมูลที่ดีสามารถติดตามการตรวจรับรองและตรวจสอบย้อนกลับได้
17) โครงการยกระดับการขยายธุรกิจการให้บริการด้านการเกษตร เพื่อยกระดับการให้บริการ
ด้านการเกษตร ให้กับเกษตรกร/กลุ่มเกษตรกรทั้งในรูปแบบผู้ให้บริการสินค้าเกษตร (Service Provider) และผู้ให้บริการแก้ไขปัญหาบนพื้นฐานสินค้าและบริการด้านเกษตร (Solution Provider)
18) โครงการสนับสนุนผู้ประกอบการอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เกษตรอัจฉริยะ เพื่อจำหน่ายให้แก่เกษตรกร ซึ่งเป็นการสนับสนุนและส่งเสริมผู้ประกอบการอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เกษตรอัจฉริยะ เพื่อให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงได้ง่าย
19) โครงการพัฒนานักศึกษาอาชีวะหรือ Young Smart Farmer ให้เป็นผู้ประกอบอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เกษตรอัจฉริยะ เพื่อพัฒนาทักษะให้กับนักศึกษาอาชีวะ หรือ Young Smart Farmer ให้สามารถพัฒนาขึ้นมาเป็นผู้ประกอบอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เกษตรอัจฉริยะได้
20) โครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวในแปลง/ฟาร์มเกษตรอัจฉริยะ เพื่อส่งเสริมและพัฒนา การท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์การเกษตร ในรูปแบบของแปลง และ/หรือ ฟาร์มเกษตรอัจฉริยะ
21) โครงการพัฒนาทักษะการบริหารจัดการแปลง/ฟาร์ม ให้แก่เกษตรกร/ผู้ประกอบการ ไปสู่การเป็นธุรกิจท่องเที่ยวเชิงเกษตรอัจฉริยะ
22) โครงการสนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนปลอดดอกเบี้ย/ดอกเบี้ยต่ำ สำหรับพัฒนาแปลง/ฟาร์มให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรอัจฉริยะ
23) โครงการพัฒนาหลักสูตรส่งเสริมการเรียนรู้วิธีใช้งานเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะอย่างมีประสิทธิภาพสำหรับเกษตรกร เพื่อสร้าง smart farmer / young smart farmer ให้มีองค์ความรู้ในการใช้งานเครื่องมือ/เครื่องจักรกลการเกษตรสมัยใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
24) โครงการพัฒนาผู้ประกอบการ SMEs และ/หรือ Start Up ในพื้นที่เกษตร
25) โครงการสนับสนุนทุนแก่บุคลากรด้านการเกษตรอัจฉริยะ เพื่อพัฒนาบุคคลากรด้านการเกษตรให้มีความรู้ความสามารถในด้านการเกษตรอัจฉริยะ สามารถขับเคลื่อนและขยายผลการพัฒนาเกษตรอัจฉริยะให้เหมาะสมกับบริบททางการเกษตรของประเทศไทย
ปัจจุบันเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเริ่มนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้ในการดำเนินการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำแล้ว เช่น การใช้แอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือเพื่อช่วยในระบบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เช่น การให้อาหาร การตรวจสอบคุณภาพน้ำ เป็นต้น นอกจากนี้ เกษตรกรยังได้นำแผงโซล่าเซลล์มาติดตั้งเพื่อลดต้นทุนด้านพลังงาน รวมทั้งจำหน่ายผลผลิตและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำผ่านระบบออนไลน์มากขึ้น ในส่วนของกรมประมงได้เริ่มพัฒนาแอพพลิเคชั่นเพื่อนำมาใช้ในระบบตรวจสอบย้อนกลับสินค้ากุ้งทะเล ทำให้ทราบแหล่งที่มาสินค้า
ตลอดห่วงโซ่ ซึ่งจะสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภค
ปัจจุบันโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะพฤติกรรมของผู้บริโภค ทำให้ทุกภาคส่วนต้องปรับตัวให้ทันกับสถานการณ์ต่าง ๆ ส่งผลให้เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทอย่างมาก ทั้งในด้านการผลิต การตลาด และการบริโภค ทั้งนี้ ภาคประมงไทยจะสามารถอยู่รอดได้ในสภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังประสบกับปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ มาตรการทางการค้าของประเทศคู่ค้าและคู่แข่งของไทย ระเบียบการค้าของโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างมาก รวมถึงปัญหาโรคระบาดต่าง ๆ
ที่ส่งผลกระทบต่อขีดความสามารถในการแข่งขันของไทย จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ประกอบการประมงต้องปรับตัวและเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย โดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วยคุณลักษณะ 3 ประการ และเงื่อนไข 2 ประการ หรือที่เรียกว่า 3 ห่วง
