การป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านการเกษตรในช่วงฤดูฝน


การป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านการเกษตรในช่วงฤดูฝน  

 คลังความรู้  ข้อมูลเผยเเพร่  ชุดข้อมูลเปิดภาครัฐ

ส่ง email ทวิต Tweeter ส่ง Line แชร์ Facebook

การป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านการเกษตรในช่วงฤดูฝน

     ด้วยมติคณะรัฐมนตรี 18 พฤษภาคม 2564 เห็นชอบมาตรการรับมือฤดูฝนปี 2564 ตามที่สำนักงานทรัพยกรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เสนอ เพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือ ป้องกันและลกความเสียหายจากการเกิดภัยพิบัติในฤดูฝน ประกอบด้วย 10 มาตรการ ได้แก่

1) คาดการณ์ชี้เป้าพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมและฝนทิ้งช่วง

2) บริหารจัดการน้ำพื้นที่ลุ่มต่ำ เพื่อรองรับน้ำหลาก

3) ทบทวน ปรับปรุงหลักเกณฑ์การบริหารจัดการน้ำในแหล่งน้ำขนาดใหญ่-กลาง เขื่อนระบายน้ำ

4) ซ่อมแซมปรับปรุงอาคารชลศาสตร์/ระบบระบายน้ำ สถานีโทรมาตรให้พร้อมใช้งาน

5) ปรับปรัง แก้ไข สิ่งกีดขวางทางน้ำ

6) ขุดลอกคลองและกำจัดผักตบชวา

7) เตรียมพร้อม/วางแผนเครื่องจักร เคร่องมือประจำพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม และฝยน้อยกว่าค่าปกติ

8) เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำและปรับปรุงวิธีการส่งน้ำ

9) สร้างการรับรู้ และประชาสัมพันธ์

10) ติดตามประเมินผลปรับมาตรการให้สอดคล้องกับสถานการณ์ภัย

     ในการนี้ สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะฝ่ายเลขานุการศูนย์ติดตามและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านการเกษตร ในช่วงฤดูฝน 2564 ของทุกหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อรับมือสถานการณ์น้ำหลาก และฝนน้อยกว่าปกติ โดยแบ่งการดำเนินการเป็นระยะ 3 ระยะ คือ

1) การเตรียมความพร้อม การป้องกันและลดผลกระทบ

2) การเผชิญเหตุ

3) การฟื้นฟูให้ดีกว่าเดิม

     โดยมีกลไลการบริหารจัดการสถาณ์ ระดับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ คือ ศูนย์ติดตามและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านการเกษตร (กษ.) ระดับจังหวัด คือ ศูนย์ติดตามและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านการเกษตร (จังหวัด) และคณะอนุกรรมการพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ (อพก.)

กดเพื่ออ่านเนื้อหาทั้งหมด การป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านการเกษตรในช่วงฤดูฝน