วันที่ 14 มกราคม 2564 นายสันติชัย รังสิยาภิรมย์ ประมงจังหวัดพัทลุง มอบหมายให้นายยงยุทธ ลิ่มพานิช หัวหน้ากลุ่มพัฒนาและส่งเสริมอาชีพการประมง พร้อมด้วย นายสมปราถ นวลแก้ว ประมงอำเภอกงหรา นางสาวจารุพร หนูฤทธิ นักวิชาการประมงปฏิบัติการ และเจ้าหน้าที่กลุ่มส่งเสริม ฯ เข้าร่วมจัดนิทรรศการโครงการหน่วยบำบัดทุกข์ บำรุงสุข สร้างรอยยิ้มให้ประชาชน ประจำปี 2564 ภายในงานมีกิจกรรมมอบพันธุ์ปลากินพืชให้กับประชาชน และผู้นำชุมชนในท้องที่ จำนวน 100 ถุง โดยได้รับสนับสนุนจาก ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดพัทลุง พร้อมแจกเอกสารและให้คำปรึกษาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้แก่ผู้เข้าร่วมงาน ณ โรงเรียนวัดเขาวงก์ หมู่ที่ 2 ตำบลกงหรา อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง โดยมี นายฉัตรชัย อุสาหะ รองผู้ว่าราชการ เป็นประธานฯ
กรมประมง…เปิดทดลองระบบโปรแกรมประยุกต์การออกหนังสือกำกับการซื้อขายสัตว์น้ำ (APD) ให้เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงกุ้งทะเลและผู้ประกอบการด้านการประมง (ทบ.2) สามารถยื่นคำขอทดลองเข้าใช้งานระบบการออกหนังสือกำกับการซื้อขายสัตว์น้ำได้ด้วยตนเองตั้งแต่วันที่ 3 สิงหาคม 2563 เป็นต้นไป เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับเกษตรกรและผู้ประกอบการฯ และเพื่อประโยชน์ในการสืบย้อนกลับถึงแหล่งที่มาของสัตว์น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ
อย่างไรก็ตาม หลังจากพ้นระยะเวลาช่วงทดลองระบบ 1 ปี (1 กันยายน 2563 – 1 กันยายน 2564) ในวันที่ 2 กันยายน 2564 ประกาศกรมประมงจะมีผลใช้บังคับ หากเกษตรกรและผู้ประกอบการด้านการประมง (ทบ.2) ท่านใดที่ไม่จัดทำหนังสือกำกับการซื้อขายสัตว์น้ำ ในทุกครั้งที่มีการซื้อขายหรือส่งมอบกุ้งทะเล หรือจัดทำเอกสาร หรือกรอกข้อมูลอันเป็นเท็จ จะมีความผิดตามมาตรา 156 ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 10,000 – 1,000,000 บาท หรือหากนำหนังสือกำกับการจำหน่ายสัตว์น้ำ (MD/FMD) ที่กลุ่มองค์กรเอกชนหรือบุคคลที่ได้รับการประกาศรับรองฯ ฝ่าฝืนออกให้ไปใช้ประกอบการซื้อขายกุ้งทะเลให้แก่บุคคลอื่น จะมีความผิดตามมาตรา 268 ประมวลกฎหมายอาญา ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือนถึง 5 ปี และปรับตั้งแต่ 1,000 – 10,000 บาท ซึ่งกลุ่มองค์กรเอกชนหรือบุคคลที่ได้รับการประกาศรับรองให้ออกหนังสือกำกับการจำหน่ายสัตว์น้ำ (MD/FMD) จะถูกระงับ มิให้ออกหนังสือกำกับการจำหน่ายสัตว์น้ำและลูกพันธุ์สัตว์น้ำ (MD/FMD) ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2563 เป็นต้นไป หากฝ่าฝืนจะมีความผิดตามมาตรา 265 ประมวลกฎหมายอาญา ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือนถึง 5 ปี และปรับตั้งแต่ 1,000 – 10,000 บาท
กรมประมง ออกมาตรการรับรองการปฏิบัติตามมาตรการเพิ่มเติมเฉพาะกิจในการป้องกันการปนเปื้อน เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในสัตว์น้ำ และผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นสินค้าสัตว์น้ำไทย
โดยแบ่งการออกหนังรับรองฯ ให้แก่ผู้ประกอบการ 5 ประเภท ได้แก่
1.ผู้ประกอบการกระบวนการผลิต ได้แก่ เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ชาวประมง/เรือประมง
2.สะพานปลาท่าเทียบเรือ
3.ผู้ประกอบการร้านค้า Modern Trade
4.ผู้ประกอบการแปรรูปสัตว์น้ำเพื่อการส่งออก
โดยกรมประมงมีข้อกำหนดสำหรับการรับรองการปฏิบัติตามมาตรการเพิ่มเติมเฉพาะกิจในการป้องกันการปนเปื้อน เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในสัตว์น้ำ และผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ จำนวน 2 มาตรการ ได้แก่
มาตรการที่ 1 ผู้ประกอบการและเกษตรกรต้องปฏิบัติตามแนวทางด้านสาธารณสุขเพื่อการจัดการภาวะระบาดของ COVID - 19 ในข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการ บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2549 (ฉบับที่ 1) ได้แก่
1) การคัดกรองบุคลากรที่ปฏิบัติงาน
- ตรวจวัดอุณหภูมิไม่ให้เกิน 37 °C
- ตรวจดูอาการเบื้องต้น เช่น มีน้ำมูก จาม ไอ เป็นต้น
2) การปฏิบัติ
- สวมหน้ากากอนามัยชนิด Surgical Maskิ
- ล้างมือให้สะอาด
- ทำความสะอาดอุปกรณ์/ภาชนะที่ใช้ ที่มีการสัมผัสกับสัตว์น้ำ เช่น ถุงมือ เสื้อคลุม กระป๋อง กะละมัง เป็นต้น
- สวมถุงมือและหน้ากากอนามัยตลอดเวลาที่ปฏิบัติงาน
มาตรการที่ 2 ผู้ประกอบการและเกษตรกรต้องปฏิบัติตามแนวทางที่กำหนดเพิ่มเติมโดยกรมประมง เพื่อลดการปนเปื้อนไวรัส COVID - 19 ดังนี้
2.1 ผู้ประกอบการกระบวนการผลิต
2.1.1 เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
- ฟาร์มต้องขึ้นทะเบียน และได้มาตรฐานจากกรมประมง
- ปฏิบัติตามมาตรการคัดกรอง และการปฏิบัติงาน