2 เงื่อนไข คือ
1) ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีต่อความจำเป็น และเหมาะสมกับฐานะของตนเองสังคม สิ่งแวดล้อม รวมทั้งวัฒนธรรมในแต่ละท้องถิ่น ไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไป และต้องไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น
2) ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจดำเนินการเรื่องต่าง ๆ อย่างมีเหตุผลตามหลักวิชาการ หลักกฎหมาย หลักศีลธรรมจริยธรรม และวัฒนธรรมที่ดีงาม โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบรู้และรอบคอบ
3) ระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับต่อผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม เพื่อให้สามารถปรับตัวและรับมือได้อย่างทันท่วงที
เงื่อนไขสำคัญที่จะทำให้การตัดสินใจ และการกระทำเป็นไปอย่างพอเพียง จะต้องอาศัยทั้งคุณธรรมและความรู้ ดังนี้
1) เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องสร้างเสริมให้เป็นพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ ประกอบด้วย
ด้านจิตใจ คือการตระหนักในคุณธรรม รู้ผิดชอบชั่วดี ซื่อสัตย์สุจริต ใช้สติปัญญาอย่างถูกต้องและเหมาะสม
ในการดำเนินชีวิต และด้านการกระทำ คือมีความขยันหมั่นเพียร อดทน ไม่โลภ ไม่ตระหนี้ รู้จักแบ่งปัน และรับผิดชอบในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม
2) เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วยการฝึกตนให้มีความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน มีความรอบคอบ และความระมัดระวังที่จะนำความรู้ต่าง ๆ เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และในขั้นปฏิบัติ
ดังนั้น หากผู้ประกอบการประมงไทยสามารถนำความรู้และเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพโดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ย่อมส่งผลให้ภาคประมงไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ตามเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580) อย่างแน่นอน
**************
เอกสารอ้างอิง
1. ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580)
2. (ร่าง) แผนงาน/โครงการ พ.ศ. 2565-2566 แผนปฏิบัติการด้านเกษตรอัจฉริยะ โดย คณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเกษตรอัจฉริยะ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
วันที่ 22 กันยายน 2563 เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุมกุลาดำ ชั้น 7 อาคารจุฬาภรณ์ กรมประมง นายประพันธ์ ลีปายะคุณ ผู้ตรวจราชการกรมประมง เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการอำนวยการโครงการสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องผู้ประกอบการประมง ครั้งที่ 3/2563 เพื่อหารือแนวทางในการขับเคลื่อนโครงการฯ ประเด็นปัญหาในการดำเนินโครงการฯ หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และกรอบระยะเวลาการขอสินเชื่อจากธนาคารภายใต้โครงการฯ
เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2563 เวลา 09.30 น. ณ ห้องประชุมพะยูน ชั้น 7 อาคารจุฬาภรณ์ กรมประมง นายประพันธ์ ลีปายะคุณ ผู้ตรวจราชการกรม พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่กรมประมง เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการพิจารณาแก้ไขปรับปรุงหรือดำเนินการทางกฎหมายด้านการประมง ครั้งที่ 2/2563 ผ่านระบบ Video Conference โดยมี นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการประชุม เพื่อหารือพิจารณา ปรับปรุงร่างพระราชบัญญัติกองทุนการประมงแห่งชาติ พ.ศ.... และ ปรับปรุงร่างพระราชบัญญัติสภาการประมงแห่งประเทศไทย
ที่มา : กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมประมง
แนวทางปฏิบัติในการส่งเรื่องเพื่อเสนอรัฐมนตรี การเสนอความเห็น และการส่งข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี
ระเบียบวาระการประชุม VDC
ข้อเสนอโครงการองค์กรภาคประชาชน เพื่อขอใช้เงินกู้สำหรับแก้ไขปัญหาเยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม
ในวันพฤหัสบดีที่ 20 สิงหาคม 2563 เวลา 13.30 – 16.30 น.
