สำนักงานประมงจังหวัดลพบุรี เตือน!!!!! เกษตรกร เฝ้าระวังโรคระบาดปลาในช่วง ฤดูหนาว


[2025-07-01] ข่าวประชาสัมพันธ์ ประจำเดือน มิถุนายน พ.ศ.2568.. [2025-06-09] ข่าวประชาสัมพันธ์ ประจำเดือน พฤษภาคม พ.ศ.2568.. [2025-05-14] มาตราการคุ้มครองสัตว์น้ำจืดมีไข่ วางไข่ และเลี้ยงตัวอ่อน ประจำปี พ.ศ... [2025-05-02] วันจันทร์ ที่ 28 เมษายน 2568 นายสง่า คำพันธ์ ประมงจังหวัดลพบุรี รับมอ.. [2025-05-02] ข่าวประชาสัมพันธ์ ประจำเดือน เมษายน พ.ศ.2568.. [2025-04-04] ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.. [2025-04-04] ประกาศกรมประมง.. [2025-04-02] รายงานผลการดำเนินการเพื่อส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสภายในหน่วยงาน ปร.. [2025-04-02] ผลการวิเคราะห์มาตรการส่งเเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสภายในหน่วยงาน พ.ศ.2.. [2025-04-01] ข่าวประชาสัมพันธ์ ประจำเดือน มีนาคม พ.ศ.2568.. อ่านทั้งหมด 

สำนักงานประมงจังหวัดลพบุรี เตือน!!!!! เกษตรกร เฝ้าระวังโรคระบาดปลาในช่วง ฤดูหนาว 

 ข่าวประชาสัมพันธ์  หน่วยงาน  หน่วยงานส่วนภูมิภาค

ส่ง email แชร์ X ส่ง Line แชร์ Facebook
ฟังเสียงบรรยาย
ฟังเสียงบรรยาย

สำนักงานประมงจังหวัดลพบุรี เตือน!!!!! เกษตรกร เฝ้าระวังโรคระบาดปลาในช่วง ฤดูหนาวเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ควรปฏิบัติดังนี้

1. เกษตรกรควรวางแผนระยะเวลาการเลี้ยงปลาให้อยู่ในช่วงที่เหมาะสม หรือ ควรงดเว้นการเลี้ยงปลาในช่วงฤดูหนาว2. ควรมีบ่อพักน้ำใช้เพื่อใช้ในฟาร์มได้เพียงพอตลอดฤดูกาล โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาว

3. เลือกชนิดปลาที่จะเลี้ยงให้เหมาะสมกับฤดูกาล โดยในช่วงฤดูหนาว ควรเลือกปลาที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรค

ระบาดน้อย เช่น ปลานิล ปลาจีน และปลาไม่มีเกล็ด ที่สำคัญ ควรลดความหนาแน่นของปลาที่ปล่อยลงเลี้ยงและ

หมั่นเอาใจใส่ ตรวจสุขภาพปลาอย่างสม่ำเสมอ

4. ควบคุมปริมาณการให้อาหารอย่างเหมาะสม ลดปริมาณอาหารที่จะให้ลง 10 – 15 % เนื่องจาก ช่วงอุณหภูมิต่ำ

ปลาจะกินอาหารน้อยลง ถ้าหากมีปริมาณอาหารเหลือจะสะสมตามพื้นบ่อ ส่งผลให้น้ำเน่าเสีย เกิดก๊าซพิษ และมีผลกระทบต่อสุขภาพปลา ทั้งนี้ อาจมีการเสริมวิตามินซีในอาหาร 1 – 2 % โดยน้ำหนัก จะช่วย

เสริมสร้างความแข็งแรง ต้านทานโรคและลดความเครียดของปลาได้

5. ควบคุมคุณภาพน้ำในบ่อ โดยใช้ปูนขาว ในอัตรา 60 – 100 กิโลกรัมต่อบ่อขนาด 1 ไร่ หรือ นำเกลือแกงมาละลาย

น้ำสาดให้ทั่วบ่อ ประมาณ 100 – 150 กิโลกรัมต่อไร่

6. หากพบมีปลาที่เลี้ยงป่วยหรือมีอาการผิดปกติ ควรแยกออกไปเลี้ยงและรักษาต่างหาก กรณีป่วยหนักอาจทำลายทิ้ง

เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้าง ทั้งนี้ หากกรณีปลาในแหล่งน้ำธรรมชาติ มีความผิดปกติ ให้รีบปิดทาง

น้ำเข้าและหยุดการเติมน้ำจากธรรมชาติเข้ามาในบ่อทันที7. หากไม่สามารถเปลี่ยนถ่ายน้ำได้ ในช่วงระหว่างการเลี้ยง ให้ควบคุมปริมาณการให้อาหาร

8. หากพบว่าน้ำในบ่อเริ่มเน่าเสีย โดยสังเกตว่ามีก๊าซผุดขึ้นมาจากพื้นบ่อ ให้ใช้เกลือสาดบริเวณดังกล่าว ประมาณ 200

– 300 กิโลกรัมต่อบ่อขนาด 1 ไร่

9. หากพบปลาตายในบ่อเลี้ยงให้กำจัดโดยการฝังหรือเผา

10. เมื่ออากาศเริ่มเข้าสู่สภาวะที่เหมาะสม (อุณหภูมิของน้ำสูงขึ้น) และพบว่าปลาในธรรมชาติ เป็นปกติ ไม่มีอาการ

ป่วย ควรเปลี่ยนถ่ายน้ำตามความเหมาะสม และให้อาหารปลาได้ตามปกติ

โรคที่ควรเฝ้าระวัง

โรคอียูเอส (Epizootic Ulcerative Syndrome : EUS)

อาการ : จะมีแผลเน่าเปื่อย ลึกตามตัวพบ

การป้องกัน : ปัจจุบันยังไม่มียาหรือสารเคมีที่จะใช้ในการรักษาโรคได้ หากสภาพอากาศและน้ำในบ่อเลี้ยงมีอุณหภูมิสูงขึ้น เชื้อราดังกล่าว จะเจริญและแพร่กระจายได้น้อยลง ในขณะเดียวกันปลาที่กำลังป่วยจะมีภูมิต้านทานเพิ่มขึ้น ช่วยให้ปลาหายป่วยเองได้ในเวลาต่อมา

โรคตัวด่าง (Flavobacterium spp.)

อาการ : มีแผลด่างขาวตามลำตัว

การป้องกัน : ลดความหนาแน่นปลา ลดอาหาร ควบคุมคุณสมบัติน้ำให้เหมาะสม ในระหว่างการเคลื่อนย้ายหรือขนส่ง ให้ใช้เกลือแกง 1 กิโลกรัมต่อน้ำ 1 ตัน (0.1 %) เพื่อช่วยลดความเครียด

โรคเคเอชวี (Koi Herpesvirus Disease : KHVD)

อาการ : ซึม ว่ายน้ำเสียการทรงตัวลำตัวมีเมือกมาก

มีแผลเลือดออกตามลำตัว

การป้องกัน : ลดความหนาแน่นปลา ลดอาหาร

ควบคุมคุณสมบัติน้ำให้เหมาะสม


คุยกับน้องมัจฉา Add Friends คุยกับน้องมัจฉา