- ล้างทำความสะอาดยานพาหนะที่ใช้บรรทุกสัตว์น้ำ ทั้งภายในและภายนอกห้องบรรจุสัตว์น้ำด้วยคลอรีน ขณะเข้าและออกจากฟาร์ม
- ผู้ขับขี่ยานพาหนะบรรทุกสัตว์น้ำ ต้องตรวจคัดกรองและสวมหน้ากากตลอดเวลาเช่นเดียวกับบุคลากรในฟาร์ม
2.1.2 ชาวประมง/เรือประมง
- คนประจำเรือทุกคนต้องผ่านการคัดกรองจากศูนย์แจ้งเข้า-ออก เรือประมงตามมาตรการของกรมประมง
- หมั่นทำความสะอาดส่วนที่สัมผัสกับสัตว์น้ำอยู่เสมอ
- สวมถุงมือและสวมหน้ากากตลอดเวลาที่ปฏิบัติงาน ทั้งการคัดเลือกสัตว์น้ำ และการขนถ่าย สัตว์น้ำขึ้นฝั่ง
- ห้ามออกนอกสะพานปลา ท่าเทียบเรือ ขณะขนถ่ายสัตว์น้ำที่ท่าเทียบเรือหรือสะพานปลา
2.2 ผู้ประกอบการสะพานปลา
- ปฏิบัติตามมาตรฐานสุขอนามัยท่าเทียบเรือ สะพานปลา
- คัดกรองบุคลากรที่ทำงานในพื้นที่ทุกราย เป็นประจำทุกวัน
- ทำความสะอาดสถานที่ด้วยคลอรีนทุกวัน
- พาหนะบรรทุกสัตว์น้ำที่เข้า-ออก ต้องลงทะเบียน และฉีดพ่นด้วยคลอรีน โดยต้องทำความสะอาดทั้งภายในและภายนอกห้องบรรจุสัตว์น้ำ ก่อนการบรรจุสินค้าสัตว์น้ำ ต้องปิดประตูหรือคลุมด้วยผ้าใบให้มิดชิด
- บุคลากรที่สัมผัสกับสัตว์น้ำต้องล้างมือให้สะอาดก่อนสวมถุงมือ และต้องใส่หน้ากากอนามัยชนิด Surgical Mask ตลอดเวลาที่ปฏิบัติงาน
2.3 ผู้ประกอบการร้านค้า Modern Trade
- ปฏิบัติตามข้อกำหนดร้านค้าของสาธารณสุข
- ทำความสะอาดพาหนะที่ขนส่งสินค้า ณ จุดจอด ก่อนมีการขนถ่ายเข้าสู่สถานประกอบการ ด้วยคลอรีน
- แยกสัตว์น้ำแต่ละประเภท ล้างทำความสะอาด และบรรจุในถุงพลาสติกก่อนวางบนน้ำแข็ง เพื่อลดการสัมผัสโดยตรงกับสัตว์น้ำ
- เตรียมถุงมือหรืออุปกรณ์จับสัตว์น้ำในระหว่างการจำหน่าย
- สุ่มตรวจการปนเปื้อนของไวรัส COVID - 19 เป็นระยะตามความเหมาะสม
2.4 ผู้ประกอบการแปรรูปสัตว์น้ำเพื่อการส่งออก
- ต้องตามมาตรฐาน GMP และ HACCP
- ผ่านการประเมินมาตรการปฏิบัติที่ดีตามมาตรการป้องกัน COVID - 19 ตามที่กระทรวงสาธารณสุขและกรมประมงร่วมกันกำหนดภายใต้ข้อตกลงร่วมกัน (MoU) ลงนามเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2563
** สำหรับเกษตรกร และผู้ประกอบการที่มีความประสงค์ ขอหนังสือรับรองฯ สามารถยื่นคำขอได้ที่สำนักงานประมงจังหวัดทั่วประเทศ
วันที่ 4 มกราคม 2564 สำนักงานประมงจังหวัดพัทลุง นำโดย นายสันติชัย รังสิยาภิรมย์ ประมงจังหวัด พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สำนักงานประมง ประชาสัมพันธ์สัตว์น้ำไทยสามารถรับประทานได้ไม่ใช่พาหะในการแพร่กระจายโรค เพื่อยืนยัน และสร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภค สินค้าสัตว์น้ำไทยที่จำหน่ายปลอดภัยจากโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และได้ มอบป้ายประชาสัมพันธ์ “สัตว์น้ำปลอดภัย ไร้ โควิด - 19” ให้แก่แม่ค้า ณ ตลาดนัดชุมชน อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง
#กรมประมง...สร้างความเชื่อมั่นสินค้าสัตว์น้ำไทย
ออกมาตรการเฉพาะกิจเสริมความมั่นใจตัดวงจรแพร่ระบาด COVID – 19 พร้อมคุมเข้มตั้งแต่ต้นทางการผลิตจนถึงมือผู้บริโภค
วันที่ 30 ธันวาคม 2563 เวลา 10.00 น. ณ บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) สาขานครอินทร์
นายมีศักดิ์ ภักดีคง อธิบดีกรมประมง ลงพื้นที่เพื่อมอบหนังสือรับรองการปฏิบัติตามมาตรการเพิ่มเติมเฉพาะกิจในการป้องกันการปนเปื้อนเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19 ) สำหรับ Modern Trade ของกรมประมงให้กับบริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) สาขานครอินทร์ เพื่อแสดงให้เห็นว่าบริษัทดังกล่าวให้ความสำคัญกับการปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติด้านสาธารณสุขในข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่1) ของกระทรวงสาธารณสุขในส่วนที่เกี่ยวข้อง และการปฏิบัติตามมาตรฐานด้านการปฏิบัติตามมาตรการเพิ่มเติมเฉพาะกิจในการป้องกันการปนเปื้อนเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19 ) สำหรับ Modern Trade ของกรมประมงภายในพิธีเปิด ”โครงการช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งปี 2563 /64” โดยมีนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์และดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมเป็นประธานในพิธีฯ
นายมีศักดิ์ ภักดีคง อธิบดีกรมประมง กล่าวว่า จากกรณีที่ประชาชนกังวลต่อการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ระลอกใหม่จนกระทบต่อความเชื่อมั่นต่ออาหารทะเลไทย ส่งผลให้พี่น้องเกษตรกรชาวประมงได้รับผลกระทบเป็นวงกว้างทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคมตลอดห่วงโซ่การผลิต อย่างไรก็ตามถึงแม้กรมประมง
ได้มีการออกมาให้ข้อมูลทางวิชาการว่าสัตว์น้ำสามารถรับประทานได้เนื่องจากไม่ใช่พาหะในการแพร่กระจายโรค รวมถึงได้มีการบังคับใช้ข้อกำหนดมาตรฐานด้านการแพร่ระบาดของโรคและสุขอนามัยของกระทรวงสาธารณสุขในทุกกระบวนการการตรวจสอบตั้งแต่กระบวนการขนส่งจากแหล่งเลี้ยง แหล่งจับ แหล่งกระจายสินค้า จนกระทั่ง