ณ ห้องประชุมปากเปี่ยน ชั้น 5 อาคารจุฬาภรณ์ กรมประมง
-----------------------------------------------
ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องประธานแจ้งที่ประชุมทราบ
ระเบียบวาระที่ 2 เรื่องเพื่อทราบ
- การแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน
ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องเพื่อพิจารณา
3.1 ข้อเสนอโครงการองค์กรภาคประชาชนเพื่อขอใช้เงินกู้สำหรับแก้ไขปัญหา เยียวยาละฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม
3.2 การดำเนินการขึ้นทะเบียนเกษตรกรให้แก่ทายาทของเกษตรกรที่เสียชีวิตใน ระหว่างดำเนินโครงการเยียวยาเกษตรกร
|
|
ระเบียบวาระที่ 4 เรื่องอื่น ๆ
เอกสารประกอบวาระที่ 3.1
shorturl.at/vxENT
1.ดาวโหลดแบบฟอร์มแผนงานและโครงการกู้เงิน covid-19
2.ดาวโหลดแบบฟอร์มแผนงานและโครงการกู้เงิน covid-19
4.กรอบ TOR ของการขอใช้เงินกู้ด้านเกษตรเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
5. โครงการพัฒนาอาชีพและเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนประมงพื้นบ้าน
3.1 ข้อเสนอโครงการองค์กรภาคประชาชนเพื่อขอใช้เงินกู้สำหรับแก้ไขปัญหา เยียวยาละฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม
3.2 การดำเนินการขึ้นทะเบียนเกษตรกรให้แก่ทายาทของเกษตรกรที่เสียชีวิตใน ระหว่างดำเนินโครงการเยียวยาเกษตรกร
การประชุมข้อเสนอโครงการองค์กรภาคเอกชน เพื่อขอใช้เงินกู้สำหรับแก้ไขปัญหาเยียวยา
และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม
วันพฤหัสบดีที่ 20 สิงหาคม 2563 เวลา 13.30 – 16.30 น.
ณ ห้องประชุมปากเปี่ยน ชั้น 5 อาคารจุฬาภรณ์ กรมประมง
เริ่มประชุมเวลา 13.30 น.
การประชุมครั้งนี้มีรองอธิบดีกรมประมง (นายบัญชา สุขแก้ว) เป็นประธานการประชุม
มีผู้อำนวยการกองนโยบายและแผนพัฒนาการประมง ทำหน้าที่ฝ่ายเลขานุการ โดยได้ร่วมกันประชุมทาง VDC กับประมงจังหวัด 76 จังหวัด และได้แจ้งที่ประชุมทราบการแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน และร่วมกันพิจารณา 2 เรื่องดังนี้
1. ข้อเสนอโครงการองค์กรภาคเอกชนเพื่อขอใช้เงินกู้สำหรับแก้ไขปัญหาเยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม
2. การดำเนินการขึ้นทะเบียนเกษตรกรให้แก่ทายาทของเกษตรกรที่เสียชีวิตในระหว่างดำเนินโครงการเยียวยาเกษตรกร
โดยมีผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 15 คน
เลิกประชุมเวลา 15.30 น.
ครั้งที่ 10/2563
วันศุกร์ที่ 14 มิถุนายน 2563 เวลา 15.00 น.
ณ ห้องประชุมพะยูน ชั้น 7 อาคารจุฬาภรณ์ กรมประมง
เริ่มประชุมเวลา 15.00 น.
