อธิบดีกรมประมง
นายเฉลิมชัย สุวรรณรักษ์ เกิดวันที่ 12 สิงหาคม 2506 ปัจจุบันอายุ 58 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อปี 2529 และจบการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิทยาศาสตร์การประมง จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อปี 2539
ประวัติการทำงาน
เริ่มรับราชการ ตั้งแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน 2529
ประสบการณ์การทำงาน
• สถาบันวิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำ
• สำนักงานประมงจังหวัดตราด
• สำนักงานประมงจังหวัดสมุทรปราการ และกองแผนงาน
• ปี 2555 ได้รับมอบหมายให้รักษาราชการแทนผู้อำนวยการกองแผนงาน
• ปี 2558 ดำรงตำแหน่งเป็นประมงจังหวัดนนทบุรี
• ปี 2559 ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกองแผนงาน
• ปี 2560 ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกองนโยบายและยุทธศาสตร์พัฒนาการประมง
• ปี 2561 ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด
• 13 มกราคม 2564 ดำรงตำแหน่งรองอธิบดีกรมประมง
ผลงาน/งานสำคัญด้านบริหาร
• เลขานุการของคณะกรรมการบริหารสินค้ากุ้งและผลิตภัณฑ์ ปี 2549-2553 หลังจากที่เป็นฝ่ายเลขานุการในการเสนอยุทธศาสตร์กุ้งทะเล ปี 2549-2553 ให้คณะรัฐมนตรีรับทราบ โดยถือว่าเป็นยุทธศาสตร์สัตว์น้ำฉบับแรกที่เสนอให้คณะรัฐมนตรีรับทราบ
• ฝ่ายเลขานุการคณะผู้จัดทำแผนแม่บทการจัดการประมงทะเลไทย (พ.ศ. 2552-2561) ที่เสนอให้คณะรัฐมนตรีเห็นชอบ
• คณะกรรมการในการจัดทำยุทธศาสตร์ปลาสวยงามและพรรณไม้น้ำ พ.ศ. 2556-2559
• โครงการธนาคารผลผลิตสัตว์น้ำแบบมีส่วนร่วม
• การจัดทำแผนปฏิบัติการพัฒนากุ้งก้ามกราม (พ.ศ. 2562-2565)
• การจัดทำแผนปฏิบัติการพัฒนาสัตว์น้ำจืดเศรษฐกิจ 15 ชนิด
• การจัดทำและผลักดันแผนพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดที่เหมาะสมกับสภาวะทางเศรษฐกิจและการแข่งขันของแต่ละพื้นที่ จนกระทั่งปี 2564 ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองอธิบดีกรมประมง
การฝึกอบรม
• ปี 2551 หลักสูตร “การปฏิบัติการจิตวิทยาฝ่ายอำนวยการ รุ่นที่ 104” จากสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
• ปี 2555 หลักสูตร “แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับการจัดการความขัดแย้งด้านนโยบายสาธารณะ โดยสันติวิธี รุ่นที่ 9” จากสถาบันพระปกเกล้า
• ปี 2559 หลักสูตร “ประกาศนียบัตรชั้นสูง การบริหารเศรษฐกิจสาธารณะ สำหรับนักบริหารระดับสูง” จากสถาบันพระปกเกล้า
• ปี 2560 หลักสูตร “หลักสูตรเสริมหลักสูตรนักบริหาร ระดับสูง (ส.นบส.)” จากสำนักงาน ก.พ.
ข้อคิดในการพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
แนวทางเพื่อพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ดังนี้ “การพัฒนาด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของประเทศไทยมีความจำเป็นที่ต้องร่วมมือกันอย่างเต็มกำลังระหว่างกรมประมงและภาคเอกชนเพื่อทำให้ภาพรวมของการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและอุตสาหกรรมต่อเนื่องมีความชัดเจนและมั่นใจ ในช่วงที่มารับตำแหน่งรองอธิบดีกรมประมงได้รับมอบหมายให้วางแผนและจัดทำนโยบายการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของประเทศไทย ระหว่างปี 2564-2570 ให้มีทิศทางและเป้าหมายที่ชัดเจน โดยคำนึงถึงผลผลิตที่มั่นคง เกษตรกรมั่งคั่ง และภาคการประกอบการมีความยั่งยืน นอกจากนี้ ในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าในช่วงที่ประสบปัญหาจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ก็มีความสำคัญที่ต้องฝ่าวิกฤติทั้งการเลี้ยงและการผลิตเพื่อการส่งออกด้วย ซึ่งกรมประมงและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้พยายามแก้ไขให้ปัญหาบรรเทาลง และในการปฏิบัติงานของผมจะต้องขอให้ทุก ๆ ภาคส่วนในแวดวงการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและอุตสาหกรรมต่อเนื่องร่วมมือและแก้ไขปัญหา พร้อมทั้งวางแผนเพื่อความก้าวหน้าของการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทยต่อไป”
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
วันที่ได้รับ วันที่ 5 ธันวาคม 2535 เครื่องราชฯที่ได้รับ จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก(จ.ช.)
วันที่ได้รับ วันที่ 5 ธันวาคม 2538 เครื่องราชฯที่ได้รับ ตริตาภรณ์มงกุฏไทย(ต.ม.)
วันที่ได้รับ วันที่ 5 ธันวาคม 2542 เครื่องราชฯที่ได้รับ ตริตาภรณ์ช้างเผือก(ต.ช.)
วันที่ได้รับ วันที่ 5 ธันวาคม 2544 เครื่องราชฯที่ได้รับ ทวีติยาภรณ์มงกุฏไทย(ท.ม.)
วันที่ได้รับ วันที่ 5 ธันวาคม 2548 เครื่องราชฯที่ได้รับ ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก(ท.ช.)
วันที่ได้รับ วันที่ 5 ธันวาคม 2554 เครื่องราชฯที่ได้รับ เหรียญจักรพรรดิมาลา(ร.จ.พ.)
วันที่ได้รับ วันที่ 28 กรกฏาคม 2560 เครื่องราชฯที่ได้รับ ประถมาภรณ์มงกุฏไทย(ป.ม.)
วันที่ได้รับ วันที่ 28 กรกฏาคม 2563 เครื่องราชฯที่ได้รับ ประถมาภรณ์ช้างเผือก(ป.ช.)