การเข้าสู่ระบบจำหน่ายให้กับผู้บริโภคในตลาดต่างๆ แต่ประชาชนต่างก็ยังมีความกังวลในเรื่องความเสี่ยงของการแพร่กระจายเชื้อระหว่างกระบวนการขนส่ง ดังนั้นเพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่นต่อการบริโภคสัตว์น้ำให้แก่พี่น้องประชาชน กรมประมงจึงได้มีการออกกำหนดมาตรการเพิ่มเติมเฉพาะกิจในการป้องกันการปนเปื้อนเชื้อไวรัส COVID – 19 ในสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ โดยมาตรการเฉพาะกิจดังกล่าวมีผลบังคับใช้กลุ่มผู้ประกอบการกระบวนการผลิตที่เกี่ยวข้อง 5 ประเภท ได้แก่ 1) ผู้ประกอบการกระบวนการผลิต (ฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและชาวประมง/เรือประมง) 2) ผู้ประกอบการกระบวนการลำเลียงและขนส่งสัตว์น้ำ 3.) ผู้ประกอบการสะพานปลา 4) ผู้ประกอบการร้านค้า Modern trade และ 5) ผู้ประกอบการแปรรูปสัตว์น้ำเพื่อการส่งออก โดยผู้ประกอบการที่ปฏิบัติตามมาตรการทั่วไปที่กำหนดโดยกระทรวงสาธารณสุข และมาตรการเพิ่มเติมเฉพาะกิจที่กรมประมงกำหนด จะได้รับหนังสือรับรองการปฏิบัติที่ดีในการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 จากกรมประมง
สำหรับผู้ประกอบการร้านค้า Modern Trade บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทแรกที่ยื่นความประสงค์ขอเข้ารับการตรวจประเมิน โดยกรมประมงได้จัดส่งทีมเจ้าหน้าที่จากกองวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ เข้าตรวจประเมินสถานที่การบริหารจัดการสถานที่ในการจำหน่ายสินค้าตามมาตรการเฉพาะกิจฯ ไปเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2563 โดยผลการตรวจพบว่าทางบริษัทฯ มีมาตรการควบคุมและป้องกันการปนเปื้อนเชื้อไวรัส COVID – 19 ในสถานที่วางจำหน่ายสินค้าสัตว์น้ำได้อย่างเหมาะสม อาทิ มีการควบคุมแหล่งที่มาของสัตว์น้ำที่ชัดเจน
โดยผู้ขายส่งส่วนใหญ่มาจากฟาร์มที่ขึ้นทะเบียนกับทางกรมประมง และมีการสุ่มตรวจเชื้อไวรัส SARS-CoV-2
ในสัตว์น้ำจากผู้ขายส่ง มีมาตรการการควบคุมการปนเปื้อนจากพาหนะขนส่ง มีการบริหารจัดการการวางจำหน่ายสินค้าสัตว์น้ำจัดแยกตามชนิด การล้างทำความสะอาดและฆ่าเชื้อบริเวณพื้นที่ที่จำหน่ายสินค้าและอุปกรณ์ มีมาตรการป้องกันการปนเปื้อนจากผู้บริโภคที่เข้ามาเลือกซื้อสินค้า ฯลฯ กรมประมงจึงเห็นควรมอบใบรับรองฯ ให้กับทางบริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) สาขานครอินทร์ได้
สำหรับผู้ประกอบการที่ประสงค์ขอรับการตรวจประเมินสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กรมประมง โทร. 0 2562 0600 หรือสำนักงานประมงจังหวัดในพื้นที่ทั่วประเทศ อธิบดีฯ กล่าวในตอนท้ายว่า กรมประมงมุ่งมั่นที่จะสร้างความมั่นใจให้กับพี่น้องประชาชนชาวไทยในทุกด้านและขอให้ทุกท่านให้โอกาสพี่น้องเกษตรกรชาวประมงร่วมกันซื้อสินค้าสัตว์น้ำไปบริโภค และขอย้ำว่าสัตว์น้ำไทยโดยเฉพาะกุ้งทะเลสามารถรับประทานได้โดยไม่ต้องกังวลว่าสัตว์น้ำจะเป็นแหล่งสะสมของเชื้อไวรัสโควิดแต่อย่างไรก็ตามทุกครั้งก่อนนำมาบริโภคขอให้ล้างน้ำให้สะอาดและปรุงให้สุกอยู่เสมอ
วันที่ 30 ธันวาคม 2563 นายสันติชัย รังสิยาภิรมย์ ประมงจังหวัดพัทลุง พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สำนักงานประมงจังหวัดพัทลุง เดินเยี่ยมชมตลาดนัดบายพาส พื้นที่ หมู่ 9 ตำบลตำนาน อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง ซึ่งเป็นตลาดนัดขนาดใหญ่ และมีการจำหน่ายสินค้าสัตว์น้ำเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้เพื่อยืนยัน และสร้างความมั่นใจว่าสินค้าสัตว์น้ำที่จำหน่ายปลอดภัยจากโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้ มอบป้ายประชาสัมพันธ์ “สัตว์น้ำปลอดภัย ไร้ โควิด - 19” ให้แก่แม่ค้าที่จำหน่ายสัตว์น้ำในตลาด
ดร.วิชาญ อิงศรีสว่าง รองอธิบดีกรมประมง นำคณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่จังหวัดสงขลา เพื่อตรวจเยี่ยมกระบวนการผลิตสินค้ากุ้งทะเลทั้งระบบ ตั้งแต่การเลี้ยง กระทั่งการแปรรูปเพื่อส่งออก หนุนสร้างความเชื่อมั่นให้กับผลิตภัณฑ์กุ้งทะเลของไทย พร้อมยืนหยัดและเพิ่มโอกาสการแข่งขันในตลาดโลก
รองอธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า “กุ้งทะเล” ถือเป็นสินค้าสัตว์น้ำที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศไทย ซึ่งสามารถสร้างมูลค่าจากการส่งออกและนำรายได้เข้าสู่ประเทศกว่าปีละหลายหมื่นล้านบาท โดยกรมประมงได้ให้ความสำคัญและเข้มงวดกับกระบวนการผลิตสินค้ากุ้งทะเลเพื่อให้มีคุณภาพ มาตรฐาน และสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ทั้งระบบ ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคที่ในปัจจุบันต่างหันมาใส่ใจต่อความปลอดภัยทางด้านอาหารมากยิ่งขึ้น
สำหรับการลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมกระบวนการผลิตกุ้งทะเลในจังหวัดสงขลาครั้งนี้ ครอบคลุมทั้งแหล่งวัตถุดิบ และแหล่งแปรรูปผลิตภัณฑ์เพื่อการส่งออก โดยในระดับฟาร์มเลี้ยงได้ทำการตรวจฟาร์มที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน การปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดี หรือ GAP ซึ่งพบว่าเกษตรกรได้ดูแล และบริหารจัดการฟาร์มตามหลักการต่าง ๆ ของ GAP อย่างเข้มงวด อาทิ ด้านสถานที่ การเลี้ยง การให้อาหารและปัจจัยการผลิต การจัดการสุขภาพสัตว์น้ำ รวมถึงสุขอนามัยฟาร์ม เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังได้มีการตรวจสอบการใช้ปัจจัยการผลิตทั้งในฟาร์มเลี้ยงและร้านค้า ซึ่งเป็นไปตามมาตรการของกรมประมงที่มีการควบคุมและเฝ้าระวังการใช้ยารวมทั้งสารเคมีในระบบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยเฉพาะกุ้งทะเลอย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้ จึงมั่นใจได้ว่าผลผลิตกุ้งทะเลจากมาตรฐาน GAP มีคุณภาพ ถูกหลักสุขอนามัย ปลอดภัยจากสารเคมีตกค้าง รวมทั้งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
และในโอกาสนี้ ยังได้เยี่ยมชมโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปกุ้งทะเลแช่แข็ง ซึ่งเป็นโรงงานที่กรมประมง เคยส่งเจ้าหน้าที่มาตรวจสอบพร้อมแนะนำขั้นตอนการปฎิบัติเพื่อแก้ไขปัญหาในกระบวนการผลิตสินค้าให้ปลอดภัยอย่างเข้มงวด และในครั้งนี้ทางกรมประมงได้เดินทางมาทานสอบการดำเนินการซ้ำอีกครั้ง โดยผลปรากฏว่าทางโรงงานฯ มีการดำเนินการตามข้อกำหนดด้านมาตรฐานความปลอดภัยตามข้อแนะนำของ กรมประมงอย่างเคร่งครัด และได้เข้มงวดในเรื่องระบบการตรวจสอบย้อนกลับมาตรฐานของวัตถุดิบที่รับเข้ามาแปรรูป การขนส่ง การนำวัตถุเข้าโรงงาน ตลอดจนตรวจสอบคุณภาพกุ้ง ความสด สะอาด รวมถึงขั้นตอนในการควบคุมกระบวนการแปรรูป ให้เป็นไปตามมาตรฐานเพื่อการส่งออก ตั้งแต่การรับสินค้าเข้าจนกระทั่งแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่พร้อมจะส่งออกอีกทั้งยังได้เยี่ยมชมห้องปฏิบัติการทางเคมีและจุลชีวะของโรงงานด้วย
นอกจากนี้ โรงงาน ยังได้เพิ่มเติมมาตรการเฝ้าระวัง และป้องกันการระบาดของ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ( โควิด-19) สำหรับการคัดกรองบุคลากรก่อนเข้า - ออกโรงงาน ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานที่กรมประมงและกระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้
อย่างไรก็ตาม กรมประมงได้ดำเนินการสุ่มตัวอย่างสินค้าสัตว์น้ำที่จะส่งออกจากโรงงานแปรรูปเพื่อทวนสอบระบบการควบคุมการผลิต และติดตามคุณภาพสินค้า โดยส่งเจ้าหน้าที่ไปสุ่มเก็บตัวอย่างสินค้า ณ โรงงานผลิต เพื่อตรวจวิเคราะห์ คุณภาพทางจุลินทรีย์ เคมี และกายภาพ และเมื่อสินค้ามีคุณภาพได้มาตรฐานตามข้อกำหนดก็จะออกใบรับรองสุขอนามัยสินค้าสัตว์น้ำ (Health Certificate) เพื่อให้สินค้าสามารถส่งออกได้ต่อไป
รองอธิบดีกรมประมง กล่าวในตอนท้ายว่า จากการตรวจเยี่ยมกระบวนการผลิตสินค้ากุ้งทะเลทั้งระบบในครั้งนี้ เชื่อมั่นว่า “ผลิตภัณฑ์กุ้งทะเลของไทย” มีความพร้อมและศักยภาพที่จะยืนหยัดอยู่ในตลาดโลกได้อย่างเข้มแข็งต่อไป ด้วยคุณภาพและมาตรฐานที่สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ตลอดสายการผลิต ซึ่งเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคทั่วโลก
นายมีศักดิ์ ภักดีคง อธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า ตามที่ประเทศไทยได้เกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) รอบใหม่ ซึ่งแหล่งแพร่กระจายโรคมาจากตลาดกุ้งในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาครและได้ขยายวงกว้างไปยังพื้นที่อื่นๆ สร้างความตื่นตระหนกให้กับพี่น้องประชาชนถึงความปลอดภัยและสุขอนามัยในการบริโภคสัตว์น้ำ อีกทั้งยังกระทบต่อการจำหน่ายสินค้าสัตว์น้ำ รวมถึงการประกอบอาชีพของเกษตรกรชาวประมงเป็นอย่างมาก
ทั้งนี้ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค กรมประมงจึงขอย้ำชัดอีกครั้งว่า ยังไม่มีรายงานการตรวจพบเชื้อไวรัสในกลุ่มโคโรน่า 2019 อยู่ในตัวของสัตว์น้ำแต่อย่างใด โดยสัตว์น้ำเป็นสัตว์เลือดเย็นไม่มีปอดแต่ใช้เหงือกในการหายใจ และยังมีความแตกต่างของผิวเซลล์ ซึ่งปลามีโครงสร้างไม่เหมือนคนทั้งหมด ทำให้โอกาสที่เชื้อไวรัสจะกลายพันธุ์เข้าสู่เซลล์ของสัตว์น้ำเป็นไปได้ยาก นอกจากนี้ ที่ผ่านมายังไม่เคยมีรายงานการเกิดโรคจากเชื้อไวรัสในกลุ่มเดียวกันนี้ อาทิ โรคซาร์ส (SARS) และเมอร์ส (MERS) ในสัตว์น้ำที่เป็นสัตว์เลือดเย็นมาก่อน (อ้างอิงข้อมูลจาก รองศาสตราจารย์ นายสัตว์แพทย์ .