การประชุมครั้งนี้มีพลเอก ณัฐพล นาคพาณิชย์ รองผู้บัญชาการทหารบก เป็นประธานการประชุม มีรองอธิบดีกรมประมง (นายบัญชา สุขแก้ว) ทำหน้าที่กรรมการและเลขานุการแทน โดยได้รับรองรายงานการประชุมครั้งที่ 9/2563 เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2563 และฝ่ายเลขาฯ ได้แจ้งที่ประชุมทราบ 8 เรื่องดังนี้
1. การดำเนินการกรณีสมาคมการประมงแห่งประเทศไทยเข้าพบหารือประธานกรรมการเฉพาะกิจแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย
2. ผลดำเนินงานคณะกรรมการเฉพาะกิจเพื่อตรวจสอบและติดตามการบังคับใช้กฎหมายฯ
3. ผลดำเนินงานคณะอนุกรรมการกลั่นกรองกฎหมายฯ
4. ผลดำเนินงานคณะอนุกรรมการและคณะทำงานภายใต้คณะกรรมการเฉพาะกิจแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย
5. แนวทางแก้ไขเรื่องการเลี้ยงหอยแครงในอ่าวบ้านดอน
6. โครงการปรับปรุงการทำประมง (Fishery Improvement Project: FIP) เพื่อเข้าสู่มาตรฐานประมงยั่งยืนสากล
7. โครงการสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องผู้ประกอบการประมง
8. การคัดเลือกคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายการประมงแห่งชาติ และกรรมการได้ร่วมกันพิจารณา 3 เรื่องดังนี้
1. เกณฑ์และคุณสมบัติเรือและเจ้าของเรือประมงที่จะนำเรือประมงออกนอกระบบ กรณีเพื่อบรรเทาผลกระทบอันเนื่องจากมาตรการของรัฐ จำนวน 263 ลำ
2. กฎกระทรวง การขออนุญาตและการอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ (ฉบับที่ ...) พ.ศ. .... และ ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดชนิดเครื่องมือทำการประมงที่สามารถโอนใบอนุญาตในลักษณะควบรวมปริมาณสัตว์น้ำที่คงเหลือจากการโอนใบอนุญาตในลักษณะควบรวมปริมาณสัตว์น้ำ ฯ (ฉบับที่...) พ.ศ....
3. ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการจัดทำสมุดบันทึกการทำการประมงของเรือประมงพาณิชย์ พ.ศ. ... โดยมีกรรมการและผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 40 คน
เลิกประชุมเวลา 19.00 น.
เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2563 เวลา 09.00 – 16.00 ณ ห้องประชุมมือเสือ ชั้น 1 กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง กรมประมง นางสาวชมัยพร ชูงาน ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจการประมง เป็นประธานการประชุมแนวทางการขับเคลื่อนโครงการสินค้าเกษตรออนไลน์ ผ่านระบบ Video Conference โดยมีวิทยากรจากบริษัท ลาซาด้า จำกัด (ประเทศไทย) เจ้าที่กรมประมง และเกษตรกรที่สนใจเข้าร่วมการประชุม เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับเกษตรกรในการเข้าร่วมเป็นผู้ขายกับลาซาด้า
ปัจจุบันพฤติกรรมการดำเนินชีวิตของผู้บริโภคได้เปลี่ยนแปลงไป จึงปฏิเสธไม่ได้ว่า สื่อออนไลน์ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในสังคมโลก ด้วยจุดเด่นที่เน้นความรวดเร็วและความสะดวกสบาย โลกออนไลน์จึงถูกนำมาใช้ประโยชน์กับกลุ่มคนทุกสาขาอาชีพ โดยเฉพาะการซื้อขายผ่านตลาดออนไลน์ (Online Marketing) ที่กำลังเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากสามารถทำให้ผู้บริโภคจากทั่วโลกรู้จักสินค้าได้อย่างกว้างขวางได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังเป็นการลดต้นทุนผู้ขาย เนื่องจากไม่มีค่าใช้จ่ายหน้าร้าน ทำให้สามารถปรับราคาให้ต่ำลงได้ จึงตอบสนองกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงได้จัดทำโครงการตลาดสินค้าเกษตรออนไลน์ขึ้น ตามนโยบายตลาดนำการผลิตขึ้น เพื่อพัฒนาองค์กรเกษตรกรและเกษตรกรรุ่นใหม่ โดยเพิ่มทักษะในทุกด้าน โดยเฉพาะการตลาดสินค้าออนไลน์ เพื่อเป็นการเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าเกษตรให้กับกลุ่มเกษตรกร และกระจายผลผลิตออกสู่ตลาดผ่านแพลตฟอร์มการขายออนไลน์ โดยที่เกษตรกรสามารถกำหนดราคาสินค้าได้โดยไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง รวมถึงผู้บริโภคสามารถเข้าถึงสินค้าเกษตรได้ง่ายขึ้น สินค้ามีคุณภาพ ในราคาที่เหมาะสม
