การประชุมคณะกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์ในการจัดสรรโควตาปลาทูน่า the 15th Technical Committee on Allocation Criteria (TCAC15)

[2025-07-18] การประชุมคณะกรรมการอำนวยการโครงการเสริมสภาพคล่องเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงกุ.. [2025-07-16] การประชุมคณะกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์ในการจัดสรรโควตาปลาทูน่า the 15th Tec.. [2025-07-14] การประชุมคณะกรรมการนโยบายการประมงแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2568.. [2025-07-08] การประชุมคณะผู้บริหารกรมประมง.. [2025-07-01] การประชุมหารือเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการประชุมคณะกรรมการนโยบายการปร.. [2025-06-27] กรมประมงมอบหมายนางสาวสัมพันธ์ ปานจรัตน์ ผู้อำนวยการกองนโยบายและแผนพัฒน.. [2025-06-23] มาตรการแก้ไขหนี้กองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรแบบเบ็ดเสร็จ.. [2025-06-19] ขอเชิญร่วมกิจกรรม“แฟนพันธุ์แท้สัตว์น้ำ” “เกมส์ทายภาพปริศนาสัตว์น้ำ”.. [2025-05-23] รายงานผลสำเร็จ การดำเนินการขับเคลื่อนองค์กรคุณธรรม และการถอดบทเรียนประ.. [2025-05-23] รายงานผลสำเร็จ การดำเนินการขับเคลื่อนองค์กรคุณธรรม และการถอดบทเรียนประ.. อ่านทั้งหมด 

การประชุมคณะกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์ในการจัดสรรโควตาปลาทูน่า the 15th Technical Committee on Allocation Criteria (TCAC15) 

ส่ง email แชร์ X ส่ง Line แชร์ Facebook
ฟังเสียงบรรยาย
ฟังเสียงบรรยาย

วันที่ 14 - 17 กรกฎาคม 2568 ณ สหสาธารณรัฐแทนซาเนีย

นายบัญชา สุขแก้ว อธิบดีกรมประมง มอบหมายให้ นางสาวสัมพันธ์ ปานจรัตน์ ผู้อำนวยการกองนโยบายและแผนพัฒนาการประมง เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการประชุมคณะกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์ในการจัดสรรโควตาปลาทูน่า the 15th Technical Committee on Allocation Criteria (TCAC15) ภายใต้กรอบคณะกรรมาธิการปลาทูน่าแห่งมหาสมุทรอินเดีย (Indian Ocean Tuna Commission: IOTC) โดยมีเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของกรมประมง ได้แก่ กองบริหารจัดการเรือประมงและการทำการประมง กองวิจัยและพัฒนาประมงทะเล กองบริหารจัดการทรัพยากรและกำหนดมาตรการ กองประมงต่างประเทศ และกองกฎหมาย เข้าร่วมประชุมผ่านระบบออนไลน์

โดยคณะกรรมการ TCAC15 ได้พิจารณาข้อเสนอหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขในการจัดสรรที่สำคัญ อาทิ ประวัติสถิติการจับทูน่า (catch attribution) ข้อมูลชีวมวลของทูน่า (Biomass) ที่เป็นผลการศึกษาของคณะกรรมการวิทยาศาสตร์ ขอบเขตพื้นที่ในการจัดสรรโควตา (Jurisdiction) ซึ่งเกี่ยวข้องกับ ทะเลอาณาเขต (territorial sea) พื้นที่ในน่านน้ำหมู่เกาะ (archipelagic water) และ เขตเศรษฐกิจจำเพาะ (Exclusive Economic Zone) การซื้อขายและถ่ายโอนโควตา (quota transfer) เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีการพิจารณาปีอ้างอิง (reference year) สำหรับนำมาใช้อ้างอิงประวัติการจับสัตว์น้ำ ความต้องการพิเศษของรัฐกำลังพัฒนา โควตาพื้นฐาน (baseline allocation) และการใช้ระดับการปฏิบัติตามมาตรการอนุรักษ์และบริหารจัดการของ IOTC ของแต่ละประเทศสมาชิกว่าจะใช้เป็นเกณฑ์การจัดสรรโควตาร่วมด้วยหรือไม่

สำหรับการเข้าร่วมประชุมครั้งนี้ เป็นอีกหนึ่งเวทีภายใต้กรอบองค์การบริหารจัดการประมงระดับภูมิภาค ที่ประเทศไทยได้แสดงบทบาทเชิงรุกในการร่วมบริหารจัดการทรัพยากรประมงในฐานะสมาชิกองค์การระหว่างประเทศ รักษาผลประโยชน์ของประเทศไทย ทั้งในฐานะรัฐชายฝั่ง และรัฐเจ้าของตลาดในอุตสาหกรรมปลาทูน่า พร้อมทั้ง ยืนยันจุดยืนในการบริหารจัดการการใช้ประโยชน์ทรัพยากรปลาทูน่าอย่างรับผิดชอบ โปร่งใส ตรวจสอบย้อนกลับได้ และมุ่งสู่เป้าหมายเพื่อความยั่งยืน

#กรมประมง

#กองนโยบายและแผนพัฒนาการประมง


คุยกับน้องมัจฉา Add Friends คุยกับน้องมัจฉา