ดร. วิน สุรเชษฐพงษ์ คณะสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์) แต่อย่างไรก็ตาม การปนเปื้อนของเชื้อไวรัสโควิด-19 อาจเกิดขึ้นได้จากการขาดสุขอนามัยที่ดี ดังนั้น เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากการรับประทานและสัมผัสสัตว์น้ำ จึงขอให้ผู้บริโภคได้เลือกซื้อสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและผ่านการผลิตที่มีมาตรฐาน เน้นให้ความใส่ใจในเรื่องสุขอนามัยเป็นสำคัญ โดยไม่ควรรับประทานอาหารสัตว์น้ำที่ดิบหรือไม่สุก และไม่ควรใช้มือสัมผัสกับสัตว์น้ำโดยตรง อาจใช้ถุงมือหรืออุปกรณ์ในการหยิบหรือตัก และล้างทำความสะอาดสัตว์น้ำเป็นอย่างดีก่อนทำการปรุงอาหารทุกครั้ง ซึ่งเชื้อไวรัสโควิด-19 จะถูกทำลายด้วยความร้อนที่ 56 องศาเซลเซียส เป็นเวลานาน 30 นาที และหากความร้อนสูงขึ้นระยะเวลาที่เชื้อถูกทำลายจะสั้นลง (อ้างอิงข้อมูลจาก ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
อธิบดีกรมประมง กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากนี้ กรมประมงยังได้เข้มงวดในการควบคุมความปลอดภัยและสุขอนามัยในสินค้าสัตว์น้ำเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคตลอดสายการผลิต โดยมีการตรวจสอบแหล่งที่มาของสัตว์น้ำที่วางจำหน่ายก่อนถึงมือผู้บริโภค อีกทั้งยังเพิ่มมาตรการความปลอดภัยด้านสุขภาพและสุขอนามัยในกลุ่มเกษตรกร ชาวประมง และผู้ประกอบการ พร้อมติดตาม เฝ้าระวัง และป้องกันการระบาดของโรคร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น การกำหนดมาตรการความปลอดภัยด้านสุขภาพและการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การคัดกรองลูกเรือประมงและคนประจำเรือในช่วงเวลาเข้า-ออก ณ ท่าเทียบเรือประมงทุกแห่ง การกำหนดมาตรการป้องกันการปนเปื้อนของโควิด-19 ในแรงงานที่เข้าไปทำงานในโรงงานแปรรูป เป็นต้น
วันที่ 24 ธันวาคม 2563 นายสันติชัย รังสิยาภิรมย์ ประมงจังหวัดพัทลุง พร้อมด้วย นายยงยุทธ ลิ่มพานิช หัวหน้ากลุ่มพัฒนาและส่งเสริมอาชีพการประมง นายอำนวย อุ่นฤกษ์ ประมงอำเภอเมือง และเจ้าหน้าที่กลุ่มส่งเสริม ฯ เข้าร่วมจัดนิทรรศการ โครงการบำบัดทุกข์ บำรุงสุข สร้างรอยยิ้มให้ประชาชน ครั้งที่ 3 ณ โรงเรียนวชิรธรรมสถิต หมู่ที่ 12 ต.ตำนาน อ.เมือง จังหวัดพัทลุง ภายในงานมีกิจกรรมมอบพันธุ์ปลากินพืชให้แก่ผู้นำชุมชนในท้องที่ และแจกจ่ายให้ประชาชนผู้ที่เข้ารับบริการ จำนวน 100 ถุง โดยได้รับสนับสนุนจาก ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดพัทลุง นอกจากนี้แจกเอกสารและให้คำปรึกษาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยมี นายกู้เกียรติ วงศ์กระพันธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธานฯ
วันที่ 21 ตุลาคม 2563
นายสันติชัย รังสิยาภิรมย์ ประมงจังหวัดพัทลุง พร้อมด้วยนายถาวร รุกขสุคนธ์ ประมงอำเภอเขาชัยสน นางสาวจารุพร หนูฤทธิ นักวิชาการประมปฏิบัติการ และเจ้าหน้าที่กลุ่มส่งเสริมฯ สำนักงานประมงจังหวัดพัทลุง เข้าร่วมจัดนิทรรศการโครงหน่วยการบำบัดทุกข์ บำรุงสุข สร้างรอยยิ้มให้ประชาชน ครั้งที่ 1 ประจำปี 2564 ณ วัดจรณาราม ต.หานโพธิ์ อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง โดยมี นายกู้เกียรติ วงศ์กระพันธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง เป็นประธานฯ กิจกรรมแจกพันธุ์ปลากินพืช จำนวน 100 ถุง และเอกสารการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ พร้อมคำปรึกษาการรับมือในสภาวะน้ำท่วมในช่วงฤดูฝน
วันที่ 28 สิงหาคม 2563
นายสันติชัย รังสิยาภิรมย์ ประมงจังหวัดพัทลุง เข้าร่วมสัมมนาอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านและประมงอาสา เพื่อขับเคลื่อน เมืองเกษตรอินทรีย์วิถียั่งยืน และสร้างเครือข่ายอาสาสมัครเกษตรในการบูรณาการทำงานในระดับพื้นที่ ณ อนันตารีสอร์ท อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง โดยมี นายนริศ ขำนุรักษ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดพัทลุง เขต 3 เป็นประธาน
วันที่ 25 สิงหาคม 2563 นายสันติชัย รังสิยาภิรมย์ ประมงจังหวัดพัทลุง พร้อมด้วย นายยงยุทธ ลิ่มพานิช หัวหน้ากลุ่มพัฒนาและส่งเสริมอาชีพการประมง และ นางสาวจารุพร หนูฤทธิ นักวิชาการประมงปฏิบัติการ ดำเนินการจัดประชุมคณะกรรมการกำกับดูแลโครงการเพิ่มขีดความสามารถด้านการผลิตและการตลาดกุ้งทะเลเพื่อการบริโภคภายในประเทศ ปี 2561 ระดับจังหวัด (ระยะที่ 2) ครั้งที่ 1/2563 เพื่อพิจารณา และรับรองรายชื่อเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไม ที่สมัครเข้าร่วมโครงการฯ ระยะที่ 2 จำนวน 60 ราย ณ ห้องประชุมสำนักงานเกษตรจังหวัดพัทลุง โดยมี นายวิรัตน์ รักษ์พันธ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง เป็นประธานการประชุมฯ