สำหรับโครงการตลาดสินค้าเกษตรออนไลน์ ทางบริษัท ลาซาด้า จำกัด (ประเทศไทย) ได้คัดเลือกสินค้าประมงแปรรูป จากกลุ่มเกษตรกรรุ่นใหม่ที่มีศักยภาพ ที่กรมประมงได้ดำเนินการส่งเสริมความพร้อมในด้านต่างๆ
โดยกรมประมงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการผลักดันกลุ่มเกษตรกรให้เข้าร่วมโครงการดังกล่าว นอกจากจะเป็นการเพิ่มช่องทางการค้าขายแล้ว ยังเป็นการช่วยผลักดันให้เกษตรกรไทยปรับตัวได้ทันต่อเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป และสามารถแข่งขันใน “ตลาดออนไลน์” ที่จะเข้ามามีบทบาทสำคัญอีกช่องทางหนึ่ง เพื่อช่วยให้ราคาสินค้าเกษตรไทยมีเสถียรภาพ เกษตรกรสามารถขายผลผลิตได้ในราคาที่สมเหตุสมผล ส่งผลให้มีรายได้เพิ่มขึ้น และสร้างความยั่งยืนให้กับเกษตรกรภาคประมงต่อไป
เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2563 เวลา 09.00 – 16.00 ณ ห้องประชุมมือเสือ ชั้น 1 กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง กรมประมง นางสาวชมัยพร ชูงาน ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจการประมง เป็นประธานการประชุมแนวทางการขับเคลื่อนโครงการสินค้าเกษตรออนไลน์ ผ่านระบบ Video Conference โดยมีวิทยากรจากบริษัท ลาซาด้า จำกัด (ประเทศไทย) เจ้าที่กรมประมง และเกษตรกรที่สนใจเข้าร่วมการประชุม เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับเกษตรกรในการเข้าร่วมเป็นผู้ขายกับลาซาด้า
ปัจจุบันพฤติกรรมการดำเนินชีวิตของผู้บริโภคได้เปลี่ยนแปลงไป จึงปฏิเสธไม่ได้ว่า สื่อออนไลน์ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในสังคมโลก ด้วยจุดเด่นที่เน้นความรวดเร็วและความสะดวกสบาย โลกออนไลน์จึงถูกนำมาใช้ประโยชน์กับกลุ่มคนทุกสาขาอาชีพ โดยเฉพาะการซื้อขายผ่านตลาดออนไลน์ (Online Marketing) ที่กำลังเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากสามารถทำให้ผู้บริโภคจากทั่วโลกรู้จักสินค้าได้อย่างกว้างขวางได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังเป็นการลดต้นทุนผู้ขาย เนื่องจากไม่มีค่าใช้จ่ายหน้าร้าน ทำให้สามารถปรับราคาให้ต่ำลงได้ จึงตอบสนองกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงได้จัดทำโครงการตลาดสินค้าเกษตรออนไลน์ขึ้น ตามนโยบายตลาดนำการผลิตขึ้น เพื่อพัฒนาองค์กรเกษตรกรและเกษตรกรรุ่นใหม่ โดยเพิ่มทักษะในทุกด้าน โดยเฉพาะการตลาดสินค้าออนไลน์ เพื่อเป็นการเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าเกษตรให้กับกลุ่มเกษตรกร และกระจายผลผลิตออกสู่ตลาดผ่านแพลตฟอร์มการขายออนไลน์ โดยที่เกษตรกรสามารถกำหนดราคาสินค้าได้โดยไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง รวมถึงผู้บริโภคสามารถเข้าถึงสินค้าเกษตรได้ง่ายขึ้น สินค้ามีคุณภาพ ในราคาที่เหมาะสม
สำหรับโครงการตลาดสินค้าเกษตรออนไลน์ ทางบริษัท ลาซาด้า จำกัด (ประเทศไทย) ได้คัดเลือกสินค้าประมงแปรรูป จากกลุ่มเกษตรกรรุ่นใหม่ที่มีศักยภาพ ที่กรมประมงได้ดำเนินการส่งเสริมความพร้อมในด้านต่างๆ
โดยกรมประมงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการผลักดันกลุ่มเกษตรกรให้เข้าร่วมโครงการดังกล่าว นอกจากจะเป็นการเพิ่มช่องทางการค้าขายแล้ว ยังเป็นการช่วยผลักดันให้เกษตรกรไทยปรับตัวได้ทันต่อเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป และสามารถแข่งขันใน “ตลาดออนไลน์” ที่จะเข้ามามีบทบาทสำคัญอีกช่องทางหนึ่ง เพื่อช่วยให้ราคาสินค้าเกษตรไทยมีเสถียรภาพ เกษตรกรสามารถขายผลผลิตได้ในราคาที่สมเหตุสมผล ส่งผลให้มีรายได้เพิ่มขึ้น และสร้างความยั่งยืนให้กับเกษตรกรภาคประมงต่อไป
การประชุมคณะกรรมการคัดเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
ในคณะกรรมการนโยบายการประมงแห่งชาติ
ครั้งที่ 2/2563
วันพฤหัสบดีที่ 6 สิงหาคม 2563 เวลา 13.30 – 16.30 น.