วันที่ 20 สิงหาคม 2563 นายกู้เกียรติ วงศ์กระพันธุ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง ประธานเปิดพิธีปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง โดยมีนายสันติชัย รังสิยาภิรมย์ ประมงจังหวัดพัทลุง พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการจังหวัดพัทลุง ข้าราชการ กำนันผู้ใหญ่บ้าน และประชาชนในพื้นที่ ร่วมปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ จำนวน 500,000 ตัว ณ อ่างเก็บน้ำบางหนอน บ้านท่าสำเภาเหนือ หมู่ที่ 7 ตำบลชัยบุรี อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง ซึ่งได้รับการสนับสนุนพันธุ์สัตว์น้ำจากศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดพัทลุง
วันที่ 19 สิงหาคม 2563 นายสันติชัย รังสิยาภิรมย์ ประมงจังหวัดพัทลุง มอบหมายให้ นายสมปราถ นวลแก้ว ประมงอำเภอกงหรา พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สำนักงานประมงจังหวัดพัทลุง เข้าร่วมจัดนิทรรศการ คลินิกเกษตรเคลื่อนที่ พร้อมแจกพันธุ์สัตว์น้ำให้แก่เกษตรกร จำนวน 100 ถุง ซึ่งได้รับการสนับสนุนพันธุ์สัตว์น้ำจากศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดพัทลุง ในโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ ณ วัดเขาวงก์ ตำบลกงหรา อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง โดยมีนายสมควร ปล้องอ่อน นายอำเภอกงหรา เป็นประธานฯ
วันที่ 17 สิงหาคม 2563 นายสันติชัย รังสิยาภิรมย์ ประมงจังหวัดพัทลุง พร้อมด้วย นางช่อทิพย์ จรูญศักดิ์ ประมงอำเภอบางแก้ว นางสาวจารุพร หนูฤทธิ นักวิชาการประมงปฏิบัติการ และเจ้าหน้าที่กลุ่มพัฒนาฯ จัดประชุมชี้แจงและให้ความรู้เกษตรกร ในหัวข้อ “การส่งเสริมการวางแผนการตลาด/เชื่อมโยงตลาด/กระจายสินค้า” (แปลงปี 63) ณ โรงเรียนบ้านหาดไข่เต่า หมู่ที่ 11 ตำบลนาปะขอ อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง โดยมี นายบรมัตถ์พงษ์ พลเยี่ยม พาณิชย์จังหวัดพัทลุง ให้เกียรติมาบรรยายให้ความรู้เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ เพื่อพัฒนาด้านการตลาด หาช่องทางตลาดเพิ่มให้แก่เกษตรกร และได้เข้าตรวจเยี่ยมการดำเนินงานของกลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่ (แปลงปี 62) หมู่ที่ 11 ตำบลนาปะขอ อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง
วันที่ 23 กรกฎาคม 2563 นายสันติชัย รังสิยาภิรมย์ ประมงจังหวัดพัทลุง พร้อมด้วย นายถาวร รุกขสุคนธ์ ประมงอำเภอศรีนครินทร์ และเจ้าหน้าที่สำนักงานประมงจังหวัดพัทลุง ออกให้บริการโครงการบำบัดทุกข์ บำรุงสุข สร้างรอยยิ้มให้ประชาชน สนับสนุนพัธ์ปลากินพืช จำนวน 130 ถุง ณ โรงเรียนบ้านอ่างทอง หมู่ที่ 3 ตำบลอ่างทอง อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง โดยมี นายวิรัตน์ รักษ์พันธ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง เป็นประธานฯ
วันที่ 22 กรกฎาคม 2563 เวลา 10.30 น. นายวิรัตน์ รักษ์พันธ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง ประธานเปิดพิธีปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมี นายสันติชัย รังสิยาภิรมย์ ประมงจังหวัดพัทลุง ร่วมกับหน่วยงานสังกัดกรมประมง พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการจังหวัดพัทลุง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลลำปำ ข้าราชการ กำนันผู้ใหญ่บ้าน นักเรียน ประชาชน และจิตอาสาในพื้นที่ พันธุ์สัตว์น้ำ จำนวน 500,000 ตัว ณ บริเวณทะเลสาบสงขลา บ้านนอกทุ่ง หมู่ที่ 6 ตำบลลำปำ อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง
วันศุกร์ที่ 15 พฤษภาคม 2563 เวลา 10:00 น. นายสันติชัย รังสิยา ภิรมย์ ประมงจังหวัดพัทลุง มอบหมายให้นายยงยุทธ ลิ่มพานิช หัวหน้ากลุ่มพัฒนาและส่งเสริมอาชีพการประมง พร้อมด้วยนายสมปราถ นวลแก้ว ประมงอำเภอป่าบอน รับผิดชอบอำเภอกงหรา และนางดวงแข อังศุภานิช นักวิชาการประมงชำนาญการ พร้อมด้วยว่าที่ ร.ต.เฉลิมพล ฟองสุวรรณ เจ้าหน้าที่บีนทึกข้อมูล และนายวายุพัฒน์ เดชอนันต์ ณ พัทลุง เจ้าหน้าที่ประสานงานโครงการฯ โดยมีเจ้าหน้าที่ิสำนักงานการยางแห่งประเทศไทยจังหวัดพัทลุงได้ร่วมลงพื้นที่สนับสนุนพันธุ์สัตว์น้ำภายใต้โครงการส่งเสริมและสร้างทักษะในการประกอบอาชีพทั้งในและนอกภาคการเกษตร กิจกรรมส่งเสริมเกษตรทฤษฏีีใหม่ด้านการประมง ให้กับเกษตรกรที่คัดเลือกในปีงบประมาณ 2563 ของอำเภอกงหรา โดยมีนางสาวเพ็ญประภา แพวิเศษ นักวิชาการประมงชำนาญการ เจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดพัทลุง สนับสนุนพันธุ์สัตว์น้ำ (ปลากินพืช) ให้เกษตรกรจำนวน 67 ราย และจุดเรียนรู้จำนวน 4 จุดรายละ 1,000 ตัว รวมปลากินพืชจำนวน 67,000 ตัว ณ สำนักงานเกษตรอำเภอกงหรา อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุงวันศุกร์ที่ 15 พฤษภาคม 2563 เวลา 10:00 น. นายสันติชัย รังสิยา ภิรมย์ ประมงจังหวัดพัทลุง มอบหมายให้นายยงยุทธ ลิ่มพานิช หัวหน้ากลุ่มพัฒนาและส่งเสริมอาชีพการประมง พร้อมด้วยนายสมปราถ นวลแก้ว ประมงอำเภอป่าบอน รับผิดชอบอำเภอกงหรา และนางดวงแข อังศุภานิช นักวิชาการประมงชำนาญการ พร้อมด้วยว่าที่ ร.ต.เฉลิมพล ฟองสุวรรณ เจ้าหน้าที่บีนทึกข้อมูล และนายวายุพัฒน์ เดชอนันต์ ณ พัทลุง เจ้าหน้าที่ประสานงานโครงการฯ โดยมีเจ้าหน้าที่ิสำนักงานการยางแห่งประเทศไทยจังหวัดพัทลุงได้ร่วมลงพื้นที่สนับสนุนพันธุ์สัตว์น้ำภายใต้โครงการส่งเสริมและสร้างทักษะในการประกอบอาชีพทั้งในและนอกภาคการเกษตร กิจกรรมส่งเสริมเกษตรทฤษฏีีใหม่ด้านการประมง ให้กับเกษตรกรที่คัดเลือกในปีงบประมาณ 2563 ของอำเภอกงหรา โดยมีนางสาวเพ็ญประภา แพวิเศษ นักวิชาการประมงชำนาญการ เจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดพัทลุง สนับสนุนพันธุ์สัตว์น้ำ (ปลากินพืช) ให้เกษตรกรจำนวน 67 ราย และจุดเรียนรู้จำนวน 4 จุดรายละ 1,000 ตัว รวมปลากินพืชจำนวน 67,000 ตัว ณ สำนักงานเกษตรอำเภอกงหรา อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง
วันที่ 14 พฤษภาคม 2563 เวลา 10:00 น. นายสันติชัย รังสิยา ภิรมย์ ประมงจังหวัดพัทลุง มอบหมายให้นายยงยุทธ ลิ่มพานิช หัวหน้ากลุ่มพัฒนาและส่งเสริมอาชีพการประมง พร้อมด้วยนายอำนวย อุ่นฤกษ์ ประมงอำเภอเขาชัยสน และนางดวงแข อังศุภานิช นักวิชาการประมงชำนาญการ พร้อมด้วยว่าที่ ร.ต.เฉลิมพล ฟองสุวรรณ เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล และนายวายุพัฒน์ เดชอนันต์ ณ พัทลุง เจ้าหน้าที่ประสานงานโครงการฯ โดยมีเจ้าหน้าที่ิสำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดพัทลุงได้ร่วมลงพื้นที่สนับสนุนพันธุ์สัตว์น้ำภายใต้โครงการส่งเสริมและสร้างทักษะในการประกอบอาชีพทั้งในและนอกภาคการเกษตร กิจกรรมส่งเสริมเกษตรทฤษฏีีใหม่ด้านการประมง ให้กับเกษตรกรที่คัดเลือกในปีงบประมาณ 2563 ของอำเภอเขาชัยสน โดยมีนางสาวเพ็ญประภา แพวิเศษ นักวิชาการประมงชำนาญการ เจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดพัทลุง สนับสนุนพันธุ์สัตว์น้ำ (ปลากินพืช) ให้เกษตรกรจำนวน 48 ราย และจุดเรียนรู้จำนวน 4 จุดรายละ 1,000 ตัว รวมปลากินพืชจำนวน 48,000 ตัว ณ เทศบาลตำบลโคกม่วง อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง
วันที่ 13 พฤษภาคม 2563 เวลา 10:00 น. นายสันติชัย รังสิยา ภิรมย์ ประมงจังหวัดพัทลุง มอบหมายให้นายยงยุทธ ลิ่มพานิช หัวหน้ากลุ่มพัฒนาและส่งเสริมอาชีพการประมง พร้อมด้วยนางช่อทิพย์ จรูญศักดิ์ ประมงอำเภอบางแก้ว รับผิดชอบอำเภอตะโหมด และนางดวงแข อังศุภานิช นักวิชาการประมงชำนาญการ พร้อมด้วยว่าที่ ร.ต.เฉลิมพล ฟองสุวรรณ เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล และนายวายุพัฒน์ เดชอนันต์ ณ พัทลุง เจ้าหน้าที่ประสานงานโครงการฯ โดยมีเจ้าหน้าที่ิสำนักงานสหกรณ์จังหวัดพัทลุงได้ร่วมลงพื้นที่สนับสนุนพันธุ์สัตว์น้ำภายใต้โครงการส่งเสริมและสร้างทักษะในการประกอบอาชีพทั้งในและนอกภาคการเกษตร กิจกรรมส่งเสริมเกษตรทฤษฏีีใหม่ด้านการประมง ให้กับเกษตรกรที่คัดเลือกในปีงบประมาณ 2563 ของอำเภอตะโหมด โดยมีนางสาวเพ็ญประภา แพวิเศษ นักวิชาการประมงชำนาญการ แทนผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดพัทลุง มอบและ สนับสนุนพันธุ์สัตว์น้ำ (ปลากินพืช) ให้เกษตรกรจำนวน 95 ราย และจุดเรียนรู้จำนวน 3 จุดรายละ 1,000 ตัว รวมปลากินพืชจำนวน 95,000 ตัว และจุดเรียนรู้ 3 จุด ณ หมู่ที่ิ 1 บ้านทุ่งโพธิ์ ตำบลตะโหมด อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง
วันที่ 29 เมษายน 2563 นายสันติชัย รังสิยาภิรมย์ ประมงจังหวัดพัทลุง มอบหมายให้นางดวงแข อังศุภานิช นักวิชาการประมงชำนาญการ พร้อมนางช่อทิพย์ จรูญศํกดิ์ ประมงอำเภอบางแก้ว นายชูพงศ์ แก้วกลับ เจ้าหน้าที่ประมง และนายวายุพัฒน์ เดชอนันต์ ณ พัทลุง เจ้าหน้าที่ธุรการ ประสานงานโครงการฯ ได้ลงพื้นที่สนับสนุนพันธุ์สัตว์น้ำภายใต้โครงการส่งเสริมและสร้างทักษะในการประกอบอาชีพทั้งในและนอกภาคการเกษตร กิจกรรมส่งเสริมเกษตรทฤษฏีีใหม่ด้านการประมง ให้กับเกษตรกรที่คัดเลือกในปีงบประมาณ 2563 ของอำเภอบางแก้ว โดยมีนางสาวเพ็ญประปา แพวิเศษ นักวิชาการประมงชำนาญการ แทนผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดพัทลุง มอบและสนับสนุนพันธุ์สัตว์น้ำ (ปลากินพืช) ให้เกษตรกรจำนวน 80 ราย รายละ 1,000 ตัว รวมปลากินพืชจำนวน 80,000 ตัว จำนวน 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลนาปะขอ ณ ศาลาหมู่บ้าน หมู่ที่ 6 ตำบลนาปะขอ/ตำบลท่ามะเดื่อ ณ ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร หมู่ที่ 6 ตำบลท่ามะเดื่อ และตำบลโคกสัก ณ ศาลาหมู่บ้าน หมู่ที่ 9 ตำบลโคกสัก อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง
วัันที่ 28 เมษายน 2563 นายสันติชัย รังสิยาภิรมย์ ประมงจังหวัดพัทลุง มอบหมายให้นายยงยุทธ ลิ่มพานิช หัวหน้ากลุ่มพัฒนาและส่งเสริมอาชีพการประมงฯ พร้อมนายกอบชนม์ บริเพชร ประมงอำเภอปากพะยูน นายชูพงศ์ แก้วกลับ เจ้าหน้าที่ประมง และนายวายุพัฒน์ เดชอนันต์ ณ พัทลุง เจ้าหน้าที่ธุรการ ประสานงานโครงการฯ ได้ลงพื้นที่สนับสนุนพันธุ์สัตว์น้ำภายใต้โครงการส่งเสริมและสร้างทักษะในการประกอบอาชีพทั้งในและนอกภาคการเกษตร กิจกรรมส่งเสริมเกษตรทฤษฏีีใหม่ด้านการประมง ให้กับเกษตรกรที่คัดเลือกในปีงบประมาณ 2563 ของอำเภอปากพะยูน โดยศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดพัทลุง สนับสนุนพันธุ์สัตว์น้ำ (ปลากินพืช) ให้เกษตรกรจำนวน 103 ราย รายละ 1,000 ตัว รวมปลากินพืชจำนวน 103,000 ตัว ณ ศาลาหมู่ที่ 3 ตำบลฝาละมี อำเภอปากพะยูน และที่ว่าการอำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุงันที่ 28 เมษายน 2563 นายสันติชัย รังสิยาภิรมย์ ประมงจังหวัดพัทลุง มอบหมายให้นายยงยุทธ ลิ่มพานิช หัวหน้ากลุ่มพัฒนาและส่งเสริมอาชีพการประมงฯ พร้อมนายกอบชนม์ บริเพชร ประมงอำเภอปากพะยูนนายชูพงศ์ แก้วกลับ เจ้าหน้าที่ประมง และนายวายุพัฒน์ เดชอนันต์ ณ พัทลุง เจ้าหน้าที่ประสานงานโครงการฯ ได้ลงพื้นที่สนับสนุนพันธุ์สัตว์น้ำภานใต้โครงการส่งเสริมและสร้างทักษะในการประกอบอาชีพทั้งในและนอกภาคการเกษตร กิจกรรมส่งเสริมเกษตรทฤษฏีีใหม่ด้านการประมง ให้กับเกษตรกรที่คัดเลือกในปีงบประมาณ 2563 ของอำเภอปากพะยูน โดยศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดพัทลุง สนับสนุนพันธุ์สัตว์น้ำ (ปลากิชพืช) ให้เกษตรกรจำนวน 103 ราย รายละ 1,000 ตัว รวมปลากินพืชจำนวน 103,000 ตัว ณ ศาลาหมู่ที่ 3 ตำบลฝาละมี อำเภอปากพะยูน และที่ว่าการอำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง
กรมประมง ปั้นช่องทางการตลาดรูปแบบใหม่ เปิดซื้อ-ขายสินค้าผ่านระบบสั่งจองสัตว์น้ำออนไลน์ ภายใต้ชื่อ “Fisheries Shop” หนุนกระจายผลผลิตช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด –19 พร้อมเชิญชวนประชาชนร่วมอุดหนุนสัตว์น้ำที่สด สะอาด ปลอดภัย และได้มาตรฐาน ด้วยการช้อปปิ้งผ่านออนไลน์ได้อย่างสะดวก จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด– 19 ได้ส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจประมงเป็นอย่างมาก เนื่องจากการส่งออกสินค้าสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์ประมงไปยังต่างประเทศหยุดชะงัก รวมถึงการจำหน่ายสินค้าประมงภายในประเทศก็ลดลงอย่างฉับพลันจากมาตรการการควบคุมโรคของรัฐบาล ทำให้เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำได้รับความเดือดร้อน เพราะไม่สามารถจำหน่ายผลผลิตได้ตามปกติ
กรมประมงตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้น จึงได้สนับสนุนและผลักดันให้เกษตรกรเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าสัตว์น้ำผ่านระบบออนไลน์มากขึ้น อาทิ Social media Website E-Commerce Online Shopping บน Platform ต่างๆ เพื่อกระจายผลผลิตและชดเชยรายได้ที่ขาดหายไปในช่วงวิกฤตโควิด– 19 นอกจากนี้ กรมประมงยังได้เปิดระบบการสั่งจองสินค้าสัตว์น้ำออนไลน์ (Pre Order) ภายใต้ชื่อ “Fisheries Shop” ขึ้นอีกด้วย เพื่อเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือในการจำหน่ายสินค้าสัตว์น้ำที่มีความสด สะอาด ปลอดภัย และได้มาตรฐาน จากเกษตรกรไปสู่ผู้บริโภคโดยตรง ซึ่งเกษตรกรสามารถบริหารจัดการสินค้าให้เป็นไปตามคำสั่งซื้อผ่านระบบฯ ได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง ซึ่งจะทำให้ผู้บริโภคเกิดความมั่นใจทั้งในเรื่องคุณภาพและราคาของสินค้าด้วย ขณะนี้กรมประมงได้มีการเปิดระบบฯ ดังกล่าว เพื่อให้เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสามารถสมัครเข้าใช้งานได้ด้วยตนเอง แล้ว โดยมีเงื่อนไข คือ จะต้องเป็นเกษตรกร หรือ กลุ่มเกษตรกรเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกร (ทบ1) และเป็นฟาร์มเลี้ยงที่ได้การรับรองมาตรฐานฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดี (GAP) จากกรมประมง หรือ หน่วยงานอื่นที่อยู่ภายใต้การรับรองของกรมประมงเท่านั้น ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้บริโภคที่เข้ามาเลือกซื้อสินค้ามั่นใจได้ว่าสินค้าหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำที่นำมาจำหน่ายนั้น เป็นสินค้าที่มีคุณภาพทั้งด้านสุขอนามัย ซึ่งต้องสะอาด ปลอดภัย ไร้สารตกค้าง อีกทั้งมีความสดใหม่ ทั้งนี้ เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่สนใจ สามารถแจ้งความประสงค์ เพื่อสมัครเข้าใช้งานระบบจำหน่ายสินค้า การสั่งจองสินค้าสัตว์น้ำออนไลน์ Fisheries Shop ได้ที่ สำนักงานประมงจังหวัดในพื้นที่ ในวันและเวลาราชการ และสำหรับประชาชนที่สนใจอุดหนุนสินค้าประมงสามารถเลือกซื้อได้ https://coastalaqua.fisheries.go.th/preorder/ หรือ QR Code ด้านล่าง