ณ ห้องประชุมปากเปี่ยน ชั้น 5 อาคารจุฬาภรณ์ กรมประมง
เริ่มประชุมเวลา 13.30 น.
การประชุมครั้งนี้มีรองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นางอุมาพร พิมลบุตร) เป็นประธานการประชุม มีผู้อำนวยการกองนโยบายและแผนพัฒนาการประมง เป็นกรรมการและเลขานุการ โดยได้รับรองรายงานการประชุมครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2563 และฝ่ายเลขาฯ ได้แจ้งที่ประชุมทราบ 2 เรื่องดังนี้
1. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายการประมงแห่งชาติตามพระราชกำหนด
การประมง พ.ศ. 2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
2. ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรง
คุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายการประมงแห่งชาติ พ.ศ. 2561
และคณะกรรมการได้ร่วมกันพิจารณา 2 เรื่องดังนี้
1. ประกาศคณะกรรมการคัดเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายการประมง
แห่งชาติ พ.ศ. 2563 ที่ 1/2563 เรื่อง รับสมัครคัดเลือกบุคคลเข้ารับการคัดเลือกเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ
ในคณะกรรมการนโยบายการประมงแห่งชาติ
2. หลักเกณฑ์ในการให้คะแนนการคัดเลือกบุคคลเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการ
นโยบายการประมงแห่งชาติ
โดยมีคณะกรรมการและผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 15 คน
เลิกประชุมเวลา 15.00 น.
วันที่ 4 สิงหาคม 2563 เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุมกุลาดำ ชั้น 7 อาคารจุฬาภรณ์ กรมประมง นายบัญชา สุขแก้ว รองอธิบดีกรมประมง เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการอำนวยการโครงการสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องผู้ประกอบการประมง ครั้งที่ 2/2563 ผ่านระบบ Video Conference เพื่อพิจารณาแนวทางการติดต่อขอสินเชื่อจากธนาคารภายใต้โครงการสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องผู้ประกอบการประมง
กรมประมงจัดโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการ ที่เกี่ยวกับการจัดทำโครงการสำคัญ เพื่อขับเคลื่อนให้บรรลุเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติ และแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาตร์ชาติประจำปีงบประมาณ 2564 โดยมีการจัดประชุมระหว่างวันที่ 8 - 10 กรกฎาคม 2563 และวันที่ 24 กรกฎาคม 2563 ณ ห้องประชุมอานนท์ กรมประมง ซึ่งการประชุมเชิงปฏิบัติการตามโครงการดังกล่าว ได้มีการบรรยายในหัวข้อต่างๆที่น่าสนใจ อาทิ แนวทางการจัดโครงการสำคัญเพื่อบรรลุเป้าหมาย การบริหารงบประมาณรูปแบบใหม่ ตลอดจนแนวทางการเขียนโครงการสำคัญให้สอดคล้องกับการจัดสรรงบประมาณ ฯลฯ โดยมีบุคลากรกรมประมงที่เข้าร่วมการประชุมจำนวนกว่า 70 ราย
ที่มา : กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
การประชุมคณะอนุกรรมการเยียวยาภาคประมงที่ได้รับผลกระทบ
จากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด - 19
ครั้งที่ 1/2563
วันพฤหัสบดีที่ 9 กรกฎาคม 2563 เวลา 13.30 – 16.30 น.
ณ ห้องประชุมยี่สก ชั้น 2 อาคารจุฬาภรณ์ กรมประมง
เริ่มประชุมเวลา 13.30 น.
การประชุมครั้งนี้มีอธิบดีกรมประมงเป็นประธานการประชุม มีหัวหน้ากลุ่มเลขานุการคณะกรรมการนโยบายประมงแห่งชาติ ทำหน้าที่เป็นเลขานุการฯ แทนผู้อำนวยการกองนโยบายและแผนพัฒนาการประมง เนื่องจากติดราชการ โดยฝ่ายเลขาฯ ได้แจ้งที่ประชุมทราบ คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเยียวยาภาคประมงที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด–19 และการดำเนินการช่วยเหลือชาวประมงที่ได้รับผลกระทบ และอนุกรรมการได้ร่วมกันพิจารณา 3 เรื่องดังนี้
1. ประเด็นนำเสนอของผู้แทนสมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย
2. ประเด็นนำเสนอของผู้แทนสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย
3. ประเด็นนำเสนอของผู้แทนสมาคมการประมงนอกน่านน้ำไทย
โดยมีอนุกรรมการและผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 15 คน
เลิกประชุมเวลา 15.30 น.
วันที่ 9 กรกฎาคม 2563 เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุมอินทรี กรมประมง นายบัญชา สุขแก้ว รองอธิบดีกรมประมง เป็นประธานการประชุม VDO Conference ร่วมกับสำนักงานประมงจังหวัด 22 จังหวัดชายทะเล สำนักงานประมงพื้นที่กรุงเทพฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจในขั้นตอนการดำเนินโครงการสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องผู้ประกอบการประมง รวมทั้งตอบข้อสักถามประเด็นต่างๆ ที่พบหลังจากที่ได้เริ่มดำเนินโครงการฯ ไปแล้วตั้งแต่เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคมที่ผ่านมา
วันที่ 1 กรกฎาคม 2563 ณ ห้อง 112 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายบัญชา สุขแก้ว รองอธิบดีกรมประมง พร้อมด้วยผู้แทนธนาคารออมสิน คุณสุดารัตน์ กลิ่นเจริญ ตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายบริหารลูกค้าธุรกิจและภาครัฐ ผู้แทนธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร คุณประสาน พูลเวช รองผู้อำนวยการฝ่ายกิจการนโยบายรัฐ ผู้แทนชาวประมง คุณปิยะ เทศแย้ม รองนายกสมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย และคุณพิชัย แซ่ซิ้ม เลขาสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย ได้ร่วมกันแถลงข่าว Kick Off เปิดโครงการสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องผู้ประกอบการประมง ซึ่งเป็นโครงการเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ สำหรับชาวประมงพื้นบ้านและพาณิชย์ ให้สามารถกู้เงินไปเสริมสภาพคล่องในการประกอบอาชีพได้ในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 7 ต่อปี โดยรัฐจะชดเชยให้ ร้อยละ 3 ต่อปี ชาวประมงจ่ายเอง ร้อยละ 4 ต่อปี ทั้งนี้ผู้เปิดรับสมัครเข้าร่วมโครงการฯ ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2563 ถึง 25 พฤษภาคม 2564 ณสำนักงานประมงจังหวัดชายทะเลทั้ง 22 จังหวัดและสำนักงานประมงพื้นที่กรุงเทพมหานครสอบถามรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร 02 561 3353 ในวันและเวลาราชการ
เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2563 ผู้อำนวยการกองนโยบายและแผนพัฒนาการประมง พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่กลุ่มแผนและติดตามยุทธศาสตร์การประมง เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการจัดทำแผนเพื่อการบริหารความมั่นคงทางด้านอาหาร ครั้งที่ 1/2563 ณ ห้องประชุม AEOC ชั้น 2 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร โดยมีรองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายสำราญ สาราบรรณ์) เป็นประธานการประชุมฯ เพื่อร่วมพิจารณาให้ความเห็นชอบ (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านความมั่นคงอาหาร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. 2563 – 2565
เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2563 ผู้อำนวยการกองนโยบายและแผนพัฒนาการประมง พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่กลุ่มแผนและติดตามยุทธศาสตร์การประมง และเจ้าหน้าที่กองยุทธศาสตร์และแผนงาน เข้าร่วมประชุมติดตามการจัดทำโครงการสำคัญเพื่อขับเคลื่อนการบรรลุเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติ และแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประจำปี พ.ศ.2565 ณ ห้องประชุมพึ่งบุญฯ อาคารวิสัยทัศน์ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร โดยมีรองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายสำราญ สาราบรรณ์) เป็นประธานการประชุมฯ เพื่อพิจารณาภาพรวมห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) ในส่วนของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นการเกษตร ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ส่งผลให้บรรลุเป้าหมายแผนแม่บทย่อย